คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
ศาลพิจารณาคดี

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 2 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1109/2535

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การยื่นอุทธรณ์ข้ามกำหนด – การยื่นคำโต้แย้งคำสั่งศาล – ผลกระทบต่อการพิจารณาคดี
ศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาเมื่อวันที่ 19 กรกฎาคม 2533 ซึ่งครบ กำหนดอุทธรณ์ในวันที่ 20 สิงหาคม 2533(วันที่ 19 สิงหาคม 2533 เป็นวันอาทิตย์)จำเลยยื่นคำร้องขอขยายระยะเวลาอุทธรณ์เมื่อ วันที่ 24 สิงหาคม 2523ศาลชั้นต้นสั่งยกคำร้องดังนี้ หากจำเลย ประสงค์จะอุทธรณ์คัดค้านคำสั่งของศาลชั้นต้นดังกล่าวก็จะต้อง ยื่นอุทธรณ์คำสั่งภายในกำหนด 1 เดือนนับแต่วันที่ศาลชั้นต้นอ่าน คำสั่งนั้นตาม ป.วิ.พ. มาตรา 229 คือต้อง ยื่นภายในวันที่ 24 กันยายน 2533 แต่ปรากฏว่าจำเลยกลับยื่นคำร้องลงวันที่3 กันยายน 2533 โต้แย้งคำสั่งของศาลชั้นต้นที่ไม่อนุญาตให้ขยายระยะเวลาอุทธรณ์ ซึ่งเป็นเรื่องที่ตามกฎหมายไม่จำต้องกระทำ การปฏิบัติของจำเลยดังกล่าวจึงหามีผลตามกฎหมายแต่อย่างใดไม่ จำเลยยื่นอุทธรณ์ คำสั่งของศาลชั้นต้นที่ไม่อนุญาตให้ขยายระยะเวลาอุทธรณ์เมื่อ วันที่ 2 ตุลาคม 2533จึงเป็นการยื่นอุทธรณ์เมื่อพ้นกำหนด 1 เดือน ตามบทกฎหมายดังกล่าวแล้ว.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1203/2511

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การยกฟ้องอาวุธปืนเมื่อกฎหมายใหม่ให้สิทธิประโยชน์แก่ผู้กระทำผิดในช่วงเวลาที่ศาลพิจารณาคดี
แม้ในขณะที่โจทก์ฟ้อง จำเลยกระทำผิดตามพระราชบัญญัติอาวุธปืน พ.ศ.2490ก็ดี. แต่ในระหว่างที่ศาลชั้นต้นพิจารณาคดี ได้มีพระราชบัญญัติอาวุธปืนฯ (ฉบับที่ 4)พ.ศ.2510ประกาศใช้บังคับ. ซึ่งตามมาตรา 5 บัญญัติให้ผู้มีอาวุธปืนและเครื่องกระสุนปืนไว้ในครอบครองโดยมิได้รับอนุญาต. นำไปขอรับอนุญาตต่อนายทะเบียนท้องที่ได้ภายใน90 วัน นับแต่วันใช้บังคับพระราชบัญญัติฉบับนี้. คือตั้งแต่วันที่ 4 ตุลาคม 2510 จนถึงวันที่ 1 มกราคม 2511ซึ่งได้รับการยกเว้นโทษตามกฎหมาย. ศาลชั้นต้นพิพากษาคดีนี้เมื่อวันที่ 29 ธันวาคม 2510 ซึ่งยังอยู่ในระหว่างเวลาที่กฎหมายให้สิทธิไม่เอาโทษแก่จำเลยด้วย. ศาลชั้นต้นจึงมีอำนาจยกฟ้องโจทก์ได้. ศาลอุทธรณ์พิพากษายืนตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นในข้อนี้จึงชอบแล้ว. แม้ศาลอุทธรณ์จะพิพากษาคดีนี้ภายหลังที่ล่วงพ้นระยะเวลา 90 วันตามพระราชบัญญัติดังกล่าวก็ไม่สำคัญ. (อ้างฎีกาประชุมใหญ่ที่ 889/2503).