พบผลลัพธ์ทั้งหมด 228 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5044/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การนำสืบไม่สมกับข้อหาฟ้อง การนำสืบนอกฟ้อง ทำให้ศาลไม่สามารถวินิจฉัยได้
โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยกู้ยืมเงินโจทก์โดยทำหลักฐานเป็นหนังสือรับสภาพหนี้ไว้ เมื่อครบกำหนดตามหนังสือรับสภาพหนี้ จำเลยไม่ชำระหนี้คืนให้แก่โจทก์ โจทก์ทวงถามแล้วจำเลยเพิกเฉย แต่โจทก์กลับนำสืบว่า จำเลยทำธุรกิจรับเหมาก่อสร้างตลาดสดและตึกแถวและชักชวนให้โจทก์ร่วมลงทุน โจทก์จึงนำเงินไปร่วมลงทุนกับจำเลย หลังจากนั้นจำเลยไม่คืนเงินลงทุนและไม่แบ่งผลกำไรให้โจทก์ โจทก์จึงทวงถามและต่อมาโจทก์จึงได้ทำหนังสือรับสภาพหนี้ไปให้จำเลยลงลายมือชื่อเพื่อเป็นหลักฐานว่าจำเลยได้กู้ยืมเงินของโจทก์ไป แต่เมื่อครบกำหนดตามหนังสือรับสภาพหนี้แล้วจำเลยเพิกเฉยไม่ชำระเงินคืนโจทก์ ดังนั้น การนำสืบในประเด็นดังกล่าวเป็นที่เห็นว่าได้ชัดแจ้งว่าโจทก์นำสืบไม่สมสภาพแห่งข้อหา ทั้งข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาตามคำฟ้องของโจทก์ และเป็นการนำสืบนอกฟ้องนอกประเด็นซึ่งต้องห้ามมิให้ศาลรับฟังตาม ป.วิ.พ. มาตรา 87 (1) ศาลฎีกาจึงไม่อาจวินิจฉัยประเด็นดังกล่าวและพิพากษาให้โจทก์ชนะคดีตาม ป.วิ.พ. มาตรา 142
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6697/2548 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การวินิจฉัยตามคำท้า: ศาลต้องพิจารณาเฉพาะคำเบิกความที่ตรงกับประเด็นที่ท้า หากตรงตามนั้นต้องตัดสินตามนั้น แม้มีเหตุผลทางกฎหมายประกอบ
ในกรณีที่คู่ความท้ากันให้ศาลวินิจฉัยประเด็นข้อพิพาทเพียงข้อเดียวว่าที่ดินพิพาททั้งห้าแปลงหลังจากทำสัญญาจะซื้อจะขายแล้วสามารถจดทะเบียนโอนได้หรือไม่และตกลงให้สืบพยานคนกลางเพียงปากเดียวโดยให้ศาลถามพยานว่าที่ดินพิพาททั้งห้าแปลงสามารถจดทะเบียนโอนให้ได้ตามกฎหมายหรือไม่ แล้วตัดสินคดีไปตามที่พยานเบิกความนั้น จะต้องพิจารณาว่าเหตุการณ์ที่พยานคนกลางเบิกความตรงตามคำท้าหรือไม่ หากเหตุการณ์ที่พยานคนกลางเบิกความตรงตามคำท้าแล้ว ศาลก็จะต้องตัดสินตามคำท้านั้น เมื่อคำเบิกความของพยานคนกลางที่ตอบศาลถาม พยานยืนยันว่าหากคู่สัญญายืนยันรับผิดชอบกันเองก็สามารถที่จะโอนกันได้ตามกฎหมาย แม้พยานจะตอบคำถามติงของทนายโจทก์ว่าหากมีการอายัดโดยชอบด้วยกฎหมายก็ไม่สามารถจดทะเบียนโอนกันได้นั้น เป็นเงื่อนไขที่พยานเบิกความขึ้นเองไม่เกี่ยวกับเงื่อนไขตามคำท้าเพราะคำท้ามิได้กล่าวถึงการอายัดไว้ด้วย คำเบิกความของพยานจึงตรงตามคำท้าและสมฝ่ายจำเลย โจทก์จึงต้องเป็นฝ่ายแพ้คดี
