พบผลลัพธ์ทั้งหมด 292 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1523/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การตั้งผู้จัดการมรดก: ศาลพิจารณาเจตนาเจ้ามรดกและความสัมพันธ์กับทายาท
กฎหมายบัญญัติเรื่องการตั้งผู้จัดการมรดกไว้ใน ป.พ.พ. มาตรา 1713 วรรคสอง ว่า การตั้งผู้จัดการมรดกนั้น ถ้ามีข้อกำหนดพินัยกรรมก็ให้ศาลตั้งตามข้อกำหนดพินัยกรรม และถ้าไม่มีข้อกำหนดพินัยกรรมก็ให้ศาลตั้งเพื่อประโยชน์แก่กองมรดกตามพฤติการณ์และโดยคำนึงถึงเจตนาของเจ้ามรดกแล้วแต่ศาลจะเห็นสมควร เมื่อได้ความว่าผู้ร้องซึ่งเป็นบุตรคนโตของผู้ตายไม่ค่อยได้ติดต่อกับผู้ตาย รวมทั้งไม่ได้ไปร่วมในงานบำเพ็ญกุศลของผู้ตาย โดยผู้ร้องพักอาศัยอยู่กับยายตั้งแต่เล็กและแต่งงานแยกครอบครัวไปตั้งแต่ปี 2509 แสดงว่าผู้ร้องค่อนข้างมีความสัมพันธ์ที่ห่างเหินกับผู้ตาย การที่จะให้ผู้ร้องเป็นผู้จัดการมรดกน่าจะไม่เป็นไปตามเจตนาของเจ้ามรดกผู้ตาย กอปรกับผู้ร้องก็รับว่าทายาทผู้ตายมีความเห็นแตกต่างเป็นสองฝ่าย อีกทั้งผู้ร้องมีพฤติกรรมที่ก้าวร้าวและไม่น่าไว้วางใจ ทำให้มีเหตุเชื่อว่าหากตั้งผู้ร้องให้ร่วมเป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตายแล้ว การจัดการมรดกน่าจะไม่ราบรื่นและไม่เป็นไปตามเจตนาของเจ้ามรดก การตั้งผู้คัดค้านแต่ฝ่ายเดียวให้เป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตายจึงน่าจะเหมาะสมกว่า
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7475/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คำฟ้องไม่เคลือบคลุม แม้ขอให้บังคับทางสาธารณะ/ภาระจำยอม/จำเป็น ศาลพิจารณาตามข้อเท็จจริงได้
การที่โจทก์บรรยายฟ้องว่า ส. เจ้าของที่ดินยกทางเดินให้ที่ดินเป็นทางสาธารณะ โจทก์ทั้งห้าใช้ทางพิพาทเป็นทางเข้าออกจากที่ดินของโจทก์ทั้งห้าสู่ทางสาธารณะเป็นเวลากว่า 10 ปีแล้ว ทางพิพาทจึงเป็นทางภาระจำยอมเพื่อประโยชน์แก่ที่ดินของโจทก์ทั้งห้า ที่ดินของโจทก์ทั้งห้ามีที่ดินแปลงอื่นรวมทั้งที่ดินของจำเลยล้อมรอบไม่มีทางออกสู่ทางสาธารณะ ทางพิพาทจึงเป็นทางจำเป็นสำหรับที่ดินของโจทก์ทั้งห้า ขอให้บังคับจำเลยไปจดทะเบียนทางพิพาทเป็นทางสาธารณะหรือทางภาระจำยอมหรือทางจำเป็นนั้น แม้จะเป็นการแสดงสภาพแห่งข้อหาและข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาว่า ทางพิพาทเป็นทางสามประเภทดังกล่าว แต่ก็ได้แสดงลักษณะของการเป็นทางในแต่ละประเภทนั้นไว้ และฟ้องดังกล่าวมีคำขอให้บังคับเกี่ยวกับทางพิพาทประเภทใดประเภทหนึ่งเพียงประเภทเดียวในจำนวนนั้น ซึ่งทางพิพาทจะเข้าลักษณะเป็นทางประเภทใด ย่อมขึ้นอยู่กับการพิจารณารับฟังข้อเท็จจริง หากได้ความว่าทางพิพาทเป็นทางประเภทใด ศาลย่อมพิพากษาและบังคับตามคำขออย่างหนึ่งอย่างใด ตามที่พิจารณาได้ความ ทั้งจำเลยก็ให้การปฏิเสธฟ้องโดยสิ้นเชิงว่า ทางพิพาทไม่ได้เป็นทางทั้งสามประเภทดังกล่าวอันเป็นการแสดงให้เห็นว่าจำเลยเข้าใจฟ้องโจทก์แล้ว ฟ้องโจทก์จึงไม่เคลือบคลุม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6008/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ค่าขึ้นศาลอุทธรณ์คำสั่งไม่อนุญาตเลื่อนคดี: ศาลต้องพิจารณาประเภทคดีและคำขอเพื่อกำหนดค่าธรรมเนียมที่ถูกต้อง
คำร้องอุทธรณ์คำสั่งของจำเลยที่ 1 มีเนื้อหาคัดค้านคำสั่งของศาลชั้นต้นที่สั่งในอุทธรณ์ของจำเลยที่ 1 ให้จำเลยที่ 1 เสียค่าขึ้นศาลเสียใหม่ภายในระยะเวลาที่ศาลชั้นต้นกำหนด มิฉะนั้นจะถือว่าไม่ติดใจอุทธรณ์ คำสั่งของศาลชั้นต้นเช่นนี้มิใช่คำสั่งที่ศาลชั้นต้นปฏิเสธไม่ส่งอุทธรณ์ไปยังศาลอุทธรณ์หรือมีคำสั่งไม่รับอุทธรณ์ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 232 จึงมิใช่กรณีที่ผู้อุทธรณ์ (จำเลยที่ 1) จะต้องนำค่าฤชาธรรมเนียมทั้งปวงมาวางศาลและนำเงินมาชำระตามคำพิพากษาหรือหาประกันให้ไว้ต่อศาลตาม ป.วิ.พ. มาตรา 234 หากแต่เป็นการอุทธรณ์คำสั่งของศาลชั้นต้นตาม ป.วิ.พ. มาตรา 18 วรรคท้าย ประกอบมาตรา 229 ที่ศาลอุทธรณ์ภาค 1 วินิจฉัยคำร้องของจำเลยที่ 1 ดังกล่าวโดยนำบทบัญญัติมาตรา 234 มาปรับแก่คดีนั้นจึงไม่ถูกต้อง
อุทธรณ์ของจำเลยที่ 1 เป็นอุทธรณ์คำสั่งของศาลชั้นต้นที่ไม่อนุญาตให้จำเลยที่ 1 เลื่อนคดีและงดสืบพยานของจำเลยที่ 1 ซึ่งมิใช่อุทธรณ์ในเนื้อหาของคำพิพากษา แม้ศาลชั้นต้นจะสั่งว่า อุทธรณ์ของจำเลยที่ 1 เป็นอุทธรณ์ในเนื้อหาของคำพิพากษาต้องเสียค่าขึ้นศาลตามจำนวนทุนทรัพย์ให้จำเลยที่ 1 นำค่าฤชาธรรมเนียมมาชำระให้ถูกต้อง ก็แปลได้ว่าหมายถึงค่าขึ้นศาลชั้นอุทธรณ์ตามจำนวนทุนทรัพย์ที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งในตอนแรก เมื่ออุทธรณ์ของจำเลยที่ 1 มีคำขอเพียงให้ศาลอุทธรณ์ภาค 1 พิพากษายกคำสั่งศาลชั้นต้นและย้อนสำนวนขึ้นไปให้ศาลชั้นต้นสืบพยานจำเลยที่ 1 แล้วมีคำพิพากษาใหม่ตามรูปคดี จึงเป็นอุทธรณ์ในคดีที่มีคำขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันไม่อาจคำนวณเป็นราคาเงินได้ ต้องเสียค่าขึ้นศาลชั้นอุทธรณ์ตามตาราง 1 (2) (ก) ท้าย ป.วิ.พ. เพียง 200 บาท ที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้จำเลยที่ 1 เสียค่าขึ้นศาลชั้นอุทธรณ์เพิ่มเติมตามจำนวนทุนทรัพย์จึงไม่ชอบ
