พบผลลัพธ์ทั้งหมด 2 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2213/2545 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาอนุญาตใช้สิทธิเครื่องหมายการค้า: โมฆะจาก พรบ.เครื่องหมายการค้า, ลาภมิควรได้, ศาลพิพากษาเกินคำฟ้อง
การที่โจทก์อ้างส่งหนังสือรับรองการเป็นนิติบุคคลของโจทก์ต่อศาลเพียง 2 ฉบับโดยฉบับแรกรับรองตั้งแต่วันที่ 2 กันยายน 2540 ถึงวันที่ 31 กรกฎาคม 2541 ฉบับที่สองรับรองตั้งแต่วันที่ 3 สิงหาคม 2542 ถึงวันที่ 31 กรกฎาคม 2543 แม้ว่าโจทก์จะมิได้แสดงหลักฐานการต่ออายุการจดทะเบียนดังกล่าวในช่วงเวลาตั้งแต่วันที่ 1 สิงหาคม2541 ถึงวันที่ 2 สิงหาคม 2542 แต่จากหนังสือรับรองฉบับที่สองมีข้อความว่า โจทก์ได้รับการจดทะเบียนจัดตั้งเป็นบริษัทจำกัดมาตั้งแต่วันที่ 1 สิงหาคม 2533 และได้รับอนุญาตให้ต่ออายุไปจนถึงวันที่ 31 กรกฎาคม 2543 นั้น ย่อมหมายความว่า ตั้งแต่วันที่ 1 สิงหาคม 2533 โจทก์ได้จดทะเบียนจัดตั้งบริษัทมาอย่างต่อเนื่องจนถึงฉบับหลังสุด ซึ่งจำเลยเองก็มิได้นำสืบให้เห็นว่าในช่วงเวลาดังกล่าวโจทก์มิได้ต่ออายุการจดทะเบียนบริษัทโจทก์แต่อย่างใด จึงรับฟังได้ว่าช่วงเวลาที่โจทก์ทำหนังสือมอบอำนาจให้ฟ้องหรือในขณะที่โจทก์ยื่นฟ้องคดีนี้ โจทก์ยังมีสภาพเป็นนิติบุคคล คำฟ้องของโจทก์จึงมีผลตามกฎหมาย
การทำหนังสือมอบอำนาจไม่มีกฎหมายบังคับว่าต้องทำ ณ สถานที่อันเป็นภูมิลำเนาของผู้มอบอำนาจ ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 47วรรคสาม กำหนดเพียงว่า หากหนังสือมอบอำนาจทำในเมืองต่างประเทศที่มีกงสุลสยามต้องให้กงสุลนั้นเป็นพยาน เมื่อหนังสือมอบอำนาจคดีนี้ได้ทำขึ้นในเขตบริหารพิเศษฮ่องกงของประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีน ซึ่งมีสถานกงสุลของประเทศไทยตั้งอยู่ โดยหนังสือมอบอำนาจมีลายมือชื่อของกรรมการผู้มีอำนาจและประทับตราสำคัญของบริษัทโจทก์มีเจ้าพนักงานรับรองหนังสือสัญญาของฮ่องกงลงลายมือชื่อเป็นพยาน และมีกงสุลไทยประจำฮ่องกงลงลายมือชื่อรับรองลายมือชื่อและตราประทับของเจ้าพนักงานรับรองหนังสือสัญญาดังกล่าว ทั้งจำเลยมิได้นำสืบหักล้างว่าบุคคลผู้ลงลายมือชื่อในหนังสือมอบอำนาจไม่ใช่กรรมการผู้มีอำนาจของโจทก์ หรือขณะลงลายมือชื่อมิได้เป็นกรรมการผู้มีอำนาจของโจทก์แล้ว กรณีจึงรับฟังได้ว่าเป็นหนังสือมอบอำนาจที่แท้จริงและมีผลบังคับตามกฎหมาย
โจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยทั้งสองชำระค่าสิทธิและส่วนต่างของค่าธรรมเนียมจากยอดขายและค่าสิทธิขั้นต่ำตามสัญญาอนุญาตให้ใช้สิทธิช่วงในเครื่องหมายการค้าPUMA คดีจึงไม่มีประเด็นข้อพิพาทเรื่องการคืนทรัพย์อันเกิดจากโมฆะกรรมตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 172 วรรคสอง ที่ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางวินิจฉัยว่าจำเลยต้องจ่ายค่าใช้สิทธิแก่โจทก์ตามควรในฐานลาภมิควรได้นั้น จึงเป็นการพิพากษาเกินไปกว่าหรือนอกจากที่ปรากฏในคำฟ้องอันเป็นการฝ่าฝืนต่อพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศฯ มาตรา 26 ประกอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 142 คำพิพากษาในส่วนนี้จึงไม่ชอบ