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2687/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องคดีภายใน 60 วัน: ศาลวินิจฉัยได้แม้ฟ้องเกินกำหนด หากโจทก์ยังมีอำนาจฟ้อง
คำสั่งศาลชั้นต้นที่กำหนดประเด็นข้อพิพาทว่า โจทก์ฟ้องคดีภายใน 60 วัน นับแต่วันทราบคำสั่งของเจ้าพนักงานที่ดินหรือไม่ เป็นการกำหนดประเด็นในเรื่องอำนาจฟ้องของโจทก์ตามข้อต่อสู้ของจำเลยที่ให้การปฏิเสธว่าโจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องเพราะฟ้องคดีเกินกำหนดเวลา เมื่อศาลชั้นต้นเห็นว่า แม้จะฟ้องคดีเกินกำหนดเวลา 60 วัน โจทก์ก็มีอำนาจฟ้องโดยไม่มีผลให้ฟ้องโจทก์เสียไป ศาลชั้นต้นจึงมีอำนาจหยิบยกขึ้นวินิจฉัยซึ่งข้อกฎหมายดังกล่าวเพื่อปรับแก่ข้อเท็จจริงในคดีได้ หาได้เป็นการวินิจฉัยนอกประเด็นไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1692/2548 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การสละมรดกต้องแสดงเจตนาชัดเจนเป็นหนังสือหรือสัญญาประนีประนอม การวินิจฉัยศาลชั้นต้นคลาดเคลื่อน
โจทก์กล่างอ้างในคำฟ้องว่า ล. สละมรดกส่วนของตนให้แก่โจทก์ คดีจึงไม่มีประเด็นเรื่องการแบ่งปันมรดกตาม ป.พ.พ. มาตรา 1750 ดังนั้น การที่ศาลชั้นต้นหยิบยกบันทึกคำให้การของ ล. ขึ้นวินิจฉัยว่ามีผลผูกพัน ล. เนื่องจากเป็นการประนีประนอมยอมความระหว่างทายาทผู้มีสิทธิตามมาตรา 850, 852 และมาตรา 1750 ทำให้ที่ดินมรดกส่วนของ ล. ตกแก่โจทก์ เป็นการวินิจฉัยที่ไม่ชอบ
บันทึกคำให้การของ ล. ในชั้นศาลที่ตอบทนายโจทก์ซักถามว่า "ที่ดินส่วนที่เหลือที่เป็นสิทธิของข้าฯ ที่จะได้ 5 ไร่นั้น ข้าฯ ได้ยกให้เป็นของโจทก์แล้ว ข้าฯไม่ติดใจที่จะเรียกร้องอีก" ข้อความดังกล่าวไม่ใช่การสละมรดก เพราะการสละมรดกต้องเป็นการสละส่วนของตนโดยไม่เจาะจงว่าจะให้แก่ทายาทคนใด ทั้งบันทึกคำให้การฉบับดังกล่าวเป็นการแสดงเจตนาของ ล. ฝ่ายเดียว ถือไม่ได้ว่าเป็นการแสดงเจตนาชัดแจ้งเป็นหนังสือมอบไว้แก่พนักงานเจ้าหน้าที่หรือทำเป็นสัญญาประนีประนอมยอมความตามมาตรา 1612 โจทก์จึงไม่มีสิทธิในที่ดินมรดกส่วนของ ล.
