คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
ศาลลด

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 11 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4766/2549

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เบี้ยปรับสัญญาซื้อขายสูงเกินควร ศาลลดค่าปรับให้เหมาะสมกับความเสียหายจริง
ตามสัญญาซื้อขาย เมื่อจำเลยผิดสัญญาไม่สามารถส่งมอบสิ่งของที่ซื้อขายให้โจทก์ได้ตามสัญญา โจทก์มีสิทธิที่จะได้รับค่าเสียหายได้หลายทาง ซึ่งข้อกำหนดตามสัญญาซื้อขายด้งกล่าวเป็นการกำหนดค่าเสียหายให้แก่ผู้ซื้อไว้ล่วงหน้าในกรณีผู้ขายไม่ปฏิบัติตามสัญญา จึงมีลักษณะเป็นเบี้ยปรับ ถ้ากำหนดไว้สูงเกินส่วน ศาลจะลดลงเป็นจำนวนพอสมควรก็ได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 383 วรรคหนึ่ง ส่วนการที่จะลดลงเป็นจำนวนมากน้อยเพียงใดนั้น กฎหมายให้พิเคราะห์ถึงทางได้เสียของเจ้าหนี้ทุกอย่างอันชอบด้วยกฎหมาย ไม่ใช่แต่เพียงทางได้เสียในเชิงทรัพย์สินโจทก์จึงต้องนำสืบให้ศาลเห็นว่าโจทก์ได้รับความเสียหายเนื่องจากจำเลยผิดสัญญามากน้อยเพียงใด แต่โจทก์ไม่นำสืบให้ศาลเห็น ศาลจึงต้องกำหนดให้เป็นจำนวนพอสมควร
แม้ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการพัสดุฯ ข้อ 138 จะกำหนดว่าหากจำนวนค่าปรับจะเกินร้อยละ 10 ของวงเงินค่าพัสดุหรือค่าจ้างให้ส่วนราชการพิจารณาบอกเลิกสัญญาหรือข้อตกลง เว้นแต่คู่สัญญาจะได้ยินยอมเสียค่าปรับให้แก่ทางราชการโดยไม่มีเงื่อนไขใดๆ ทั้งสิ้น ให้หัวหน้าส่วนราชการพิจารณาผ่อนปรนการปรับตามสัญญาเท่าที่จำเป็น เมื่อจำเลยมิได้ยินยอมให้ส่วนราชการปรับส่วนราชการจึงต้องบอกเลิกสัญญา แต่ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการพัสดุฯ มิใช่กฎหมาย เป็นเพียงข้อแนะนำว่าด้วยเรื่องพัสดุของทางราชการเท่านั้น จึงมิใช่ข้อบังคับโจทก์ห้ามเรียกค่าเสียหายเกินร้อยละ 10 ของราคาสิ่งของที่ซื้อขายแต่อย่างใด

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1022/2547

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เบี้ยปรับสัญญาเช่าซื้อสูงเกินไป ศาลลดค่าเสียหายได้ และการคืนค่าขึ้นศาลเมื่อทุนทรัพย์พิพาทเปลี่ยนแปลง
แม้ค่าเช่าซื้อรถขุดไฮดรอลิกที่ค้างชำระก่อนบอกเลิกสัญญาและโจทก์มีสิทธิเรียกได้จากจำเลยที่ 1 ตามสัญญาที่มีต่อกัน เป็นการกำหนดค่าเสียหายล่วงหน้าอันมีลักษณะเป็นเบี้ยปรับ ซึ่งหากสูงเกินส่วนศาลย่อมมีอำนาจลดลงเป็นจำนวนพอสมควรได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 383 วรรคหนึ่ง แต่การที่โจทก์เพิ่งรับรถคืนจากจำเลยที่ 1 ทั้งๆ ที่จำเลยที่ 1 ผิดนัดไม่ชำระค่างวดถึง 8 งวด จะถือว่าโจทก์มีส่วนร่วมในความเสียหายด้วยหาได้ไม่เพราะในการประกอบธุรกิจย่อมเป็นได้ที่โจทก์ประสงค์จะผ่อนปรนให้แก่จำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นลูกค้าของตนได้