อุทธรณ์ของจำเลยที่ 1 เป็นอุทธรณ์คำสั่งของศาลชั้นต้นที่ไม่อนุญาตให้จำเลยที่ 1 เลื่อนคดีและงดสืบพยานของจำเลยที่ 1 ซึ่งมิใช่อุทธรณ์ในเนื้อหาของคำพิพากษา แม้ศาลชั้นต้นจะสั่งว่า อุทธรณ์ของจำเลยที่ 1 เป็นอุทธรณ์ในเนื้อหาของคำพิพากษาต้องเสียค่าขึ้นศาลตามจำนวนทุนทรัพย์ให้จำเลยที่ 1 นำค่าฤชาธรรมเนียมมาชำระให้ถูกต้อง ก็แปลได้ว่าหมายถึงค่าขึ้นศาลชั้นอุทธรณ์ตามจำนวนทุนทรัพย์ที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งในตอนแรก เมื่ออุทธรณ์ของจำเลยที่ 1 มีคำขอเพียงให้ศาลอุทธรณ์ภาค 1 พิพากษายกคำสั่งศาลชั้นต้นและย้อนสำนวนขึ้นไปให้ศาลชั้นต้นสืบพยานจำเลยที่ 1 แล้วมีคำพิพากษาใหม่ตามรูปคดี จึงเป็นอุทธรณ์ในคดีที่มีคำขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันไม่อาจคำนวณเป็นราคาเงินได้ ต้องเสียค่าขึ้นศาลชั้นอุทธรณ์ตามตาราง 1 (2) (ก) ท้าย ป.วิ.พ. เพียง 200 บาท ที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้จำเลยที่ 1 เสียค่าขึ้นศาลชั้นอุทธรณ์เพิ่มเติมตามจำนวนทุนทรัพย์จึงไม่ชอบ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1689/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องคดีอย่างคนอนาถา: ศาลต้องพิจารณา 'มูลคดี' และ 'ฐานะยากจน' ของโจทก์
การพิจารณาว่าจะอนุญาตให้โจทก์ฟ้องคดีอย่างคนอนาถาได้หรือไม่เพียงใดนั้น ศาลต้องพิจารณาสาระสำคัญ 2 ประการคือ ประการแรก คดีของโจทก์มีมูลที่จะฟ้องร้องหรือไม่ โดยพิจารณาข้อเท็จจริงและข้อกฎหมายที่โจทก์กล่าวอ้างในคำฟ้องนั้น มีข้อโต้แย้งสิทธิอันมีมูลที่โจทก์จะฟ้องจำเลยได้หรือไม่ ยังไม่ต้องพิจารณาว่าข้อที่โจทก์กล่าวอ้างมาในคำฟ้องนั้นเป็นจริงหรือไม่ เพราะเป็นข้อที่จะนำสืบพิสูจน์กันในชั้นพิจารณาคดี ประการที่สองศาลต้องไต่สวนแล้วฟังข้อเท็จจริงว่า โจทก์เป็นคนยากจนไม่สามารถเสียค่าธรรมเนียมศาลได้จริงหรือไม่เพียงใด ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 155 และ 156 ประกอบ พ.ร.บ.จัดตั้งศาลภาษีอากรและวิธีพิจารณาคดีภาษีอากร พ.ศ. 2528 มาตรา 17