บันทึกคำให้การของ ล. ในชั้นศาลที่ตอบทนายโจทก์ซักถามว่า "ที่ดินส่วนที่เหลือที่เป็นสิทธิของข้าฯ ที่จะได้ 5 ไร่นั้น ข้าฯ ได้ยกให้เป็นของโจทก์แล้ว ข้าฯไม่ติดใจที่จะเรียกร้องอีก" ข้อความดังกล่าวไม่ใช่การสละมรดก เพราะการสละมรดกต้องเป็นการสละส่วนของตนโดยไม่เจาะจงว่าจะให้แก่ทายาทคนใด ทั้งบันทึกคำให้การฉบับดังกล่าวเป็นการแสดงเจตนาของ ล. ฝ่ายเดียว ถือไม่ได้ว่าเป็นการแสดงเจตนาชัดแจ้งเป็นหนังสือมอบไว้แก่พนักงานเจ้าหน้าที่หรือทำเป็นสัญญาประนีประนอมยอมความตามมาตรา 1612 โจทก์จึงไม่มีสิทธิในที่ดินมรดกส่วนของ ล.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 749/2547 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การขอฎีกาอย่างคนอนาถาต้องแสดงหลักฐานความยากจนเพิ่มเติม หากศาลเคยวินิจฉัยแล้วว่าไม่เข้าข่าย
ศาลชั้นต้นมีคำสั่งตามคำร้องขอดำเนินคดีอย่างคนอนาถาของโจทก์ในชั้นฎีกาฉบับแรกว่าโจทก์ไม่นำพยานมาไต่สวน ให้ยกคำร้องขออนาถาของโจทก์ เท่ากับวินิจฉัยในเนื้อหาแห่งคำร้องของโจทก์แล้วว่า โจทก์ไม่ใช่คนอนาถา ซึ่งโจทก์ต้องขออนุญาตให้โจทก์นำพยานหลักฐานมาแสดงเพิ่มเติมว่าโจทก์เป็นคนยากจนจริง เมื่อโจทก์ยื่นคำร้องขอดำเนินคดีอย่างคนอนาถาใหม่โดยไม่ได้ขอนำพยานหลักฐานมาแสดงเพิ่มเติม ประกอบกับคดีนี้ไม่มีการไต่สวนสืบพยานเนื่องจากโจทก์ไม่ได้ยื่นบัญชีระบุพยานและไม่มาศาลในวันนัดไต่สวนครั้งแรก จึงไม่ต้องด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 156 วรรคสี่ ศาลชั้นต้นสั่งรับคำร้องขอดำเนินคดีอย่างคนอนาถาฉบับใหม่ของโจทก์ไว้จึงไม่ชอบ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1485/2547
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คำร้องซ้ำเกี่ยวกับการแต่งตั้งผู้ทำแผนและแผนฟื้นฟูที่ศาลเคยวินิจฉัยแล้ว เป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาซ้ำที่กฎหมายห้าม
ในชั้นพิจารณาให้ความเห็นชอบแผนฟื้นฟูกิจการ ผู้บริหารของลูกหนี้ยื่นข้อคัดค้านว่าผู้ทำแผนไม่มีคุณสมบัติและไม่เหมาะสมที่จะเป็นผู้บริหารแผน ทั้งแผนมีรายละเอียดที่ขัดต่อกฎหมายและไม่เป็นธรรม ซึ่งศาลฎีกาวินิจฉัยว่า บริษัทอ. มีคุณสมบัติครบถ้วนตามที่กฎหมายกำหนดสามารถเป็นผู้บริหารแผนได้ ทั้งแผนฟื้นฟูกิจการชอบด้วยกฎหมายจึงพิพากษายืนตามคำสั่งศาลล้มละลายกลางที่เห็นชอบด้วยแผน ต่อมาวันที่ 5 กันยายน2544 ผู้บริหารของลูกหนี้ยื่นคำร้องต่อศาลฎีกาซึ่งมีข้อความเหมือนกับคำร้องฉบับลงวันที่เดียวกับที่ยื่นต่อศาลล้มละลายกลางขอให้ศาลฎีกามีคำสั่งยกเลิกการแต่งตั้งผู้ทำแผนและผู้บริหารแผนและมีคำสั่งว่าแผนฟื้นฟูกิจการของลูกหนี้เป็นโมฆะ และให้ยกเลิกแผนฟื้นฟูกิจการ และเนื่องจากที่ประชุมเจ้าหนี้ได้เลือกบริษัท ท. เป็นผู้ทำแผนอันดับ 2 เมื่อบริษัท อ. ไม่สามารถเป็นผู้ทำแผนได้ ขอให้ศาลมีคำสั่งตั้งบริษัท ท. เป็นผู้ทำแผนแทนอันเป็นการขอให้ศาลดำเนินกระบวนพิจารณาอันเกี่ยวกับประเด็นที่ได้วินิจฉัยชี้ขาดแล้วจึงต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 144 ประกอบพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลล้มละลายและวิธีพิจารณาคดีล้มละลาย พ.ศ. 2542 มาตรา 14
