พบผลลัพธ์ทั้งหมด 926 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8534/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การวินิจฉัยนอกประเด็นเรื่องการเช่าในคดีบุกรุก ศาลฎีกายกคำพิพากษาศาลอุทธรณ์และบังคับคดีตามศาลชั้นต้น
จำเลยทั้งสองให้การต่อสู้ว่า โจทก์ยินยอมให้จำเลยทั้งสองเข้าไปปลูกสร้างอาคารในที่ดินของโจทก์ ไม่ได้ให้การต่อสู้ในประเด็นเรื่องการเช่า การที่ศาลอุทธรณ์ภาค 1 หยิบยกประเด็นเรื่องการเช่าขึ้นวินิจฉัยจึงเป็นการวินิจฉัยนอกประเด็น ปัญหาดังกล่าวเป็นปัญหาเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน จึงเห็นควรวินิจฉัยตามประเด็นที่ถูกต้อง โดยไม่จำต้องย้อนสำนวนไปให้ศาลอุทธรณ์ภาค 1 พิจารณาพิพากษาใหม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7779/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเปลี่ยนแปลงโทษทางอาญาตามกฎหมายใหม่ แม้คดีถึงที่สุดแล้ว ศาลชั้นต้นมีอำนาจพิจารณา
คดีถึงที่สุดตามคำพิพากษาศาลฎีกาแต่จำเลยที่ 1 กำลังรับโทษตามคำพิพากษาดังกล่าวอยู่ เมื่อจำเลยที่ 1 ยื่นคำร้องอ้างว่า มี พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษ (ฉบับที่ 5) พ.ศ.2545 ยกเลิกความในมาตรา 15 และมาตรา 66 แห่ง พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ.2522 และให้ใช้ความใหม่แทน อันเป็นกฎหมายที่เป็นคุณแก่จำเลยที่ 1 ดังนี้จำเลยที่ 1 ย่อมมีสิทธิที่จะร้องขอต่อศาลให้ศาลชั้นต้นกำหนดโทษเสียใหม่ให้แก่จำเลยที่ 1 ได้ ตาม ป.อ. มาตรา 3 (1) ที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งว่า คดีถึงที่สุดตามคำพิพากษาศาลฎีกาแล้ว จึงไม่อาจแก้ไขโทษตามคำพิพากษาได้นั้นเป็นการไม่ถูกต้อง เพราะอำนาจในการมีคำสั่งตามคำร้องของจำเลยที่ 1 ในกรณีเช่นนี้เป็นอำนาจของศาลชั้นต้น
เมื่อจำเลยที่ 1 อุทธรณ์คำสั่งศาลชั้นต้น ศาลชั้นต้นมีคำสั่งไม่รับอุทธรณ์ จำเลยที่ 1 ยื่นคำร้องอุทธรณ์คำสั่งศาลชั้นต้นที่ไม่รับอุทธรณ์ ศาลชั้นต้นชอบที่จะส่งสำนวนดังกล่าวไปยังศาลอุทธรณ์ เพื่อพิจารณาตามลำดับชั้นศาล แต่ศาลชั้นต้นกลับส่งสำนวนมายังศาลฎีกาอันเป็นการไม่ชอบด้วย ป.วิ.อ.มาตรา 198 ทวิ แต่เมื่อคดีได้ขึ้นมาสู่การพิจารณาของศาลฎีกาแล้ว ศาลฎีกาย่อมมีอำนาจสั่งยกคำสั่งของศาลชั้นต้นได้ โดยไม่ต้องย้อนสำนวนไปให้ศาลอุทธรณ์มีคำสั่งใหม่
เมื่อจำเลยที่ 1 อุทธรณ์คำสั่งศาลชั้นต้น ศาลชั้นต้นมีคำสั่งไม่รับอุทธรณ์ จำเลยที่ 1 ยื่นคำร้องอุทธรณ์คำสั่งศาลชั้นต้นที่ไม่รับอุทธรณ์ ศาลชั้นต้นชอบที่จะส่งสำนวนดังกล่าวไปยังศาลอุทธรณ์ เพื่อพิจารณาตามลำดับชั้นศาล แต่ศาลชั้นต้นกลับส่งสำนวนมายังศาลฎีกาอันเป็นการไม่ชอบด้วย ป.วิ.อ.มาตรา 198 ทวิ แต่เมื่อคดีได้ขึ้นมาสู่การพิจารณาของศาลฎีกาแล้ว ศาลฎีกาย่อมมีอำนาจสั่งยกคำสั่งของศาลชั้นต้นได้ โดยไม่ต้องย้อนสำนวนไปให้ศาลอุทธรณ์มีคำสั่งใหม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7185/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การอุทธรณ์ที่ไม่ชอบ เพราะไม่ได้ยกเหตุผลเดิมในศาลชั้นต้น ทำให้ต้องห้ามอุทธรณ์ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 225
