พบผลลัพธ์ทั้งหมด 31 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4094/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เขตอำนาจศาล: โอนคดีจากศาลจังหวัดไปศาลแขวงเมื่อมีทุนทรัพย์ไม่เกิน 300,000 บาท
การที่โจทก์จะนำคดีขึ้นสู่ศาลใดนั้นจะต้องพิจารณาว่าคดีนั้นอยู่ในเขตอำนาจของศาลใดเป็นสำคัญ เมื่อคดีอยู่ในอำนาจของศาลใดแล้ว อีกศาลหนึ่งไม่มีอำนาจรับคดีเรื่องนั้นไว้พิจารณาพิพากษา เว้นแต่จะมีบทกฎหมายบัญญัติให้ศาลมีอำนาจที่จะรับคดีนั้นไว้พิจารณาพิพากษาได้ ซึ่งคดีเรื่องนี้แม้ศาลจังหวัดพิษณุโลกได้รับฟ้องโจทก์ไว้และมีการพิจารณาสืบพยานโจทก์จนเสร็จและอยู่ระหว่างนัดสืบพยานจำเลยดังที่โจทก์อุทธรณ์ก็ตาม แต่เมื่อปรากฏภายหลังว่าเป็นคดีที่อยู่ในเขตอำนาจของศาลแขวงพิษณุโลกตามพระธรรมนูญศาลยุติธรรม มาตรา 17 ประกอบมาตรา 25 (4) ไม่ใช่คดีที่อยู่ในเขตอำนาจของศาลจังหวัดพิษณุโลกเสียแล้ว ศาลจังหวัดพิษณุโลกย่อมไม่มีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีเรื่องนี้ได้ตามพระธรรมนูญศาลยุติธรรม มาตรา 18 ทั้งไม่มีบทบัญญัติแห่งกฎหมายใดให้อำนาจศาลจังหวัดพิษณุโลกที่จะใช้ดุลพินิจรับคดีนี้ไว้พิจารณาพิพากษาต่อไปได้ด้วย ดังนั้น การที่ศาลจังหวัดพิษณุโลกมีคำสั่งให้โอนคดีเรื่องนี้ไปยังศาลแขวงพิษณุโลกซึ่งเป็นศาลที่เขตอำนาจพิพากษาคดีได้นั้นเป็นการชอบด้วยพระธรรมนูญศาลยุติธรรม มาตรา 16 วรรคท้าย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 204/2546 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เขตอำนาจศาล: การโอนคดีจากศาลจังหวัดไปยังศาลแขวงเมื่อพบว่าคดีอยู่ในเขตอำนาจของศาลแขวง
การที่โจทก์จะนำคดีขึ้นสู่ศาลใดนั้น มิได้พิจารณาว่าคดีนั้นผู้พิพากษาคนเดียวหรือสองคนเป็นผู้มีอำนาจพิจารณาพิพากษา แต่ต้องพิจารณาว่าคดีนั้นอยู่ในเขตอำนาจของศาลใดเป็นสำคัญ เมื่อคดีอยู่ในเขตอำนาจของศาลใดแล้ว อีกศาลหนึ่งไม่มีอำนาจรับคดีเรื่องนั้นไว้พิจารณาพิพากษา เว้นแต่จะมีบทกฎหมายบัญญัติให้มีอำนาจที่จะรับไว้พิจารณาพิพากษาได้
ศาลจังหวัดราชบุรีได้รับฟ้องโจทก์ไว้และมีการพิจารณาแล้วแต่เมื่อปรากฏภายหลังว่าเป็นคดีที่อยู่ในเขตอำนาจของศาลแขวงราชบุรีตามพระธรรมนูญศาลยุติธรรม มาตรา 17 ประกอบมาตรา 25(4) ไม่ใช่คดีที่อยู่ในเขตอำนาจของศาลจังหวัดราชบุรีเสียแล้วศาลจังหวัดราชบุรีก็ย่อมไม่มีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีเรื่องนี้ได้ตามมาตรา 18 ทั้งไม่มีบทบัญญัติกฎหมายใดให้อำนาจศาลจังหวัดราชบุรีที่จะใช้ดุลพินิจรับไว้พิจารณาพิพากษาต่อไปได้ด้วย ดังนั้นการที่ศาลจังหวัดราชบุรีมีคำสั่งให้โอนคดีไปยังศาลแขวงราชบุรีซึ่งเป็นศาลที่มีเขตอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีได้จึงเป็นการชอบด้วยมาตรา 16 วรรคท้ายแล้ว
