คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
ศาลพิพากษา

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 254 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3167/2549

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ จำเลยไม่ติดใจสืบพยาน ศาลพิพากษาตามพยานโจทก์ ไม่ใช่ขาดนัดพิจารณา จึงขอพิจารณาคดีใหม่ไม่ได้
ข้อเท็จจริงปรากฏว่าโจทก์เป็นฝ่ายนำสืบพยานก่อน เมื่อสืบพยานโจทก์เสร็จ ศาลแรงงานกลางได้เลื่อนไปสืบพยานจำเลยนัดหน้า เมื่อถึงกำหนดนัด ทนายโจทก์มาศาล ส่วนจำเลยทราบนัดโดยชอบแล้วไม่มาศาลโดยไม่แจ้งเหตุขัดข้องและไม่มีพยานจำเลยมาศาล ศาลแรงงานกลางจึงถือว่าจำเลยไม่ติดใจสืบพยานและมีคำพิพากษาไปในวันดังกล่าว กรณีนี้จึงไม่ใช่กรณีที่ศาลมีคำพิพากษาให้คู่ความฝ่ายที่ขาดนัดหรือขาดนัดพิจารณาแพ้คดี แต่เป็นกรณีที่ศาลได้พิพากษาชี้ขาดไปตามรูปเรื่องที่ปรากฏในคำฟ้องคำให้การและพยานโจทก์ ดังนี้ จำเลยจึงไม่อาจขอให้พิจารณาคดีใหม่ได้ จำเลยชอบที่จะใช้สิทธิอุทธรณ์คำพิพากษาต่อไป

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 911/2548 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ รายงานกระบวนพิจารณาไม่ใช่คำให้การ จำเลยขาดนัดยื่นคำให้การ โจทก์ต้องทำคำขอเพื่อให้ศาลมีคำพิพากษา
รายงานกระบวนพิจารณาเป็นเอกสารที่ศาลจดบันทึกข้อความเกี่ยวด้วยเรื่องที่ได้กระทำในการนั่งพิจารณาหรือในการดำเนินกระบวนพิจารณาอื่นของศาลตาม ป.วิ.พ. มาตรา 48 ส่วนคำให้การเป็นคำคู่ความซึ่งกฎหมายบัญญัติไว้ในมาตรา 67 ว่า ให้คู่ความทำเป็นหนังสือโดยใช้แบบพิมพ์ของศาลและมีรายการต่าง ๆ ตามที่ระบุไว้ ดังนั้น แม้ศาลชั้นต้นจะได้บันทึกแถลงของจำลยที่ 4 ที่ยอมรับว่าเป็นหนี้โจทก์ตามฟ้องไว้ในรายงานกระบวนพิจารณา และจำเลยที่ 4 ได้ลงลายมือชื่อไว้ ก็ถือว่าไม่ได้ว่าเป็นคำให้การของจำเลยที่ 4 เมื่อจำเลยที่ 4 มิได้ยื่นคำให้การจึงถือว่าจำเลยที่ 4 ขาดนัดยื่นคำให้การ โจทก์จึงต้องมีคำขอต่อศาลภายในสิบห้าวันนับแต่ระยะเวลาที่กำหนดให้จำเลยที่ 4 ยื่นคำให้การได้สิ้นสุดลงเพื่อให้ศาลมีคำพิพากษาหรือคำสั่งชี้ขาดให้โจทก์เป้นฝ่ายชนะคดีโดยขาดนัดตามมาตรา 198 วรรคหนึ่ง แม้จำเลยทั้งสี่จะแถลงยอมรับว่าเป็นหนี้ดจทก์ตามฟ้องและศาลชั้นต้นสามารถพิพากษาคดีโดยไม่ต้องทำการสืบพยานอีกต่อไป ก็ไม่ทำให้โจทก์หมทดหน้าที่ที่จะต้องมีคำขอตามกฎหมายดังกล่าวเมื่อโจทก์มิได้มีคำขอศาลชั้นต้นก็ชอบที่จะมีคำสั่งให้จำหน่ายคดีของโจทก์สำหรับจำเลยที่ 4 ออกจากสารบบความได้ตามมาตรา 198 วรรคสอง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 575/2548 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ จำเลยทำร้ายร่างกายผู้เสียหาย ไม่ได้ร่วมกันปล้นทรัพย์ ศาลพิพากษาลงโทษฐานทำร้ายร่างกายและเพิ่มโทษตามประมวลกฎหมายอาญา