คดีนี้โจทก์ฟ้องว่า จำเลยทั้งสองร่วมกันประกอบกิจการค้าใช้ชื่อ "ร้านมะลิทองเภสัช" โดยจำเลยที่ 1 เป็นผู้จดทะเบียนพาณิชย์ระบุว่าเป็นผู้ประกอบกิจการพาณิชยกิจชนิดยาแผนปัจจุบัน ส่วนจำเลยที่ 2 เป็นผู้ติดต่อซื้อสินค้าและชำระราคาให้แก่โจทก์ จำเลยที่ 2 ได้สั่งซื้อสินค้าจากโจทก์หลายครั้งและโจทก์ได้ส่งมอบสินค้าให้แก่จำเลยทั้งสองครบถ้วนแล้ว จำเลยที่ 2 ได้ชำระราคาให้แก่โจทก์บางส่วน ขอให้บังคับจำเลยทั้งสองร่วมกันชำระค่าสินค้าที่เหลือพร้อมดอกเบี้ยแก่โจทก์ ศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่า จำเลยที่ 1 ไม่ได้สั่งซื้อสินค้าตามฟ้องจากโจทก์และไม่มีนิติสัมพันธ์ใด ๆ กับโจทก์ โจทก์ไม่มีสิทธิเรียกร้องให้จำเลยที่ 1 ชำระค่าสินค้า พิพากษาให้จำเลยที่ 2 ชำระค่าสินค้าพร้อมดอกเบี้ยให้แก่โจทก์ ยกฟ้องจำเลยที่ 1 โจทก์อุทธรณ์ขอให้จำเลยที่ 1 ร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 2 โดยอ้างว่าจำเลยที่ 1 เป็นตัวการได้มอบหมายให้จำเลยที่ 2 เป็นตัวแทนในการดำเนินกิจการแทนตน โจทก์มิได้อุทธรณ์โต้แย้งคำพิพากษาศาลชั้นต้นขอให้จำเลยที่ 1 ร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 2 เพราะเหตุที่จำเลยที่ 1 ได้ร่วมกับจำเลยที่ 2 ซื้อสินค้าไปจากโจทก์ตามข้ออ้างและคำขอบังคับในคำฟ้องของโจทก์ จึงเป็นอุทธรณ์ที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นและไม่ใช่ปัญหาเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 225
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7060/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หลักฐานการกู้ยืมต้องชัดเจน การลงลายมือชื่อเฉพาะรายการผูกพันเฉพาะผู้ลงลายมือชื่อ การเปลี่ยนแปลงฐานฟ้องต้องยกขึ้นในศาลชั้นต้น
เอกสารที่โจทก์อ้างว่าเป็นหลักฐานการกู้ยืมตามฟ้อง รายการแรกที่เขียนว่า "ย/ม(จากเล่มเก่า)?390,670" ไม่มีข้อความใดที่ระบุว่าเป็นการกู้ยืม ส่วนที่เขียนว่า "ยืม" ก็เขียนอยู่คนละบรรทัดและเขียนในลักษณะเป็นช่องสำหรับลงรายการทุกรายการที่จะมีต่อไป ไม่ใช่ระบุเฉพาะรายการ 390,670 เท่านั้น และในรายการที่ลงต่อ ๆ มา โจทก์ก็เขียนข้อความประกอบในแต่ละรายการว่าเป็นค่าอะไรบ้าง จึงไม่อาจแปลความคำว่า "ยืม" ตอนบนมาขยายความในช่องรายการแรกได้ ซึ่งข้อความ ย/ม(จากเล่มเก่า)?390,670 นั้น เป็นการแสดงว่าตัวเลข 390,670 นี้ นำมาจากสมุดเล่มเก่า ซึ่งรายการในสมุดเล่มเก่าจะมีกี่รายการ แต่ละรายการเป็นเงินอะไรบ้าง โจทก์ไม่ได้นำสืบให้ปรากฏ เมื่อจำเลยทั้งสองปฏิเสธว่าไม่ได้กู้ จึงถือไม่ได้ว่าเอกสารดังกล่าวในรายการช่องแรกเป็นหลักฐานแห่งการกู้ยืมเงินตาม ป.พ.พ. มาตรา 653 วรรคหนึ่ง