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 138/2547
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การวางเงินชำระค่าเสียหายเพื่อบรรเทาโทษทางอาญา ศาลต้องวินิจฉัยเหตุบรรเทาโทษและคืนเงินหากไม่ดำเนินการตามคำร้อง
โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยฐานกระทำโดยประมาทเป็นเหตุให้ผู้อื่นได้รับอันตรายแก่กายและรับอันตรายสาหัส การที่จำเลยให้การรับสารภาพและยื่นคำร้องขอวางเงิน 20,000 บาท ต่อศาลชั้นต้น โดยขอให้ศาลชั้นต้นแจ้งให้ผู้เสียหายมารับไปอันเป็นการบรรเทาความเสียหายบางส่วน เพราะมีเจตนาที่จะให้ศาลชั้นต้นวินิจฉัยรอการลงโทษจำคุกให้แก่จำเลย แต่ศาลชั้นต้นไม่ได้แจ้งให้ผู้เสียหายมารับเงินดังกล่าว และพิพากษาลงโทษจำคุกจำเลยไปโดยไม่ได้วินิจฉัยถึงเหตุที่จำเลยพยายามบรรเทาความเสียหาย แม้ต่อมาจำเลยอุทธรณ์ขอให้ศาลอุทธรณ์ภาค 3 รอการลงโทษจำคุกให้จำเลย โดยอ้างเหตุที่ได้วางเงินชำระค่าเสียหายให้แก่ผู้เสียหายแต่ศาลอุทธรณ์ภาค 3 ก็พิพากษายืนโดยไม่รอการลงโทษและไม่ได้วินิจฉัยถึงเหตุที่จำเลยวางเงิน จึงเป็นกรณีที่ศาลล่างทั้งสองไม่ดำเนินการแจ้งให้ผู้เสียหายมารับเงินที่วางศาลและไม่วินิจฉัยถึงเหตุที่จำเลยพยายามบรรเทาผลร้ายเพื่อใช้ดุลพินิจรอหรือไม่รอการลงโทษจำคุก และเมื่อคดีถึงที่สุดตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 3 แล้ว จำเลยย่อมมีสิทธิที่จะขอถอนเงินที่วางต่อศาลชั้นต้นคืนไปได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 235/2546 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องซ้ำ: สัญญาที่ศาลวินิจฉัยโมฆะแล้วนำมาฟ้องอีก ย่อมเป็นฟ้องซ้ำตามกฎหมาย
โจทก์เคยนำสัญญาที่จำเลยยอมให้โจทก์ใช้ใบอนุญาตให้ตั้งบ่อนการพนันและจัดให้มีการเล่นการพนันประเภทชนไก่และกัดปลาที่จำเลยได้รับใบอนุญาตมาฟ้องต่อศาลในคดีก่อน คดีถึงที่สุดตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นว่าสัญญาดังกล่าวตกเป็นโมฆะ การที่โจทก์นำสัญญาดังกล่าวมาฟ้องกล่าวหาจำเลยว่าผิดสัญญาดังกล่าวและบังคับให้จำเลยคืนเงินมัดจำที่รับไปจากโจทก์เพื่อให้ศาลวินิจฉัยคดีในประเด็นเดียวกันนั้นซ้ำอีก ฟ้องโจทก์คดีนี้จึงเป็นฟ้องซ้ำกับคดีก่อนต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 148
ศาลชั้นต้นมีคำสั่งยกฟ้องโจทก์โดยไม่ได้สั่งเรื่องค่าฤชาธรรมเนียมไม่ชอบ เพราะคำสั่งในเรื่องค่าฤชาธรรมเนียมแม้จะไม่มีคำขอของคู่ความฝ่ายใดก็เป็นหน้าที่ของศาลจะต้องสั่งลงไว้ในคำพิพากษาหรือคำสั่งชี้ขาดคดีตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 167 วรรคหนึ่ง แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดยกขึ้นกล่าวอ้าง ศาลฎีกามีอำนาจแก้ไขให้ถูกต้องได้