โจทก์ฟ้องโดยสรุปว่า เจ้าพนักงานประเมินของจำเลยประเมินให้โจทก์เสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาและภาษีการค้าพร้อมเบี้ยปรับและเงินเพิ่ม เนื่องจากโจทก์มีเงินได้จากการขายอสังหาริมทรัพย์เป็นทางค้าหรือหากำไร โดยขายในนามห้างหุ้นส่วนสามัญหรือคณะบุคคลที่โจทก์เป็นหุ้นส่วนอันเป็นการประเมินที่ไม่ชอบ เนื่องจากโจทก์ไม่ได้ขายที่ดินในนามห้างหุ้นส่วนสามัญหรือคณะบุคคล แต่ต่างคนต่างขายและไม่ได้ขายโดยมีเจตนาเพื่อเป็นทางค้าหรือหากำไรซึ่งจะต้องเสียภาษีการค้า ทั้งผู้ซื้อได้ตกลงชำระค่าภาษีทั้งหมดแทนโจทก์และชำระภาษีให้แก่จำเลยไปครบถ้วนแล้ว โจทก์ไม่ต้องเสียภาษีตามที่จำเลยประเมิน ขอให้เพิกถอนการประเมินและคำวินิจฉัยอุทธรณ์ของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ หากข้อเท็จจริงเป็นไปตามคำฟ้อง โจทก์ย่อมไม่ต้องเสียภาษีในการขายที่ดินครั้งนี้อีก การประเมินภาษีดังกล่าวย่อมเป็นการโต้แย้งสิทธิของโจทก์ เมื่อศาลภาษีอากรกลางไต่สวนคำร้องของโจทก์แล้วได้ความว่าโจทก์และผู้มีชื่อในโฉนดอื่นไม่ได้เป็นหุ้นส่วนกัน และต่างคนต่างขายที่ดินส่วนของตน คดีโจทก์จึงมีมูลที่จะฟ้อง การที่ศาลภาษีอากรกลางวินิจฉัยว่าคดีของโจทก์ไม่มีมูลที่จะฟ้องร้องจึงไม่ชอบ และศาลฎีกาเห็นสมควรย้อนสำนวนให้ศาลภาษีอากรกลางรับฟังข้อเท็จจริงว่า โจทก์เป็นคนยากจนไม่สามารถเสียค่าธรรมเนียมศาลได้หรือไม่เพียงใด
โจทก์ฟ้องโดยสรุปว่า เจ้าพนักงานประเมินของจำเลยประเมินให้โจทก์เสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาและภาษีการค้าพร้อมเบี้ยปรับและเงินเพิ่ม เนื่องจากโจทก์มีเงินได้จากการขายอสังหาริมทรัพย์เป็นทางค้าหรือหากำไร โดยขายในนามห้างหุ้นส่วนสามัญหรือคณะบุคคลที่โจทก์เป็นหุ้นส่วนอันเป็นการประเมินที่ไม่ชอบ เนื่องจากโจทก์ไม่ได้ขายที่ดินในนามห้างหุ้นส่วนสามัญหรือคณะบุคคล แต่ต่างคนต่างขายและไม่ได้ขายโดยมีเจตนาเพื่อเป็นทางค้าหรือหากำไรซึ่งจะต้องเสียภาษีการค้า ทั้งผู้ซื้อได้ตกลงชำระค่าภาษีทั้งหมดแทนโจทก์และชำระภาษีให้แก่จำเลยไปครบถ้วนแล้ว โจทก์ไม่ต้องเสียภาษีตามที่จำเลยประเมิน ขอให้เพิกถอนการประเมินและคำวินิจฉัยอุทธรณ์ของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ หากข้อเท็จจริงเป็นไปตามคำฟ้อง โจทก์ย่อมไม่ต้องเสียภาษีในการขายที่ดินครั้งนี้อีก การประเมินภาษีดังกล่าวย่อมเป็นการโต้แย้งสิทธิของโจทก์ เมื่อศาลภาษีอากรกลางไต่สวนคำร้องของโจทก์แล้วได้ความว่าโจทก์และผู้มีชื่อในโฉนดอื่นไม่ได้เป็นหุ้นส่วนกัน