คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
ศาลตัดสิน

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 99 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 990/2549 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฟ้องซ้ำ: โจทก์ฟ้องชดใช้ราคารถยนต์ซ้ำ หลังศาลตัดสินให้ส่งมอบรถยนต์จากสัญญาเช่าแล้ว
ประเด็นข้อพิพาทสำคัญในคดีก่อน เป็นการพิพาทในเรื่องจำเลยผิดสัญญาเช่ารถยนต์พิพาท โดยศาลพิพากษาถึงที่สุดให้จำเลยส่งมอบรถยนต์พิพาทอันเป็นวัตถุแห่งหนี้คืนแก่โจทก์ ซึ่งสืบเนื่องมาจากการผิดสัญญาเช่า ส่วนคดีนี้โจทก์อ้างว่าโจทก์ไม่สามารถบังคับให้จำเลยส่งมอบรถยนต์พิพาทตามคำพิพากษาเนื่องจากจำเลยโอนรถยนต์ให้แก่ผู้อื่นไปแล้ว จึงขอให้บังคับจำเลยชดใช้ราคารถยนต์จำนวน 350,000 บาท ซึ่งเป็นหนี้เงินอันเป็นวัตถุแห่งหนี้แทนตัวทรัพย์ ซึ่งโจทก์สามารถฟ้องบังคับให้จำเลยคืนหรือใช้ราคารถยนต์พิพาทมาได้พร้อมกันในคดีก่อนได้อยู่แล้ว ดังนี้ เมื่อคดีก่อนและคดีนี้เป็นคู่ความเดียวกัน ประเด็นในคดีก่อน และคดีนี้ต้องวินิจฉัยโดยอาศัยเหตุว่าจำเลยผิดสัญญาเช่าหรือไม่เช่นเดียวกัน โจทก์จะมารื้อร้องฟ้องให้จำเลยชดใช้ราคาทรัพย์ในประเด็นที่ศาลได้วินิจฉัยกันถึงที่สุดในคดีก่อนแล้วหาได้ไม่ กรณีจึงเป็นการฟ้องซ้ำต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 148

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4818/2548 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การไม่อนุญาตให้แสดงหลักฐานเพิ่มเติมเรื่องฐานะยากจน หลังศาลตัดสินแล้วว่าไม่มีเหตุผลอันสมควรในการอุทธรณ์
จำเลยทั้งสองเคยยื่นคำร้องขอดำเนินคดีอย่างคนอนาถาในชั้นอุทธรณ์มาครั้งหนึ่งแล้ว ศาลชั้นต้นไต่สวนแล้วมีคำสั่งให้ยกคำร้อง เพราะเห็นว่าคดีของจำเลยทั้งสองไม่มีเหตุผลอันสมควรที่จะอุทธรณ์ ศาลอุทธรณ์มีคำสั่งยืนตามคำสั่งของศาลชั้นต้น คำสั่งของศาลอุทธรณ์ย่อมเป็นที่สุดตาม ป.วิ.พ. มาตรา 156 วรรคท้าย และปัญหาที่ว่าคดีของจำเลยทั้งสองมีเหตุผลอันสมควรที่จะอุทธรณ์หรือไม่ ย่อมยุติตามคำสั่งของศาลอุทธรณ์ ดังนั้น แม้หากจะฟังว่าจำเลยทั้งสองเป็นคนยากจนก็ไม่เป็นประโยชน์แก่รูปคดี จึงไม่มีเหตุที่จำเลยทั้งสองจะยื่นคำร้องขอต่อศาลให้พิจารณาคำขอนั้นใหม่ เพื่ออนุญาตให้จำเลยทั้งสองนำพยานหลักฐานมาแสดงเพิ่มเติมว่าตนเป็นคนยากจนได้อีก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5319/2547

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฉ้อโกงด้วยการแสดงหลักฐานเท็จเพื่อไถ่ทรัพย์ ศาลตัดสินผิดฐานฉ้อโกง แม้ฟ้องฐานลักทรัพย์
การที่ผู้เสียหายนำสร้อยคอไปจำนำ เจ้าของร้านทองผู้รับจำนำได้ออกหลักฐานให้ผู้เสียหายว่า เป็นการ "ขายฝาก" โดยมีกำหนดไถ่ทรัพย์ที่ขายฝากคืนภายใน 1 เดือน กรรมสิทธิ์และการครอบครองสร้อยคอที่รับจำนำไว้จึงตกอยู่แก่เจ้าของร้านทองผู้รับจำนำจนกว่าผู้เสียหายจะไถ่คืน ดังนั้น การที่จำเลยนำหลักฐานที่เจ้าของร้านทองออกให้แก่ผู้เสียหายไปขอไถ่สร้อยคอของผู้เสียหายจากผู้รับจำนำโดยไม่แสดงออกให้แจ้งชัดว่าตั๋วไถ่ไม่ใช่ของตน เป็นเหตุให้ผู้รับจำนำหลงเชื่อว่าจำเลยเป็นเจ้าของที่แท้จริง จึงได้ส่งมอบกรรมสิทธิ์และการครอบครองสร้อยคอของผู้เสียหายให้จำเลยไป เป็นการกระทำโดยเจตนาทุจริต หลอกลวงผู้อื่นด้วยการแสดงข้อความอันเป็นเท็จหรือปกปิดข้อความจริงซึ่งควรบอกให้แจ้ง และโดยการหลอกลวงดังกล่าวนั้นได้ไปซึ่งทรัพย์สินของผู้ถูกหลอกลวงหรือบุคคลที่สาม การกระทำของจำเลยจึงเป็นความผิดฐานฉ้อโกงตาม ป.