คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
ศาลลดเบี้ยปรับ

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 18 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2891/2548 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ดอกเบี้ยผิดนัดเป็นเบี้ยปรับได้ ศาลลดเบี้ยปรับได้ตามความเหมาะสม และการฟ้องหนี้อนาคตทำไม่ได้
จำเลยทำสัญญากู้ยืมเงินจากโจทก์โดยมีข้อตกลงให้โจทก์มีสิทธิคิดดอกเบี้ยในอัตราคงที่ 3 ปี หลังจากนั้นโจทก์จึงจะมีสิทธิปรับอัตราดอกเบี้ยให้สูงขึ้นได้ แต่ถ้าจำเลยผิดนัดเมื่อใดให้สิทธิโจทก์ปรับอัตราดอกเบี้ยให้สูงขึ้นได้ทันทีโดยไม่ต้องรอให้ล่วงพ้น 3 ปี โจทก์ปรับอัตราดอกเบี้ยเป็นร้อยละ 13.50 ต่อปี เมื่อจำเลยผิดนัดซึ่งเป็นเวลา 1 ปีเศษ นับแต่วันทำสัญญากู้เงินอันเป็นการใช้สิทธิตามสัญญากู้เงิน ซึ่งหากจำเลยไม่ผิดนัด โจทก์ยังไม่มีสิทธิปรับอัตราดอกเบี้ยให้สูงขึ้นในขณะนั้นได้ การที่โจทก์ปรับอัตราดอกเบี้ยให้สูงขึ้น จึงมิใช่เป็นการเรียกเอาดอกเบี้ยตามสัญญากู้เงินอันเป็นดอกผลนิตินัยตามปกติ แต่มีลักษณะเป็นการเรียกเอาค่าสินไหมทดแทนที่กำหนดไว้ล่วงหน้าเพื่อความเสียหายอันเกิดจากการที่ลูกหนี้ไม่ชำระหนี้ อันเป็นเบี้ยปรับตาม ป.พ.พ. มาตรา 379 ซึ่งหากสูงเกินส่วนศาลอาจใช้ดุลพินิจลดจำนวนลงได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 383 วรรคหนึ่ง
แม้จำเลยจะขาดนัดยื่นคำให้การ แต่ศาลจะมีคำพิพากษาหรือคำสั่งชี้ขาดให้โจทก์ชนะคดีได้ก็ต่อเมื่อศาลเห็นว่าคำฟ้องของโจทก์มีมูลและไม่ขัดต่อกฎหมายตาม ป.วิ.พ. มาตรา 198 ทวิ วรรคหนึ่ง การที่ศาลชั้นต้นวินิจฉัยปัญหาเรื่องดอกเบี้ยโดยพิเคราะห์จากเอกสารที่โจทก์ส่งเป็นพยาน แล้วเห็นว่าเป็นเบี้ยปรับจึงเป็นการวินิจฉัยอยู่ในประเด็นตามคำฟ้องหาใช่เป็นการวินิจฉัยนอกประเด็นไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2793/2546

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ดอกเบี้ยผิดสัญญาและเบี้ยปรับ: ศาลลดเบี้ยปรับได้หากสูงเกินสมควร, หนี้จำนองคิดดอกเบี้ยตามหนี้ประธาน
แม้โจทก์ซึ่งเป็นบริษัทเงินทุนหลักทรัพย์ จำกัด จะมีสิทธิคิดดอกเบี้ยเงินกู้จากผู้กู้ได้ในอัตราร้อยละ 21 ต่อปี ตามประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย เรื่อง การกำหนดให้บริษัทเงินทุนปฏิบัติในการกู้ยืมเงินหรือรับเงินจากประชาชนฯ และตามประกาศของบริษัทโจทก์ก็ตาม แต่เมื่อขณะทำสัญญากู้เงิน โจทก์คิดดอกเบี้ยจากจำเลยในอัตราร้อยละ 14 ต่อปี และต่อมาได้ทำสัญญากู้เพิ่มกำหนดดอกเบี้ยใหม่เป็นอัตราร้อยละ 