ศาลล่างทั้งสองพิพากษาต้องกันมาให้จำเลยทั้งสามร่วมกันรับผิดชำระค่าเสียหายให้แก่โจทก์เป็นเงิน 470,130.84 บาท จำเลยทั้งสามอุทธรณ์และจำเลยที่ 2 ฎีกาโต้แย้งว่าต้องรับผิดในจำนวนค่าเสียหายไม่เกิน 120,000 บาท ทุนทรัพย์ที่พิพาทในชั้นอุทธรณ์และชั้นฎีกาแต่ละชั้นศาลจึงมีเพียง 350,130.84 บาท แต่จำเลยทั้งสามเสียค่าขึ้นศาลในชั้นอุทธรณ์และจำเลยที่ 2 เสียค่าขึ้นศาลในชั้นฎีกาจากทุนทรัพย์ 470,130.84 บาท จึงต้องคืนค่าขึ้นศาลชั้นอุทธรณ์ในทุนทรัพย์ส่วนที่เกินแก่จำเลยทั้งสาม แต่ทุนทรัพย์ในชั้นฎีกาเนื่องจากศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยในประเด็นภาษีมูลค่าเพิ่ม ค่าขึ้นศาลในส่วนนี้จึงต้องคืนแก่จำเลยที่ 2 เช่นกัน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7240/2544

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เบี้ยปรับในข้อบังคับอาคารชุด: ศาลมีอำนาจลดเบี้ยปรับหากสูงเกินสมควร แม้มีข้อบังคับ
ข้อบังคับของโจทก์กำหนดว่า ในกรณีที่ชำระค่าใช้จ่ายหลังจากที่กำหนดหรือนิติบุคคลอาคารชุดฯ ไม่สามารถเรียกเก็บเงินได้ตามเช็คสั่งจ่าย เจ้าของห้องชุดจะต้องชำระค่าปรับในอัตราร้อยละ 10ต่อเดือนของเงินจำนวนที่ค้างชำระนั้น ค่าปรับตามที่กำหนดไว้ดังกล่าวมีลักษณะเป็นค่าเสียหายหรือค่าสินไหมทดแทนความเสียหายซึ่งโจทก์กำหนดไว้ล่วงหน้า ในกรณีที่เจ้าของห้องชุดไม่ชำระหนี้หรือชำระหนี้ไม่ถูกต้องสมควร จึงเป็นเบี้ยปรับซึ่งถ้าศาลเห็นว่าสูงเกินส่วนก็มีอำนาจลดลงเป็นจำนวนพอสมควรได้ แม้โจทก์จะมีอำนาจออกข้อบังคับเพื่อจัดการและดูแลทรัพย์สินส่วนกลางและข้อบังคับของโจทก์ได้จดทะเบียนต่อเจ้าพนักงานที่ดินตามกฎหมายแล้วก็ตาม ก็ไม่ทำให้ข้อกำหนดดังกล่าวไม่เป็นเบี้ยปรับและที่โจทก์อ้างว่าโจทก์จำเป็นต้องมีข้อบังคับให้เจ้าของห้องชุดปฏิบัติตามโดยเคร่งครัดเพื่อให้โจทก์สามารถบริหารงานได้และเจ้าของห้องชุดได้อยู่ร่วมกันโดยปกติสุขก็หาได้ตัดอำนาจศาลที่จะลดเบี้ยปรับที่เรียกสูงเกินส่วนลงไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1471/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อัตราดอกเบี้ยเบี้ยปรับสัญญาเงินกู้ ศาลมีอำนาจลดเบี้ยปรับได้หากสูงเกินส่วน
ตามสัญญากู้เงินฉบับพิพาทระบุว่า จำเลยผู้กู้ยอมให้ธนาคารโจทก์ผู้ให้กู้ขึ้นหรือปรับปรุงอัตราดอกเบี้ยได้ตามความเหมาะสม โดยไม่เกินกว่าที่กฎหมายอนุญาตให้คิดได้ ซึ่งอัตราดอกเบี้ยที่โจทก์กำหนดในวันที่โจทก์ฟ้องคดี โจทก์อาศัยอำนาจตามประกาศของธนาคารแห่งประเทศไทยและตามประกาศของโจทก์เรื่องอัตราดอกเบี้ยและส่วนลดเงินสินเชื่อ ซึ่งระบุว่า อัตราดอกเบี้ยที่เรียกเก็บจากลูกค้ารายใหญ่ชั้นดี ประเภทเงินกู้มีระยะเวลาเท่ากับร้อยละ 18.00 ต่อปี และอัตราดอกเบี้ยเบิกเงินเกินบัญชีส่วนที่เกินวงเงิน หรือเบิกเงินเกินบัญชีชั่วคราว หรือสินเชื่อที่ผิดเงื่อนไขตามสัญญาไม่เกินร้อยละ 25.00 ต่อปี