พบผลลัพธ์ทั้งหมด 39 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1260/2546
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ค่าทดแทนการเวนคืนที่ดิน: ศาลกำหนดจำนวนที่เป็นธรรม แม้คณะกรรมการฯ มิได้กำหนดไว้
โจทก์ได้เช่าที่ดินซึ่งบางส่วนถูกเวนคืนโดยการเช่านั้นมีหลักฐานเป็นหนังสือและจดทะเบียนการเช่าไว้ก่อนวันใช้บังคับพระราชกฤษฎีกาฯ และในวันที่เจ้าหน้าที่ได้เข้าครอบครองที่ดินที่ถูกเวนคืนดังกล่าวการเช่าที่ดินนั้นยังไม่ระงับ การที่ที่ดินบางส่วนที่โจทก์เช่าถูกเวนคืนย่อมทำให้โจทก์ขาดประโยชน์แห่งสิทธิการเช่าหรือเสียสิทธิที่จะได้ใช้ที่ดินส่วนที่ถูกเวนคืนนั้นหาผลประโยชน์อันพึงมีพึงได้โดยชอบนับแต่วันที่เจ้าหน้าที่เข้าครอบครองที่ดินที่เช่าที่ถูกเวนคืนนั้นจนถึงวันครบกำหนดตามสัญญาเช่า ความเสียหายดังกล่าวเป็นความเสียหายจริงโดยเหตุที่ต้องออกจากที่ดินที่ถูกเวนคืน โจทก์ผู้เช่าจึงมีสิทธิได้รับเงินค่าทดแทนตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ฯมาตรา 18(3)
คณะกรรมการกำหนดราคาเบื้องต้นฯ กำหนดเงินค่าทดแทนให้แก่โจทก์ เฉพาะค่าโรงเรือนหรือสิ่งปลูกสร้างโดยมิได้กำหนดเงินค่าทดแทนในการเช่าให้แก่โจทก์และผู้ซึ่งได้รับมอบหมายจากเจ้าหน้าที่ผู้ดำเนินการตามพระราชกฤษฎีกาฯ กับโจทก์ได้ทำบันทึกข้อตกลงยินยอมรับเงินค่าทดแทนโรงเรือนหรือสิ่งปลูกสร้างกันเมื่อวันที่ 24เมษายน 2540 ซึ่งเป็นกรณีที่มีการตกลงซื้อขายอสังหาริมทรัพย์กันได้ตามมาตรา 10แห่งพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ฯ ซึ่งจำเลยจะต้องจ่ายเงินค่าทดแทนดังกล่าวให้แก่โจทก์ภายใน 120 วัน คือภายในวันที่ 22 สิงหาคม 2540ตามมาตรา 11 วรรคหนึ่ง หากคณะกรรมการกำหนดราคาเบื้องต้นฯ กำหนดเงินค่าทดแทนในการเช่าซึ่งโจทก์มีสิทธิได้รับให้แก่โจทก์ด้วยแล้ว ผู้ได้รับมอบหมายจากเจ้าหน้าที่ผู้ดำเนินการตามพระราชกฤษฎีกาฯ กับโจทก์ก็จะทำข้อตกลงยินยอมรับเงินค่าทดแทนส่วนนี้ในวันเดียวกันกับที่ทำบันทึกข้อตกลงยินยอมฯ และต้องจ่ายเงินค่าทดแทนส่วนนี้ภายในวันที่ 22 สิงหาคม 2540 เช่นกัน แม้คณะกรรมการกำหนดราคาเบื้องต้นฯ ไม่ได้กำหนดเงินค่าทดแทนส่วนนี้ให้แก่โจทก์แต่เมื่อศาลฎีกาคณะคดีปกครองได้กำหนดเงินค่าทดแทนส่วนนี้ให้แก่โจทก์แล้ว ถือได้ว่าศาลได้วินิจฉัยให้จำเลยชำระเงินค่าทดแทนส่วนนี้เพิ่มขึ้นตามมาตรา 26 วรรคท้าย โจทก์จึงมีสิทธิได้รับดอกเบี้ยในอัตราสูงสุดของดอกเบี้ยเงินฝากประเภทฝากประจำของธนาคารออมสินแต่ต้องไม่เกินอัตราที่โจทก์ขอในจำนวนเงินที่เพิ่มขึ้นนับแต่วันที่ต้องมีการจ่าย คือวันที่ 22สิงหาคม 2540