12.5ต่อปี แม้จะมีข้อตกลงต่อไปว่า ในกรณีที่จำเลยผิดนัดไม่ชำระหนี้หรือชำระไม่ถูกต้องจำเลยยอมให้โจทก์เรียกให้ชำระหนี้ทั้งหมดและคิดดอกเบี้ยในเงินต้นที่ค้างชำระในอัตราร้อยละ 21 ต่อปี ก็ตาม ข้อตกลงดังกล่าวมีลักษณะเป็นค่าเสียหายที่กำหนดไว้ล่วงหน้า ดอกเบี้ยที่เพิ่มขึ้นจากอัตราดอกเบี้ยที่กำหนดไว้เดิมจึงเป็นเบี้ยปรับ หากสูงเกินส่วนศาลลดลงเป็นจำนวนพอสมควรได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 383
หนี้จำนองเป็นเพียงหนี้อุปกรณ์ซึ่งจะต้องมีหนี้ประธานเสียก่อน การบังคับจำนองจึงจะกระทำได้ เมื่อหนี้กู้ยืมเงินซึ่งเป็นหนี้ประธานกำหนดอัตราดอกเบี้ยเท่าใดหนี้จำนองซึ่งเป็นหนี้อุปกรณ์จึงคงมีสิทธิคิดดอกเบี้ยได้เพียงเท่าดอกเบี้ยที่โจทก์คิดไว้จากหนี้ตามสัญญากู้เงินอันเป็นหนี้ประธาน ซึ่งตามสัญญากู้เงินเพิ่มเติมครั้งที่ 1จำเลยได้กู้ยืมเงินโจทก์เพิ่มอีก โดยระบุว่าจำเลยยอมชำระดอกเบี้ยแก่โจทก์ในอัตราร้อยละ 12.5 ต่อปี จึงเป็นข้อตกลงตามเจตนาของคู่สัญญา อัตราดอกเบี้ยดังกล่าวจึงมิใช่เบี้ยปรับ แม้จำเลยผิดสัญญาโจทก์ยังคงมีสิทธิคิดดอกเบี้ยจากจำเลยในอัตราร้อยละ 12.5 ต่อปีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 224 วรรคหนึ่งศาลชั้นต้นลดเบี้ยปรับจากอัตราร้อยละ 21 ต่อปี ลงโดยกำหนดให้โจทก์ได้รับดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 10 ต่อปี ซึ่งน้อยกว่าอัตราดอกเบี้ยก่อนที่จำเลยผิดนัดมีผลเป็นการงดเบี้ยปรับโดยสิ้นเชิงจึงไม่ถูกต้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 303/2545

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อัตราดอกเบี้ยผิดนัด, เบี้ยปรับ, สัญญาเลตเตอร์ออฟเครดิต, การปรับอัตราดอกเบี้ยลอยตัว, ศาลลดเบี้ยปรับ
ทรัสต์รีซีทเป็นสัญญาที่เกี่ยวเนื่องกับสัญญาเลตเตอร์ออฟเครดิตซึ่งถ้าจำเลยที่ 1 ปฏิบัติตามสัญญาทรัสต์รีซีท จำเลยที่ 1 ต้องเสียดอกเบี้ยในจำนวนเงินที่ขอเปิดเลตเตอร์ออฟเครดิต ตามอัตราที่กำหนดไว้เท่านั้นแต่ถ้าไม่ปฏิบัติตามสัญญา ธนาคารโจทก์ย่อมมีสิทธิคิดดอกเบี้ยจากจำเลยที่ 1 ได้ในอัตราสูงสุดที่โจทก์กำหนดไว้นับตั้งแต่เวลาที่สินค้ามาถึงกรุงเทพมหานครถึงวันที่ชำระเงิน เมื่ออัตราดอกเบี้ยสูงสุดในแต่ละช่วงเวลาของโจทก์แตกต่างกันตามประกาศของโจทก์แต่ละฉบับ จำเลยที่ 1 ก็ต้องเสียดอกเบี้ยในอัตราสูงสุดตามที่ประกาศไว้ในช่วงเวลาที่ผิดนัดของสัญญาทรัสต์รีซีทแต่ละฉบับกรณีไม่ใช่เป็นเรื่องที่โจทก์เปลี่ยนแปลงอัตราดอกเบี้ยตามคำขอเปิดเลตเตอร์ออฟเครดิตของจำเลยที่ 1 ที่โจทก์จะต้องแจ้งให้จำเลยทั้งสองทราบ แต่การที่สัญญาดังกล่าวให้โจทก์คิดดอกเบี้ยจากจำเลยที่ 1ในอัตราสูงสุดที่ธนาคารโจทก์กำหนดไว้ได้เมื่อจำเลยที่ 1 ไม่ปฏิบัติตามสัญญา จึงเป็นเบี้ยปรับตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 379 ซึ่งหากสูงเกินส่วนศาลมีอำนาจลดลงเป็นจำนวนพอสมควรได้ตามมาตรา 383

