พบผลลัพธ์ทั้งหมด 8 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1112/2546 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ขอบเขตอำนาจผู้จัดการกิจการทรัพย์สิน: ศาลจำกัดอำนาจเฉพาะกิจการโรงเรียนเทคโนโลยี
ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยชำระหนี้ในคดีนี้ซึ่งเป็นหนี้ค่าจ้างก่อสร้างอาคารโรงเรียนเทคโนโลยี ร. การที่ ผู้ร้องยื่นคำร้องขอจัดการกิจการโรงเรียนเทคโนโลยี ฉ. แทนจำเลยผู้ไม่อยู่ชั่วคราว จนกว่าจำเลยจะกลับมา และผู้ร้องได้รับแต่งตั้งจากศาลให้เป็นผู้จัดการกิจการของโรงเรียนเทคโนโลยี ฉ. ย่อมมีความหมายอยู่ในตัวว่า ผู้ร้องมีอำนาจ จัดการแต่เฉพาะในกิจการของโรงเรียนเทคโนโลยี ฉ. อันเป็นกรณีที่ศาลสั่งให้ทำการอย่างหนึ่งอย่างใดไปพลางก่อนตามที่จำเป็นเพื่อจัดการทรัพย์สินของจำเลยผู้ไม่อยู่ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 48 วรรคหนึ่ง หาใช่กรณีที่ศาลตั้งผู้ร้องเป็น ผู้จัดการทรัพย์สินของจำเลยผู้ไม่อยู่ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 48 วรรคสอง อันจะทำให้ผู้ร้องมีอำนาจหน้าที่อย่างเดียวกับ ตัวแทนผู้รับมอบอำนาจทั่วไปไม่แม้ในเหตุฉุกเฉินผู้ร้องก็ไม่อาจจะก้าวล่วงไปจัดการในกิจการอื่นของจำเลยได้ ผู้ร้องจึงไม่มีอำนาจที่จะยื่นคำร้องขอให้พิจารณาคดีนี้ใหม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2963/2545 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาซื้อขายที่ดินค้างชำระ & ดอกเบี้ย - ศาลจำกัดการเพิ่มดอกเบี้ยเกินคำฟ้อง
โจทก์ทำสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินพร้อมอาคารจากจำเลย แต่จำเลยมิได้ก่อสร้างอาคารให้แล้วเสร็จตามสัญญา โจทก์มีหนังสือบอกกล่าวให้จำเลยปฏิบัติตามสัญญาภายใน 30 วัน หากพ้นกำหนดถือเป็นการบอกเลิกสัญญา เมื่อจำเลยเห็นว่าระยะเวลาดังกล่าวไม่อาจปฏิบัติตามสัญญาได้ จำเลยชอบที่จะขอขยายระยะเวลาการก่อสร้างอาคารจากโจทก์ แต่ก็ไม่ปรากฏว่าจำเลยกระทำเช่นนั้น ดังนั้น เมื่อพ้นกำหนดเวลาดังกล่าวจำเลยยังไม่สามารถส่งมอบอาคารให้โจทก์ได้ สัญญาระหว่างโจทก์และจำเลยจึงเลิกกันคู่สัญญาแต่ละฝ่ายจำต้องให้อีกฝ่ายหนึ่งกลับคืนสู่ฐานะดังที่เป็นอยู่เดิมตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 391