ศาลอุทธรณ์พิพากษาให้จำเลยทั้งสองรับผิดตามรายการกู้ยืมที่จำเลยแต่ละคนลงลายมือชื่อไว้ ซึ่งเป็นไปตาม ป.พ.พ. มาตรา 653 วรรคหนึ่ง จะให้จำเลยคนที่ไม่ได้ลงลายมือชื่อในรายการร่วมรับผิดด้วยไม่ได้ โจทก์ฎีกาว่ากรณีเป็นหนี้ร่วมระหว่างสามีภริยา จำเลยทั้งสองต้องร่วมกันรับผิดต่อโจทก์นั้น ตามคำฟ้องโจทก์บรรยายฟ้องมาเป็นแต่เรื่องกู้ยืม หาได้กล่าวถึงความรับผิดอย่างลูกหนี้ร่วมสำหรับสามีภริยาไว้ด้วยไม่ จึงเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้น ต้องห้ามฎีกา ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคหนึ่ง
ศาลอุทธรณ์พิพากษาให้จำเลยทั้งสองรับผิดตามรายการกู้ยืมที่จำเลยแต่ละคนลงลายมือชื่อไว้ ซึ่งเป็นไปตาม ป.พ.พ. มาตรา 653 วรรคหนึ่ง จะให้จำเลยคนที่ไม่ได้ลงลายมือชื่อในรายการร่วมรับผิดด้วยไม่ได้ โจทก์ฎีกาว่ากรณีเป็นหนี้ร่วมระหว่างสามีภริยา จำเลยทั้งสองต้องร่วมกันรับผิดต่อโจทก์นั้น ตามคำฟ้องโจทก์บรรยายฟ้องมาเป็นแต่เรื่องกู้ยืม หาได้กล่าวถึงความรับผิดอย่างลูกหนี้ร่วมสำหรับสามีภริยาไว้ด้วยไม่ จึงเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้น ต้องห้ามฎีกา ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6318/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฎีกาไม่ชอบด้วย ป.วิ.อ. ม.216 โต้แย้งเฉพาะคำพิพากษาศาลชั้นต้น ไม่โต้แย้งศาลอุทธรณ์
ฎีกาของจำเลยโต้แย้งคำวินิจฉัยของศาลชั้นต้นทั้งสิ้น เนื้อหาของฎีกาก็คัดข้อความมาจากคำอุทธรณ์ทั้งหมด แม้คำขอท้ายฎีกาจะเป็นการขอให้ศาลฎีกาพิพากษากลับคำพิพากษาศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ภาค 2 แต่ฎีกาของจำเลยดังกล่าวก็เป็นการโต้แย้งคัดค้านเฉพาะคำพิพากษาศาลชั้นต้น มิได้โต้แย้งคัดค้านว่าศาลอุทธรณ์ภาค 2 พิพากษาไม่ชอบอย่างไร โดยไม่เห็นด้วยกับคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 2 เพราะเหตุใด ทั้งๆ ที่คำวินิจฉัยของศาลอุทธรณ์ภาค 2 อ้างเหตุคนละอย่างกับเหตุที่ศาลชั้นต้นวินิจฉัย จึงเป็นฎีกาที่มิได้คัดค้านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 2 อันเป็นการไม่ชอบด้วย ป.วิ.อ. มาตรา 216 ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5204/2549 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การงดสืบพยานศาลชั้นต้นไม่ชอบด้วยกฎหมาย และประเด็นความเสียหายพิเศษจากการรุกล้ำทางสาธารณประโยชน์