คณะกรรมการกำหนดราคาเบื้องต้นฯ กำหนดเงินค่าทดแทนให้แก่โจทก์ เฉพาะค่าโรงเรือนหรือสิ่งปลูกสร้างโดยมิได้กำหนดเงินค่าทดแทนในการเช่าให้แก่โจทก์และผู้ซึ่งได้รับมอบหมายจากเจ้าหน้าที่ผู้ดำเนินการตามพระราชกฤษฎีกาฯ กับโจทก์ได้ทำบันทึกข้อตกลงยินยอมรับเงินค่าทดแทนโรงเรือนหรือสิ่งปลูกสร้างกันเมื่อวันที่ 24เมษายน 2540 ซึ่งเป็นกรณีที่มีการตกลงซื้อขายอสังหาริมทรัพย์กันได้ตามมาตรา 10แห่งพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ฯ ซึ่งจำเลยจะต้องจ่ายเงินค่าทดแทนดังกล่าวให้แก่โจทก์ภายใน 120 วัน คือภายในวันที่ 22 สิงหาคม 2540ตามมาตรา 11 วรรคหนึ่ง หากคณะกรรมการกำหนดราคาเบื้องต้นฯ กำหนดเงินค่าทดแทนในการเช่าซึ่งโจทก์มีสิทธิได้รับให้แก่โจทก์ด้วยแล้ว ผู้ได้รับมอบหมายจากเจ้าหน้าที่ผู้ดำเนินการตามพระราชกฤษฎีกาฯ กับโจทก์ก็จะทำข้อตกลงยินยอมรับเงินค่าทดแทนส่วนนี้ในวันเดียวกันกับที่ทำบันทึกข้อตกลงยินยอมฯ และต้องจ่ายเงินค่าทดแทนส่วนนี้ภายในวันที่ 22 สิงหาคม 2540 เช่นกัน แม้คณะกรรมการกำหนดราคาเบื้องต้นฯ ไม่ได้กำหนดเงินค่าทดแทนส่วนนี้ให้แก่โจทก์แต่เมื่อศาลฎีกาคณะคดีปกครองได้กำหนดเงินค่าทดแทนส่วนนี้ให้แก่โจทก์แล้ว ถือได้ว่าศาลได้วินิจฉัยให้จำเลยชำระเงินค่าทดแทนส่วนนี้เพิ่มขึ้นตามมาตรา 26 วรรคท้าย โจทก์จึงมีสิทธิได้รับดอกเบี้ยในอัตราสูงสุดของดอกเบี้ยเงินฝากประเภทฝากประจำของธนาคารออมสินแต่ต้องไม่เกินอัตราที่โจทก์ขอในจำนวนเงินที่เพิ่มขึ้นนับแต่วันที่ต้องมีการจ่าย คือวันที่ 22สิงหาคม 2540
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2971/2544 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ภาระหน้าที่อุปการะเลี้ยงดูบุตรหลังการหย่า แม้ไม่มีข้อตกลงระบุจำนวนเงิน ศาลสามารถกำหนดได้
ภาระหน้าที่อุปการะเลี้ยงดูและให้การศึกษาตามสมควรแก่บุตรในระหว่างที่เป็นผู้เยาว์ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1564 มิได้หมดสิ้นไปเมื่อมีการจดทะเบียนหย่า เมื่อบันทึกข้อตกลงท้ายทะเบียนการหย่ามิได้กล่าวว่าให้อำนาจปกครองบุตรอยู่กับโจทก์หรือจำเลย กรณีต้องถือว่าโจทก์จำเลยต่างเป็นผู้ใช้อำนาจปกครองบุตรร่วมกันตามมาตรา 1566 วรรคหนึ่ง ส่วนมาตรา 1522 วรรคหนึ่งมีความหมายเพียงว่า ในการหย่าโดยความยินยอม สามีและภริยาอาจตกลงกันในบันทึกข้อตกลงท้ายทะเบียนการหย่าว่า ฝ่ายใดจะเป็นผู้ออกเงินค่าอุปการะเลี้ยงดูบุตร เป็นจำนวนเท่าใด หากสามีและภริยามิได้กำหนดจำนวนเงินค่าอุปการะเลี้ยงดูไว้ในบันทึกข้อตกลง ศาลก็ย่อมเป็นผู้กำหนดจำนวนเงินให้ได้ตามสมควรตามมาตรา 1522 วรรคสอง บทกฎหมายดังกล่าวหาได้หมายความถึงขนาดที่ว่า เมื่อมิได้กำหนดให้จำเลยเป็นผู้ออกเงินค่าอุปการะเลี้ยงดูบุตรไว้ในบันทึกข้อตกลงท้ายทะเบียนการหย่าแล้วจำเลยก็ไม่ต้องรับผิดจ่ายเงินค่าอุปการะเลี้ยงดูบุตร
