คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
ศัลยกรรม

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 3 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 292/2542 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความประมาทเลินเล่อทางการแพทย์และการชดใช้ค่าเสียหายจากการผ่าตัดศัลยกรรม
จำเลยที่ 2 เป็นแพทย์ผู้ได้รับใบอนุญาตให้เป็นผู้ประกอบโรคศิลปะสาขาแพทย์และเป็นผู้ชำนาญพิเศษในแขนงสาขาวิชาศัลยศาสตร์ตกแต่งจากประเทศญี่ปุ่น จำเลยที่ 2 กระทำการผ่าตัดหน้าอกโจทก์ที่มีขนาดใหญ่ให้มีขนาดเล็กลงมีสภาพปกติที่โรงพยาบาลจำเลยที่ 1 หลังผ่าตัดแล้วจำเลยที่ 2 นัดให้โจทก์ไปผ่าตัดแก้ไขที่คลีนิกจำเลยที่ 2 อีก 3 ครั้ง แต่อาการไม่ดีขึ้น โจทก์จึงให้แพทย์อื่นทำการรักษาต่อ โดยเดิมจำเลยที่ 2 ทำการผ่าตัดหน้าอกในวันที่12 เมษายน 2537 รักษาตัวที่โรงพยาบาล 1 วัน วันที่ 13 เมษายน 2537จำเลยที่ 2 อนุญาตให้โจทก์กลับบ้าน วันที่ 15 เมษายน 2537 จำเลยที่ 2เปิดแผลพบมีน้ำเหลืองไหลบริเวณปากแผลทรวงอกไม่มีร่องอก มีก้อนเนื้ออยู่บริเวณรักแร้ด้านขวา เต้านมด้านซ้ายมีขนาดใหญ่กว่าด้านขวา และส่วนที่เป็นหัวนมจะมีบาดแผลที่คล้ายเกิดจากการถูกไฟไหม้ จำเลยที่ 2 รับว่าเกิดจากการผิดพลาดในการผ่าตัดแล้วแจ้งว่าจะดำเนินการแก้ไขให้ จำเลยที่ 2 นัดให้โจทก์ไปทำแผลดูดน้ำเหลืองออกจากบริเวณทรวงอก และได้มีการผ่าตัดแก้ไขทรวงอกอีก 3 ครั้งแต่โจทก์เห็นว่าทรวงอกไม่มีสภาพดีขึ้น ประกอบกับระยะเวลาล่วงเลยมานานจึงเปลี่ยนแพทย์ใหม่ และแพทย์ที่ทำการรักษาต่อจากจำเลยที่ 2 ได้ทำการผ่าตัดเพื่อแก้ไขทรวงอก 3 ครั้ง จนมีสภาพทรวงอกดีขึ้นกว่าเดิม แม้พยานโจทก์ทั้งสองไม่สามารถนำสืบให้เห็นว่าจำเลยที่ 2 ประมาทเลินเล่อในการผ่าตัดและรักษาพยาบาลโจทก์อย่างไร แต่การที่แพทย์ต้องทำการผ่าตัดแก้ไขอีก 3 ครั้ง แสดงว่าจำเลยที่ 2 ผ่าตัดมามีข้อบกพร่อง แก้ไข ยิ่งกว่านั้นการที่โจทก์ให้จำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นแพทย์เชี่ยวชาญด้านศัลยกรรมด้านเลเซอร์ผ่าตัด แสดงว่าจำเลยที่ 2 มีหน้าที่ต้องใช้ความระมัดระวังตามวิสัยและพฤติการณ์เป็นพิเศษ การที่จำเลยที่ 2 ผ่าตัดโจทก์เป็นเหตุให้ต้องผ่าตัดโจทก์เพื่อแก้ไขถึง 3 ครั้ง ย่อมแสดงว่าจำเลยที่ 2ไม่ใช้ความระมัดระวังในการผ่าตัดและไม่แจ้งให้ผู้ป่วยทราบถึงขั้นตอนการรักษาระยะเวลา และกรรมวิธีในการดำเนินการรักษา จนเป็นเหตุให้โจทก์ได้รับความเสียหาย นับว่าเป็นความประมาทเลินเล่อของจำเลยที่ 2 ถือได้ว่าจำเลยที่ 2ทำละเมิดต่อโจทก์
