คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
ศาลต่างประเทศ

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 5 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4027/2545

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องคดีล้มละลายของผู้จัดการมรดกตามคำสั่งศาลต่างประเทศ ต้องได้รับอนุญาตจากศาลก่อน
อำนาจของผู้จัดการมรดกของผู้ตายซึ่งเป็นคนสัญชาติอังกฤษและเป็นผู้จัดการมรดกตามคำสั่งศาลแห่งประเทศอังกฤษจะเป็นไปตามกฎหมายของประเทศใดย่อมเป็นไปตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการขัดกันแห่งกฎหมายฯ แต่ตามพระราชบัญญัติดังกล่าวมิได้บัญญัติถึงเรื่องอำนาจของผู้จัดการมรดกว่าต้องใช้กฎหมายใดบังคับ กรณีจึงต้องใช้กฎเกณฑ์ทั่วไปแห่งกฎหมายระหว่างประเทศแผนกคดีบุคคลตามมาตรา 3 แห่งพระราชบัญญัติดังกล่าวบังคับ ซึ่งตามกฎเกณฑ์ทั่วไปนั้น กฎหมายที่จะนำมาใช้บังคับอาจเป็นกฎหมายสัญชาติหรือกฎหมายภูมิลำเนา เมื่อโจทก์มีสัญชาติอังกฤษและมีภูมิลำเนาอยู่ในประเทศอังกฤษ ดังนั้น ไม่ว่าจะใช้หลักกฎหมายสัญชาติหรือกฎหมายภูมิลำเนา กฎหมายที่จะใช้บังคับแก่คดีย่อมได้แก่กฎหมายแห่งประเทศอังกฤษแต่การที่ต้องใช้กฎหมายต่างประเทศบังคับแก่กรณีเช่นนี้เป็นหน้าที่ของโจทก์ต้องนำสืบให้เห็นว่ากฎหมายต่างประเทศนั้นบัญญัติไว้อย่างไร เมื่อโจทก์มิได้นำสืบให้ศาลเห็นเป็นที่ชัดแจ้งว่ากฎหมายของประเทศอังกฤษบัญญัติไว้เช่นนั้นจริง กรณีนี้จึงต้องใช้กฎหมายภายในประเทศไทยบังคับตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 8 แห่งพระราชบัญญัติว่าด้วยการขัดกันแห่งกฎหมายฯ ซึ่งตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1715 บัญญัติถึงเรื่องการที่บุคคลหลายคนเป็นผู้จัดการมรดกตามพินัยกรรม ถ้าผู้จัดการมรดกบางคนไม่สามารถหรือไม่เต็มใจที่จะจัดการ และยังมีผู้จัดการมรดกเหลืออยู่แต่คนเดียวผู้นั้นมีสิทธิที่จะจัดการมรดกได้โดยลำพัง แต่โจทก์เป็นผู้จัดการมรดกตามคำสั่งศาลร่วมกับจ. จึงไม่อาจนำมาตรา 1715 มาใช้บังคับได้เมื่อ จ. ซึ่งเป็นผู้จัดการมรดกคนหนึ่งถึงแก่ความตาย โจทก์เพียงคนเดียวจะฟ้องคดีนี้ต่อไปตามลำพังโดยยังมิได้ขอให้ศาลมีคำสั่งอนุญาตให้ตนเป็นผู้จัดการมรดกแต่ผู้เดียวย่อมเป็นการฝ่าฝืนคำสั่งศาลโจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องจำเลย เรื่องอำนาจฟ้องเป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดฎีกา ศาลฎีกาก็หยิบยกขึ้นวินิจฉัยเองได้ตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 142(5) ประกอบมาตรา 246 และมาตรา 247 และประกอบพระราชบัญญัติล้มละลายฯ มาตรา 153