ข้อความตามบันทึกข้อตกลงท้ายทะเบียนการหย่ามีว่า "หย่าทั้งสองฝ่าย สาเหตุแห่งการหย่าเพราะทรรศนะไม่ตรงกัน มีบุตรด้วยกัน 1 คน คือ เด็กชาย ท.อยู่ในความอุปการะเลี้ยงดูของมารดา" ข้อความดังกล่าวไม่ใช่ข้อตกลงเรื่องออกเงินค่าอุปการะเลี้ยงดูบุตรเป็นจำนวนเท่าใดตามมาตรา 1522 วรรคหนึ่ง ศาลจึงมีอำนาจกำหนดให้จำเลยออกค่าอุปการะเลี้ยงดูได้ตามมาตรา 1522 วรรคสอง นอกจากนี้บันทึกข้อตกลงท้ายทะเบียนการหย่า แม้เป็นสัญญาระหว่างโจทก์จำเลย ซึ่งทำขึ้นเป็นลายลักษณ์อักษร ก็มิได้ลบล้างหน้าที่อันยิ่งใหญ่ของบิดามารดาที่มีต่อบุตรผู้เยาว์ การที่โจทก์นำสืบถึงหน้าที่ดังกล่าวของจำเลยซึ่งเป็นบิดา จึงมิใช่การนำสืบพยานบุคคลหักล้างหรือขัดแย้งกับพยานเอกสาร เมื่อโจทก์นำสืบได้ความชัดแจ้งและจำเลยเองก็ยอมรับว่า หลังจดทะเบียนการหย่าในปี 2537 จำเลยมิได้ให้ค่าอุปการะเลี้ยงดูผู้เยาว์ เนื่องจากจำเลยยืนยันว่าไม่เคยตกลงที่จะให้ค่าอุปการะเลี้ยงดู โจทก์ก็เรียกให้จำเลยรับผิดจ่ายเงินค่าอุปการะเลี้ยงดูบุตรย้อนหลังตั้งแต่ปี 2537 จนถึงวันฟ้องได้
ข้อความตามบันทึกข้อตกลงท้ายทะเบียนการหย่ามีว่า "หย่าทั้งสองฝ่าย สาเหตุแห่งการหย่าเพราะทรรศนะไม่ตรงกัน มีบุตรด้วยกัน 1 คน คือ เด็กชาย ท.อยู่ในความอุปการะเลี้ยงดูของมารดา" ข้อความดังกล่าวไม่ใช่ข้อตกลงเรื่องออกเงินค่าอุปการะเลี้ยงดูบุตรเป็นจำนวนเท่าใดตามมาตรา 1522 วรรคหนึ่ง ศาลจึงมีอำนาจกำหนดให้จำเลยออกค่าอุปการะเลี้ยงดูได้ตามมาตรา 1522 วรรคสอง นอกจากนี้บันทึกข้อตกลงท้ายทะเบียนการหย่า แม้เป็นสัญญาระหว่างโจทก์จำเลย ซึ่งทำขึ้นเป็นลายลักษณ์อักษร ก็มิได้ลบล้างหน้าที่อันยิ่งใหญ่ของบิดามารดาที่มีต่อบุตรผู้เยาว์ การที่โจทก์นำสืบถึงหน้าที่ดังกล่าวของจำเลยซึ่งเป็นบิดา จึงมิใช่การนำสืบพยานบุคคลหักล้างหรือขัดแย้งกับพยานเอกสาร เมื่อโจทก์นำสืบได้ความชัดแจ้งและจำเลยเองก็ยอมรับว่า หลังจดทะเบียนการหย่าในปี 2537 จำเลยมิได้ให้ค่าอุปการะเลี้ยงดูผู้เยาว์ เนื่องจากจำเลยยืนยันว่าไม่เคยตกลงที่จะให้ค่าอุปการะเลี้ยงดู โจทก์ก็เรียกให้จำเลยรับผิดจ่ายเงินค่าอุปการะเลี้ยงดูบุตรย้อนหลังตั้งแต่ปี 2537 จนถึงวันฟ้องได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2971/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ภาระหน้าที่บิดามารดาในการอุปการะเลี้ยงดูบุตรหลังหย่า แม้มิได้ตกลงในบันทึกข้อตกลง ศาลยังคงมีอำนาจกำหนดค่าเลี้ยงดูได้