และต่างคนต่างขายที่ดินส่วนของตน คดีโจทก์จึงมีมูลที่จะฟ้อง การที่ศาลภาษีอากรกลางวินิจฉัยว่าคดีของโจทก์ไม่มีมูลที่จะฟ้องร้องจึงไม่ชอบ และศาลฎีกาเห็นสมควรย้อนสำนวนให้ศาลภาษีอากรกลางรับฟังข้อเท็จจริงว่า โจทก์เป็นคนยากจนไม่สามารถเสียค่าธรรมเนียมศาลได้หรือไม่เพียงใด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6651/2547
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องคดี หากข้อสัญญาอนุญาโตตุลาการไม่ครอบคลุมคู่สัญญาโดยตรง ศาลมีอำนาจพิจารณาได้
การขอให้ศาลวินิจฉัยชี้ขาดเบื้องต้นในปัญหาข้อกฎหมาย ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 24 หากศาลมีคำวินิจฉัยชี้ขาดเบื้องต้นเป็นคุณแก่ฝ่ายที่ขอแล้ว แม้จะมีการดำเนินกระบวนพิจารณาคดีต่อไปก็ตาม แต่ข้อกฎหมายตามคำร้องขอนั้น ศาลก็ไม่ต้องพิจารณาประเด็นสำคัญแห่งคดีในข้อนี้อีก การวินิจฉัยและสั่งเช่นนี้มิได้ทำให้คดีเสร็จไปทั้งเรื่อง หากเสร็จไปเฉพาะประเด็นบางข้อ ตามคำร้องของโจทก์ทั้งสอง (ที่ขอให้วินิจฉัยชี้ขาดเบื้องต้น) เป็นปัญหาเรื่องอำนาจฟ้อง ซึ่งเป็นประเด็นสำคัญแห่งคดี ศาลชั้นต้นจึงชอบที่จะมีคำสั่งวินิจฉัยชี้ขาดในปัญหาข้อกฎหมายดังกล่าวได้
สัญญาข้อตกลง ข้อ 18 เรื่องการระงับข้อพิพาทและอนุญาโตตุลาการระบุให้นำข้อพิพาทหรือความขัดแย้งระหว่างผู้รับเหมากับวิศวกร หรือผู้แทนของเจ้าของ โดยเกี่ยวข้องกับหรือเกิดขึ้นจากสัญญาหรือการปฏิบัติงาน ให้เสนอต่อวิศวกรและอนุญาโตตุลาการก่อน แต่ข้อพิพาทคดีนี้โจทก์ทั้งสองเป็นผู้รับเหมาเป็นคู่สัญญากับจำเลยซึ่งเป็นเจ้าของ จึงไม่ตกอยู่ในเงื่อนไขของข้อสัญญา ข้อ 18 ที่ต้องเสนอข้อพิพาทให้อนุญาโตตุลาการชี้ขาดเสียก่อน
สัญญาข้อตกลง ข้อ 18 เรื่องการระงับข้อพิพาทและอนุญาโตตุลาการระบุให้นำข้อพิพาทหรือความขัดแย้งระหว่างผู้รับเหมากับวิศวกร หรือผู้แทนของเจ้าของ โดยเกี่ยวข้องกับหรือเกิดขึ้นจากสัญญาหรือการปฏิบัติงาน ให้เสนอต่อวิศวกรและอนุญาโตตุลาการก่อน แต่ข้อพิพาทคดีนี้โจทก์ทั้งสองเป็นผู้รับเหมาเป็นคู่สัญญากับจำเลยซึ่งเป็นเจ้าของ จึงไม่ตกอยู่ในเงื่อนไขของข้อสัญญา ข้อ 18 ที่ต้องเสนอข้อพิพาทให้อนุญาโตตุลาการชี้ขาดเสียก่อน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3451/2547
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การทำร้ายร่างกายจนถึงแก่ความตาย และทำร้ายร่างกายผู้อื่น ศาลพิจารณาความผิดฐานฆ่าและทำร้ายร่างกายเป็นกรรมต่างกัน