อุทธรณ์ของโจทก์เป็นการโต้แย้งดุลพินิจในการรับฟังพยานหลักฐานของศาลชั้นต้น และเป็นการโต้เถียงข้อเท็จจริงว่า การที่จำเลยทั้งสองปลูกสร้างสิ่งปลูกสร้างรุกล้ำเข้ามาในทางสาธารณประโยชน์อันเป็นการกีดขวางทางเข้าออกที่ดินของโจทก์ ทำให้โจทก์ได้รับความเดือดร้อนเกินที่ควรคิดหรือคาดหมายได้ว่าจะเป็นไปตามปกติและเหตุอันควร และได้รับความเสียหายเป็นพิเศษ เพื่อนำไปสู่ปัญหาข้อกฎหมายที่ว่าการกระทำของจำเลยทั้งสองเป็นการโต้แย้งสิทธิของโจทก์ทำให้โจทก์มีอำนาจฟ้องจำเลยทั้งสองได้ จึงเป็นการอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริง การที่ศาลชั้นต้นอนุญาตให้โจทก์อุทธรณ์ในปัญหาดังกล่าวโดยตรงต่อศาลฎีกาโดยเห็นว่าปัญหาดังกล่าวเป็นปัญหาข้อกฎหมายนั้นจึงไม่ถูกต้อง
เมื่อข้อเท็จจริงที่จะนำมาวินิจฉัยว่าโจทก์ได้รับความเสียหายหรือไม่ยังไม่ปรากฏจากคำฟ้องและการนำสืบพยานหลักฐานของโจทก์ จึงเป็นข้อเท็จจริงที่คู่ความต้องนำสืบต่อไปจนสิ้นกระแสความ การที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งงดสืบพยานโจทก์จำเลยทั้งสองหลังจากสืบพยานโจทก์ได้เพียงปากเดียวแล้วพิพากษายกฟ้องจึงไม่ต้องด้วยบทบัญญัติแห่ง ป.วิ.พ. ในข้อที่มุ่งหมายจะยังให้การเป็นไปด้วยความยุติธรรมในการพิจารณาคดีและการพิจารณาพยานหลักฐาน เป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกามีอำนาจที่จะยกขึ้นวินิจฉัยให้เพิกถอนคำพิพากษาและคำสั่งงดสืบพยานของศาลชั้นต้นได้ แม้โจทก์จะไม่ได้มีคำขอเช่นนั้นในอุทธรณ์ ทั้งนี้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 27 ประกอบมาตรา 243 (2), 247
เมื่อข้อเท็จจริงที่จะนำมาวินิจฉัยว่าโจทก์ได้รับความเสียหายหรือไม่ยังไม่ปรากฏจากคำฟ้องและการนำสืบพยานหลักฐานของโจทก์ จึงเป็นข้อเท็จจริงที่คู่ความต้องนำสืบต่อไปจนสิ้นกระแสความ การที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งงดสืบพยานโจทก์จำเลยทั้งสองหลังจากสืบพยานโจทก์ได้เพียงปากเดียวแล้วพิพากษายกฟ้องจึงไม่ต้องด้วยบทบัญญัติแห่ง ป.วิ.พ. ในข้อที่มุ่งหมายจะยังให้การเป็นไปด้วยความยุติธรรมในการพิจารณาคดีและการพิจารณาพยานหลักฐาน เป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกามีอำนาจที่จะยกขึ้นวินิจฉัยให้เพิกถอนคำพิพากษาและคำสั่งงดสืบพยานของศาลชั้นต้นได้ แม้โจทก์จะไม่ได้มีคำขอเช่นนั้นในอุทธรณ์ ทั้งนี้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 27 ประกอบมาตรา 243 (2), 247
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4672/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฎีกาต้องห้ามในคดีเยาวชน: ศาลชั้นต้นสั่งผิดพลาดเรื่องการอนุญาตฎีกาข้อเท็จจริง