บันทึกข้อตกลงหลังทะเบียนการหย่ามิได้กล่าวว่าให้อำนาจปกครองบุตรอยู่กับโจทก์หรือจำเลย กรณีต้องถือว่าโจทก์จำเลยต่างเป็นผู้ใช้อำนาจปกครองบุตรร่วมกันตามมาตรา 1566 วรรคหนึ่งส่วนมาตรา 1522 วรรคหนึ่งนั้น มีความหมายเพียงว่าในการหย่าโดยความยินยอม สามีและภริยาอาจตกลงกันในบันทึกข้อตกลงท้ายทะเบียนการหย่าว่าฝ่ายใดจะเป็นผู้ออกเงินค่าอุปการะเลี้ยงดูบุตรเป็นจำนวนเท่าใด หากมิได้กำหนดศาลก็ย่อมเป็นผู้กำหนดจำนวนเงินให้ได้ตามสมควรตามมาตรา 1522 วรรคสอง เมื่อข้อความตามบันทึกข้อตกลงท้ายทะเบียนหย่า ไม่ใช่ข้อตกลงเรื่องออกเงินค่าอุปการะเลี้ยงดูบุตรเป็นจำนวนเท่าใด ดังนั้นศาลจึงมีอำนาจกำหนดให้จำเลยออกค่าอุปการะเลี้ยงดูได้ และหลังจดทะเบียนหย่าในปี 2537 จำเลยมิได้ให้ค่าอุปการะเลี้ยงดูผู้เยาว์ โจทก์จึงเรียกให้จำเลยรับผิดจ่ายเงินค่าอุปการะเลี้ยงดูบุตรย้อนหลังตั้งแต่ปี 2537จนถึงวันฟ้องได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7170/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ค่าทดแทนการเวนคืนต้องเป็นค่าเสียหายโดยตรง และศาลมีอำนาจกำหนดราคาที่ดินส่วนที่เหลือลดลงได้แม้ไม่มีพระราชกฤษฎีกา
ค่าเสียหายที่ผู้มีสิทธิได้รับเงินค่าทดแทนจะมีสิทธิได้รับเพราะเหตุที่ต้องออกจากอสังหาริมทรัพย์ตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์พ.ศ. 2530 มาตรา 21 วรรคท้าย ต้องเป็นค่าเสียหายโดยตรงจากการที่ต้องออกจากอสังหาริมทรัพย์นั้น การที่โจทก์ที่ 1 และ ส. จะต้องไปเช่าบ้านอยู่ในระหว่างที่รอการก่อสร้างบ้านใหม่ มิใช่ค่าเสียหายโดยตรงจากการที่ต้องออกจากอสังหาริมทรัพย์ จึงไม่มีสิทธิได้รับเงินค่าทดแทนในส่วนนี้
พระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ฯ มาตรา 21 วรรคสอง และวรรคสามกำหนดหลักการไว้ว่าถ้าการเวนคืนทำให้อสังหาริมทรัพย์ที่เหลือมีราคาสูง ให้เอาราคาสูงขึ้นหักออกจากเงินค่าทดแทน หรือทำให้อสังหาริมทรัพย์ที่เหลือมีราคาลดลง ให้กำหนดเงินค่าทดแทนให้เฉพาะส่วนที่ราคาลดลงด้วยเพื่อให้เกิดความเป็นธรรมแก่ผู้ถูกเวนคืนและสังคม ดังนั้น แม้ยังไม่มีพระราชกฤษฎีกากำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการคำนวณออกใช้บังคับ ก็ไม่ใช่เหตุที่จะทำให้ไม่สามารถนำหลักการสำคัญดังกล่าวมาใช้บังคับได้ หากที่ดินของโจทก์ที่ 1 และ ส. ส่วนที่เหลือจากการเวนคืนมีราคาลดลง ศาลย่อมมีอำนาจกำหนดเงินค่าทดแทนสำหรับราคาที่ลดลงให้
พระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ฯ มาตรา 21 วรรคสอง และวรรคสามกำหนดหลักการไว้ว่าถ้าการเวนคืนทำให้อสังหาริมทรัพย์ที่เหลือมีราคาสูง ให้เอาราคาสูงขึ้นหักออกจากเงินค่าทดแทน หรือทำให้อสังหาริมทรัพย์ที่เหลือมีราคาลดลง ให้กำหนดเงินค่าทดแทนให้เฉพาะส่วนที่ราคาลดลงด้วยเพื่อให้เกิดความเป็นธรรมแก่ผู้ถูกเวนคืนและสังคม ดังนั้น แม้ยังไม่มีพระราชกฤษฎีกากำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการคำนวณออกใช้บังคับ ก็ไม่ใช่เหตุที่จะทำให้ไม่สามารถนำหลักการสำคัญดังกล่าวมาใช้บังคับได้ หากที่ดินของโจทก์ที่ 1 และ ส. ส่วนที่เหลือจากการเวนคืนมีราคาลดลง ศาลย่อมมีอำนาจกำหนดเงินค่าทดแทนสำหรับราคาที่ลดลงให้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7113/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ขอบเขตทางภารจำยอม: ศาลกำหนดความกว้างได้หากคำพิพากษาไม่ได้กำหนดไว้ โดยพิจารณาจากลักษณะการใช้เป็นทางเดิน
ตามคำพิพากษาได้ระบุว่าที่ดินของจำเลยตามเส้นสีเขียวด้านที่ติดกับลำห้วยน้ำใสยาว 25 เมตร ตามแผนที่พิพาทเป็นทางภารจำยอม ย่อมหมายถึงเส้นสีเขียวด้านที่ติดกับลำห้วยน้ำใสเท่านั้น หาได้หมายถึงเส้นสีเขียวในแผนที่สังเขปด้านทิศตะวันตกอีกเส้นหนึ่งที่อยู่ถัดไปไม่ เมื่อคำพิพากษานั้นไม่กำหนดความกว้างของทางพิพาทที่ตกเป็นภารจำยอมนั้นไว้ ศาลก็ย่อมกำหนดความกว้างของทางเดินพิพาทนั้นได้เพื่อให้การบังคับคดีตามคำพิพากษาได้ดำเนินไปได้อย่างถูกต้องตามความเป็นจริง
ที่ดินของจำเลยด้านทิศตะวันออกติดลำห้วยน้ำใส บริเวณริมห้วยมีทางพิพาทซึ่งเป็นทางเดินระยะทางยาวประมาณ 25 เมตร เมื่อทางภารจำยอมเป็นเพียงทางเดินเท่านั้น ทางพิพาทดังกล่าวจึงไม่จำเป็นต้องมีความกว้างตามที่ระบุไว้ในแผนที่พิพาท ศาลย่อมใช้ดุลพินิจกำหนดความกว้างของทางพิพาทที่ตกเป็นภารจำยอมไว้เพียง 1.50 เมตร ได้
ที่ดินของจำเลยด้านทิศตะวันออกติดลำห้วยน้ำใส บริเวณริมห้วยมีทางพิพาทซึ่งเป็นทางเดินระยะทางยาวประมาณ 25 เมตร เมื่อทางภารจำยอมเป็นเพียงทางเดินเท่านั้น ทางพิพาทดังกล่าวจึงไม่จำเป็นต้องมีความกว้างตามที่ระบุไว้ในแผนที่พิพาท ศาลย่อมใช้ดุลพินิจกำหนดความกว้างของทางพิพาทที่ตกเป็นภารจำยอมไว้เพียง 1.50 เมตร ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3504/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาเช่าซื้อ, ค่าเสียหายจากการใช้ทรัพย์โดยมิชอบ, การกำหนดค่าเสียหายโดยศาล