อ. มาตรา 341 แม้ข้อเท็จจริงที่ปรากฏในการพิจารณาจะต่างกันระหว่างการกระทำความผิดฐานลักทรัพย์และฉ้อโกง ก็ไม่ถือว่าต่างกันในข้อสาระสำคัญและจำเลยก็มิได้หลงต่อสู้ ศาลฎีกามีอำนาจลงโทษจำเลยในความผิดฐานฉ้อโกงตามข้อเท็จจริงที่ได้ความได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 192 วรรคสาม ไม่ถือว่าพิพากษาเกินคำขอ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1421/2544

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ดอกเบี้ยค่าทดแทนเวนคืน: เริ่มนับจากวันวางเงิน ไม่ใช่วันศาลตัดสิน
โจทก์กับฝ่ายจำเลยไม่ได้ทำสัญญาซื้อขายอสังหาริมทรัพย์กันตามมาตรา 10 แห่ง พ.ร.บ. ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2530 และโจทก์ไม่ได้ไปรับเงินค่าทดแทนที่ดินในวันที่ 11 สิงหาคม 2538 ตามที่ฝ่ายจำเลยมีหนังสือแจ้งให้โจทก์ไปรับ ฝ่ายจำเลยจึงมีหน้าที่ต้องนำเงินค่าทดแทนที่ดินดังกล่าวไปวางไว้ตามมาตรา 31 โดยพลัน ตามมาตรา 28 วรรคสอง ซึ่งก็คือวันถัดจากวันครบกำหนดนัด คือ วันที่ 12 สิงหาคม 2538 อันถือได้ว่าเป็นวันวางเงิน ค่าทดแทนตามมาตรา 26 วรรคท้าย การคิดดอกเบี้ยจึงต้องเริ่มตั้งแต่วันดังกล่าว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9020/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การจดทะเบียนชื่อบริษัทโดยใช้ชื่อทางการค้าที่ผู้อื่นมีสิทธิแล้ว เป็นการล่วงละเมิดหรือไม่ และการตัดสินคดีนอกเหนือคำฟ้อง
โจทก์ฟ้องว่าโจทก์เป็นเจ้าของชื่อทางการค้าเครื่องหมายการค้ากับเครื่องหมายการค้าคำว่า "SONY" ได้รับการจดทะเบียนไว้ทั่วโลก รวมทั้งในประเทศไทย จำเลยนำคำว่า "SONY" ไปขอจดทะเบียนใช้ชื่อเป็นนิติบุคคลในการจัดตั้งบริษัทว่า "SONY IMPEX CO.LTD." การกระทำของจำเลยเป็นการกระทำโดยไม่สุจริต แสวงหาผลประโยชน์จากชื่อเสียงในทางการค้าและเครื่องหมายการค้ากับเครื่องหมายบริการดังกล่าว ดังนี้ คดีย่อมมีประเด็นที่ต้องวินิจฉัยว่าการจดทะเบียนใช้ชื่อบริษัทของจำเลยเป็นการล่วงละเมิดสิทธิในชื่อทางการค้าของโจทก์ตาม ป.พ.พ. มาตรา 18, 421 และเป็นการ ล่วงละเมิดสิทธิในเครื่องหมายการค้ากับเครื่องหมายบริการตาม พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้าฯ มาตรา 44, 47 หรือไม่ เท่านั้น ไม่มีประเด็นข้อพิพาทเกี่ยวกับการจดทะเบียนชื่อบริษัทพ้องกับชื่อบริษัทโจทก์ที่ได้จดทะเบียนไว้ก่อนอันจะมีผล ที่จะบังคับตาม ป.พ.พ. มาตรา 1115 เพราะโจทก์มิได้อ้างว่าโจทก์จดทะเบียนชื่อนิติบุคคลของโจทก์ดังกล่าวไว้ก่อน การที่ศาลชั้นต้นวินิจฉัยและบังคับตามนัยบทบัญญัติมาตรา 1115 จึงเป็นการพิพากษาชี้ขาดตัดสินคดีนอกเหนือจาก คำฟ้องโจทก์