ตามรายงานผลการตรวจชันสูตรบาดแผลของแพทย์มีความเห็นว่าบาดแผลของผู้เสียหายต้องใช้เวลารักษาเกินกว่า 21 วัน แต่ผู้เสียหายเบิกความเพียงว่าบาดแผลที่ผู้เสียหายได้รับจากการถูกทำร้ายต้องใช้เวลารักษา 21 วัน จึงหายเป็นปกติโดยมิได้เบิกความให้เห็นว่าผู้เสียหายต้องเจ็บป่วยด้วยอาการทุกขเวทนาเกินกว่า 20 วัน หรือจนประกอบกรณียกิจตามปกติไม่ได้เกินกว่า 20 วัน อย่างไร ลำพังกระดูกโหนกแก้มขวาหัก จึงยังถือไม่ได้ว่าเป็นอันตรายสาหัส ส่วนบาดแผลของผู้เสียหายที่ต้องใช้เวลารักษาเกิน 21 วัน เป็นเรื่องการรักษาบาดแผลให้หายเป็นปกติเท่านั้น ย่อมรับฟังไม่ได้ว่าผู้เสียหายถูกทำร้ายจนต้องป่วยเจ็บด้วยอาการทุกขเวทนา หรือจนประกอบกรณียกิจตามปกติไม่ได้เกินกว่า 20 วัน อันจะถือว่าเป็นอันตรายสาหัส ตามความของ ป.อ. มาตรา 297 (8) คงรับฟังได้เพียงว่าจำเลยกับพวกร่วมกันทำร้ายร่างกายผู้เสียหายจนเป็นเหตุให้เกิดอันตรายแก่กายซึ่งเป็นความผิดตามมาตรา 295 แม้ปัญหาข้อนี้จะยุติแล้วตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นเพราะจำเลยิได้ยกขึ้นอุทธรณ์ และฎีกาของจำเลยข้อนี้ต้องห้ามตามกฎหมายเพราะเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลอุทธรณ์ แต่ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยให้เป็นคุณแก่จำเลยได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 185 ประกอบมาตรา 215 และ 225
คดีนี้โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยฐานปล้นทรัพย์ โดยบรรยายฟ้องมาด้วยว่าจำเลยกับพวกร่วมกันทำร้ายผู้เสียหายจนเป็นเหตุให้ได้รับอันตรายสาหัส เมื่อข้อเท็จจริงไม่ได้ความว่าจำเลยกระทำผิดเกี่ยวกับทรัพย์ และได้ความว่าผู้เสียหายไม่ได้รับอันตรายสาหัส แต่จำเลยกับพวกร่วมกันทำร้ายผู้เสียหายเป็นเหตุให้เกิดอันตรายแก่กาย ศาลฎีกาก็มีอำนาจพิพากษาลงโทษจำเลยในความผิดดังกล่าวตามที่ได้ความได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 192 วรรคท้าย
พยานหลักฐานของโจทก์มีความสงสัยตามสมควรว่าจำเลยมีเจตนาแต่แรกที่จะร่วมกับพวกเอาทรัพย์ของผู้เสียหายไปด้วยหรือไม่ ต้องยกประโยชน์แห่งความสงสัยให้จำเลยตาม ป.วิ.อ. มาตรา 227 วรรคสอง ข้อเท็จจริงจึงยังรับฟังไม่ได้ว่าจำเลยมีเจตนาร่วมกับพวกกระทำความผิดเกี่ยวกับทรัพย์มาแต่แรก คงฟังได้แต่เพียงว่าจำเลยมีเจตนาแต่แรกที่จะทำร้ายร่างกายผู้เสียหายเท่านั้น เมื่อจำเลยไม่ได้เอาทรัพย์ของผู้เสียหายไป จำเลยจึงมีความผิดฐานร่วมกันทำร้ายร่างกายผู้อื่นจนเป็นเหตุให้เกิดอันตรายแก่กายตาม ป.อ. มาตรา 295 ประกอบด้วยมาตรา 83