การทำหนังสือมอบอำนาจไม่มีกฎหมายบังคับว่าต้องทำ ณ สถานที่อันเป็นภูมิลำเนาของผู้มอบอำนาจ ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 47วรรคสาม กำหนดเพียงว่า หากหนังสือมอบอำนาจทำในเมืองต่างประเทศที่มีกงสุลสยามต้องให้กงสุลนั้นเป็นพยาน เมื่อหนังสือมอบอำนาจคดีนี้ได้ทำขึ้นในเขตบริหารพิเศษฮ่องกงของประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีน ซึ่งมีสถานกงสุลของประเทศไทยตั้งอยู่ โดยหนังสือมอบอำนาจมีลายมือชื่อของกรรมการผู้มีอำนาจและประทับตราสำคัญของบริษัทโจทก์มีเจ้าพนักงานรับรองหนังสือสัญญาของฮ่องกงลงลายมือชื่อเป็นพยาน และมีกงสุลไทยประจำฮ่องกงลงลายมือชื่อรับรองลายมือชื่อและตราประทับของเจ้าพนักงานรับรองหนังสือสัญญาดังกล่าว ทั้งจำเลยมิได้นำสืบหักล้างว่าบุคคลผู้ลงลายมือชื่อในหนังสือมอบอำนาจไม่ใช่กรรมการผู้มีอำนาจของโจทก์ หรือขณะลงลายมือชื่อมิได้เป็นกรรมการผู้มีอำนาจของโจทก์แล้ว กรณีจึงรับฟังได้ว่าเป็นหนังสือมอบอำนาจที่แท้จริงและมีผลบังคับตามกฎหมาย
โจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยทั้งสองชำระค่าสิทธิและส่วนต่างของค่าธรรมเนียมจากยอดขายและค่าสิทธิขั้นต่ำตามสัญญาอนุญาตให้ใช้สิทธิช่วงในเครื่องหมายการค้าPUMA คดีจึงไม่มีประเด็นข้อพิพาทเรื่องการคืนทรัพย์อันเกิดจากโมฆะกรรมตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 172 วรรคสอง ที่ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางวินิจฉัยว่าจำเลยต้องจ่ายค่าใช้สิทธิแก่โจทก์ตามควรในฐานลาภมิควรได้นั้น จึงเป็นการพิพากษาเกินไปกว่าหรือนอกจากที่ปรากฏในคำฟ้องอันเป็นการฝ่าฝืนต่อพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศฯ มาตรา 26 ประกอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 142 คำพิพากษาในส่วนนี้จึงไม่ชอบ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3833/2552 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแปลงหนี้ใหม่ด้วยการเปลี่ยนตัวลูกหนี้ ทำให้สัญญาค้ำประกันเดิมระงับ และศาลพิพากษาเกินคำฟ้อง
การที่จำเลยที่ 2 ผู้ค้ำประกันยอมรับผิดใช้หนี้ที่ ป. มีต่อโจทก์ด้วยการทำหนังสือรับสภาพหนี้และสัญญากู้เงินขึ้นใหม่ ทั้งสัญญากู้เงินฉบับใหม่และหนังสือรับสภาพหนี้ระบุจำนวนหนี้ใหม่โดยรวมต้นเงินกู้เดิมและดอกเบี้ยเข้าด้วยกัน ย่อมเห็นถึงเจตนาของโจทก์และจำเลยที่ 2 ว่า ต้องการจะทำให้หนี้ตามสัญญากู้เงินเดิมระงับไปโดยการแปลงหนี้ใหม่ด้วยการเปลี่ยนตัวลูกหนี้ การแปลงหนี้ดังกล่าวโจทก์และจำเลยที่ 2 จะทำสัญญากันโดยลำพัง ไม่ต้องให้ ป. ลูกหนี้คนเดิมเข้าเกี่ยวข้องด้วยก็ได้ เพราะการแปลงหนี้ใหม่ด้วยการเปลี่ยนตัวลูกหนี้ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 350 ห้ามแต่เพียงว่าจะทำโดยขืนใจลูกหนี้เดิมไม่ได้เท่านั้น เมื่อ ป. กู้เงินเพื่อให้จำเลยที่ 2 นำไปลงทุน กรณีจะทำโดยขืนใจ ป. ลูกหนี้เดิมย่อมไม่มี เมื่อหนี้ตามสัญญากู้เงินระงับไปแล้ว จำเลยที่ 2 ผู้ค้ำประกันย่อมหลุดพ้นจากความรับผิดตาม ป.พ.พ. มาตรา 698
โจทก์ฟ้องให้จำเลยที่ 2 รับผิดตามสัญญาค้ำประกัน มิได้ฟ้องขอให้บังคับให้จำเลยที่ 2 ชำระหนี้ตามสัญญากู้เงินฉบับใหม่ การที่ศาลอุทธรณ์ภาค 5 พิพากษาให้จำเลยที่ 2 รับผิดตามสัญญากู้เงิน จึงเป็นการพิพากษาเกินไปหรือนอกจากที่ปรากฏในคำฟ้อง ไม่ชอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 142 วรรคหนึ่ง
โจทก์ฟ้องให้จำเลยที่ 2 รับผิดตามสัญญาค้ำประกัน มิได้ฟ้องขอให้บังคับให้จำเลยที่ 2 ชำระหนี้ตามสัญญากู้เงินฉบับใหม่ การที่ศาลอุทธรณ์ภาค 5 พิพากษาให้จำเลยที่ 2 รับผิดตามสัญญากู้เงิน จึงเป็นการพิพากษาเกินไปหรือนอกจากที่ปรากฏในคำฟ้อง ไม่ชอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 142 วรรคหนึ่ง