กรณีที่ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางไม่ปฏิบัติตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายว่าด้วย คำพิพากษา ไม่ชอบด้วยพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศและวิธีพิจารณาคดี ทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ พ.ศ. 2539 มาตรา 26 ประกอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 142 วรรคหนึ่ง จึงเป็นกรณีที่มีเหตุอันสมควรย้อนสำนวนไปให้ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและ การค้าระหว่างประเทศกลางมีคำพิพากษาใหม่เสียก่อน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5006/2540 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เครื่องหมายการค้าไม่คล้ายกัน แม้มีคำว่า 'กุ๊ก' เหมือนกัน ศาลตัดสินว่าไม่มีการละเมิด
เครื่องหมายการค้าของโจทก์และของจำเลยแม้มีอักษรภาษาไทยคำว่า กุ๊ก และอักษรภาษาอังกฤษว่า COOK เป็นส่วนประกอบเหมือนกันก็ตาม แต่เมื่อพิจารณาถึงคำที่ใช้ รูปแบบและส่วนประกอบต่าง ๆ ทั้งหมดประกอบกันแล้ว ปรากฏว่าเครื่องหมายการค้าของโจทก์ที่จดทะเบียนไว้ในลักษณะต่าง ๆ หลายลักษณะนั้น ส่วนที่เป็นตัวอักษรส่วนใหญ่ใช้คำพยางค์เดียวว่า กุ๊ก หรือ COOK หรือใช้คำอักษรไทยและอังกฤษดังกล่าวด้วยกันโดยเขียนอักษรอังกฤษว่า COOK อยู่เหนือคำว่า กุ๊ก ส่วนเครื่องหมายที่เป็นรูปก็มีเพียงรูปการ์ตูนในลักษณะขวดคล้ายพ่อครัวสวมหมวกพ่อครัวเท่านั้น และมีเครื่องหมายการค้าคำว่า กุ๊กพรีเมียม หรือ COOK PREMIUM ด้วยแต่เครื่องหมายการค้าของจำเลยใช้คำสามพยางค์ว่า กุ๊กห้าดาว หรือ FIVE STARSCOOK และมีรูปชาม ช้อน ซ่อม หมวกพ่อครัว และดาว 5 ดวง ประกอบรวมกับตัวอักษรดังกล่าวโดยคำภาษาอังกฤษว่า FIVE STARS COOK อยู่ใต้คำอักษรไทย ซึ่งแตกต่างจากเครื่องหมายการค้าของโจทก์หลายประการจนสามารถสังเกตเห็นได้ชัดเจนว่าเครื่องหมายการค้าของโจทก์และของจำเลยไม่เหมือนหรือคล้ายแต่อย่างใดแม้เครื่องหมายการค้าของจำเลยมีคำว่า กุ๊ก และคำว่า COOK เป็นส่วนหนึ่งของเครื่องหมายการค้า ซึ่งคำดังกล่าวเป็นคำเดียวกับคำที่เป็นสาระสำคัญของเครื่องหมาย-การค้าของโจทก์ก็ตาม แต่คำว่า กุ๊ก ตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถานหมายถึงพ่อครัวทำกับข้าวฝรั่ง และคำดังกล่าวก็เป็นคำที่เลียนเสียงมาจากคำภาษาอังกฤษว่าCOOK ซึ่งเป็นคำสามัญที่มีคำแปลตามพจนานุกรม คำดังกล่าวจึงเป็นคำสามัญทั่ว ๆ ไปไม่ทำให้โจทก์เป็นผู้มีสิทธิที่จะใช้คำดังกล่าวแต่เพียงผู้เดียวและหวงกันไม่ให้ผู้อื่นใช้คำดังกล่าวได้ การที่จำเลยนำคำดังกล่าวไปใช้ประกอบเป็นเพียงส่วนหนึ่งของเครื่องหมาย-การค้าของจำเลยโดยประดิษฐ์เครื่องหมายการค้าของจำเลยให้แตกต่างจากเครื่องหมายการค้าของโจทก์จนสังเกตเห็นได้ชัดดังกล่าวแล้วเช่นนี้ยังถือไม่ได้ว่าเป็นการกระทำโดยไม่สุจริตเพื่อลวงสาธารณชน นอกจากนี้ยังได้ความว่าเครื่องหมาย-การค้าของโจทก์ใช้กับสินค้าน้ำมันพืชเพียงอย่างเดียว ส่วนเครื่องหมายการค้าของจำเลยใช้กับสินค้าพริกไทยป่น ซอสต่าง ๆ เต้าเจี้ยวและเครื่องกระป๋อง ไม่มีสินค้าน้ำมันพืช ดังนั้นจึงไม่ทำให้สาธารณชนเข้าใจผิดว่าสินค้าของจำเลยดังกล่าวเป็นสินค้าของโจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7173/2539 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแบ่งทรัพย์สินระหว่างคู่ความ ศาลตัดสินให้แบ่งทรัพย์สินให้แก่โจทก์กึ่งหนึ่ง