ศาลจังหวัดราชบุรีได้รับฟ้องโจทก์ไว้และมีการพิจารณาแล้วแต่เมื่อปรากฏภายหลังว่าเป็นคดีที่อยู่ในเขตอำนาจของศาลแขวงราชบุรีตามพระธรรมนูญศาลยุติธรรม มาตรา 17 ประกอบมาตรา 25(4) ไม่ใช่คดีที่อยู่ในเขตอำนาจของศาลจังหวัดราชบุรีเสียแล้วศาลจังหวัดราชบุรีก็ย่อมไม่มีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีเรื่องนี้ได้ตามมาตรา 18 ทั้งไม่มีบทบัญญัติกฎหมายใดให้อำนาจศาลจังหวัดราชบุรีที่จะใช้ดุลพินิจรับไว้พิจารณาพิพากษาต่อไปได้ด้วย ดังนั้นการที่ศาลจังหวัดราชบุรีมีคำสั่งให้โอนคดีไปยังศาลแขวงราชบุรีซึ่งเป็นศาลที่มีเขตอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีได้จึงเป็นการชอบด้วยมาตรา 16 วรรคท้ายแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 204/2546 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เขตอำนาจศาล: การโอนคดีจากศาลจังหวัดไปยังศาลแขวงเมื่อพบว่าคดีอยู่ในอำนาจศาลแขวง
การที่โจทก์จะนำคดีขึ้นสู่ศาลใดนั้น มิได้พิจารณาว่าคดีนั้นผู้พิพากษาคนเดียวหรือสองคนเป็นผู้มีอำนาจพิจารณาพิพากษา แต่ต้องพิจารณาว่าคดีนั้นอยู่ในเขตอำนาจของศาลใดเป็นสำคัญ เมื่อคดีอยู่ในเขตอำนาจของศาลใดแล้ว อีกศาลหนึ่งไม่มีอำนาจรับคดีเรื่องนั้นไว้พิจารณาพิพากษา เว้นแต่จะมีบทกฎหมายบัญญัติให้อำนาจที่จะรับไว้พิจารณาพิพากษาได้ คดีนี้แม้ศาลจังหวัดราชบุรีได้รับฟ้องโจทก์ไว้และมีการพิจารณาแล้วก็ตาม แต่เมื่อปรากฏในภายหลังว่าเป็นคดีที่อยู่ในอำนาจของศาลแขวงราชบุรีตามพระธรรมนูญศาลยุติธรรม มาตรา 17 ประกอบมาตรา 25(4) ไม่ใช่คดีที่อยู่ในอำนาจของศาลจังหวัดราชบุรี ศาลจังหวัดราชบุรีย่อมไม่มีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีนี้ได้ตามพระธรรมนูญศาลยุติธรรม มาตรา 18 ทั้งไม่มีบทบัญญัติกฎหมายใดให้อำนาจศาลจังหวัดราชบุรีที่จะใช้ดุลพินิจรับคดีไว้พิจารณาพิพากษาต่อไปได้ ดังนั้น การที่ศาลจังหวัดราชบุรีมีคำสั่งให้โอนคดีนี้ไปยังศาลแขวงราชบุรีซึ่งเป็นศาลที่มีเขตอำนาจพิจารณาพิพากษาจึงชอบด้วยพระธรรมนูญศาลยุติธรรม มาตรา 16 วรรคท้าย แล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 204/2546
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เขตอำนาจศาล: การโอนคดีจากศาลจังหวัดไปยังศาลแขวงเมื่อพบว่าคดีอยู่ในอำนาจศาลแขวง
การที่โจทก์จะนำคดีขึ้นสู่ศาลใดนั้น มิได้พิจารณาว่าคดีนั้นผู้พิพากษาคนเดียวหรือสองคนเป็นผู้มีอำนาจพิจารณาพิพากษา แต่ต้องพิจารณาว่าคดีนั้นอยู่ในเขตอำนาจของศาลใดเป็นสำคัญ เมื่อคดีอยู่ในเขตอำนาจของศาลใดแล้ว อีกศาลหนึ่งไม่มีอำนาจรับคดีเรื่องนั้นไว้พิจารณาพิพากษา เว้นแต่จะมีบทกฎหมายบัญญัติให้อำนาจที่จะรับไว้พิจารณาพิพากษาได้ คดีนี้แม้ศาลจังหวัดราชบุรีได้รับฟ้องโจทก์ไว้และมีการพิจารณาแล้วก็ตาม แต่เมื่อปรากฏในภายหลังว่าเป็นคดีที่อยู่ในอำนาจของศาลแขวงราชบุรีตามพระธรรมนูญศาลยุติธรรม มาตรา 17 ประกอบมาตรา 25(4) ไม่ใช่คดีที่อยู่ในอำนาจของศาลจังหวัดราชบุรี ศาลจังหวัดราชบุรีย่อมไม่มีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีนี้ได้ตามพระธรรมนูญศาลยุติธรรม มาตรา 18 