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2094/2545 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ดอกเบี้ยสัญญาเงินกู้: การคิดดอกเบี้ยตามสัญญา, เบี้ยปรับกรณีผิดนัด, และอำนาจศาลในการลดเบี้ยปรับ
ตามหนังสือสัญญากู้เงิน มีใจความโดยสรุปว่า ในระยะ 3 ปีแรก นับแต่วันทำสัญญากู้เงินโจทก์มีสิทธิคิดดอกเบี้ยในอัตราคงที่ได้เพียงร้อยละ 8.11 ต่อปีเท่านั้น จะปรับอัตราดอกเบี้ยให้สูงขึ้นกว่านั้นไม่ได้จนกว่าจะล่วงพ้น 3 ปี นับแต่วันที่ทำสัญญา เว้นแต่จำเลยผิดนัดไม่ชำระหนี้เมื่อใดไม่ว่าจะอยู่ในช่วง 3 ปี นับแต่วันที่ทำสัญญากู้เงินหรือหลังจากนั้นก็ตาม โจทก์ย่อมมีสิทธิปรับอัตราดอกเบี้ยให้สูงขึ้นได้เสมอ ดังนั้น ดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 8.11 ต่อปีในระยะเริ่มแรกก็ดี ดอกเบี้ยหลังจากล่วงพ้น 3 ปีนับแต่วันทำสัญญากู้เงินก็ดี ล้วนเป็นอุปกรณ์แห่งหนี้ที่โจทก์มีสิทธิได้รับตามข้อสัญญาทั้งสิ้น โดยไม่ต้องคำนึงว่าจำเลยตกเป็นผู้ผิดนัดหรือไม่ จึงเป็นดอกผลนิตินัยตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 148 วรรคสาม แต่ดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 19 ต่อปี ที่โจทก์เรียกร้องจากจำเลยหลังจากที่จำเลยตกเป็นผู้ผิดนัด และยังอยู่ในช่วงเวลา 3 ปีนับแต่วันทำสัญญากู้เงิน ซึ่งโจทก์ยังไม่มีสิทธิเปลี่ยนแปลงอัตราดอกเบี้ยนั้น เป็นการใช้สิทธิตามสัญญากู้เงินที่ให้สิทธิแก่โจทก์ที่จะเพิ่มอัตราดอกเบี้ยสูงขึ้นได้ในกรณีที่จำเลยผิดนัดไม่ชำระหนี้ จึงเป็นเบี้ยปรับตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 379 ซึ่งหากสูงเกินส่วนศาลย่อมมีอำนาจลดลงเป็นจำนวนพอสมควรได้โดยคำนึงถึงทางได้เสียของโจทก์ทุกอย่างอันชอบด้วยกฎหมาย ตาม ป.พ.พ.มาตรา 383

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2094/2545

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อสัญญาดอกเบี้ยกู้เงิน: อัตราดอกเบี้ยตามสัญญา, เบี้ยปรับ, และอำนาจศาลในการลดเบี้ยปรับ