ทั้ง 3 รายการ เฉพาะส่วนของโจทก์และจำเลยให้แก่โจทก์กึ่งหนึ่งได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 15/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฟ้องซ้ำในคดีพิพาทที่ดิน: เมื่อศาลตัดสินประเด็นกรรมสิทธิ์แล้ว การฟ้องคดีเดิมอีกครั้งถือเป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาซ้ำ
โจทก์ฟ้องขับไล่จำเลยออกจากที่พิพาทคดีอยู่ระหว่างพิจารณาของศาลชั้นต้นจำเลยกลับฟ้องโจทก์ให้ออกไปจากที่พิพาทรายเดียวกันโจทก์ให้การว่าที่พิพาทเป็นของโจทก์คดีทั้งสองมีประเด็นข้อพิพาทอย่างเดียวกันว่าที่พิพาทเป็นของโจทก์หรือจำเลยเมื่อศาลชั้นต้นในคดีหลังพิพากษาว่าที่พิพาทเป็นของโจทก์หรือเป็นของจำเลยฟ้องของโจทก์ในคดีแรกจึงเป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาซ้ำต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา144

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6788/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ขอบเขตคำฟ้องเพิกถอนชื่อจำเลยออกจากโฉนดที่ดิน แม้คำสั่งศาลถึงที่สุดแล้ว โจทก์ยังมีสิทธิพิสูจน์สิทธิที่ดีกว่าได้
ฟ้องขอให้เจ้าพนักงานที่ดินยุติการจดทะเบียนแก้ไขชื่อผู้ถือกรรมสิทธิ์ในโฉนดที่ดิน หากจดแก้ไขแล้วให้ทำการให้กลับคืนสภาพเดิม มีความหมายอยู่ในตัวแล้วว่า หากมีการแก้ไขชื่อจากบุคคลอื่นในโฉนดเป็นชื่อของจำเลยก็ขอให้ศาลเพิกถอนชื่อจำเลยออกจากโฉนดที่ดิน เมื่อปรากฏว่าได้มีการแก้ไขชื่อในโฉนดเป็นชื่อของจำเลยแล้ว ศาลจึงพิพากษาให้เพิกถอนชื่อของจำเลยออกจากโฉนดที่ดินได้ไม่เป็นการพิพากษาเกินไปกว่าหรือนอกเหนือที่ปรากฏในคำฟ้อง แม้ศาลมีคำสั่งว่า จำเลยได้กรรมสิทธิ์ในที่ดิน และคดีถึงที่สุดแล้วก็ตาม แต่โจทก์ซึ่งเป็นบุคคลภายนอกคดีก็มีสิทธิที่จะพิสูจน์ได้ว่าตนมีสิทธิดีกว่าจำเลยตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 145(2) ฎีกาขอให้แก้ไขข้อผิดพลาดเล็กน้อยในคำพิพากษาศาลชั้นต้นแต่คำพิพากษาศาลชั้นต้นนั้นได้ถูกศาลอุทธรณ์ภาค 1 พิพากษากลับไปแล้ว จึงไม่มีความจำเป็นต้องแก้ไข เพราะไม่เป็นประโยชน์แก่คดี

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1956/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาค้ำประกัน: ความรับผิดเริ่มเมื่อศาลตัดสินถึงที่สุด
ข้อความในสัญญาค้ำประกันระบุว่า ผู้ร้องจะยอมรับผิดชำระหนี้แทนลูกหนี้เมื่อศาลมีคำสั่งให้ลูกหนี้ชำระหนี้แก่เจ้าหนี้ และคดีถึงที่สุดแล้วเท่านั้นเมื่อคำสั่งศาลชั้นต้นที่อนุญาตให้เจ้าหนี้ได้รับชำระหนี้อยู่ระหว่างการพิจารณาของศาลอุทธรณ์ ซึ่งศาลอุทธรณ์อาจยืน ยก แก้ หรือกลับเสียซึ่งคำสั่งของศาลชั้นต้นก็ได้ จึงยังฟังเป็นที่แน่นอนและถึงที่สุดแล้วไม่ได้ ผู้ร้องจึงยังไม่ต้องรับผิด
of 10