ทั้งไม่มีบทบัญญัติกฎหมายใดให้อำนาจศาลจังหวัดราชบุรีที่จะใช้ดุลพินิจรับคดีไว้พิจารณาพิพากษาต่อไปได้ ดังนั้น การที่ศาลจังหวัดราชบุรีมีคำสั่งให้โอนคดีนี้ไปยังศาลแขวงราชบุรีซึ่งเป็นศาลที่มีเขตอำนาจพิจารณาพิพากษาจึงชอบด้วยพระธรรมนูญศาลยุติธรรม มาตรา 16 วรรคท้าย แล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2266/2544 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจศาลคดีละเมิดลิขสิทธิ์เยาวชน: ศาลทรัพย์สินทางปัญญาฯ หรือศาลจังหวัด เมื่อไม่มีศาลเยาวชนในพื้นที่
โจทก์ฟ้องว่าจำเลยกระทำความผิดฐานละเมิดลิขสิทธิ์ของผู้อื่นตาม พ.ร.บ.ลิขสิทธิ์ พ.ศ.2537 อันเป็นคดีอาญาเกี่ยวกับลิขสิทธิ์ และจำเลยให้การรับสารภาพ ข้อเท็จจริงรับฟังได้ว่า ขณะเกิดเหตุจำเลยมีอายุ 17 ปีเศษ จำเลยมีภูมิลำเนาอันเป็นถิ่นที่อยู่ปกติที่จังหวัดลพบุรีและกระทำความผิดในท้องที่จังหวัดลพบุรีซึ่งยังไม่มีศาลเยาวชนและครอบครัวเปิดดำเนินการ คดีจึงไม่อยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลเยาวชนและครอบครัวตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว พ.ศ.2534 มาตรา 58 (3)
ตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว พ.ศ.2534 มาตรา 58 (3) ที่ว่า ในกรณีคดีอาญาที่มีข้อหาว่าเด็กหรือเยาวชนกระทำความผิด ถ้าไม่มีศาลเยาวชนและครอบครัวในท้องที่ที่เด็กหรือเยาวชนมีถิ่นที่อยู่ปกติและในท้องที่ที่เด็กหรือเยาวชนกระทำความผิด ให้ศาลที่มีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีธรรมดาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามีอำนาจพิจารณาคดี หมายถึง กรณีคดีอาญาที่มีข้อหาว่าเด็กหรือเยาวชนกระทำความผิดที่ไม่มีบทกฎหมายอื่นบัญญัติเรื่องอำนาจศาลไว้เป็นพิเศษโดยเฉพาะ แต่คดีนี้โจทก์ฟ้องกล่าวหาว่าจำเลยกระทำความผิดฐานละเมิดลิขสิทธิ์อันเป็นคดีอาญาเกี่ยวกับลิขสิทธิ์ซึ่งมี พ.ร.บ.จัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศและวิธีพิจารณาคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ พ.ศ.2539 มาตรา 7 (1) บัญญัติไว้เป็นพิเศษให้คดีลักษณะนี้อยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศเว้นแต่จะเป็นคดีที่อยู่ในเขตอำนาจของศาลเยาวชนและครอบครัว เมื่อคดีนี้ไม่อยู่ในเขตอำนาจของศาลเยาวชนและครอบครัวแล้ว ก็ไม่เข้าข้อยกเว้นดังกล่าวคดีนี้จึงอยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ
กรณีที่ตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศและวิธีพิจารณาคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ พ.