ตามหนังสือสัญญากู้เงิน มีใจความโดยสรุปว่า ในระยะ 3 ปีแรก นับแต่วันทำสัญญากู้เงินโจทก์มีสิทธิคิดดอกเบี้ยในอัตราคงที่ได้เพียงร้อยละ 8.11 ต่อปีเท่านั้นจะปรับอัตราดอกเบี้ยให้สูงขึ้นกว่านั้นไม่ได้จนกว่าจะล่วงพ้น 3 ปี นับแต่วันที่ทำสัญญาเว้นแต่จำเลยผิดนัดไม่ชำระหนี้เมื่อใดไม่ว่าจะอยู่ในช่วง 3 ปี นับแต่วันที่ทำสัญญากู้เงินหรือหลังจากนั้นก็ตาม โจทก์ย่อมมีสิทธิปรับอัตราดอกเบี้ยให้สูงขึ้นได้เสมอ ดังนั้น ดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 8.11 ต่อปีในระยะเริ่มแรกก็ดี ดอกเบี้ยหลังจากล่วงพ้น 3 ปีนับแต่วันทำสัญญากู้เงินก็ดี ล้วนเป็นอุปกรณ์แห่งหนี้ที่โจทก์มีสิทธิได้รับตามข้อสัญญาทั้งสิ้น โดยไม่ต้องคำนึงว่าจำเลยตกเป็นผู้ผิดนัดหรือไม่ จึงเป็นดอกผลนิตินัยตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 148 วรรคสาม แต่ดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 19ต่อปี ที่โจทก์เรียกร้องจากจำเลยหลังจากที่จำเลยตกเป็นผู้ผิดนัด และยังอยู่ในช่วงเวลา3 ปี นับแต่วันทำสัญญากู้เงิน ซึ่งโจทก์ยังไม่มีสิทธิเปลี่ยนแปลงอัตราดอกเบี้ยนั้น เป็นการใช้สิทธิตามสัญญากู้เงินที่ให้สิทธิแก่โจทก์ที่จะเพิ่มอัตราดอกเบี้ยสูงขึ้นได้ในกรณีที่จำเลยผิดนัดไม่ชำระหนี้ จึงเป็นเบี้ยปรับตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 379ซึ่งหากสูงเกินส่วนศาลย่อมมีอำนาจลดลงเป็นจำนวนพอสมควรได้โดยคำนึงถึงทางได้เสียของโจทก์ทุกอย่างอันชอบด้วยกฎหมาย ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 383

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2022/2545 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาเช่าวิทยุคมนาคม: เบี้ยปรับค่าตอบแทนการใช้ความถี่สูงเกินส่วน ศาลมีอำนาจลดได้
แม้พระราชบัญญัติวิทยุคมนาคม พ.ศ. 2498 มาตรา 11 ทวิ ให้อำนาจรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมกำหนดให้ผู้ใช้ความถี่วิทยุต้องเสียค่าตอบแทนใช้ความถี่วิทยุ และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมกำหนดให้ผู้ใช้ความถี่วิทยุที่ไม่ชำระหรือชำระค่าตอบแทนในการใช้ความถี่วิทยุเกินเวลากำหนดต้องเสียค่าตอบแทนในการใช้ความถี่วิทยุเพิ่มในอัตราร้อยละ 1 ของค่าตอบแทนในการใช้ความถี่วิทยุที่ต้องชำระต่อวันนับแต่วันถัดจากวันครบกำหนดจนถึงวันที่ชำระแล้วเสร็จตามประกาศกระทรวงคมนาคม เรื่อง กำหนดให้ผู้ใช้ความถี่วิทยุต้องเสียค่าตอบแทนในการใช้ความถี่วิทยุก็ตาม แต่คดีนี้จำเลยทำสัญญาเช่าใช้เครื่องวิทยุคมนาคมและอุปกรณ์วิทยุคมนาคมไปจากโจทก์ โดยจำเลยต้องชำระค่าเช่าภายในวันที่ 10 ของทุกเดือน ตามที่ระบุไว้ในสัญญาเช่า จำเลยจะต้องปฏิบัติตาม พ.ร.