กรณีที่ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ภาค 9 แผนกคดีเยาวชนและครอบครัวใช้วิธีการสำหรับเด็กและเยาวชน โดยเปลี่ยนโทษจำคุกเป็นส่งตัวจำเลยไปฝึกและอบรมซึ่งมิใช่การลงโทษ จึงถือมิได้ว่าลงโทษจำคุกจำเลยเกิน 2 ปี และปรับเกิน 40,000 บาท จึงต้องห้ามมิให้คู่ความฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.อ. มาตรา 219 ประกอบ พ.ร.บ.จัดตั้งศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัวฯ มาตรา 6 แม้ศาลอุทธรณ์ภาค 9 แผนกคดีเยาวชนและครอบครัวจะพิพากษาแก้คำพิพากษาศาลชั้นต้นทั้งบทลงโทษและบทกำหนดโทษซึ่งเป็นการแก้ไขมาก แต่ก็มิได้กำหนดโทษจำคุกและกำหนดระยะเวลาฝึกและอบรมสูงขึ้นแต่อย่างใด จึงไม่เป็นการเพิ่มเติมโทษแก่จำเลย จำเลยจึงไม่ได้รับยกเว้นให้ฎีกาได้ตามบทบัญญัติตอนท้ายของมาตรา 219
เมื่อข้อเท็จจริงปรากฏว่าฎีกาของจำเลยต้องห้ามมิให้ฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงจำเลยย่อมมีสิทธิยื่นคำร้องต่อศาลชั้นต้นเพื่อขอให้ผู้พิพากษาซึ่งพิจารณาคดีในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ภาค 9 แผนกคดีเยาวชนและครอบครัวพิเคราะห์ว่าข้อความที่ตัดสินนั้นเป็นปัญหาสำคัญอันควรสู่ศาลสูงสุดและอนุญาตให้ฎีกาได้ ผู้พิพากษาซึ่งพิจารณาคดีในศาลชั้นต้นมีหน้าที่พิจารณาเพียงว่าข้อความที่ตัดสินนั้นเป็นปัญหาสำคัญอันควรสู่ศาลสูงสุดหรือไม่เท่านั้น การที่ผู้พิพากษาซึ่งพิจารณาคดีในศาลชั้นต้นมีคำสั่งว่าคดีไม่ต้องห้ามฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง จึงเป็นการสั่งคดีโดยผิดหลงและเป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาที่ไม่ชอบ ถือว่าไม่ได้ปฏิบัติให้เป็นไปตามบทบัญญัติว่าด้วยการพิจารณาคดี ศาลฎีกามีอำนาจที่จะหยิบยกขึ้นวินิจฉัยโดยให้เพิกถอนคำสั่งและการดำเนินการดังกล่าวของศาลชั้นต้นที่ไม่ชอบเสียได้ และสั่งให้ศาลชั้นต้นดำเนินการให้ถูกต้องตาม ป.วิ.อ. มาตรา 208 (2) ประกอบมาตรา 225 และ พ.ร.บ.จัดตั้งศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัวฯ มาตรา 6
เมื่อข้อเท็จจริงปรากฏว่าฎีกาของจำเลยต้องห้ามมิให้ฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงจำเลยย่อมมีสิทธิยื่นคำร้องต่อศาลชั้นต้นเพื่อขอให้ผู้พิพากษาซึ่งพิจารณาคดีในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ภาค 9 แผนกคดีเยาวชนและครอบครัวพิเคราะห์ว่าข้อความที่ตัดสินนั้นเป็นปัญหาสำคัญอันควรสู่ศาลสูงสุดและอนุญาตให้ฎีกาได้ ผู้พิพากษาซึ่งพิจารณาคดีในศาลชั้นต้นมีหน้าที่พิจารณาเพียงว่าข้อความที่ตัดสินนั้นเป็นปัญหาสำคัญอันควรสู่ศาลสูงสุดหรือไม่เท่านั้น การที่ผู้พิพากษาซึ่งพิจารณาคดีในศาลชั้นต้นมีคำสั่งว่าคดีไม่ต้องห้ามฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง จึงเป็นการสั่งคดีโดยผิดหลงและเป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาที่ไม่ชอบ ถือว่าไม่ได้ปฏิบัติให้เป็นไปตามบทบัญญัติว่าด้วยการพิจารณาคดี ศาลฎีกามีอำนาจที่จะหยิบยกขึ้นวินิจฉัยโดยให้เพิกถอนคำสั่งและการดำเนินการดังกล่าวของศาลชั้นต้นที่ไม่ชอบเสียได้ และสั่งให้ศาลชั้นต้นดำเนินการให้ถูกต้องตาม ป.วิ.อ. มาตรา 208 (2) ประกอบมาตรา 225 และ พ.ร.บ.จัดตั้งศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัวฯ มาตรา 6
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 451/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อุทธรณ์คำสั่งไม่รับอุทธรณ์: ศาลชั้นต้นไม่มีอำนาจสั่งเอง ต้องส่งศาลอุทธรณ์-กำหนดระยะเวลาอุทธรณ์ที่ถูกต้อง
ศาลชั้นต้นมีคำสั่งไม่รับอุทธรณ์ของจำเลย จำเลยยื่นอุทธรณ์คำสั่งศาลชั้นต้นที่ปฏิเสธไม่ยอมรับอุทธรณ์ ศาลชั้นต้นมีหน้าที่ต้องส่งอุทธรณ์คำสั่งไปยังศาลอุทธรณ์ภาค 1 ตาม ป.พ.พ. มาตรา 236 วรรคหนึ่ง ศาลชั้นต้นไม่มีหน้าที่ตรวจอุทธรณ์และมีคำสั่งกรณีนี้ตามมาตรา 232 การที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งในอุทธรณ์คำสั่งไม่รับอุทธรณ์ของจำเลยเสียเองเป็นการไม่ชอบ จำเลยย่อมมีสิทธิอุทธรณ์คำสั่งดังกล่าวนี้ได้ภายในกำหนด 1 เดือน นับแต่วันที่ได้อ่านคำสั่งตามมาตรา 229 กรณีมิใช่การอุทธรณ์คำสั่งไม่รับอุทธรณ์ซึ่งต้องยื่นคำร้องอุทธรณ์คำสั่งภายใน 15 วัน ตามมาตรา 234
การอุทธรณ์คำสั่งที่ปฏิเสธไม่รับอุทธรณ์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 234 กำหนดให้ทำเป็นคำร้อง ต้องชำระค่าธรรมเนียมคำร้องเพียง 40 บาท
การอุทธรณ์คำสั่งที่ปฏิเสธไม่รับอุทธรณ์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 234 กำหนดให้ทำเป็นคำร้อง ต้องชำระค่าธรรมเนียมคำร้องเพียง 40 บาท
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4003/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การกำหนดค่าเสียหายจากสัญญาประนีประนอมยอมความ และการไต่สวนพยานจำเลยที่ไม่ชอบ
โจทก์ยื่นคำร้องว่าจำเลยปฏิบัติตามสัญญาประนีประนอมยอมความโดยซ่อมแซมบ้านให้โจทก์เพียงบางส่วน ขอให้ศาลกำหนดค่าเสียหายของโจทก์ แต่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งเพียงว่า จำเลยผิดสัญญาประนีประนอมยอมความโดยไม่ได้กำหนดค่าเสียหายให้จำเลยชดใช้แก่โจทก์ตามที่โจทก์ยื่นคำร้อง ทั้งตามสัญญาประนีประนอมยอมความข้อ 3 โจทก์จำเลยตกลงกันไว้ว่าหากจำเลยไม่ปฏิบัติตามสัญญาข้อ 1 และข้อ 2 จำเลยจะชดใช้เงินค่าเสียหายที่แท้จริงให้แก่โจทก์ไม่เกิน 200,000 บาท พร้อมดอกเบี้ยเท่านั้น ไม่ได้ตกลงจำนวนค่าเสียหายกันไว้ให้แน่นอนที่จะสั่งให้จำเลยชดใช้ให้แก่โจทก์ได้ การที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งว่าจำเลยผิดสัญญาประนีประนอมยอมความโดยไม่สั่งว่าค่าเสียหายของโจทก์มีเพียงใด จึงไม่ทำให้คดีเสร็จไป โจทก์จำเลยจะต้องมาดำเนินกระบวนพิจารณากันในเรื่องค่าเสียหายของโจทก์อีก คำสั่งศาลชั้นต้นดังกล่าวจึงไม่ชอบ