ศ.2539 มาตรา 5 วรรคสอง บัญญัติให้ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางมีเขตตลอดกรุงเทพมหานคร จังหวัดสมุทรปราการจังหวัดสมุทรสาคร จังหวัดนครปฐม จังหวัดนนทบุรี และจังหวัดปทุมธานี เท่านั้นแต่ให้บรรดาคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศที่เกิดขึ้นนอกเขตของศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางดังกล่าวจะยื่นฟ้องต่อศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางก็ได้ ซึ่งหมายความว่าหากมีการจัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศภาค โดยระบุเขตศาลและที่ตั้งศาลขึ้นตามมาตรา 6 แล้ว คดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศที่อยู่ในเขตอำนาจศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศภาคที่จัดตั้งขึ้นแล้วนั้นสามารถยื่นฟ้องต่อศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางได้ โดยให้อยู่ในดุลพินิจของศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางที่จะรับหรือไม่ยอมรับพิจารณาพิพากษาคดีนั้นได้เมื่อคดีนี้เหตุเกิดในท้องที่จังหวัดลพบุรีและยังไม่มีการจัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศภาคใดขึ้นเลย จึงยังใช้บทบัญญัติในการยื่นฟ้องคดีตามมาตรา 5 วรรคสอง ดังกล่าวแล้วไม่ได้ก็ตาม แต่ตามมาตรา 47 แห่งพระราชบัญญัติดังกล่าวก็บัญญัติเป็นบทเฉพาะกาลไว้ว่าในระหว่างที่ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศภาคยังมิได้เปิดทำการในท้องที่ใดให้ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางมีเขตในท้องที่นั้นด้วย และในคดีอาญาโจทก์จะยื่นฟ้องต่อศาลจังหวัดแห่งท้องที่ที่ความผิดเกิดขึ้นก็ได้ให้ศาลจังหวัดแจ้งไปยังศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางเมื่อศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางรับคดีนั้นไว้แล้วจะนั่งพิจารณาและพิพากษาคดี ณ ศาลจังหวัดแห่งท้องที่นั้น หรือ ณ ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางก็ได้แล้วแต่จะเห็นสมควร โจทก์จึงยื่นฟ้องต่อศาลจังหวัดลพบุรีและศาลดังกล่าวแจ้งไปยังศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลาง และศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางรับคดีนี้ไว้และพิจารณาพิพากษา จึงเป็นการชอบด้วยบทบัญญัติมาตรา 47 ดังกล่าว และคดีนี้มิใช่คดีที่อยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลจังหวัดลพบุรีด้วย
ตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว พ.ศ.2534 มาตรา 58 (3) ที่ว่า ในกรณีคดีอาญาที่มีข้อหาว่าเด็กหรือเยาวชนกระทำความผิด ถ้าไม่มีศาลเยาวชนและครอบครัวในท้องที่ที่เด็กหรือเยาวชนมีถิ่นที่อยู่ปกติและในท้องที่ที่เด็กหรือเยาวชนกระทำความผิด ให้ศาลที่มีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีธรรมดาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามีอำนาจพิจารณาคดี หมายถึง กรณีคดีอาญาที่มีข้อหาว่าเด็กหรือเยาวชนกระทำความผิดที่ไม่มีบทกฎหมายอื่นบัญญัติเรื่องอำนาจศาลไว้เป็นพิเศษโดยเฉพาะ แต่คดีนี้โจทก์ฟ้องกล่าวหาว่าจำเลยกระทำความผิดฐานละเมิดลิขสิทธิ์อันเป็นคดีอาญาเกี่ยวกับลิขสิทธิ์ซึ่งมี พ.ร.บ.จัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศและวิธีพิจารณาคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ พ.ศ.2539 มาตรา 7 (1) บัญญัติไว้เป็นพิเศษให้คดีลักษณะนี้อยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศเว้นแต่จะเป็นคดีที่อยู่ในเขตอำนาจของศาลเยาวชนและครอบครัว เมื่อคดีนี้ไม่อยู่ในเขตอำนาจของศาลเยาวชนและครอบครัวแล้ว ก็ไม่เข้าข้อยกเว้นดังกล่าวคดีนี้จึงอยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ
กรณีที่ตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศและวิธีพิจารณาคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ พ.ศ.2539 มาตรา 5 วรรคสอง บัญญัติให้ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางมีเขตตลอดกรุงเทพมหานคร จังหวัดสมุทรปราการจังหวัดสมุทรสาคร จังหวัดนครปฐม จังหวัดนนทบุรี และจังหวัดปทุมธานี เท่านั้นแต่ให้บรรดาคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศที่เกิดขึ้นนอกเขตของศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางดังกล่าวจะยื่นฟ้องต่อศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางก็ได้ ซึ่งหมายความว่าหากมีการจัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศภาค โดยระบุเขตศาลและที่ตั้งศาลขึ้นตามมาตรา 6 แล้ว คดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศที่อยู่ในเขตอำนาจศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศภาคที่จัดตั้งขึ้นแล้วนั้นสามารถยื่นฟ้องต่อศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางได้ โดยให้อยู่ในดุลพินิจของศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางที่จะรับหรือไม่ยอมรับพิจารณาพิพากษาคดีนั้นได้เมื่อคดีนี้เหตุเกิดในท้องที่จังหวัดลพบุรีและยังไม่มีการจัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศภาคใดขึ้นเลย จึงยังใช้บทบัญญัติในการยื่นฟ้องคดีตามมาตรา 5 วรรคสอง ดังกล่าวแล้วไม่ได้ก็ตาม แต่ตามมาตรา 47 แห่งพระราชบัญญัติดังกล่าวก็บัญญัติเป็นบทเฉพาะกาลไว้ว่าในระหว่างที่ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศภาคยังมิได้เปิดทำการในท้องที่ใดให้ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางมีเขตในท้องที่นั้นด้วย และในคดีอาญาโจทก์จะยื่นฟ้องต่อศาลจังหวัดแห่งท้องที่ที่ความผิดเกิดขึ้นก็ได้ให้ศาลจังหวัดแจ้งไปยังศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางเมื่อศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางรับคดีนั้นไว้แล้วจะนั่งพิจารณาและพิพากษาคดี ณ ศาลจังหวัดแห่งท้องที่นั้น หรือ ณ ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางก็ได้แล้วแต่จะเห็นสมควร โจทก์จึงยื่นฟ้องต่อศาลจังหวัดลพบุรีและศาลดังกล่าวแจ้งไปยังศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลาง และศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางรับคดีนี้ไว้และพิจารณาพิพากษา จึงเป็นการชอบด้วยบทบัญญัติมาตรา 47 ดังกล่าว และคดีนี้มิใช่คดีที่อยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลจังหวัดลพบุรีด้วย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4810/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจศาลและดุลพินิจการรับคำฟ้อง: ศาลจังหวัดบุรีรัมย์มีอำนาจจัดตั้งที่ทำการ ณ นางรอง และใช้ดุลพินิจรับฟ้องได้