จำเลยและผู้ตายทะเลาะวิวาทกันเนื่องจากผู้ตายชวน บ. ซึ่งช่วยจำเลยทำสวนไปทำงานที่อื่น เมื่อต่อสู้กันจำเลยใช้มีดอีโต้ฟันผู้ตายจนล้มลงแล้วฟันผู้ตายหลายครั้ง จนผู้ตายถึงแก่ความตาย ผู้เสียหายเข้าไปจะช่วยผู้ตาย จำเลยใช้มีดฟันหน้าผู้เสียหาย 1 ครั้ง แล้ววิ่งหลบหนีไป การกระทำดังกล่าวจึงไม่เป็นการป้องกันโดยชอบด้วยกฎหมาย และการที่จำเลยใช้มีดฟันผู้เสียหายที่เข้าไปจะช่วยเหลือผู้ตาย เป็นการกระทำต่างกรรมและต่างเจตนากับการฆ่าผู้ตาย การกระทำของจำเลยจึงเป็นความผิด 2 กรรม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1402/2547
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ทุนทรัพย์อุทธรณ์ฎีกาแยกรายโจทก์, การวางค่าขึ้นศาลเกิน, ศาลชอบที่จะพิจารณาอุทธรณ์เมื่อวางเงินครบถ้วน
แม้โจทก์ทั้งสองจะฟ้องรวมกันมาในคดีเดียวและเสียค่าขึ้นศาลรวมกันมา แต่การอุทธรณ์ฎีกาก็ต้องถือทุนทรัพย์ของโจทก์แต่ละคนแยกกัน โจทก์ที่ 1 ต้องเสียค่าขึ้นศาลชั้นอุทธรณ์จากทุนทรัพย์ 235,350 บาท คิดเป็นค่าขึ้นศาลเพียง 5,885 บาท มิใช่เสียค่าขึ้นศาลจากทุนทรัพย์ 412,500 บาท โจทก์ที่ 1 ทยอยนำค่าขึ้นศาลชั้นอุทธรณ์มาวางศาล 2 ครั้ง รวมเป็นเงิน 7,000 บาท ภายในระยะเวลาที่ศาลชั้นต้นอนุญาตให้ขยาย ซึ่งเป็นการวางเงินเกินกว่าที่ต้องเสียเป็นเงิน 1,115 บาท แต่โจทก์ที่ 1 สำคัญผิดว่ายังชำระค่าขึ้นศาลชั้นอุทธรณ์ไม่ครบ จึงได้ขอขยายระยะเวลาวางเงินออกไปอีก กรณีเช่นนี้ศาลชั้นต้นชอบที่จะพิจารณาสั่งอุทธรณ์ของโจทก์ที่ 1 ได้ ตั้งแต่วางเงินค่าขึ้นศาลชั้นอุทธรณ์ครบถ้วนและสั่งยกคำร้องขอขยายระยะเวลาวางเงินค่าขึ้นศาลชั้นอุทธรณ์ของโจทก์ที่ 1 ที่ยื่นหลังจากที่โจทก์ที่ 1 วางเงินค่าขึ้นศาลชั้นอุทธรณ์ครบถ้วน การที่ศาลชั้นต้นสั่งอนุญาตขยายระยะเวลาวางเงินของโจทก์ที่ 1 และในที่สุดมีคำสั่งไม่อนุญาตขยายระยะเวลาวางเงินของโจทก์ที่ 1 ในครั้งต่อมาพร้อมกับสั่งไม่รับอุทธรณ์และศาลอุทธรณ์พิพากษายืนจึงเป็นการไม่ชอบ ปัญหานี้เป็นปัญหาเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกาหยิบยกขึ้นวินิจฉัยได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7024/2546 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คุ้มครองชั่วคราวทางภารจำยอม/จำเป็น: ศาลพิจารณาจากมูลเหตุฟ้องและเหตุผลความจำเป็นก่อนพิพากษา