เมื่อปัญหาในเรื่องการทำสัญญาเช่าซื้อฟังได้เป็นยุติตามที่จำเลยให้การรับว่า จำเลยได้ทำสัญญาเช่าซื้อกับโจทก์จริง การที่ศาลล่างทั้งสองพิพากษายกฟ้องโจทก์โดยเห็นว่า ล. ลงลายมือชื่อในสัญญาเช่าซื้อในฐานะผู้รับมอบอำนาจจากโจทก์ แต่ทางนำสืบของโจทก์ไม่ปรากฏว่าโจทก์ได้มอบอำนาจให้ ล. กระทำการแทนโจทก์ โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องนั้น จึงเป็นการไม่ชอบ
โจทก์ฟ้องว่า เมื่อโจทก์ติดตามยึดรถที่ให้จำเลยเช่าซื้อคืนมาแล้วปรากฏว่าเครื่องยนต์และสีได้รับความเสียหายต้องทำสีใหม่ทั้งคันและจำเลยนำรถของโจทก์ไปใช้ประโยชน์โดยมิชอบในระหว่างผิดสัญญาเช่าซื้อ โจทก์บอกเลิกสัญญาแล้ว ขอให้จำเลยชำระค่าขาดประโยชน์พร้อมด้วยดอกเบี้ย แต่โจทก์ไม่ได้เรียกค่าเสียหายในการที่เครื่องยนต์และสีรถเสียหายมาด้วยการที่โจทก์นำสืบถึงค่าเสียหายในเรื่องดังกล่าว เป็นการนอกคำขอของโจทก์ ศาลจึงไม่อาจพิพากษาค่าเสียหายส่วนนี้ให้ได้ ประเด็นที่ว่าค่าเสียหายในการขาดประโยชน์จากการใช้ทรัพย์ระหว่างผิดนัดมีเพียงใดนั้น แม้ศาลล่างทั้งสองไม่ได้วินิจฉัยไว้ แต่โจทก์ได้ยกประเด็นนี้ขึ้นในชั้นอุทธรณ์ฎีกา ทั้งได้สืบพยานไว้แล้ว ศาลฎีกาเห็นสมควรวินิจฉัยให้เสร็จสิ้นไปโดยไม่จำต้องย้อนสำนวนไปให้ศาลชั้นต้นพิจารณาพิพากษาใหม่
โจทก์ฟ้องว่า เมื่อโจทก์ติดตามยึดรถที่ให้จำเลยเช่าซื้อคืนมาแล้วปรากฏว่าเครื่องยนต์และสีได้รับความเสียหายต้องทำสีใหม่ทั้งคันและจำเลยนำรถของโจทก์ไปใช้ประโยชน์โดยมิชอบในระหว่างผิดสัญญาเช่าซื้อ โจทก์บอกเลิกสัญญาแล้ว ขอให้จำเลยชำระค่าขาดประโยชน์พร้อมด้วยดอกเบี้ย แต่โจทก์ไม่ได้เรียกค่าเสียหายในการที่เครื่องยนต์และสีรถเสียหายมาด้วยการที่โจทก์นำสืบถึงค่าเสียหายในเรื่องดังกล่าว เป็นการนอกคำขอของโจทก์ ศาลจึงไม่อาจพิพากษาค่าเสียหายส่วนนี้ให้ได้ ประเด็นที่ว่าค่าเสียหายในการขาดประโยชน์จากการใช้ทรัพย์ระหว่างผิดนัดมีเพียงใดนั้น แม้ศาลล่างทั้งสองไม่ได้วินิจฉัยไว้ แต่โจทก์ได้ยกประเด็นนี้ขึ้นในชั้นอุทธรณ์ฎีกา ทั้งได้สืบพยานไว้แล้ว ศาลฎีกาเห็นสมควรวินิจฉัยให้เสร็จสิ้นไปโดยไม่จำต้องย้อนสำนวนไปให้ศาลชั้นต้นพิจารณาพิพากษาใหม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 225/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ค่าเสียหายจากการผิดสัญญาซื้อขายที่ดิน: ศาลมีอำนาจกำหนดตามส่วนต่างราคาที่ดินที่เพิ่มขึ้น