แม้คดีนี้จะรับฟังไม่ได้ว่าจำเลยกระทำความผิดฐานปล้นทรัพย์ซ้ำกับความผิดฐานปล้นทรัพย์ในคดีก่อนตาม ป.อ. มาตรา 93 (13) แต่ภายในเวลา 5 ปี นับแต่วันพ้นโทษในคดีก่อน จำเลยมากระทำความผิดคดีนี้ฐานทำร้ายร่างกายผู้อื่นจนเป็นเหตุให้ได้รับอันตรายแก่กาย ซึ่งไม่อาจเพิ่มโทษจำเลยตามมาตรา 93 ตามที่โจทก์ฟ้องได้ และโจทก์ไม่ได้ฟ้องขอให้เพิ่มโทษตามมาตรา 92 มาด้วย ศาลฎีกาก็มีอำนาจเพิ่มโทษจำเลยตามมาตรา 92 ซึ่งเป็นบทที่เบากว่าได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 410/2548

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ดอกเบี้ยซ้อนดอกเบี้ยผิดกฎหมาย: จำเลยไม่มีสิทธิคิดดอกเบี้ยเพิ่มจากหนี้ดอกเบี้ยที่ศาลพิพากษา
ธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงินตามเช็คที่โจทก์สั่งจ่ายชำระหนี้แก่จำเลยโจทก์จึงต้องรับผิดชำระเงินตามเช็คพร้อมดอกเบี้ยนับแต่วันที่ผิดนัด คือวันที่ธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงินตามเช็คจนกว่าจะชำระเสร็จแก่จำเลย การที่โจทก์ได้ชำระเฉพาะต้นเงินตามเช็คให้แก่จำเลยเท่านั้น ส่วนดอกเบี้ยมิได้ชำระให้เสร็จสิ้น ศาลชั้นต้นจึงพิพากษาให้โจทก์รับผิดตามที่จำเลยฟ้องแย้งเป็นเงิน 432,697 บาท นั้นแม้เงินที่โจทก์จะต้องรับผิดจำนวนดังกล่าวเป็นหนี้เงิน และการที่โจทก์ไม่ยอมชำระทำให้จำเลยเสียหาย แต่หนี้ดังกล่าวก็เป็นหนี้เงินในส่วนที่เป็นดอกเบี้ยมิใช่หนี้เงินส่วนที่เป็นต้นเงิน จำเลยจึงไม่มีสิทธิเรียกค่าเสียหายจากโจทก์โดยคิดเป็นดอกเบี้ยในอัตราดอกเบี้ย 7.5 ต่อปี ของหนี้เงินดังกล่าวได้อีก เพราะมีลักษณะเป็นการคิดดอกเบี้ยซ้อนดอกเบี้ยในระหว่างผิดนัดซึ่งต้องห้ามตาม ป.พ.พ. มาตรา 224 วรรคสอง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3191/2547 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาประนีประนอมยอมความ: ศาลพิพากษาตามสัญญาได้ แม้เกินคำขอในฟ้อง ไม่ขัดกฎหมาย
กรณีที่โจทก์จำเลยตกลงทำสัญญาประนีประนอมยอมความต่อหน้าศาลและศาลพิพากษาไปตามสัญญาประนีประนอมยอมความนั้น มิใช่เป็นการวินิจฉัยชี้ขาดอย่างคดีธรรมดาที่ต้องพิจารณาพยานหลักฐานของโจทก์จำเลยแล้วจึงพิพากษาชี้ขาดข้อพิพาทไป ข้อตกลงในสัญญาประนีประนอมยอมความดังกล่าวจึงอาจมีผลไม่ตรงหรือเกินกว่าที่ปรากฏในคำฟ้องได้ ถ้าข้อตกลงนั้นเกี่ยวพันกับประเด็นแห่งคดีและไม่เป็นการฝ่าฝืนต่อกฎหมายเพราะเป็นไปตามข้อตกลงที่คู่ความต่างยอมผ่อนผันให้แก่กัน จึงไม่ตกอยู่ในบังคับแห่ง ป.วิ.