การที่ศาลจะพิพากษาให้จำเลยชำระดอกเบี้ยในอัตราที่สูงเกินกว่าที่ปรากฏในคำฟ้องหรือสูงกว่าที่โจทก์มีสิทธิได้รับตามกฎหมายนั้น ต้องเป็นกรณีที่ศาลใช้ดุลพินิจโดยคำนึงถึงเหตุสมควรและความสุจริตในการสู้ความหรือการดำเนินคดีตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 142(6) เมื่อโจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยชำระเงินดาวน์และเงินค่างวดคืนโจทก์พร้อมดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี แต่ศาลอุทธรณ์กำหนดให้ในอัตราร้อยละ 15 ต่อปี โดยไม่มีข้อวินิจฉัยว่าจำเลยไม่สุจริตในการสู้ความหรือในการดำเนินคดีอย่างไร จึงไม่มีเหตุที่จะพิพากษาให้จำเลยชำระดอกเบี้ยในอัตราที่สูงเกินกว่าที่ปรากฏในคำฟ้องได้ เป็นการต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 142 วรรคหนึ่ง
การที่ศาลจะพิพากษาให้จำเลยชำระดอกเบี้ยในอัตราที่สูงเกินกว่าที่ปรากฏในคำฟ้องหรือสูงกว่าที่โจทก์มีสิทธิได้รับตามกฎหมายนั้น ต้องเป็นกรณีที่ศาลใช้ดุลพินิจโดยคำนึงถึงเหตุสมควรและความสุจริตในการสู้ความหรือการดำเนินคดีตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 142(6) เมื่อโจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยชำระเงินดาวน์และเงินค่างวดคืนโจทก์พร้อมดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี แต่ศาลอุทธรณ์กำหนดให้ในอัตราร้อยละ 15 ต่อปี โดยไม่มีข้อวินิจฉัยว่าจำเลยไม่สุจริตในการสู้ความหรือในการดำเนินคดีอย่างไร จึงไม่มีเหตุที่จะพิพากษาให้จำเลยชำระดอกเบี้ยในอัตราที่สูงเกินกว่าที่ปรากฏในคำฟ้องได้ เป็นการต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 142 วรรคหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3729/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การลงโทษความผิดหลายกระทง – ศาลจำกัดการลงโทษตามคำฟ้องและคำขอ
จำเลยที่ 2 กับพวกร่วมกันทำร้ายร่างกาย จ. ได้รับอันตรายสาหัสแล้วจำเลยที่ 1 และที่ 2 กับพวกร่วมกันทำร้ายร่างกาย ว. และ บ. ได้รับอันตรายแก่กายอีก เป็นการกระทำที่ต่างกรรมกันอันเป็นความผิดหลายกระทง แต่โจทก์มิได้บรรยายฟ้องโดยมีรายละเอียดให้เห็นว่าจำเลยที่ 1 และที่ 2 กับพวกได้กระทำความผิดหลายกรรม และมิได้ขอให้ลงโทษจำเลยที่ 1 และที่ 2 ทุกกรรมเป็นกระทงความผิดไป แม้จะได้ความดังกล่าวก็ไม่ใช่เรื่องที่โจทก์ประสงค์จะให้ลงโทษ ศาลจึงไม่อาจลงโทษจำเลยที่ 1และที่ 2 ในแต่ละกรรมนอกเหนือจากคำฟ้องและคำขอของโจทก์ได้เมื่อคำพิพากษาของศาลล่างทั้งสองในส่วนนี้ไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 192 วรรคแรกปัญหาข้อนี้เป็นปัญหาเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย แม้จำเลยที่ 1 และที่ 2 จะมิได้ฎีกา ศาลฎีกาก็มีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้เองตามมาตรา 195วรรคสอง ประกอบมาตรา 225 โดยแก้ไขให้ลงโทษจำเลยที่ 1 ในความผิดฐานร่วมกันทำร้ายร่างกายผู้อื่นได้รับอันตรายแก่กายเพียงกระทงเดียวและลงโทษจำเลยที่ 2 ในความผิดฐานร่วมกันทำร้ายร่างกายผู้อื่นได้รับอันตรายสาหัสเพียงกระทงเดียว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 148/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ขอบเขตการลงโทษจำเลยในคดีหมิ่นประมาท: ศาลจำกัดเฉพาะข้อความที่ระบุในคำฟ้องเดิม
