พบผลลัพธ์ทั้งหมด 2 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2948/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องซ้ำ: ประเด็นกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทที่เคยถูกตัดสินแล้วในคดีบังคับคดี
ในคดีก่อนชั้นบังคับคดี เจ้าพนักงานบังคับคดีได้ประกาศให้ผู้ที่อ้างว่าไม่ใช่บริวารของ ส. และ น. ยื่นคำร้องแสดงอำนาจพิเศษต่อศาล โจทก์ในคดีนี้ซึ่งเป็นสามีของ น. ยื่นคำร้องว่าโจทก์มิใช่บริวารของ ส. และ น. และอ้างว่าโจทก์เป็นเจ้าของที่ดินพิพาทโดยการครอบครองปรปักษ์ ศาลชั้นต้นเชื่อว่าโจทก์เป็นบริวารของ ส. และ น. จึงต้องผูกพันตามคำพิพากษาในคดีดังกล่าว ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 145ประกอบด้วย มาตรา 142(1) โจทก์ไม่ได้อุทธรณ์คำสั่ง คดีในชั้นบังคับคดีระหว่างจำเลยทั้งสอง (โจทก์ทั้งสองในคดีก่อน)กับโจทก์ในคดีนี้ถึงที่สุด จึงต้องฟังว่าโจทก์ไม่ใช่เจ้าของกรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาท เมื่อโจทก์ยื่นฟ้องจำเลยทั้งสองคดีนี้โดยตั้งรูปคดีเช่นเดียวกับที่โจทก์ยื่นคำร้องในคดีก่อนว่าโจทก์ได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทโดยการครอบครองปรปักษ์ ขอให้ศาลพิพากษาว่าที่ดินพิพาทเป็นของโจทก์ เมื่อโจทก์จำเลยในคดีก่อนกับคดีนี้เป็นคู่ความเดียวกัน โดยคดีชั้นร้องขอให้บังคับคดีในคดีก่อนเป็นคดีระหว่างจำเลยทั้งสอง (โจทก์ทั้งสองในคดีก่อน)กับโจทก์ในคดีนี้ในฐานะผู้คัดค้าน โจทก์จำเลยย่อมอยู่ในฐานะเป็นคู่ความในคดีดังกล่าวแล้ว คดีก่อนและคดีนี้ต่างก็มีประเด็นที่จะต้องพิจารณาเกี่ยวกับเรื่องกรรมสิทธิ์ที่พิพาทเช่นเดียวกัน จึงถือได้ว่ามีประเด็นอย่างเดียวกัน เมื่อประเด็นในคดีก่อนศาลได้มีคำสั่งถึงที่สุดแล้ว ฟ้องโจทก์คดีนี้จึงเป็นฟ้องซ้ำกับคดีก่อน ต้องห้ามมิให้รื้อร้องฟ้องกันอีกตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 148
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3512/2526 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฎีกาห้ามยื่นคำร้องซ้ำประเด็นที่ศาลตัดสินแล้ว แม้มีเหตุผลเดิม
จำเลยยื่นคำร้องฉบับหลังโดยมีข้ออ้างและคำขอเช่นเดียวกับคำร้องฉบับแรกว่า การที่โจทก์บังคับคดีเอาแก่ทรัพย์สินของจำเลยเป็นการไม่ชอบด้วยสัญญาประนีประนอมยอมความและสมควรยกเลิกการบังคับคดีเอาแก่ทรัพย์สินของจำเลย เมื่อศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้ยกคำร้องฉบับแรกของจำเลย และเป็นที่สุดแล้ว การที่จำเลยยื่นคำร้องฉบับหลังอีกจึงเป็นการขอให้ศาลดำเนินกระบวนพิจารณาอันเกี่ยวกับคดีหรือประเด็นที่ได้วินิจฉัยชี้ขาดแล้วต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 144