พ. มาตรา 142 ซึ่งต้องห้ามมิให้พิพากษาเกินคำขอหรือนอกจากที่ปรากฏในคำฟ้อง ดังนั้น การที่ศาลพิพากษาไปตามสัญญาประนีประนอมยอมความซึ่งมีการกำหนดอัตราดอกเบี้ยระหว่างผิดนัดร้อยละ 10 ต่อปี เกินกว่าร้อยละ 7.5 ต่อปี ตามคำขอของโจทก์จึงหาเป็นการต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 142 และขัดต่อบทบัญญัติแห่ง ป.วิ.พ. มาตรา 138 (2) ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3191/2547

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาประนีประนอมยอมความไม่จำกัดตามคำฟ้อง ศาลพิพากษาตามข้อตกลงได้โดยชอบ
การทำสัญญาประนีประนอมยอมความซึ่งกระทำต่อหน้าศาลและศาลพิพากษาไปตามสัญญาประนีประนอมยอมความนั้น มิใช่เป็นการวินิจฉัยชี้ขาดข้อพิพาทอย่างคดีธรรมดาที่ต้องพิจารณาพยานหลักฐานของโจทก์จำเลยแล้วจึงพิพากษาชี้ขาดข้อพิพาทไป ข้อตกลงในสัญญาประนีประนอมยอมความดังกล่าวจึงอาจมีผลไม่ตรงหรือเกินกว่าที่ปรากฏในคำฟ้องก็ได้ ถ้าข้อตกลงนั้นเกี่ยวพันกับประเด็นแห่งคดีและไม่เป็นการฝ่าฝืนต่อกฎหมาย เพราะเป็นไปตามข้อตกลงที่คู่ความต่างยอมผ่อนผันให้แก่กัน จึงไม่ตกอยู่ในบังคับแห่งบทบัญญัติ ป.วิ.พ. มาตรา 142 ซึ่งต้องห้ามมิให้พิพากษาเกินคำขอหรือนอกจากที่ปรากฏในคำฟ้อง ดังนั้น การที่ศาลพิพากษาไปตามสัญญาประนีประนอมว่า ดอกเบี้ยระหว่างผิดนัดอัตราร้อยละ 10 ต่อปี เกินกว่าอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี ตามคำขอของโจทก์ จึงหาเป็นการต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 142 และ 138 (2) ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7087/2546

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ทางจำเป็น: ศาลพิพากษาตามคำท้าสืบเผชิญ หากไม่มีทางออกอื่นจริง แม้ทางอื่นเดินได้ยาก
โจทก์ทั้งสี่กับจำเลยทั้งสองตกลงท้ากันให้ศาลชั้นต้นเดินเผชิญสืบที่พิพาท หากศาลเห็นว่าโจทก์ทั้งสี่มีทางเข้าออกสู่ทางสาธารณะทางอื่นนอกจากทางพิพาทแล้ว โจทก์ทั้งสี่ยอมแพ้คดีหากไม่มีทางเข้าออกสู่ทางสาธารณะทางอื่นจำเลยทั้งสองยอมแพ้คดีข้อเท็จจริงปรากฏต่อศาลชั้นต้นในการเดินเผชิญสืบตามที่คู่ความนำชี้ว่านอกจากที่พิพาทที่โจทก์ทั้งสี่ฟ้องว่าเป็นทางแล้ว จำเลยทั้งสองนำชี้มีทางออกสู่ทางสาธารณะอีกสามเส้นทาง ซึ่งแต่ละเส้นทางเป็นทางเดินในสวนมีความกว้างขนาดคนเดินได้ ไม่ใช่ทางเข้าออกของรถยนต์ และต้องผ่านที่ดินของบุคคลอื่น ซึ่งเจ้าของที่ดินไม่ได้ยกที่ดินให้เป็นทางสาธารณะหรือเป็นทางภารจำยอม โจทก์ที่ 1 ย่อมไม่อาจใช้ทางได้โดยชอบเพื่อออกสู่ทางสาธารณะ ซึ่งมีผลเท่ากับไม่มีทางออกสู่ทางสาธารณะได้ ที่ศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่าถือไม่ได้ว่าทางดังกล่าวเป็นทางออกสู่ทางสาธารณะตามที่ท้ากัน และพิพากษาให้จำเลยทั้งสองแพ้คดีตามคำท้านั้น ไม่เป็นการวินิจฉัยนอกประเด็นที่คู่ความท้ากัน