ศาลจังหวัดบุรีรัมย์มีคำสั่งกำหนดให้มีการนั่งพิจารณา ณ ที่ทำการศาลจังหวัดบุรีรัมย์ (นางรอง) โดยอาศัยอำนาจ ตามความในมาตรา 35 แห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ประกอบกับมาตรา 15 แห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา ย่อมทำให้ทั้งศาลจังหวัดบุรีรัมย์กับศาลจังหวัดบุรีรัมย์ (นางรอง) ต่างมีอำนาจชำระคดีนี้ดังนี้ โจทก์ย่อมมีสิทธิยื่นฟ้องคดีนี้ต่อศาลใดศาลหนึ่งดังกล่าวได้ การที่ศาลจังหวัด บุรีรัมย์มีคำสั่งเรื่องกำหนดการนั่งพิจารณาคดีของศาล เพราะเห็นเป็นการจำเป็นที่จะให้เกิดความสะดวกรวดเร็วและ ประหยัดแก่ประชาชนในพื้นที่ สำหรับคดีนี้เมื่อความผิดที่โจทก์ ฟ้องเกิดขึ้นในเขตอำนาจของศาลจังหวัดบุรีรัมย์ (นางรอง) และไม่ปรากฏว่ามีอุปสรรคหรือเหตุขัดข้องที่โจทก์ไม่อาจ ยื่นฟ้องต่อศาลจังหวัดบุรีรัมย์ (นางรอง) ได้ การที่ศาลจังหวัดบุรีรัมย์มีคำสั่งไม่รับคำฟ้องของโจทก์โดยให้โจทก์ นำคำฟ้องไปยื่นที่ศาลจังหวัดบุรีรัมย์ (นางรอง) นั้นจึงเป็นการใช้ดุลพินิจที่ชอบแล้ว และไม่ขัดต่อรัฐธรรมนูญ แห่งราชอาณาจักรไทย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3578/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฎีกาต้องห้ามในปัญหาข้อเท็จจริงตามกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวงและศาลจังหวัด
คดีนี้ศาลอุทธรณ์พิพากษายืนตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นซึ่งเป็นศาลแขวงให้ลงโทษจำคุกจำเลยกระทงละ 1 เดือน รวม 3 กระทง จำคุก3 เดือน คดีจึงต้องห้ามมิให้คู่ความฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.อ.มาตรา218 วรรคหนึ่ง ประกอบ พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวง พ.ศ.2499 มาตรา 4 และ พ.ร.บ.ให้นำวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวงมาใช้บังคับในศาลจังหวัด พ.ศ.2520 มาตรา 3 ซึ่งศาลอุทธรณ์ฟังข้อเท็จจริงว่า จำเลยได้ทำสัญญากู้เงินจากโจทก์ตามหนังสือสัญญากู้เงินเอกสารหมาย จ.1 และได้สั่งจ่ายเช็คพิพาททั้งสามฉบับเพื่อชำระหนี้เงินกู้การที่จำเลยฎีกาว่า จำเลยมิได้กู้เงินจากโจทก์และไม่เคยรับเงินใดจากโจทก์เช็คพิพาททั้งสามฉบับจำเลยสั่งจ่ายให้โจทก์เพื่อนำไปกู้เงินมิได้มีเจตนาให้มีผลผูกพันกัน เป็นการโต้เถียงข้อเท็จจริงที่ศาลอุทธรณ์รับฟังมาและเป็นยุติแล้วจึงเป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงซึ่งต้องห้ามฎีกาตามบทบัญญัติของกฎหมายดังกล่าวส่วนที่จำเลยฎีกาขอให้รอการลงโทษเป็นการโต้เถียงดุลพินิจในการลงโทษของศาลอุทธรณ์อันเป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงซึ่งต้องห้ามมิให้ฎีกาเช่นกัน ที่ศาลชั้นต้นสั่งรับฎีกาจำเลยมานั้นเป็นการไม่ชอบ ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยให้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6890/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจศาล: ศาลแพ่งรับฟ้องคดีที่เกี่ยวข้องอสังหาริมทรัพย์ แม้ตามกฎหมายต้องฟ้องที่ศาลจังหวัด