บ. วิทยุคมนาคม ฯ โดยเคร่งครัดและต้องรับผิดกรณีฝ่าฝืนข้อกำหนดนั้นด้วย ดังนั้น ประกาศกระทรวงคมนาคม ดังกล่าวจึงเป็นส่วนหนึ่งของสัญญาเช่าตามที่ระบุไว้ในสัญญาเช่า เมื่อจำเลยไม่ชำระค่าตอบแทนในการใช้ความถี่วิทยุหรือชำระเกินกำหนดจึงต้องเสียค่าตอบแทนในการใช้ความถี่วิทยุเพิ่มในอัตราร้อยละ 1 ของค่าตอบแทนในการใช้ความถี่วิทยุที่ต้องชำระต่อวันนับถัดจากวันที่ครบกำหนดจนถึงวันที่ชำระแล้วเสร็จตามที่กำหนดไว้ในสัญญาเช่า ดังนั้น ค่าตอบแทนในการใช้ความถี่วิทยุเพิ่มดังกล่าวจึงเป็นเงินที่จำเลยสัญญาว่าจะใช้ให้แก่โจทก์เป็นเบี้ยปรับเมื่อจำเลยไม่ชำระหนี้หรือไม่ชำระหนี้ให้ถูกต้องสมควรตาม ป.พ.พ. มาตรา 379 เมื่อเบี้ยปรับนั้นสูงเกินส่วนศาลมีอำนาจลดลงเป็นจำนวนพอสมควรได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7893/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความล่าช้าของคู่สัญญาและผลกระทบต่อเบี้ยปรับ: ศาลลดเบี้ยปรับเมื่อความเสียหายเกิดจากทั้งจำเลยและโจทก์
โจทก์ทำสัญญาจ้างจำเลยที่ 1 ให้ก่อสร้างคลองส่งน้ำพร้อมอาคารแบ่งงวดงานออกเป็น 3 งวด จำเลยที่ 1 ได้ส่งมอบงานงวดที่ 1 เพียงงวดเดียวหลังจากนั้นไม่ดำเนินงานต่อไปจนโจทก์ต้องขยายระยะเวลาให้จำเลยที่ 1 ออกไปอีก 180 วัน เมื่อครบกำหนดจำเลยที่ 1 ยังคงเพิกเฉยไม่ดำเนินการก่อสร้างต่อ แม้โจทก์จะมีหนังสือ 3 ฉบับ เร่งรัดให้จำเลยที่ 1 รีบดำเนินการมิฉะนั้นจะพิจารณาบอกเลิกสัญญาก็ตาม แต่จำเลยที่ 1 ก็มิได้ดำเนินการตามที่เร่งรัดแต่ประการใด พฤติการณ์ดังกล่าวของจำเลยที่ 1 จึงย่อมจะต้องอยู่ในความรู้เห็นของโจทก์โดยตลอดและเล็งเห็นได้ว่าจำเลยที่ 1 น่าจะต้องละทิ้งงานและเกิดความเสียหายขึ้นอย่างแน่นอน ซึ่งโจทก์อาจใช้สิทธิบอกเลิกสัญญาได้ทันทีแต่ต้นเพื่อป้องกันมิให้เกิดความเสียหายเพิ่มมากยิ่งขึ้น แต่โจทก์กลับละเลยไม่ใช้สิทธิดังกล่าวจนครบกำหนดอายุสัญญาและยังปล่อยเวลาให้ล่วงเลยไปอีกถึง 648 วัน โดยไม่ปรากฏเหตุผลสำคัญให้เห็นถึงเหตุขัดข้องที่กระทำดังกล่าว โจทก์เพิ่งจะมาทำสัญญาว่าจ้าง ห้างหุ้นส่วนจำกัด อ. ให้ทำการก่อสร้างต่อในส่วนที่เหลือหลังจากที่โจทก์บอกเลิกสัญญาแก่จำเลยที่ 1แล้วเป็นเวลา 8 เดือนเศษ โดยไม่ปรากฏเหตุผลที่ล่าช้า ความล่าช้าต่าง ๆ อันมีผลทำให้ราคาก่อสร้างทวีสูงขึ้นตามระยะเวลาที่ผ่านไปนั้นเกิดจากการดำเนินงานของโจทก์รวมอยู่ด้วย ดังนั้น แม้โจทก์จะมีสิทธิปรับจำเลยที่ 1 และมีสิทธิเรียกค่าจ้างที่เพิ่มขึ้นเพราะจ้างบุคคลอื่นทำการก่อสร้างต่อจากจำเลยตามสัญญาจ้างก็ตาม แต่ก็ถือว่าเงินค่าปรับตามที่คู่สัญญากำหนดไว้ และค่าจ้างที่เพิ่มขึ้นดังกล่าวนั้นเป็นการกำหนดค่าสินไหมทดแทนเพื่อการที่จะชดใช้บรรเทาความเสียหายอันอาจจะมีหรือเกิดขึ้นกรณีมีการผิดสัญญาไว้ล่วงหน้าเป็นเบี้ยปรับซึ่งถ้าเบี้ยปรับนั้นสูงเกินส่วน ศาลจะลดลงเป็นจำนวนพอสมควรก็ได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 383 วรรคหนึ่ง ศาลจึงใช้ดุลพินิจลดจำนวนเบี้ยปรับลงเป็นจำนวนที่พอสมควรได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3615/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เบี้ยปรับในสัญญากู้เงิน: ศาลมีอำนาจลดหากสูงเกินส่วน
อัตราดอกเบี้ยตามสัญญากู้เงินฉบับพิพาท ได้กำหนดไว้เป็น 2อัตรา คืออัตราสูงสุดสำหรับกรณีผู้กู้มิได้ปฏิบัติผิดนัดผิดเงื่อนไขตามสัญญาขณะทำสัญญาเท่ากับร้อยละ 16 ต่อปี และอัตราสูงสุดสำหรับกรณีผู้กู้ปฏิบัติผิดนัดผิดเงื่อนไขตามสัญญาขณะทำสัญญาเท่ากับร้อยละ 18.5 ต่อปี ซึ่งอัตราดอกเบี้ยทั้งสองอัตราดังกล่าวอาจเปลี่ยนแปลงโดยเพิ่มหรือลดลงได้ตามที่โจทก์ผู้ให้กู้จะประกาศกำหนดเป็นคราว ๆเมื่อดอกเบี้ยอัตราสูงสุดผิดเงื่อนไขมีอัตราสูงกว่าอัตราดอกเบี้ยสูงสุดซึ่งใช้สำหรับกรณีที่ผู้กู้มิได้ปฏิบัติผิดนัดผิดเงื่อนไขตามสัญญา จึงแสดงให้เห็นเจตนาของโจทก์และจำเลยคู่สัญญาว่าประสงค์จะให้ดอกเบี้ยที่เพิ่มขึ้นนั้นเป็นค่าเสียหายแก่โจทก์ในกรณีที่จำเลยผิดนัดไม่ชำระหนี้ โดยกำหนดเป็นค่าเสียหายไว้ล่วงหน้าในรูปของดอกเบี้ยที่คิดเพิ่มขึ้น ดอกเบี้ยที่คิดเพิ่มขึ้นนี้จึงมีลักษณะเป็นเบี้ยปรับ ตาม ป.พ.พ.มาตรา 379ซึ่งถ้าสูงเกินส่วนศาลย่อมมีอำนาจลดลงเป็นจำนวนพอสมควรได้ ตาม มาตรา 383

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3615/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ดอกเบี้ยผิดนัดชำระหนี้เป็นเบี้ยปรับ ศาลมีอำนาจลดเบี้ยปรับได้หากสูงเกินส่วน
อัตราดอกเบี้ยตามสัญญากู้เงินฉบับพิพาท ได้กำหนดไว้เป็น 2 อัตรา คืออัตราสูงสุดสำหรับกรณี ผู้กู้มิได้ปฏิบัติผิดนัดผิดเงื่อนตามสัญญาขณะทำสัญญาเท่ากับร้อยละ 16 ต่อปี และอัตราสูงสุดสำหรับกรณีผู้กู้ปฏิบัติผิดนัดผิดเงื่อนไขตามสัญญาขณะทำสัญญาเท่ากับร้อยละ 18.5 ต่อปี ซึ่งอัตราดอกเบี้ยทั้งสองอัตราดังกล่าวอาจเปลี่ยนแปลงโดยเพิ่มหรือลดลงได้ตามที่โจทก์ผู้ให้กู้จะประกาศกำหนดเป็นคราว ๆ เมื่อดอกเบี้ยอัตราสูงสุดผิดเงื่อนไขมีอัตราสูงกว่าอัตราดอกเบี้ยสูงสุดซึ่งใช้สำหรับ กรณีที่ผู้กู้มิได้ปฏิบัติผิดนัดผิดเงื่อนไขตามสัญญา จึงแสดงให้เห็นเจตนาของโจทก์และจำเลยคู่สัญญาว่าประสงค์จะให้ดอกเบี้ยที่เพิ่มขึ้นนั้นเป็นค่าเสียหายแก่โจทก์ในกรณีที่จำเลยผิดนัดไม่ชำระหนี้ โดยกำหนดเป็นค่าเสียหายไว้ล่วงหน้าในรูปของดอกเบี้ยที่คิดเพิ่มขึ้น ดอกเบี้ยที่คิดเพิ่มขึ้นนี้จึงมีลักษณะ เป็นเบี้ยปรับตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 379 ซึ่งถ้าสูงเกินส่วนศาลย่อมมีอำนาจลดลง เป็นจำนวนพอสมควรได้ ตาม มาตรา 383

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3429/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ดอกเบี้ยเบิกเกินบัญชี, เบี้ยปรับ, จำนองค้ำประกัน, ศาลลดเบี้ยปรับได้, สัญญาจำนองใช้ได้กับหนี้ในอนาคต
สัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีมีข้อตกลงในการชำระดอกเบี้ยไว้ว่าผู้ให้กู้ประกาศกำหนดเรียกเก็บดอกเบี้ยในอัตราสูงสุดเท่ากับร้อยละ 16.25 ต่อปี และสำหรับลูกค้าที่ปฏิบัติผิดเงื่อนไขในอัตราสูงสุดเท่ากับร้อยละ 18.5 ต่อปี เห็นได้ว่า สัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีระหว่างธนาคารโจทก์และจำเลย ได้กำหนดอัตราดอกเบี้ยไว้ร้อยละ 16.25 ต่อปีอยู่แล้ว การที่สัญญาข้อต่อมากำหนดให้โจทก์คิดดอกเบี้ยในกรณี ที่จำเลยผิดนัดไว้ว่า ให้โจทก์คิดดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 18.5 ต่อปีนั้น ก็คือการที่จำเลยสัญญาให้เบี้ยปรับในฐานผิดสัญญากู้เบิกเงิน เกินบัญชีแก่โจทก์ในอัตราร้อยละ 2.25 ต่อปีนั่นเอง ซึ่งเบี้ยปรับ นี้ถ้าศาลเห็นว่าสูงเกินส่วนศาลมีอำนาจลดลงเป็น จำนวนพอสมควรได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 383 วรรคหนึ่ง สัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีระบุว่า ผู้กู้ยินยอมให้ ผู้ให้กู้มีสิทธิใช้ดุลพินิจนำเงินค่าเบี้ยประกันภัยที่ได้ทดรองจ่าย ไปแทนผู้กู้ไปลงจ่ายในบัญชีเดินสะพัดที่ผู้กู้มีอยู่กับผู้ให้กู้เพื่อให้ผู้กู้เป็นหนี้เบิกเงินเกินบัญชีต่อผู้ให้กู้ต่อไป และผู้กู้ยินยอมเสียดอกเบี้ยในอัตราที่กำหนดไว้ในสัญญา โจทก์จึงมี สิทธิคิดดอกเบี้ยสำหรับต้นเงินค่าเบี้ยประกันภัยในอัตราดังกล่าว แม้จำเลยผู้กู้เบิกเงินเกินบัญชีได้จดทะเบียนจำนองทรัพย์จำนอง ให้ไว้แก่โจทก์ก่อนเปิดบัญชีเดินสะพัดและทำสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีก็ตาม แต่ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 681 วรรคสอง บัญญัติว่า หนี้ในอนาคตหรือหนี้มีเงื่อนไขจะประกันไว้เพื่อ เหตุการณ์ซึ่งหนี้นั้นอาจเป็นผลได้จริง ก็ประกันได้ และมาตรา 707 บัญญัติว่าบทบัญญัติมาตรา 681 ว่าด้วยค้ำประกันนั้น ท่านให้ ใช้ได้ในการจำนอง อนุโลมตามควร ดังนั้น สัญญาจำนองซึ่ง เป็นหนี้อุทธรณ์จึงสามารถประกันหนี้เบิกเงินเกินบัญชีซึ่งเป็นหนี้ ในอนาคตได้ สัญญาจำนองย่อมไม่ตกเป็นโมฆะ
of 2