ศาลชั้นต้นพิพากษาบังคับให้จำเลยทั้งสองรื้อรั้วลวดหนามและสิ่งกีดขวางออกจากทางพิพาท ถ้าจำเลยทั้งสองไม่รื้อให้โจทก์ที่ 1 เป็นผู้รื้อถอนเองโดยจำเลยทั้งสองร่วมกันเสียค่าใช้จ่ายในการรื้อถอน ดังนั้น หากจำเลยทั้งสองไม่ปฏิบัติตามคำบังคับของศาล โจทก์ที่ 1 มีสิทธิที่จะบังคับคดีต่อไปโดยยื่นคำร้องต่อศาลขอให้ตั้งเจ้าพนักงานบังคับคดีจัดการให้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 296 ทวิ ได้อยู่แล้ว โจทก์ที่ 1 จะขอรื้อถอนเองโดยให้ศาลบังคับจำเลยทั้งสองเป็นผู้ออกค่าใช้จ่ายหาได้ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6066/2546

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฟ้องซ้อน: คดีทรัพย์มรดกที่ศาลเคยมีคำพิพากษาแล้ว การฟ้องคดีซ้ำจึงเป็นฟ้องซ้อนต้องห้าม
คดีแพ่งเรื่องก่อนพนักงานอัยการยื่นคำร้องขอให้ตั้งโจทก์เป็นผู้จัดการมรดกของพระภิกษุ ท. โดยอ้างว่าเป็นทรัพย์สินที่ได้มาก่อนเวลาที่อยู่ในสมณเพศ จำเลยคดีนี้ยื่นคำคัดค้านว่าเป็นทรัพย์สินของพระภิกษุ ท. ที่ได้มาในระหว่างเวลาที่อยู่ในสมณเพศตกเป็นสมบัติของวัดจำเลย จึงมีประเด็นว่า พระภิกษุ ท. ได้ทรัพย์สินมาก่อนเวลาที่อยู่ในสมณเพศหรือไม่และเป็นทรัพย์มรดกตกทอดแก่โจทก์หรือไม่ ขณะคดีดังกล่าวอยู่ระหว่างพิจารณาของศาลอุทธรณ์ โจทก์ยื่นฟ้องจำเลยเป็นคดีนี้โดยกล่าวอ้างทำนองเดียวกันกับคดีก่อน แม้คดีก่อนพนักงานอัยการจะเป็นผู้ร้องขอให้ตั้งโจทก์เป็นผู้จัดการมรดก แต่เมื่อโจทก์ซึ่งเป็นทายาทมีสิทธิร้องขอให้ตั้งตนเองเป็นผู้จัดการมรดกได้อยู่แล้วให้พนักงานอัยการร้องขอแทน จึงถือได้ว่าเป็นการร้องขอแทนโจทก์ เมื่อคดีดังกล่าวศาลชั้นต้นดำเนินคดีอย่างคดีมีข้อพิพาทย่อมถือได้ว่าพนักงานอัยการฟ้องคดีแทนโจทก์ด้วย ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 188(4) ดังนั้นการที่โจทก์ฟ้องคดีนี้โดยมีประเด็นที่จะต้องวินิจฉัยเป็นอย่างเดียวกัน จึงเป็นฟ้องซ้อนต้องห้ามตามมาตรา 173 วรรคสอง (1)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4011/2546

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การรับผิดของสามีภริยาต่อหนี้ร่วม กรณีศาลพิพากษาเกินกรอบคำฟ้อง