ศาลชั้นต้นทำการไต่สวนคำร้องของโจทก์เป็นที่พอใจว่าคำฟ้องมีมูลและมีเหตุผลเพียงพอที่จะนำวิธีคุ้มครองตามที่ขอนั้นมาใช้ได้ชั่วคราวก่อนพิพากษา เพื่อคุ้มครองประโยชน์ของโจทก์ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 254 (2), 255 แล้วมีคำสั่งห้ามจำเลยปิดกั้น ทำลาย หรือห้ามมิให้โจทก์ใช้ทางพิพาทและให้ทำทางพิพาทให้มีสภาพเดิมกว้างยาวตามคำขอท้ายฟ้อง เมื่อจำเลยจะอุทธรณ์ขอให้กลับคำสั่งดังกล่าวจะต้องโต้เถียงว่าวิธีการที่ศาลชั้นต้นกำหนดไว้ตามมาตรา 254 (2) นั้น ไม่มีเหตุเพียงพอที่จะนำวิธีคุ้มครองชั่วคราวดังกล่าวมาใช้ หรือมีเหตุอันสมควรประการอื่นที่ศาลจะมีคำสั่งต่อไปตามมาตรา 261 วรรคสาม ส่วนปัญหาว่าทางพิพาทกว้างยาวเพียงใดในชั้นพิจารณา ไม่ใช่ประเด็นที่ศาลจะต้องชี้ขาดในชั้นขอคุ้มครองชั่วคราวก่อนพิพากษาแต่อย่างใด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4079/2545 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การอนุญาตให้สืบพยานเพิ่มเติม แม้โจทก์จดเวลานัดผิดพลาด ศาลควรพิจารณาเพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรม
ศาลชั้นต้นให้นัดสืบพยานจำเลยพร้อมพยานโจทก์วันเดียวกัน ครั้นถึงวันนัดฝ่ายโจทก์ไม่มาศาล ศาลชั้นต้นให้สืบพยานจำเลยจนเสร็จ และถือว่าโจทก์ที่ไม่มาศาลไม่ติดใจสืบพยาน และมีคำสั่งให้รอฟังคำพิพากษาในวันเดียวกัน ต่อมาในช่วงบ่ายโจทก์ไปศาลจึงทราบเหตุและยื่นคำร้องขอให้สืบพยานโจทก์เนื่องจากจดเวลานัดผิดพลาด ซึ่งขณะนั้นศาลชั้นต้นก็ยังมิได้พิพากษา ดังนี้ จึงเห็นได้ว่า โจทก์ได้มาศาลก่อนที่ศาลชั้นต้นจะได้มีคำพิพากษา ศาลชั้นต้นชอบที่จะพิจารณาคำร้องของโจทก์ว่ามีเหตุสมควรที่จะอนุญาตให้โจทก์นำพยานเข้าสืบต่อไปหรือไม่ เมื่อข้อเท็จจริงในสำนวนปรากฏว่า คดีต้องมีการสืบพยานจำเลยรวม 13 นัด โดยสืบพยานในช่วงเช้า 4 นัด และช่วงบ่าย 9 นัด แต่สืบพยานจำเลยได้เพียง 4 นัด นอกจากนี้อีก 9 นัด ปรากฏว่าศาลมีคำสั่งให้เลื่อนคดีเอง 1 นัด และฝ่ายจำเลยขอเลื่อนคดี 8 นัด ซึ่งทุกนัดฝ่ายโจทก์มาศาล แสดงว่าฝ่ายโจทก์เอาใจใส่คดีมาตลอด การที่โจทก์ไม่ไปศาลในวันนัดสืบพยานจำเลยพร้อมพยานโจทก์ในช่วงเช้า แต่ไปศาลในช่วงบ่าย จึงมีเหตุผลให้เชื่อได้ว่าทนายความโจทก์จดเวลานัดผิดพลาดจริง ชอบที่จะให้โจทก์นำพยานเข้าสืบเพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3443/2545 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การถอนฟ้องคดีแพ่ง: ศาลต้องพิจารณาแยกส่วนจำเลยที่ยื่นคำให้การแล้ว กับจำเลยที่ยังไม่ได้ยื่น
บทบัญญัติตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 174(2) ไม่ได้หมายความว่า เมื่อศาลกำหนดระยะเวลาให้โจทก์ดำเนินคดีในเรื่องใดแล้ว โจทก์เพิกเฉยจะเป็นกรณีทิ้งฟ้องเสมอไป จะต้องพิจารณาเป็นเรื่อง ๆ ไป การที่โจทก์ไม่มาศาลในวันชี้สองสถานหรือวันสืบพยานไม่ว่าจะเป็นของฝ่ายใดก็ตาม แม้โจทก์จะเพิกเฉย ก็ไม่ใช่กรณีที่ถือว่าโจทก์ทิ้งฟ้อง ศาลต้องดำเนินกระบวนพิจารณาตามที่กฎหมายในเรื่องดังกล่าวบัญญัติไว้ต่อไป
การยื่นคำร้องขอถอนฟ้องเป็นสิทธิของโจทก์ เพียงแต่ถ้าจำเลยยื่นคำให้การแล้วประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 175 วรรคสอง (1) ห้ามมิให้ศาลอนุญาตโดยมิได้ฟังจำเลยก่อน ดังนั้น การที่โจทก์ไม่ดำเนินการส่งหมายนัดและสำเนาคำร้องขอถอนฟ้องให้จำเลยที่ 1 เป็นเหตุให้ศาลชั้นต้นไม่อาจสอบถามจำเลยที่ 1 ได้นั้น ศาลชั้นต้นก็ชอบที่จะยกคำร้องขอถอนฟ้องในส่วนที่เกี่ยวกับจำเลยที่ 1 เสียได้แต่จะยกคำร้องขอถอนฟ้องจำเลยที่ 2 ไม่ได้ เพราะมาตรา 175 วรรคหนึ่ง บัญญัติชัดว่าถ้าเป็นการถอนฟ้องก่อนจำเลยยื่นคำให้การ โจทก์อาจถอนคำฟ้องโดยยื่นคำบอกกล่าวเป็นหนังสือต่อศาลฉะนั้น คำร้องขอถอนฟ้องของโจทก์ที่เกี่ยวกับจำเลยที่ 2 ศาลชั้นต้นต้องสั่งอนุญาตเพราะเป็นคนละส่วนกับจำเลยที่ 1 ศาลชั้นต้นไม่มีอำนาจสั่งยกคำร้องขอถอนฟ้องของโจทก์เสียทั้งหมดและสั่งจำหน่ายคดีของโจทก์เพราะเหตุทิ้งฟ้อง
การยื่นคำร้องขอถอนฟ้องเป็นสิทธิของโจทก์ เพียงแต่ถ้าจำเลยยื่นคำให้การแล้วประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 175 วรรคสอง (1) ห้ามมิให้ศาลอนุญาตโดยมิได้ฟังจำเลยก่อน ดังนั้น การที่โจทก์ไม่ดำเนินการส่งหมายนัดและสำเนาคำร้องขอถอนฟ้องให้จำเลยที่ 1 เป็นเหตุให้ศาลชั้นต้นไม่อาจสอบถามจำเลยที่ 1 ได้นั้น ศาลชั้นต้นก็ชอบที่จะยกคำร้องขอถอนฟ้องในส่วนที่เกี่ยวกับจำเลยที่ 1 เสียได้แต่จะยกคำร้องขอถอนฟ้องจำเลยที่ 2 ไม่ได้ เพราะมาตรา 175 วรรคหนึ่ง บัญญัติชัดว่าถ้าเป็นการถอนฟ้องก่อนจำเลยยื่นคำให้การ โจทก์อาจถอนคำฟ้องโดยยื่นคำบอกกล่าวเป็นหนังสือต่อศาลฉะนั้น คำร้องขอถอนฟ้องของโจทก์ที่เกี่ยวกับจำเลยที่ 2 ศาลชั้นต้นต้องสั่งอนุญาตเพราะเป็นคนละส่วนกับจำเลยที่ 1 ศาลชั้นต้นไม่มีอำนาจสั่งยกคำร้องขอถอนฟ้องของโจทก์เสียทั้งหมดและสั่งจำหน่ายคดีของโจทก์เพราะเหตุทิ้งฟ้อง