การกำหนดค่าเสียหายในประเด็นข้อพิพาทว่า โจทก์เสียหายเพียงใดนั้น นอกจากจะพิจารณาจากการเผชิญสืบบ้านแล้ว ยังต้องพิจารณาคำเบิกความของพยานโจทก์จำเลยด้วย การที่ศาลชั้นต้นไต่สวนพยานโจทก์จนหมดและไต่สวนพยานจำเลยบางส่วนแล้วสั่งงดการไต่สวนโดยไม่ไต่สวนพยานจำเลยต่อไปให้สิ้นกระแสความ ทั้งที่ไม่ใช่เป็นความผิดของฝ่ายจำเลยเช่นนี้ย่อมเป็นการไม่ชอบ กรณีมีเหตุสมควรให้ไต่สวนพยานจำเลยต่อไป ทั้งในกรณีเช่นนี้แม้คู่ความไม่ได้โต้แย้งคำสั่งให้งดการไต่สวนก็เป็นเรื่องพิจารณาโดยไม่ชอบ ศาลฎีกาสั่งให้ย้อนสำนวนไปศาลชั้นต้นไต่สวนพยานจำเลยต่อไปแล้วมีคำสั่งใหม่ได้
การกำหนดค่าเสียหายในประเด็นข้อพิพาทว่า โจทก์เสียหายเพียงใดนั้น นอกจากจะพิจารณาจากการเผชิญสืบบ้านแล้ว ยังต้องพิจารณาคำเบิกความของพยานโจทก์จำเลยด้วย การที่ศาลชั้นต้นไต่สวนพยานโจทก์จนหมดและไต่สวนพยานจำเลยบางส่วนแล้วสั่งงดการไต่สวนโดยไม่ไต่สวนพยานจำเลยต่อไปให้สิ้นกระแสความ ทั้งที่ไม่ใช่เป็นความผิดของฝ่ายจำเลยเช่นนี้ย่อมเป็นการไม่ชอบ กรณีมีเหตุสมควรให้ไต่สวนพยานจำเลยต่อไป ทั้งในกรณีเช่นนี้แม้คู่ความไม่ได้โต้แย้งคำสั่งให้งดการไต่สวนก็เป็นเรื่องพิจารณาโดยไม่ชอบ ศาลฎีกาสั่งให้ย้อนสำนวนไปศาลชั้นต้นไต่สวนพยานจำเลยต่อไปแล้วมีคำสั่งใหม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3450/2549 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การอุทธรณ์ข้ามลำดับศาลในคดีประกันตัวอาญา: ไม่อนุญาตอุทธรณ์ฎีกาโดยตรง
การที่ผู้ประกันยื่นอุทธรณ์ขอให้ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า เมื่อสิทธิในการร้องขอให้บังคับคดีแก่ผู้ประกันสิ้นสุดแล้ว ศาลชั้นต้นต้องคืนหลักประกันแก่ผู้ประกันตาม ป.วิ.อ. มาตรา 118 นั้น เป็นกรณีพิจารณาความเกี่ยวกับสัญญาประกันตัวจำเลยในคดีอาญา ซึ่งการใช้สิทธิอุทธรณ์คำพิพากษาหรือคำสั่งของศาลชั้นต้นต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่บัญญัติไว้ใน ป.วิ.อ. ภาค 4 ลักษณะ 1 โดยมาตรา 193 วรรคหนึ่ง ได้บัญญัติหลักเกณฑ์ในการอุทธรณ์คัดค้านคำพิพากษาหรือคำสั่งของศาลชั้นต้นในข้อเท็จจริงและข้อกฎหมายไว้โดยชัดแจ้งแล้วว่า ให้อุทธรณ์ไปยังศาลอุทธรณ์ ไม่มีบทบัญญัติมาตราใดอนุญาตให้คู่ความอุทธรณ์เฉพาะปัญหาข้อกฎหมายโดยตรงต่อศาลฎีกาได้ดังเช่นคดีแพ่ง จึงนำ ป.วิ.พ. มาตรา 223 ทวิ มาใช้บังคับโดยอนุโลมไม่ได้ ที่ศาลชั้นต้นอนุญาตให้ผู้ประกันอุทธรณ์คำสั่งศาลชั้นต้นโดยตรงต่อศาลฎีกาจึงไม่ถูกต้องเพราะเป็นการอุทธรณ์ข้ามลำดับศาล