โจทก์บรรยายฟ้องว่าจำเลยทั้งสองเป็นสามีภริยากันเป็นเจ้าของร้านค้าและจำเลยทั้งสองร่วมกันสั่งซื้อสินค้าจากโจทก์ ตามคำฟ้องเกี่ยวกับความรับผิดของจำเลยที่ 2 ไม่มีข้อหาว่าเป็นหนี้ร่วมเพราะเป็นหนี้เกี่ยวแก่การจัดการบ้านเรือนและจัดหาสิ่งจำเป็นสำหรับครอบครัว การอุปการะเลี้ยงดู ตลอดถึงการรักษาพยาบาลบุคคลในครอบครัวและการศึกษาของบุตรตามสมควรแก่อัตภาพตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1490(1) เมื่อศาลชั้นต้นมิได้ฟังว่าจำเลยที่ 2 ร่วมด้วยในการสั่งซื้อสินค้าจากโจทก์หรือร่วมด้วยในการประกอบกิจการของร้านค้า ก็ชอบที่จะพิพากษายกฟ้องสำหรับจำเลยที่ 2 การที่ศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่าจำเลยที่ 1 สั่งซื้อสินค้าจากโจทก์เพื่อใช้ในกิจการค้าขายของร้านค้าซึ่งเป็นสิ่งจำเป็นในครอบครัวของจำเลยทั้งสองเพื่อนำรายได้มาใช้จ่ายในการอุปการะเลี้ยงดูบุคคลในครอบครัวและการศึกษาของบุตรตลอดถึงการรักษาพยาบาลด้วย อันเป็นหนี้ร่วมตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1490(1)แล้วพิพากษาให้จำเลยที่ 2 ร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 1 จึงเป็นการพิพากษาในเรื่องนอกจากที่ปรากฏในคำฟ้อง อันเป็นการต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 142

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5923/2545 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การดำเนินการตามขั้นตอนกฎหมายและเหตุสุดวิสัยในการยื่นอุทธรณ์: ศาลพิพากษายืนตามคำสั่งเดิม
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 37 และ 133 วางหลักไว้ว่าศาลจะต้องทำการนั่งพิจารณาต่อเนื่องกันไปจนกว่าจะเสร็จการพิจารณาและพิพากษาคดี โดยให้ศาลมีคำพิพากษาในวันที่เสร็จสิ้นการพิจารณานั่นเอง ดังนั้น การที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งว่าคดีเสร็จการพิจารณาและรอฟังคำพิพากษาวันนี้ และในวันนั้นศาลชั้นต้นได้มีคำพิพากษาชี้ขาดคดี ย่อมเป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาที่ถูกต้องตามบทบัญญัติของกฎหมายแล้ว
เหตุสุดวิสัยตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 23 หมายความว่ามีเหตุการณ์ใด ๆ เกิดขึ้นซึ่งจำเลยไม่สามารถป้องกันได้ ทำให้จำเลยไม่สามารถยื่นคำร้องขอขยายระยะเวลาอุทธรณ์ได้ จำเลยอ้างเหตุในคำร้องว่า จำเลยเพิ่งทราบคำพิพากษาของศาลชั้นต้นซึ่งล่วงเลยเวลาที่จำเลยจะยื่นอุทธรณ์แล้ว ข้ออ้างของจำเลยถือเป็นความบกพร่องของจำเลยเอง ไม่อาจถือว่าเป็นกรณีมีเหตุสุดวิสัยได้ ส่วนข้ออ้างที่ว่า เมื่อทราบคำพิพากษาแล้วได้ไปติดต่อขอคัดสำนวน กว่าจะคัดได้ก็เป็นเวลา 2 เดือน อันเป็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นภายหลังเมื่อพ้นกำหนดเวลาอุทธรณ์แล้วจึงไม่ใช่เหตุสุดวิสัยเช่นกัน
of 26