โจทก์บรรยายฟ้องแต่เพียงว่า จำเลยที่ 1 กับพวกนำข้อความที่ว่าโจทก์สมคบกับประธานสภาจังหวัดชัยภูมิประวิงหรือหลีกเลี่ยง ละเว้น ไม่พิจารณาคำขอเปิดประชุมสภาจังหวัดชัยภูมิสมัยวิสามัญครั้งที่ 1 ประจำปี 2538 ของจำเลยกับพวกซึ่งเป็นสมาชิกสภาจังหวัดชัยภูมิโดยไม่ชอบด้วยกฎหมายและประเพณีปฏิบัติราชการไปยื่นฟ้อง และจำเลยกับพวกจัดการโฆษณาเผยแพร่ข้อความตามคำฟ้องในหนังสือพิมพ์ไทยรัฐและหนังสือพิมพ์เดลินิวส์ ทำให้โจทก์เสียชื่อเสียงถูกดูหมิ่น และถูกเกลียดชัง ขอให้ลงโทษตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 326,328,83 แต่เมื่อทางพิจารณาปรากฏว่า ข้อความที่พิมพ์เผยแพร่ในหนังสือพิมพ์ไทยรัฐนอกจากจะเป็นข้อความตามคำฟ้องของจำเลยที่ 1 กับพวกแล้ว ยังมีข้อความเพิ่มเติมเป็นเบื้องหลังการที่โจทก์ไม่สั่งเปิดประชุมสภาจังหวัดเพราะเกี่ยวข้องกับการทุจริตและการย้ายข้าราชการโดยไม่เป็นธรรม อันเป็นการหมิ่นประมาทโจทก์ขึ้นใหม่อีกส่วนหนึ่งข้อความหมิ่นประมาทถือเป็นองค์ประกอบสำคัญของความผิดฐานหมิ่นประมาทเมื่อโจทก์มิได้บรรยายไว้ให้ปรากฏในคำฟ้องถือได้ว่าไม่ใช่เป็นเรื่องที่โจทก์ประสงค์ให้ลงโทษ ศาลไม่อาจนำข้อเท็จจริงดังกล่าวมาพิจารณาลงโทษจำเลยที่ 1 ได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 192 วรรคสี่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1114/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องจำกัดเฉพาะประเด็นทางภารจำยอม ศาลมิอาจวินิจฉัยสิทธิในที่ดินอื่นนอกเหนือจากประเด็นพิพาท
โจทก์ฟ้องขอให้จำเลยเปิดทางพิพาทในที่ดินของจำเลยอ้างว่าเป็นทางภารจำยอมจำเลยให้การว่ามิใช่ทางภารจำยอมจึงพิพาทกันเฉพาะทางพิพาทว่าเป็นทางภารจำยอมหรือไม่ไม่มีข้อพิพาทเกี่ยวกับกรรมสิทธิ์ในที่ดินด้วยการที่จำเลยนำชี้ในการทำแผนที่พิพาทว่าที่ดินตามกรอบสีแดงเป็นของตนและจำเลยร่วมคัดค้านว่าที่ดินตามกรอบสีเขียวเป็นของจำเลยร่วมก็เป็นกรณีที่จำเลยร่วมถูกโต้แย้งสิทธิในความเป็นเจ้าของที่ดินซึ่งมิได้เป็นข้อพิพาทโจทก์จึงไม่มีสิทธิที่จะขอให้ศาลหมายเรียกจำเลยร่วมเข้ามาในคดีจำเลยและจำเลยร่วมต้องไปฟ้องร้องเป็นคดีใหม่เกี่ยวกับกรรมสิทธิ์ในที่ดินตามกรอบสีเขียวต่อไปการที่ศาลชั้นต้นหมายเรียกจำเลยร่วมเข้ามาในคดีและวินิจฉัยเกี่ยวกับสิทธิในที่ดินตามกรอบสีเขียวระหว่างจำเลยกับจำเลยร่วมนอกเหนือจากเรื่องทางภารจำยอมด้วยจึงเป็นการไม่ชอบ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6066/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การยกเหตุแก้ต่างนอกคำให้การในคดีค้ำประกัน ศาลจำกัดเฉพาะข้อต่อสู้ที่ยกขึ้นในชั้นต้น
โจทก์ฟ้องให้จำเลยรับผิดในฐานะเป็นผู้ค้ำประกันบริษัทซ.ลูกหนี้ชั้นต้นของโจทก์ตามสัญญาค้ำประกันที่จำเลยทำไว้ให้แก่โจทก์โดยบรรยายถึงจำนวนหนี้พร้อมทั้งหลักฐานการเป็นหนี้ส่งไปยังจำเลยจำเลยรับแจ้งการเป็นหนี้ของลูกหนี้ที่จำเลยค้ำประกันไว้แต่ปฏิเสธที่จะชำระหนี้ส่วนหนึ่งขอให้พิพากษาให้จำเลยชำระหนี้โจทก์ในจำนวนหนี้ที่แจ้งไปตามสัญญาค้ำประกันจำเลยให้การยอมรับว่าได้ทำสัญญาค้ำประกันตามที่โจทก์อ้างจริงแต่ไม่ต้องรับผิดในหนี้บางจำนวนกล่าวคือใบส่งของบางฉบับไม่ระบุวันที่รับสินค้าใบส่งของบางฉบับไม่ระบุหลักฐานการลงนามรับสินค้าและวันที่รับสินค้าและหนี้บางรายการไม่ปรากฏใบส่งของจำเลยจึงแจ้งให้โจทก์ทราบว่าจะชำระหนี้เฉพาะที่มีหลักฐานถูกต้องครบถ้วนเท่านั้นจะเห็นได้ว่าคำให้การได้ยกเหตุแห่งการปฏิเสธหนี้ขึ้นเป็นข้อต่อสู้ชัดแจ้งตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา177วรรคสองแล้วแม้ศาลชั้นต้นจะได้กำหนดประเด็นข้อพิพาทในข้อที่2ว่าจำเลยต้องรับผิดต่อโจทก์ตามสัญญาค้ำประกันหรือไม่เพียงใดแต่การวินิจฉัยคดีในประเด็นดังกล่าวก็จำกัดอยู่แต่ในข้อต่อสู้ของจำเลยเท่านั้นหากนำเหตุอื่นมาวินิจฉัยคดีก็จะเป็นการวินิจฉัยนอกประเด็นซึ่งไม่อาจกระทำได้ดังนั้นอุทธรณ์ของจำเลยที่อ้างเหตุว่าจำเลยไม่ต้องรับผิดตามสัญญาค้ำประกันเพราะมีสินค้าบางส่วนที่โจทก์ได้รับคืนไปแล้วและบางส่วนโจทก์ได้รับชดใช้ราคาไปแล้วก็ดีกับข้อเท็จจริงที่จำเลยนำสืบฟังได้ว่าโจทก์ได้ปลดหนี้ให้แก่ลูกหนี้ชั้นต้นแล้วทำให้หนี้สินระงับไปจำเลยซึ่งเป็นผู้ค้ำประกันย่อมหลุดพ้นจากความรับผิดก็ดีล้วนแต่เป็นข้อทีมิได้ยกขึ้นว่ากล่าวกันมาในศาลชั้นต้นศาลอุทธรณ์จึงรับวินิจฉัยให้ไม่ได้ กฎหมายวิธีพิจารณาความบัญญัติขึ้นเพื่อให้การดำเนินกระบวนพิจารณาในศาลเป็นไปโดยเรียบร้อยและเป็นธรรมแก่คู่กรณีทุกฝ่ายมิให้ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งเอาเปรียบในเชิงคดีข้อที่จำเลยอ้างมาในฎีกาว่าขณะที่จำเลยยื่นคำให้การจำเลยพิจารณาเฉพาะพยานหลักฐานที่โจทก์ส่งไปให้จำเลยเพิ่งจะทราบข้อเท็จจริงที่เป็นเหตุให้จำเลยไม่ต้องรับผิดเพราะเมื่อมีการคืนสินค้าบางส่วนชำระราคาและปลดหนี้ให้แล้วโจทก์ก็ไม่มีสิทธิได้รับชำระหนี้จากจำเลยอีกและพฤติการณ์ไม่เปิดช่องให้จำเลยยกเหตุไม่ต้องรับผิดดังกล่าวขึ้นกล่าวในคำให้การเพราะจำเลยเพิ่งทราบภายหลังนั้นไม่ถูกต้องเพราะกฎหมายได้ให้โอกาสที่จำเลยจะสืบหาข้อเท็จจริงเพื่อเป็นแนวทางต่อสู้คดีก่อนที่จำเลยจะยื่นคำให้การแล้วทั้งปัญหาว่าลูกหนี้ชั้นต้นเป็นหนี้โจทก์หรือไม่เพียงใดก็มิใช่ปัญหาที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชนเมื่อจำเลยไม่ได้ยกข้ออ้างเหตุนี้ปฏิเสธหนี้ในคำให้การจึงเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากล่าวกันมาในศาลชั้นต้นและมิใช่กรณีที่มีพฤติการณ์ไม่เปิดช่องให้กระทำได้หรือเพราะเหตุเป็นเรื่องที่ไม่ปฏิบัติตามบทบัญญัติว่าด้วยกระบวนพิจารณาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา225วรรคสอง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1570/2511
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อจำกัดการตกลงกันในคดีอาญา: ศาลต้องวินิจฉัยเฉพาะประเด็นตามฟ้องเท่านั้น
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามิได้มีบทบัญญัติให้สิทธิแก่คู่ความในอันที่จะตกลงกันหรือที่เรียกว่าท้ากัน ขอให้ศาลวินิจฉัยประเด็นข้อหนึ่งข้อใดโดยเฉพาะแล้วให้ศาลพิพากษาชี้ขาดไปตามประเด็นข้อที่ตกลงหรือท้ากันนั้นได้. และในการนี้จะนำประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 138,182 ที่บัญญัติเกี่ยวกับการตกลงหรือท้ากันในคดีแพ่งมาใช้กับคดีอาญาโดยอนุโลม ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 15 ก็ไม่ได้. เพราะประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 192 บัญญัติบังคับห้ามมิให้ศาลพิพากษาหรือสั่งเกินคำขอหรือที่มิได้กล่าวในฟ้อง.
โจทก์บรรยายฟ้องว่าจำเลยได้กระทำผิดฐานเก็บหาของป่าหวงห้ามในป่าโดยไม่ได้รับอนุญาตและเสียค่าภาคหลวง.จำเลยมิได้ให้การรับสารภาพในข้อหานี้แต่รับสารภาพในข้ออื่นที่โจทก์มิได้ฟ้อง. เมื่อโจทก์ไม่สืบพยาน.ข้อเท็จจริงตามที่โจทก์ฟ้องจึงฟังไม่ได้.
โจทก์บรรยายฟ้องว่าจำเลยได้กระทำผิดฐานเก็บหาของป่าหวงห้ามในป่าโดยไม่ได้รับอนุญาตและเสียค่าภาคหลวง.จำเลยมิได้ให้การรับสารภาพในข้อหานี้แต่รับสารภาพในข้ออื่นที่โจทก์มิได้ฟ้อง. เมื่อโจทก์ไม่สืบพยาน.ข้อเท็จจริงตามที่โจทก์ฟ้องจึงฟังไม่ได้.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 806/2478
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ขอบเขตการฟ้องร้องละเมิดเครื่องหมายการค้า: ศาลจำกัดการวินิจฉัยเฉพาะที่จดทะเบียนตามฟ้อง
โจทก์มีเครื่องหมายการค้าไว้หลายแห่งที่สินค้าโจทก์แต่โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยฐานเปลี่ยนเครื่องหมายการค้าฉะเพาะเครื่องหมายทีโจทก์จดทะเบียนไว้เท่านั้นดังนี้ศาลไม่มีอำนาจวินิจฉัยเลยไปถึงเครื่องหมายการค้าที่โจทก์ไม่ได้จดทะเบียนไว้ด้วย เพราะเป็นการนอกฟ้อง