การฟ้องให้ใช้เงินแก่โจทก์ตามราคาที่ดินขณะฟ้องส่วนที่เพิ่มขึ้นจากราคาที่ดินที่ตกลงทำสัญญาจะซื้อขายกันนี้เป็นเงินที่โจทก์ขาดประโยชน์เนื่องจากการที่จำเลยไม่ได้จดทะเบียนโอนที่ดินให้เป็นของโจทก์ตามสัญญาจะซื้อขายถือเป็นการเรียกค่าเสียหายจากการที่จำเลยไม่ปฏิบัติตามสัญญาแม้จำเลยไม่ได้ให้การโต้แย้งจำนวนเงินค่าเสียหายดังกล่าวโจทก์ผู้กล่าวอ้างก็มีหน้าที่นำสืบถึงจำนวนค่าเสียหายของโจทก์และศาลมีอำนาจพิจารณากำหนดค่าเสียหายให้ตามที่สมควรดังนั้นการที่ศาลอุทธรณ์กำหนดค่าเสียหายให้โจทก์เป็นเงิน280,000บาทจึงไม่เป็นการวินิจฉัยนอกประเด็นหรือวินิจฉัยข้อเท็จจริงที่ไม่ได้ว่ากล่าวกันมาโดยชอบในศาลชั้นต้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8170/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาว่าจ้างที่ปรึกษาและการจ่ายค่าตอบแทน เมื่อไม่มีข้อตกลงเรื่องจำนวนค่าตอบแทน ศาลมีอำนาจกำหนดตามผลงาน
เมื่อจำเลยที่ 3 ได้แต่งตั้งให้โจทก์เป็นที่ปรึกษา ทำการวิเคราะห์รวบรวมข้อมูล และเจรจากับการทางพิเศษแห่งประเทศไทยเรื่องการประมูลก่อสร้างทางด่วนสายท่าเรือ-ดาวคะนอง เพื่อให้จำเลยที่ 3 เป็นผู้ประมูลได้และเข้าทำสัญญารับเหมาก่อสร้างทางด่วนดังกล่าวกับการทางพิเศษแห่งประเทศไทย ย่อมถือได้ว่าจำเลยที่ 3 ได้ทำสัญญาว่าจ้างโจทก์เช่นนั้น สัญญาดังกล่าวมิได้มีวัตถุประสงค์ให้โจทก์ใช้อิทธิพลวิ่งเต้นหรือเข้าแทรกแซงในกิจการของการทางพิเศษแห่งประเทศไทยเพื่อให้จำเลยที่ 3 เป็นผู้ประมูลได้และเข้าทำสัญญากับการทางพิเศษแห่งประเทศไทยโดยไม่ชอบด้วยกฎหมายหรือระเบียบแบบแผนของทางราชการแต่อย่างใด จึงไม่มีวัตถุประสงค์ขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน มีผลใช้บังคับกันได้โดยสมบูรณ์ และเมื่อจำเลยที่ 3 ว่าจ้างโจทก์ทำการงานให้จำเลยที่ 3 แม้โจทก์กับจำเลยที่ 3 มิได้ตกลงกันในเรื่องสินจ้างหรือค่าตอบแทนที่โจทก์เรียกว่าบำเหน็จและค่าใช้จ่ายโดยแจ้งชัด ก็ถือได้ว่าได้มีสัญญาผูกพันจำเลยที่ 3 ที่จะต้องจ่ายสินจ้างให้แก่โจทก์เพื่อผลสำเร็จแห่งการงานที่จำเลยที่ 3 ว่าจ้างให้โจทก์ทำนั้นแล้ว ซึ่งเมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่าโจทก์ทำงานที่ได้รับมอบหมายจากจำเลยที่ 3 เป็นผลสำเร็จ ทำให้จำเลยที่ 3 กับกิจการร่วมค้าได้ทำสัญญาก่อสร้างงานตามโครง-การทางด่วนท่าเรือ-ดาวคะนอง ช่วงที่ 1 กับการทางพิเศษแห่งประเทศไทย จำเลย-ที่ 3 จึงต้องรับผิดจ่ายสินจ้างให้แก่โจทก์เพื่อผลสำเร็จแห่งการงานที่โจทก์ทำนั้น แต่เมื่อไม่มีข้อตกลงกันโดยชัดแจ้งว่า จำเลยที่ 3 จะให้สินจ้างแก่โจทก์เป็นจำนวนเท่าใดก็จำเป็นที่จะต้องตีความสัญญาว่าจ้างระหว่างโจทก์และจำเลยที่ 3 ไปตามความประสงค์ในทางสุจริต