ศาลชั้นต้นมีคำสั่งยกฟ้องโจทก์โดยไม่ได้สั่งเรื่องค่าฤชาธรรมเนียมไม่ชอบ เพราะคำสั่งในเรื่องค่าฤชาธรรมเนียมแม้จะไม่มีคำขอของคู่ความฝ่ายใดก็เป็นหน้าที่ของศาลจะต้องสั่งลงไว้ในคำพิพากษาหรือคำสั่งชี้ขาดคดีตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 167 วรรคหนึ่ง แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดยกขึ้นกล่าวอ้าง ศาลฎีกามีอำนาจแก้ไขให้ถูกต้องได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5560/2545
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การนำสืบเกินกรอบคำฟ้อง: ศาลวินิจฉัยนอกประเด็นทำให้ผลคดีไม่ชอบ
โจทก์ฟ้องอ้างว่าพินัยกรรมของผู้ตายเป็นโมฆะเนื่องจากพยานในพินัยกรรมลงลายมือชื่อโดยไม่เห็นผู้ตายพิมพ์ลายนิ้วมือต่อหน้าโดยโจทก์มิได้ปฏิเสธความถูกต้องของลายพิมพ์นิ้วมือของผู้ตายตลอดจนลายมือชื่อของพยานในพินัยกรรม ตามคำฟ้องจึงไม่มีประเด็นว่าลายมือชื่อของพยานในพินัยกรรมบางคนเป็นลายมือชื่อปลอมหรือไม่การที่โจทก์นำสืบว่าลายมือชื่อของพยานสองในสามคนในพินัยกรรม เป็นลายมือชื่อปลอมย่อมเป็นการนำสืบนอกประเด็นตามคำฟ้องรับฟังไม่ได้ ที่ศาลวินิจฉัยปัญหาที่ว่าลายมือชื่อพยานปลอมหรือไม่ จึงเป็นการวินิจฉัยนอกประเด็นตามคำฟ้องอันเป็นการไม่ชอบ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5244/2545 เวอร์ชัน 4 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องคดีรังวัดสอบเขตที่ดินเมื่อถูกโต้แย้งสิทธิ และการวินิจฉัยแนวเขตโดยศาล
เจ้าพนักงานที่ดินไม่สามารถรังวัดสอบเขตที่ดินตามที่โจทก์ยื่นคำขอได้ เนื่องจากจำเลยชี้อาณาเขตล้ำเข้าไปในที่ดินโจทก์ ถือว่า จำเลยโต้แย้งสิทธิเกี่ยวกับที่ดินโจทก์ โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องจำเลยตาม ป.วิ.พ.มาตรา 55
ป.ที่ดิน มาตรา 69 ทวิ วรรคห้า เป็นบทบัญญัติให้อำนาจเจ้าพนักงานที่ดินสอบสวนไกล่เกลี่ยเพื่อให้การรังวัดสอบเขต และการออกโฉนดตามแนวเขตที่รังวัดใหม่ซึ่งเปลี่ยนไปสามารถดำเนินการต่อไปได้เพื่อประโยชน์แก่คู่กรณีที่จะได้ทราบแนวเขตที่แท้จริงตามที่ตกลงกัน และถ้าไกล่เกลี่ยแล้วไม่สามารถตกลงกันได้ก็แจ้งให้คู่กรณีไปฟ้องภายใน 90 วัน ถ้าไม่มีการนำคดีไปฟ้องภายในกำหนดดังกล่าวเพียงถือว่าผู้ขอสอบเขตโฉนดที่ดินไม่ประสงค์จะให้ดำเนินการตามคำขออีกต่อไป และทำให้เจ้าพนักงานที่ดินมีอำนาจที่จะไม่รังวัดสอบเขตที่ดินต่อไปได้โดยไม่มีความผิดเท่านั้น หาใช่เป็นบทกำหนดวิธีการและขั้นตอนให้ผู้ยื่นคำขอรังวัดต้องปฏิบัติก่อนจึงจะฟ้องคดีได้ไม่
ป.ที่ดิน มาตรา 69 ทวิ วรรคห้า เป็นบทบัญญัติให้อำนาจเจ้าพนักงานที่ดินสอบสวนไกล่เกลี่ยเพื่อให้การรังวัดสอบเขต และการออกโฉนดตามแนวเขตที่รังวัดใหม่ซึ่งเปลี่ยนไปสามารถดำเนินการต่อไปได้เพื่อประโยชน์แก่คู่กรณีที่จะได้ทราบแนวเขตที่แท้จริงตามที่ตกลงกัน และถ้าไกล่เกลี่ยแล้วไม่สามารถตกลงกันได้ก็แจ้งให้คู่กรณีไปฟ้องภายใน 90 วัน ถ้าไม่มีการนำคดีไปฟ้องภายในกำหนดดังกล่าวเพียงถือว่าผู้ขอสอบเขตโฉนดที่ดินไม่ประสงค์จะให้ดำเนินการตามคำขออีกต่อไป และทำให้เจ้าพนักงานที่ดินมีอำนาจที่จะไม่รังวัดสอบเขตที่ดินต่อไปได้โดยไม่มีความผิดเท่านั้น หาใช่เป็นบทกำหนดวิธีการและขั้นตอนให้ผู้ยื่นคำขอรังวัดต้องปฏิบัติก่อนจึงจะฟ้องคดีได้ไม่