ย่อมเห็นได้ว่า หนี้สินเชื่ออื่นนอกจากหนี้เบิกเงินเกินบัญชี โจทก์จะคิดดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 25.00 ต่อปี ได้เฉพาะกรณีลูกหนี้ผิดนัดเท่านั้น หากลูกหนี้ไม่ผิดนัดแล้วถ้าเป็นลูกค้ารายใหญ่ชั้นดีประเภทเงินกู้มีระยะเวลาซึ่งจำเลยเป็นลูกค้าประเภทดังกล่าวนี้ โจทก์มีสิทธิคิดดอกเบี้ยได้สูงสุดเพียงร้อยละ18.00 ต่อปี ดังนี้อัตราดอกเบี้ยที่โจทก์มีสิทธิเรียกสูงขึ้นได้ในกรณีจำเลยผิดนัดหรือผิดเงื่อนไขตามสัญญามีลักษณะเป็นค่าเสียหายซึ่งจำเลยผู้เป็นลูกหนี้ให้สัญญาแก่โจทก์ผู้เป็นเจ้าหนี้ว่าจะใช้เงินจำนวนอัตราที่เพิ่มสูงขึ้นดังกล่าว จึงเป็นเบี้ยปรับเมื่อจำเลยไม่ชำระหนี้ ตาม ป.พ.พ.มาตรา 379 ดังนั้น หากศาลเห็นว่าสูงเกินส่วน ศาลย่อมมีอำนาจลดลงเป็นจำนวนพอสมควรได้ตาม ป.พ.พ.มาตรา 383 วรรคหนึ่ง ที่ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยเสียดอกเบี้ยนับถัดจากวันฟ้องอัตราร้อยละ 19.50 ต่อปี ซึ่งหมายถึงกำหนดเบี้ยปรับให้อัตราดังกล่าวนั้นจึงชอบแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6473/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ค่าเสียหายจากการเช่าซื้อ: เบี้ยปรับ, ราคารถ, และดอกเบี้ย – ศาลมีอำนาจลดค่าเสียหายที่สูงเกินส่วนได้
โจทก์ฟ้องเรียกค่าใช้จ่ายในการติดตามรถยนต์ที่ให้เช่าซื้อคืนเป็นเงิน 5,000 บาท โดยโจทก์มีเพียง ส.ผู้รับมอบอำนาจเบิกความลอย ๆ ว่าในการติดตามรถยนต์คืนโจทก์ได้เสียค่าพาหนะและค่าเบี้ยเลี้ยงพนักงานเป็นเงิน5,000 บาท โดยมิได้พิสูจน์ให้เห็นว่าได้เสียค่าใช้จ่ายสิ่งใดบ้างให้ปรากฏ เมื่อโจทก์มีภาระการพิสูจน์แต่พิสูจน์ไม่ได้ การที่ศาลกำหนดให้โจทก์เป็นเงิน 2,000 บาท เป็นการเหมาะสมแก่พฤติกรรมแห่งรูปคดีแล้ว กรณีที่หนังสือสัญญาเช่าซื้อระบุว่าถ้าเจ้าของได้ขายทรัพย์ที่ให้เช่าซื้อไปแล้วได้เงินไม่คุ้มราคาค่าเช่าซื้อที่ต้องชำระทั้งหมดตามสัญญากับค่าเสียหายอื่น ๆที่เกิดขึ้น ผู้เช่าซื้อต้องชดใช้เงินให้เจ้าของจนครบถ้วนก็ดีหรือข้อที่ว่าถ้าผู้เช่าซื้อผู้ผิดนัดหรือผิดสัญญาและต้อง ชำระเงินใด ๆ ให้แก่เจ้าของหรือในกรณีที่สัญญาเช่าซื้อ สิ้นสุดลงและผู้เช่าซื้อต้องชำระค่าเสียหายใด ๆ แก่เจ้าของ ผู้เช่าซื้อยินยอมเสียดอกเบี้ยของเงินดังกล่าวในอัตรา ร้อยละ 15 ต่อปีนับจากวันผิดนัดก็ดี ดังนี้ เป็นข้อตกลง ที่กำหนดค่าเสียหายกันไว้ล่วงหน้าวิธีหนึ่งอันมีลักษณะ เป็นการกำหนดเบี้ยปรับ หากสูงเกินส่วนศาลมีอำนาจลดลงได้ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 379 และ 383

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5884/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เบี้ยปรับสัญญาเกินส่วน ศาลลดได้ แต่ต้องไม่ต่ำกว่าดอกเบี้ยปกติ และการคำนวณดอกเบี้ยทบต้นซ้ำซ้อนเป็นโมฆะ