โดยพิเคราะห์ถึงปกติประเพณีด้วย และศาลมีอำนาจกำหนดสินจ้างให้แก่โจทก์ได้ตามผลสำเร็จของงานโดยพิเคราะห์ความยากง่ายในการดำเนินการของการงานที่จำเลยที่ 3 จ้างให้โจทก์ทำประกอบด้วย และจำเลยที่ 3 ยังต้องรับผิดใช้ดอกเบี้ยในอัตราร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปีของสินจ้างที่จำเลยที่ 3 ต้องจ่ายให้โจทก์ในระหว่างเวลาผิดนัดตาม ป.พ.พ. มาตรา 224 วรรคหนึ่ง อีกด้วย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6940/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแบ่งทรัพย์สินโดยเจ้าของรวม: ศาลต้องกำหนดวิธีแบ่งให้ชัดเจนหากตกลงกันไม่ได้
การที่ศาลพิพากษาให้โจทก์แบ่งทรัพย์ให้จำเลยกึ่งหนึ่งตามฟ้องแย้งควรระบุวิธีการแบ่งให้ชัดเจนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1364 คือถ้าการแบ่งไม่ตกลง ก็ให้ขายโดยประมูลราคาในระหว่างเจ้าของรวมหรือขายทอดตลาด เพื่อมิให้เกิดเป็นปัญหาในชั้นบังคับคดีเพราะตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 271 การบังคับคดีจะต้องอาศัยและตามคำบังคับที่ออกตามคำพิพากษา และมาตรา 272วรรคแรก บัญญัติให้ศาลออกคำบังคับโดยกำหนดวิธีที่จะปฎิบัติตามคำบังคับไว้ด้วย จำเลยฟ้องแย้งขอแบ่งทรัพย์กึ่งหนึ่ง โดยระบุราคาทรัพย์กึ่งหนึ่งเป็นเงิน ซึ่งมีความหมายว่าถ้าการแบ่งตัวทรัพย์ไม่อาจเป็นไปได้ ก็ขอแบ่งส่วนเป็นเงิน การให้ขายเอาเงินแบ่งกันจึงไม่เกินคำขอในฟ้องแย้ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 739/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเวนคืนที่ดิน: ศาลกำหนดค่าทดแทนที่เป็นธรรมเมื่อจำเลยกำหนดราคาไม่เหมาะสม
โจทก์จำเลยโต้เถียงกันในประเด็นที่ว่า จำเลยกำหนด ค่าทดแทนที่ดินของโจทก์ชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ประเด็นดังกล่าวเกิดจากที่ดินของโจทก์ซึ่งอยู่ในเขตอำนาจของศาลแพ่งธนบุรีถูกเวนคืนมูลแห่งคดีจึงเกิดขึ้นในเขตอำนาจของศาลแพ่งธนบุรีเมื่อโจทก์ขออนุญาตฟ้องและศาลแพ่งธนบุรีอนุญาตให้โจทก์ฟ้องที่ศาลแพ่งธนบุรีแล้ว โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องที่ศาลแพ่งธนบุรีได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 4(2) การกำหนดค่าทดแทนให้แก่เจ้าของกรรมสิทธิ์ที่ดินที่ถูกเวนคืน มีกฎหมายบัญญัติไว้เพื่อให้เกิดความเป็นธรรมทั้งฝ่ายรัฐบาลและเอกชน จำเลยไม่อาจกำหนดค่าทดแทนให้ตามใจชอบ เมื่อโจทก์เห็นว่าจำเลยกำหนดค่าทดแทนให้ไม่เป็นธรรม โจทก์ก็มีสิทธิฟ้องขอให้ศาลกำหนดค่าทดแทนให้อย่างเป็นธรรมและเหมาะสมได้