โจทก์ติดต่อกับจำเลยที่ 2 ที่คลีนิกของจำเลยที่ 2 เมื่อตกลงจะผ่าตัดจำเลยที่ 2 จึงตกลงให้โจทก์เข้าผ่าตัดในโรงพยาบาลของจำเลยที่ 1เพียงเท่านี้ย่อมฟังไม่ได้ว่าจำเลยที่ 1 เป็นนายจ้างของจำเลยที่ 2 หรือเป็นตัวการมอบหมายให้จำเลยที่ 2 เป็นตัวแทนทำการผ่าตัดให้โจทก์
ปัญหาที่จะต้องพิจารณาต่อไปว่า จำเลยที่ 2 ต้องชดใช้ค่าเสียหายให้แก่โจทก์หรือไม่ เพียงใด โจทก์มีตัวโจทก์และนายเพียงเทพ พงศะบุตรเบิกความว่า โจทก์จ่ายค่ารักษาพยาบาลให้แก่จำเลยที่ 2 จำนวน 70,000 บาทและจ่ายให้แก่จำเลยที่ 1 จำนวน 29,826 บาท ตามเอกสารหมาย จ.5 และค่ารักษาตัวที่โรงพยาบาลปิยะเวท 73,135.70 บาท ตามเอกสารหมาย จ.1และค่ารักษาที่โรงพยาบาลสมิติเวช 52,927 บาท ตามเอกสารหมาย จ.13 รวมค่ารักษาพยาบาลตัวโจทก์ทั้งสิ้นหลังจากเลิกรักษากับจำเลยที่ 2 เป็นเงิน 400,000บาทเศษ เห็นว่า ค่ารักษาพยาบาลโจทก์ที่โรงพยาบาลรามคำแหงเป็นเงิน 29,826บาท ตามเอกสารหมาย จ.5 ค่ารักษาพยาบาลที่โรงพยาบาลปิยะเวทเป็นเงิน73,135.70 บาท ตามเอกสารหมาย จ.1 และค่ารักษาพยาบาลที่โรงพยาบาลสมิติเวช 33,624 บาท ตามเอกสารหมาย จ.2 และ 52,927 บาท ตาม จ.13โจทก์มีหลักฐานมาแสดง มีน้ำหนักรับฟังได้ เชื่อว่าโจทก์จ่ายไปจริง ส่วนค่าผ่าตัดของจำเลยที่ 2 แม้จะไม่มี ภายหลังจากที่โจทก์ทำการผ่าตัดกับจำเลยที่ 2 แล้วมีอาการเครียดเนื่องจากมีอาการเจ็บปวด ต่อมาภายหลังพบว่าการทำศัลยกรรมไม่ได้ผล ทำให้โจทก์เครียดมาก กังวลและนอนไม่หลับ รุนแรงกว่าก่อนผ่าตัดพยานจึงทำการรักษา ดังนี้ แม้โจทก์จะมีการเครียดอยู่ก่อนผ่าตัด แต่เมื่อหลังผ่าตัดอาการมากขึ้นกว่าเดิม ความเครียดของโจทก์จึงเป็นผลโดยตรงมาจากการผ่าตัดจำเลยต้องรับผิดในค่าใช้จ่ายที่โจทก์ต้องรักษาจริง ส่วนค่าเสียหายที่เป็นค่าใช้จ่ายหลังจากแพทย์โรงพยาบาลอื่นได้รักษาโจทก์อยู่ในสภาพปกติแล้ว โจทก์จึงไม่อาจเรียกร้องเอาค่าสินไหมทดแทนเพื่อความเสียหายอย่างอื่นอันมิใช่ตัวเงินนั้นอีก.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2501/2517 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ค่าเสียหายจากบาดแผลบนใบหน้า: สิทธิเรียกร้องค่าทำศัลยกรรมตกแต่ง แม้ยังไม่ได้ทำจริง
ค่าเสียหายที่โจทก์ต้องให้แพทย์ทำศัลยกรรมตกแต่งเพื่อลบรอยแผลเป็นบนใบหน้าจัดเป็นค่าสินไหมทดแทนเพื่อความเสียหายอย่างอื่นอันมิใช่ตัวเงินตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 446แม้ขณะฟ้อง โจทก์ยังมิได้ให้แพทย์ทำศัลยกรรมตกแต่งใบหน้ากล่าวคือโจทก์ยังมิได้เสียค่าใช้จ่ายในการตกแต่งใบหน้าไปก็ตามโจทก์ก็มีสิทธิฟ้องเรียกร้องเอาจากจำเลยผู้ทำละเมิดได้ และจำนวนค่าเสียหายดังกล่าว ศาลย่อมวินิจฉัยให้ตามควรแก่พฤติการณ์และความร้ายแรงแห่งละเมิดตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 438 วรรคแรก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3037/2566