แม้คำฟ้องโจทก์เกี่ยวด้วยอสังหาริมทรัพย์ซึ่งจะต้องยื่นฟ้องต่อศาลจังหวัดนนทบุรีที่อสังหาริมทรัพย์ตั้งอยู่ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 4(1) ซึ่งเป็นวันที่กฎหมายดังกล่าวใช้บังคับในขณะที่โจทก์ยื่นฟ้องก็ตาม แต่เมื่อศาลแพ่งได้สั่งรับฟ้องคดีนี้ไว้แล้ว ย่อมถือว่าศาลแพ่งได้ใช้ดุลพินิจยอมรับพิจารณาพิพากษาคดีนี้ตามพระธรรมนูญศาลยุติธรรม มาตรา 14(4) ซึ่งเป็นวันที่กฎหมายดังกล่าวใช้บังคับในขณะที่โจทก์ยื่นฟ้องแล้ว โดยโจทก์ไม่จำต้องยื่นคำร้องขออนุญาตฟ้องต่อศาลแพ่งแต่อย่างใด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3240/2533
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องร่วม: แม้มีข้อตกลงฟ้องศาลแพ่ง แต่จำเลยอื่นไม่ได้เป็นคู่สัญญา และมูลคดีเดียวกัน ศาลจังหวัดก็มีอำนาจพิจารณาได้
แม้ตามสัญญาระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 จะมีข้อตกลงว่าหากมีข้อพิพาทเกิดขึ้นจากสัญญาให้นำข้อพิพาทขึ้นฟ้องร้องยังศาลแพ่งสัญญาดังกล่าวจำเลยที่ 2 ถึงที่ 5 ไม่ได้เป็นคู่สัญญาด้วย จำเลยที่ 3 ถึงที่ 5 มีภูมิลำเนาอยู่ที่จังหวัดปทุมธานีตามคำฟ้องของโจทก์เป็นการเรียกร้องให้จำเลยทั้งห้าร่วมกันรับผิดใช้เงินค่าทดแทนจำนวนเดียวกัน อันเป็นมูลความแห่งคดีไม่อาจแบ่งแยกได้ โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องจำเลยที่ 1 ถึงที่ 5 ต่อศาลจังหวัดปทุมธานีได้ตามป.วิ.พ. มาตรา 5 วรรคสอง.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3584/2532 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องคดีความผิดหลายกระทงพร้อมกัน ศาลจังหวัดมีอำนาจพิจารณาคดีอาญาจากศาลแขวงได้
แม้ความผิดต่อ พ.ร.บ. ยาเสพติดให้โทษ กับความผิดต่อพ.ร.บ. คนเข้าเมืองฯ ที่โจทก์ฟ้องจะเป็นความผิดที่แยกเป็นแต่ละกรรมต่างกัน และความผิดต่อ พ.ร.บ. คนเข้าเมืองฯ อยู่ในอำนาจการพิจารณา พิพากษาของศาลแขวงก็ตาม แต่ก็ได้กระทำลงโดยผู้กระทำความผิดคนเดียวกันและเป็นความผิดที่เกี่ยวพันกันจึงเป็นกรณีความผิดหลายเรื่องเกี่ยวพันกันซึ่งโจทก์จะฟ้องคดีทุกเรื่องต่อศาลที่มีอำนาจชำระในฐานความผิดซึ่งมีอัตราโทษสูงกว่าก็ได้ ตาม ป.วิ.อ. มาตรา24 กรณีไม่ต้องด้วยมาตรา 3 และมาตรา 4 แห่ง พ.ร.บ. ให้นำวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวงมาใช้บังคับในศาลจังหวัดฯโจทก์จึงมีอำนาจฟ้องจำเลยในความผิดต่อ พ.ร.บ.คนเข้าเมืองฯ พร้อมกับความผิดต่อ พ.ร.บ. ยาเสพติดให้โทษต่อศาลจังหวัดได้โดยมิต้องผัดฟ้องฝากขังจำเลยตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวงฯ.