คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
ศาลภาษีอากรกลาง

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 17 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2433/2549

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจศาลภาษีอากรกลางในการลดเบี้ยปรับเกินกว่าที่คณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ได้ลดไว้ โดยอาศัยข้อเท็จจริงที่คู่ความยอมรับ
ในวันชี้สองสถานคู่ความยอมรับข้อเท็จจริงกัน ศาลภาษีอากรกลางเห็นว่าข้อเท็จจริงจากคำแถลงรับของคู่ความและเอกสารที่คู่ความนำส่งศาลเพียงพอที่จะวินิจฉัยคดีได้แล้ว จึงให้งดสืบพยานโจทก์และพยานจำเลย ศาลภาษีอากรกลางย่อมมีอำนาจนำข้อเท็จจริงที่คู่ความยอมรับกันดังกล่าวและข้อเท็จจริงจากพยานเอกสารที่จำเลยนำส่งต่อศาลมาวินิจฉัยว่าพฤติการณ์ของโจทก์มีเหตุอันควรงดหรือลดเบี้ยปรับให้มากกว่าที่คณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ลดให้หรือไม่ ตาม พ.ร.บ. จัดตั้งศาลภาษีอากรและวิธีพิจารณาคดีภาษีอากร พ.ศ. 2528 มาตรา 17 และ 20 ประกอบข้อกำหนดคดีภาษีอากร พ.ศ. 2544 ข้อ 16 และ 21

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 170/2549

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ศาลฎีกาตัดสินให้ราคาตามท้องตลาดที่โจทก์ฟ้องเป็นเกณฑ์ ชี้ศาลภาษีอากรกลางวินิจฉัยนอกประเด็น
จำเลยให้การต่อสู้เพียงประเด็นเดียวว่า สินค้าแกนม้วนเส้นด้ายไม่ใช่ของที่ต้องสำแดงเพื่อเสียภาษีศุลกากร โดยจำเลยมิได้ให้การปฏิเสธในเรื่องราคาของแกนม้วนเส้นด้ายที่โจทก์ที่ 1 กำหนดมาว่าไม่ถูกต้องตามราคาอันแท้จริงในท้องตลาด ต้องถือว่าจำเลยยอมรับข้อเท็จจริงตามคำฟ้องในจำนวนเงินราคาของแกนม้วนเส้นด้ายตามที่โจทก์ที่ 1 กำหนดแล้ว ที่ศาลภาษีอากรกลางวินิจฉัยในปัญหาเกี่ยวกับราคาของแกนม้วนเส้นด้ายว่าเป็นราคาอันแท้จริงในท้องตลาดหรือไม่ เพียงใด จึงเป็นการวินิจฉัยนอกคำให้การและนอกประเด็น และปัญหาที่ศาลภาษีอากรกลางวินิจฉัยนี้ก็มิใช่ปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน การที่ศาลภาษีอากรกลางยกปัญหาข้อเท็จจริงเรื่องราคาของแกนม้วนเส้นด้ายขึ้นวินิจฉัย จึงเป็นการไม่ชอบด้วย พ.ร.บ.จัดตั้งศาลภาษีอากรและวิธีพิจารณาคดีภาษีอากร พ.ศ.2528 มาตรา 17 ประกอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 142 ซึ่งการวินิจฉัยโดยไม่ชอบดังกล่าวเป็นปัญหาข้อกฎหมายเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกาแผนกคดีภาษีอากรมีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 113/2549 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องคดีภาษีมูลค่าเพิ่มต้องรอคำวินิจฉัยศาลภาษีอากรกลางเมื่อมีการอุทธรณ์
ตาม ป.รัษฎากรฯ มาตรา 88/5 ผู้มีหน้าที่เสียภาษีมีสิทธิอุทธรณ์การประเมินตามบทบัญญัติในส่วน 2 ของหมวด 2 ลักษณะ 2 แห่ง ป.รัษฎากรฯ คืออุทธรณ์การประเมินต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ตามมาตรา 30 (1) เมื่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์มีคำวินิจฉัยแล้วมีสิทธิอุทธรณ์ต่อศาลตามมาตรา 30 (2) เว้นแต่จะเป็นกรณีต้องห้ามอุทธรณ์ การที่กฎหมายให้อุทธรณ์ต่อศาลเช่นนี้ก็เพื่อให้ศาลพิจารณาว่าการประเมินและคำวินิจฉัยชอบหรือไม่ ศาลจึงมีอำนาจพิจารณาพิพากษาเปลี่ยนแปลง แก้ไข ยกเลิก หรือเพิกถอนการประเมินและคำวินิจฉัยอุทธรณ์ได้ เมื่อจำเลยที่ 1 อุทธรณ์คำวินิจฉัยอุทธรณ์เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม โดยฟ้องคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ต่อศาลภาษีอากรกลางแล้ว การที่โจทก์มีสิทธิจะได้รับชำระภาษีมูลค่าเพิ่มตามคำวินิจฉัยอุทธรณ์ของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์หรือไม่ ต้องรอฟังคำวินิจฉัยชี้ขาดของศาลภาษีอากรกลางก่อน การที่จำเลยทั้งสามไม่ชำระภาษีมูลค่าเพิ่มตามคำวินิจฉัยอุทธรณ์ของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์จึงหาเป็นการโต้แย้งสิทธิที่โจทก์จะนำคดีมาฟ้องไม่ เพราะมิเช่นนั้นบทบัญญัติว่าด้วยการอุทธรณ์ต่อศาลจะไร้ผล โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 113/2549

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องคดีภาษีมูลค่าเพิ่มต้องรอผลคำพิพากษาศาลภาษีอากรกลาง การอุทธรณ์มีผลหยุดการบังคับชำระ
คดีนี้โจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นนิติบุคคลประเภทห้างหุ้นส่วนจำกัด จำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นหุ้นส่วนผู้จัดการ และจำเลยที่ 3 ซึ่งเคยเป็นหุ้นส่วนและหุ้นส่วนผู้จัดการของจำเลยที่ 1 ให้ร่วมกันชำระเงินภาษีมูลค่าเพิ่มด้วย แต่ปรากฏว่าภาษีมูลค่าเพิ่มดังกล่าวนี้ โจทก์ได้ประเมินภาษีมูลค่าเพิ่มของจำเลยที่ 1 ซึ่งจำเลยที่ 1 อุทธรณ์การประเมินต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ และอุทธรณ์โดยฟ้องต่อศาลภาษีอากรกลางแล้วตามลำดับ คดีอยู่ระหว่างการพิจารณาของศาลภาษีอากรกลาง ซึ่งศาลมีอำนาจวินิจฉัยเปลี่ยนแปลง แก้ไข ยกเลิกหรือเพิกถอนการประเมินและคำวินิจฉัยอุทธรณ์ได้ ดังนี้จึงต้องรอคำวินิจฉัยชี้ขาดในคดีดังกล่าวก่อน การที่จำเลยทั้งสามไม่ชำระภาษีมูลค่าเพิ่มตามคำวินิจฉัยของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ในกรณีเช่นนี้หาเป็นการโต้แย้งสิทธิที่โจทก์จะนำคดีมาฟ้องต่อศาลไม่ โจทก์จึงยังไม่มีอำนาจฟ้องจำเลยทั้งสามให้ชำระเงินภาษีมูลค่าเพิ่ม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 112/2549

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจศาลภาษีอากรกลางขยายเวลาฟ้องคดีภาษี และการพิจารณาเบี้ยปรับตามความเหมาะสม
กำหนดเวลาการอุทธรณ์คำวินิจฉัยอุทธรณ์ของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ต่อศาลภายใน 30 วัน เป็นกำหนดเวลาการฟ้องคดีถ้ามิได้ฟ้องภายในกำหนดย่อมไม่มีอำนาจฟ้อง ฉะนั้น แม้เป็นกำหนดเวลาที่กำหนดไว้ในมาตรา 30 (2) แห่ง ป.รัษฎากรฯ แต่ก็ถือว่าเป็นระยะเวลาที่เกี่ยวด้วยวิธีพิจารณาความแพ่งอันกำหนดไว้ใน ป.รัษฎากรฯ ศาลภาษีอากรกลางย่อมมีอำนาจขยายหรือย่นระยะเวลาดังกล่าวให้แก่โจทก์ได้โดยอาศัยอำนาจตามมาตรา 17 แห่ง พ.ร.บ.จัดตั้งศาลภาษีอากรและวิธีพิจารณาคดีภาษีอากรฯ ประกอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 23
คำสั่งกรมสรรพากร เรื่อง หลักเกณฑ์การงดหรือลดเบี้ยปรับหรือเงินเพิ่มภาษีเงินได้ ภาษีมูลค่าเพิ่ม และภาษีธุรกิจเฉพาะ เป็นเพียงระเบียบที่กำหนดให้เจ้าพนักงานประเมินถือปฏิบัติ ไม่มีผลผูกพันศาลให้ต้องถือตามระเบียบดังกล่าว ศาลมีอำนาจพิจารณาว่าการที่เจ้าพนักงานประเมินงดหรือลดเบี้ยปรับมานั้นถูกต้องตามระเบียบหรือไม่ และมีอำนาจที่จะงดหรือลดเบี้ยปรับได้เอง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3450/2548