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 951/2539 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องคดีหนี้เหนือบุคคล: ข้อตกลงเลือกศาลต่างประเทศขัดต่อกฎหมายไทย
ความรับผิดของจำเลยอันเนื่องมาจากสัญญารับขนสินค้าทางทะเลเป็นหนี้เหนือบุคคล เมื่อจำเลยมีภูมิลำเนาอยู่ที่กรุงเทพมหานคร โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องจำเลยต่อศาลในประเทศไทยคือศาลแพ่งได้ ข้อตกลงในใบตราส่งระหว่างผู้ส่งและผู้ขนส่งที่ให้ฟ้องคดีที่ศาลในกรุงลอนดอน ประเทศอังกฤษ ขัดต่อประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 4(2) เดิมซึ่งเป็นกฎหมายที่ใช้บังคับอยู่ในขณะที่โจทก์ฟ้องและเป็นกฎหมายอันเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชนจึงไม่อาจใช้บังคับได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 951/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อตกลงเลือกศาลต่างประเทศขัดต่อกฎหมายไทยเมื่อฟ้องคดีหนี้เหนือบุคคลในไทย
ข้อตกลงใน ใบตราส่งระหว่าง ผู้ส่งและ ผู้ขนส่งที่ให้ ฟ้องคดีที่ศาลใน กรุงลอนดอน ประเทศ อังกฤษนั้นเมื่อคดีเป็นหนี้เหนือบุคคล ข้อตกลงดังกล่าวจึงขัดต่อประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา4(2)เดิม(มาตรา4(1)ที่แก้ไขใหม่)ซึ่งเป็นกฎหมายที่ใช้บังคับอยู่ในขณะที่โจทก์ฟ้องคดีและเป็นกฎหมายอันเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชนข้อตกลงนั้นจึงไม่อาจใช้บังคับได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 213/2471

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การขอเข้าเป็นโจทก์แทนเจ้าหนี้และการพิจารณาคำร้องของศาลต่างประเทศ
ศาลเดิมไม่สั่งประการใดแล้วส่งฎีกาขึ้นมา

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 10839/2558

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ขัดแย้งคำพิพากษาต่างศาล: ศาลฎีกายืนตามคำพิพากษาเดิม แม้มีคำพิพากษาจากศาลต่างประเทศ
ตามคำร้องของจำเลยอ้างเหตุว่า ในมูลหนี้เดียวกันนี้และก่อนฟ้องคดีนี้ต่อศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลาง โจทก์ได้ฟ้องคดีต่อ "The High Court of Justice, Queen's Bench Division, Commercial Court" ประเทศสหราชอาณาจักร จนศาลดังกล่าวมีคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำเลยชำระเงิน จำนวน996,498 ดอลลาร์สหรัฐ พร้อมดอกเบี้ยแก่โจทก์ ส่วนศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางพิพากษาให้จำเลยชำระเงินจำนวน 1,687,289.24 ดอลลาร์สหรัฐ พร้อมดอกเบี้ยแก่โจทก์ จึงเป็นกรณีคำพิพากษาของศาลต่างรัฐกันขัดแย้งกันเรื่องจำนวนหนี้ที่จำเลยต้องชำระแก่โจทก์ ทั้งโจทก์ได้รับชำระหนี้ตามคำพิพากษาของศาลดังกล่าวไปแล้วบางส่วนด้วย หากบังคับคดีนี้ต่อไป จำเลยจะได้รับความเสียหายเกินความจำเป็น เมื่อพิจารณาคำร้องและอุทธรณ์ของจำเลยแล้ว เข้าใจได้ว่าเหตุที่มีความประสงค์จะขอให้ศาลงดการบังคับคดีเนื่องจากคำพิพากษาศาลฎีกากับคำพิพากษา "The High Court of Justice" ขัดแย้งกันในเรื่องจำนวนหนี้ที่จำเลยจะต้องชำระ เห็นว่า จำเลยไม่ได้อ้างเหตุที่งดการบังคับคดี แม้ข้อเท็จจริงจะรับฟังได้ตามที่จำเลยอ้าง ก็ไม่มีเหตุที่จะงดการบังคับคดี