ตามสัญญากู้และตามตั๋วสัญญาใช้เงินระบุดอกเบี้ยผิดนัดไว้สูงกว่าอัตราดอกเบี้ยธรรมดาที่ไม่ผิดนัด เพราะฉะนั้น ข้อสัญญาระหว่างโจทก์เจ้าหนี้กับจำเลยที่ 1 ลูกหนี้ จึงมีลักษณะเป็นค่าเสียหายหรือค่าสินไหมทดแทนความเสียหายซึ่งคู่สัญญากำหนดกันไว้ล่วงหน้าเมื่อลูกหนี้ผิดนัดไม่ชำระหนี้หรือไม่ชำระหนี้ให้ถูกต้องสมควร เป็นเบี้ยปรับตาม ป.พ.พ.มาตรา 379 เมื่อศาลเห็นว่าสูงเกินส่วนย่อมมีอำนาจลดลงได้ แต่การลดนั้นจะต้องลดจากส่วนที่สูงเกินไปกว่าที่ตามปกติสัญญากำหนดไว้ในกรณีไม่ผิดนัด มิใช่ลดลงมาต่ำเกินกว่าอัตราดังกล่าว
คำขอท้ายฟ้องของโจทก์ระบุว่า หากจำเลยค้างชำระดอกเบี้ยครบรอบระยะเวลา 1 ปีของเงินต้นตามสัญญากู้จำนวน 1,000,000 บาท นับแต่วันที่ 9 มีนาคม 2539 เป็นต้นไป ขอให้นำดอกเบี้ยที่ค้างชำระในแต่ละรอบระยะเวลา 1 ปี ดังกล่าวทบเข้ากับเงินต้นที่ค้างชำระและคิดดอกเบี้ยจากเงินต้นที่ทบดอกเบี้ยดังกล่าวทุก ๆ 1 ปี เรื่อยไปในอัตราร้อยละ 21 ต่อปี จนกว่าจะชำระเสร็จแต่ในคำฟ้องของโจทก์นั้นโจทก์ได้คำนวณดอกเบี้ยที่ค้างชำระคำนวณถึงวันฟ้อง (วันที่30 สิงหาคม 2539) เข้ากับต้นเงิน รวมเป็นหนี้ทั้งหมดที่โจทก์ขอให้บังคับจำเลยทั้งสองชำระแล้ว ย่อมเป็นไปไม่ได้ที่จะนำดอกเบี้ยที่ค้างชำระนับแต่วันที่ 9 มีนาคม2539 มาคำนวณคิดเป็นดอกเบี้ยที่ค้างชำระอีก ศาลจึงชอบที่จะวินิจฉัยให้ยกคำขอส่วนนี้ของโจทก์เสีย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1846/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เบี้ยปรับสูงเกินส่วน ศาลลดดอกเบี้ยผิดนัดให้เหมาะสม
ฟ้องโจทก์ในส่วนที่เกี่ยวกับดอกเบี้ยได้บรรยายถึงหลักเกณฑ์ข้อตกลงตามสัญญาเกี่ยวกับอัตราและระยะเวลาการชำระดอกเบี้ยในกรณีปกติและในกรณีผิดนัดผิดสัญญาไว้โดยละเอียดครบถ้วนจึงเป็นการบรรยายโดยชัดแจ้งซึ่งสภาพแห่งข้อหาคำขอบังคับทั้งข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาแล้วส่วนกรณีที่ว่าจำเลยชำระดอกเบี้ยไปแล้วจำนวนเท่าใดในอัตราเท่าใดเป็นรายละเอียดที่โจทก์สามารถนำสืบได้ในชั้นพิจารณาฟ้องโจทก์ในเรื่องนี้จึงไม่เคลือบคลุม ตามข้อสัญญากู้เงินระบุว่าถ้าจำเลยไม่ชำระหนี้ก็ดีหรือไม่ชำระหนี้ให้ถูกต้องก็ดีโจทก์มีสิทธิเรียกดอกเบี้ยจากจำเลยได้ในอัตราร้อยละ21ต่อปีจากต้นเงินกู้ที่ค้างชำระซึ่งเป็นอัตราดอกเบี้ยสูงกว่าที่กำหนดไว้ในกรณีมีการชำระหนี้ถูกต้องตามสัญญาดอกเบี้ยที่กำหนดให้มีอัตราสูงขึ้นดังกล่าวเป็นค่าเสียหายที่โจทก์และจำเลยตกลงกันไว้ล่วงหน้าว่าจำเลยจะต้องชดใช้เมื่อจำเลยไม่ชำระหนี้ในกำหนดเวลาตามสัญญาจึงมีลักษณะเป็นเบี้ยปรับ ดอกเบี้ยที่โจทก์เรียกเอาจากจำเลยตามสัญญาในกรณีปกตินั้นมีอัตราร้อยละ13.5ต่อปีเป็นอย่างสูงการที่โจทก์กำหนดเบี้ยปรับไว้ในลักษณะเป็นอัตราดอกเบี้ยร้อยละ21ต่อปีซึ่งสูงกว่าอัตราดอกเบี้ยปกติเกือบเท่าตัวนับว่าเป็นเบี้ยปรับที่สูงเกินส่วนศาลย่อมลดลงเป็นจำนวนพอสมควรคืออัตราร้อยละ18ต่อปีได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 490/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาประกันตัวผู้ต้องหา: การตีราคาค่าประกัน, การผิดสัญญา, และเบี้ยปรับที่ศาลลดได้
สัญญาประกันมิได้ปิดอากรแสตมป์ตาม ประมวลรัษฎากรจะใช้รับฟังเป็นพยานหลักฐานได้หรือไม่มิได้ยกขึ้นว่ามาแต่ศาลชั้นต้น แม้จะเป็นปัญหาเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย แต่ศาลฎีกาเห็นสมควรไม่รับวินิจฉัยได้ ตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 249 สัญญาประกันตัวผู้ต้องหาที่ต้องหาว่ากระทำผิดต่อพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็คฯพนักงานสอบสวนตีราคาค่าประกันตัวผู้ต้องหาไม่สูงกว่าจำนวนเงินในเช็ค จึงย่อมกระทำได้โดยชอบ ส่วนจะปฏิบัติตามระเบียบของกรมตำรวจหรือไม่ ไม่เป็นเหตุที่จะทำให้สัญญาประกันเป็นโมฆะ เพราะระเบียบของกรมตำรวจมิใช่กฎหมาย สัญญาประกันได้กำหนดให้จำเลยที่ 1 เป็นลูกหนี้มีหน้าที่ต้องปฏิบัติตามสัญญา ถ้าจำเลยที่ 1 ไม่ปฏิบัติตามสัญญาก็ตกเป็นผู้ผิดนัด ต้องถูกปรับให้ใช้เงินตามจำนวนที่ตกลงกำหนดไว้ในสัญญาเนื่องจากเมื่อจำเลยที่ 1 ผิดสัญญาประกันไม่สามารถส่งตัวผู้ต้องหาต่อพนักงานสอบสวนได้ตามกำหนด ย่อมทำให้เกิดความเสียหายแก่พนักงานสอบสวน และเกิดความเสียหายแก่การยุติธรรมเป็นส่วนรวมจำนวนเงินที่กำหนดไว้ในสัญญาประกันที่จำเลยที่ 1 ยอมชดใช้เมื่อผิดสัญญาจึงมีลักษณะเป็นเบี้ยปรับ ซึ่งศาลมีอำนาจใช้ดุลพินิจลดจำนวนเบี้ยปรับตามที่กำหนดไว้ในสัญญาลงได้ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 383

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3758/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เบี้ยปรับในสัญญารับทุนสูงเกินส่วน ศาลมีอำนาจลดลงได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 383
สัญญาการรับทุน ก.พ. เพื่อไปศึกษาวิชาในต่างประเทศที่จำเลยทำให้โจทก์ไว้ระบุว่า เมื่อจำเลยผิดสัญญานอกจากจะต้องรับผิดชดใช้ทุน ก.พ. คืนโจทก์แล้ว ต้องใช้เงินอีกจำนวนหนึ่งเท่ากับทุนดังกล่าวให้เป็นเบี้ยปรับแก่โจทก์ด้วย ดังนี้ เมื่อศาลเห็นว่าเบี้ยปรับสูงเกินส่วน ศาลก็มีอำนาจลดลงเป็นจำนวนพอสมควรได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 383 ไม่ว่าสัญญาดังกล่าวจะทำกับส่วนราชการหรือไม่ก็ตาม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1067/2531 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ค่าปรับสัญญาซื้อขายสูงเกินส่วน ศาลลดค่าปรับได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 383
แม้ตามสัญญาจะซื้อจะขายกำหนดค่าปรับในกรณีที่ผู้ขายส่งมอบสิ่งของให้แก่ผู้ซื้อไม่ถูกต้องภายในกำหนดสัญญาโดยผู้ขายยอมให้ปรับเป็นเงินร้อยละ 10 ของราคาสิ่งของทั้งหมดก็ตาม แต่ค่าปรับดังกล่าว ถ้าสูงเกินส่วนศาลมีอำนาจลดลงเป็นจำนวนพอสมควรได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 383
of 2