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจศาลภาษีอากรกลางขยายกำหนดเวลาฟ้องคดี และการพิจารณาเหตุงด/ลดเบี้ยปรับตามดุลพินิจ
กำหนดเวลาการอุทธรณ์คำวินิจฉัยอุทธรณ์ของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ต่อศาลภายใน 30 วัน เป็นกำหนดเวลาให้ฟ้องคดี ถ้ามิได้ฟ้องภายในกำหนดเวลาดังกล่าวย่อมไม่มีอำนาจฟ้อง กำหนดเวลาดังกล่าวแม้เป็นระยะเวลาที่กำหนดไว้ในมาตรา 30 (2) แห่ง ป.รัษฎากรฯ แต่ก็เป็นระยะเวลาที่เกี่ยวด้วยวิธีพิจารณาความแพ่งอันกำหนดไว้ใน ป.รัษฎากรฯ ศาลภาษีอากรกลางย่อมมีอำนาจขยายได้โดยอาศัยอำนาจตามมาตรา 17 แห่ง พ.ร.บ. จัดตั้งศาลภาษีอากรและวิธีพิจารณาคดีภาษีอากรฯ ประกอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 23
คำสั่งกรมสรรพากรที่ ท.ป.81/2542 เรื่อง หลักเกณฑ์การงดหรือลดเบี้ยปรับฯ เป็นเพียงระเบียบที่กำหนดให้เจ้าพนักงานประเมินถือปฏิบัติไม่มีผลผูกพันศาลให้ต้องถือตามระเบียบดังกล่าว ศาลมีอำนาจพิจารณาว่าการที่เจ้าพนักงานประเมินงดหรือลดเบี้ยปรับมานั้นถูกต้องตามระเบียบหรือไม่ และมีอำนาจที่จะงดหรือลดเบี้ยปรับได้เองในกรณีที่มีเหตุสมควรเพื่อให้เกิดความเป็นธรรมอีกด้วย
กรณีมีเหตุสมควรงดหรือลดเบี้ยปรับหรือไม่เป็นข้อเท็จจริงซึ่งโจทก์เป็นฝ่ายกล่าวอ้าง ภาระการพิสูจน์จึงตกแก่โจทก์ โจทก์ต้องสืบพยานให้เห็นว่ากรณีของโจทก์มีเหตุสมควรงดหรือลดเบี้ยปรับเพราะเหตุใด เมื่อโจทก์ไม่สืบพยานจึงไม่มีเหตุสมควรที่จะงดหรือลดเบี้ยปรับให้แก่โจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 482/2546

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ กำหนดระยะเวลาฟ้องคดีภาษีอากรเป็นกำหนดเวลาตามกฎหมายเฉพาะ ไม่ใช่อายุความทั่วไป
โจทก์เป็นผู้รับประเมินให้เสียภาษีโรงเรือนและที่ดิน โจทก์ไม่พอใจในการประเมินได้ยื่นคำร้องต่อผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครให้พิจารณาการประเมินนั้นใหม่ เมื่อผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครมีคำชี้ขาดและแจ้งไปยังโจทก์เป็นลายลักษณ์อักษรแล้ว ถ้าโจทก์ไม่พอใจจะต้องปฏิบัติตามมาตรา 31 วรรคแรก แห่งพระราชบัญญัติภาษีโรงเรือนและที่ดิน พ.ศ. 2475 โดยต้องฟ้องศาลภายใน 30 วัน นับตั้งแต่วันรับแจ้งความให้ทราบคำชี้ขาด กำหนดระยะเวลาดังกล่าวเป็นกำหนดระยะเวลาที่กฎหมายบัญญัติให้ผู้รับประเมินฟ้องต่อศาลคือศาลภาษีอากรกลาง มิใช่อายุความฟ้องร้องตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 1 ลักษณะ 6 จึงนำบทบัญญัติเรื่องอายุความสะดุดหยุดลงมาใช้บังคับไม่ได้ แม้คดีจะอยู่ในอำนาจของศาลภาษีอากรกลาง แต่เมื่อโจทก์มิได้ฟ้องคดีภายในเวลาที่กฎหมายกำหนด โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5134/2545 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจศาลภาษีอากรกลาง: การส่งความเห็นขัดแย้งบทบัญญัติกฎหมายให้ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณา
ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ฯ มาตรา 264 วรรคหนึ่ง กรณีที่ศาลจะต้องส่งความเห็นไปให้ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาวินิจฉัย ต้องเป็นกรณีที่ศาลจะใช้บทบัญญัติแห่งกฎหมายนั้นบังคับแก่คดีที่ศาลพิจารณาอยู่ การที่จะพิจารณาว่าศาลภาษีอากรกลางมีอำนาจพิจารณาคดีนี้หรือไม่ จะต้องพิจารณาตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลภาษีอากรและวิธีพิจารณาคดีภาษีอากร ฯ มาตรา 7 จำเลยให้การว่า คดีนี้ไม่อยู่ในอำนาจการพิจารณาพิพากษาของศาลภาษีอากรกลางแต่อยู่ในอำนาจการพิจารณาพิพากษาของศาลปกครองตามรัฐธรรมนูญ ฯ มาตรา 276 ที่ พ.ร.บ.จัดตั้งศาลปกครอง ฯ มาตรา 9 บัญญัติยกเว้นมิให้อยู่ในอำนาจศาลปกครอง ขัดต่อรัฐธรรมนูญ ฯ มาตรา 6 นั้น มิใช่เป็นการกล่าวอ้างว่าบทบัญญัติแห่งกฎหมายที่จะใช้บังคับแก่คดีต้องด้วยรัฐธรรมนูญ ฯ มาตรา 6 จึงไม่มีเหตุที่ศาลจะต้องส่งความเห็นไปให้ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาวินิจฉัย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7851/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คำพิพากษาศาลภาษีอากรกลาง คดีระหว่าง สุชาติ ถาวรวงษ์ กับ สันติ ทักราล และเหล็ก ไทรวิจิตร
(สุชาติ ถาวรวงษ์ - สันติ ทักราล - เหล็ก ไทรวิจิตร)ศาลภาษีอากรกลาง นายอดิเทพ ถิระวัฒน์
นายชัยสิทธิ์ ตราชูธรรม - ตรวจ
นายสุทัศน์ ศิริมหาพฤกษ์ - ผู้ช่วยผู้พิพากษาฯ
นายวิชัย จิตตาณิชย์ - ย่อ
สุมาลี พิมพ์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 410/2538 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฟ้องคดีอย่างคนอนาถา การเพิกถอนคำสั่งรับคำฟ้อง และการกำหนดเวลาชำระค่าขึ้นศาล
เมื่อศาลภาษีอากรกลางมีคำสั่งยกคำร้องขอฟ้องคดีอย่างคนอนาถาของโจทก์และศาลฎีกามีคำสั่งให้ยกคำร้องอุทธรณ์คำสั่งของโจทก์แล้วคำสั่งดังกล่าวจึงถึงที่สุดโจทก์จะขอต่อศาลให้อนุญาตโจทก์นำกรรมการบริษัทของโจทก์เข้าสาบานตัวให้คำชี้แจงว่าโจทก์ไม่มีทรัพย์สินพอจะเสียค่าธรรมเนียมศาลประกอบคำร้องขอฟ้องคดีอย่างคนอนาถาของโจทก์โดยมิได้ร้องขอต่อศาลให้พิจารณาคำขอนั้นใหม่เพื่ออนุญาตให้โจทก์นำพยานหลักฐานมาแสดงเพิ่มเติมว่าโจทก์เป็นคนยากจนตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา156วรรคสี่หาได้ไม่ศาลภาษีอากรกลางจึงชอบที่จะเพิกถอนคำสั่งที่ให้รับคำร้องไว้ไต่สวนแล้วมีคำสั่งใหม่ให้ยกคำร้องของโจทก์ได้แต่เนื่องจากโจทก์ยื่นคำร้องดังกล่าวก่อนครบกำหนดเวลาที่ต้องนำเงินค่าขึ้นศาลมาชำระตามคำสั่งศาลฎีกาเมื่อศาลภาษีอากรกลางสั่งรับคำร้องและนัดไต่สวนจึงหลงผิดว่ายังไม่ต้องชำระค่าขึ้นศาลและมิได้ชำระค่าขึ้นศาลตามกำหนดเวลาที่ศาลฎีกากำหนดไว้เมื่อศาลภาษีอากรกลางเพิกถอนคำสั่งดังกล่าวแล้วจึงต้องกำหนดเวลาให้โจทก์นำค่าขึ้นศาลมาชำระในเวลาอันสมควรจะอ้างว่าโจทก์ไม่ชำระค่าขึ้นศาลตามคำสั่งศาลฎีกาจึงมีคำสั่งไม่รับคำฟ้องของโจทก์ทันทีหาชอบไม่
of 2