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดร่วมกันทางแพ่งจากการโฆษณาเกินจริงทางการแพทย์ และการดำเนินกิจการสถานพยาบาล
ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่าจำเลยที่ 1 กระทำผิดสัญญาต่อโจทก์ มิใช่เรื่องการทำละเมิด โดยจำเลยที่ 1 ไม่ได้รับอนุญาตให้ฎีกาในปัญหาข้อนี้ จึงต้องถือตามข้อเท็จจริงที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยไว้เป็นที่ยุติว่า กรณีดังกล่าวเป็นเรื่องที่จำเลยที่ 1 ประพฤติผิดสัญญาต่อโจทก์ ดังนั้น จึงไม่มีเหตุจำต้องวินิจฉัยว่าการกระทำของจำเลยที่ 1 ในคดีนี้เป็นคดีแพ่งที่เกี่ยวเนื่องกับคดีอาญาในมูลฐานความผิดฉ้อโกงประชาชนหรือไม่ การที่จำเลยที่ 1 โฆษณาโครงการเฟซออฟโดยแสดงให้เห็นว่าผู้เข้ารับการผ่าตัดดึงหน้าในโครงการผ่าตัดศัลยกรรมของจำเลยที่ 1 จะไร้รอยแผลเป็น ไม่เจ็บ หน้าจะเด็กลงนั้น มีลักษณะเป็นการเสนอให้บริการทางการแพทย์ เมื่อโจทก์หลงเชื่อการโฆษณาและตกลงเข้าร่วมโครงการกับจำเลยที่ 1 สัญญาระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 เป็นสัญญาให้บริการทางการแพทย์อันเป็นเอกเทศสัญญาประเภทหนึ่ง ซึ่งเป็นเรื่องที่มิได้มีกฎหมายกำหนดอายุความไว้โดยเฉพาะจึงมีกำหนดอายุความ 10 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/30 เมื่อโจทก์รู้ว่าการทำศัลยกรรมของจำเลยที่ 4 ที่เกิดขึ้นแก่โจทก์ไม่ดีโดยนำคดีมาฟ้องยังไม่เกิน 10 ปี คดีโจทก์จึงยังไม่ขาดอายุความ
การที่จำเลยที่ 1 โฆษณาว่าเป็นการผ่าตัดไร้รอยแผล แม้จะเป็นการโฆษณาเกินความจริง แต่แผลเป็นหลังผ่าตัดที่ยังคงเหลืออยู่ที่ขมับ หลังใบหู และท้ายทอยของโจทก์เป็นแผลเป็นที่เกิดขึ้นตามปกติของการผ่าตัด ซึ่งโจทก์ยอมรับว่าผลการผ่าตัดทำให้ใบหน้าโจทก์เปลี่ยนแปลงดีขึ้นกว่าเดิม กรณียังไม่อาจรับฟังได้ว่าการกระทำที่ถูกฟ้องร้องในคดีนี้เกิดจากการที่ผู้ประกอบธุรกิจกระทำโดยเจตนาเอาเปรียบผู้บริโภคโดยไม่เป็นธรรมหรือจงใจให้ผู้บริโภคได้รับความเสียหาย หรือประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรงไม่นำพาต่อความเสียหายที่จะเกิดแก่ผู้บริโภค หรือกระทำการอันเป็นการฝ่าฝืนต่อความรับผิดชอบในฐานะผู้มีอาชีพหรือธุรกิจอันย่อมเป็นที่ไว้วางใจของประชาชน จึงไม่อาจสั่งให้จำเลยที่ 1 ที่ 3 และที่ 4 จ่ายค่าเสียหายเพื่อการลงโทษตาม พ.ร.บ.วิธีพิจารณาคดีผู้บริโภคฯ มาตรา 42 วรรคหนึ่ง ได้