คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
ศาลสั่ง

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 67 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3310/2549 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คำร้องเพิกถอนการขายทอดตลาดไม่มีมูล ศาลสั่งวางประกันแล้วไม่ปฏิบัติตาม คำสั่งศาลเป็นที่สุด
จำเลยที่ 2 ยื่นคำร้องขอให้เพิกถอนการขายทอดตลาด คำร้องดังกล่าวจึงอยู่ภายใต้บังคับ ป.วิ.พ. มาตรา 296 วรรคห้า ซึ่งบัญญัติว่า "ในการยื่นคำร้องต่อศาลตามมาตรานี้ หากมีพยานหลักฐานเบื้องต้นแสดงว่าคำร้องนั้นไม่มีมูลและยื่นเข้ามาเพื่อประวิงให้ชักช้า เมื่อศาลเห็นสมควรหรือเมื่อเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาหรือบุคคลอื่นที่อาจได้รับความเสียหาย เนื่องจากการยื่นคำร้องดังกล่าวร้องขอ ศาลมีอำนาจที่จะสั่งให้ผู้ยื่นคำร้องวางเงินหรือหาประกันต่อศาลตามจำนวนและภายในระยะเวลาที่ศาลเห็นสมควรกำหนด เพื่อเป็นประกันการชำระค่าสินไหมทดแทนแก่เจ้าหนี้ตามคำพิพากษาหรือบุคคลนั้นได้ ถ้าผู้ยื่นคำร้องไม่ปฏิบัติตามคำสั่งศาล ให้ศาลมีคำสั่งยกคำร้องนั้นเสีย คำสั่งของศาลที่ออกตามความในวรรคนี้ให้เป็นที่สุด" เมื่อศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้จำเลยที่ 2 นำเงินมาวางเป็นประกันค่าสินไหมทดแทนชั้นต้นกำหนด แต่กลับยื่นคำแถลงขอขยายระยะเวลาวางเงินออกไปอีก เมื่อศาลชั้นต้นไม่อนุญาตให้ขยายระยะเวลาวางเงินประกันและมีคำสั่งให้ยกคำร้องขอให้เพิกถอนการขายทอดตลาดของจำเลยที่ 2 คำสั่งศาลชั้นต้นย่อมเป็นที่สุด

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6605/2548

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การวางเงินประกันค่าฤชาธรรมเนียมในคดีทรัพย์สินทางปัญญาของผู้ล้มละลาย: ศาลมีอำนาจสั่งให้กองทรัพย์สินวางเงินได้
พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศและวิธีพิจารณาคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ พ.ศ. 2539 มาตรา 26 ประกอบประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 253 ให้โจทก์และโจทก์ร่วมซึ่งมีฐานะเป็นจำเลยสำหรับฟ้องแย้งของจำเลย มีสิทธิที่จะยื่นคำร้องขอให้ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางมีคำสั่งให้จำเลยในฐานะโจทก์ฟ้องแย้งวางเงินต่อศาล หรือหาประกันมาให้เพื่อการชำระค่าฤชาธรรมเนียมและค่าใช้จ่ายได้
จำเลยถูกพิทักทรัพย์เด็ดขาดเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ได้ใช้ดุลพินิจเข้าว่าคดีของจำเลยต่อไปตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 25 แล้ว กองทรัพย์สินของจำเลยที่ตกอยู่ในอำนาจการจัดการของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ซึ่งเป็นคู่ความในคดีย่อมต้องผูกพันในค่าฤชาธรรมเนียมและค่าใช้จ่ายที่จะเกิดขึ้นตามคำพิพากษา เนื่องจากคดียังไม่เป็นที่ยุติว่าจำเลยจะต้องรับผิดในค่าฤชาธรรมเนียมและค่าใช้จ่ายดังกล่าวหรือไม่ เพียงใด ที่ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางมีคำสั่งตามคำร้องของโจทก์และโจทก์ร่วมให้จำเลยในฐานะโจทก์ฟ้องแย้งวางเงินต่อศาลหรือหาประกันมาให้เพื่อการชำระค่าฤชาธรรมเนียมและค่าใช้จ่าย เป็นการสั่งให้กองทรัพย์สินของจำเลยในคดีล้มละลายเป็นผู้วาง ไม่ใช่กระบวนพิจารณาชั้นขอรับชำระหนี้ในคดีล้มละลายที่จะต้องปฏิบัติตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 93

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9331/2542 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกบริษัทและการชำระบัญชี: ศาลสั่งตั้งผู้ชำระบัญชีหลังถูกขีดชื่อออกจากทะเบียน
บริษัท น.จดทะเบียนเป็นนิติบุคคลประเภทบริษัทจำกัด ต่อมาบริษัท น.หยุดประกอบกิจการ เนื่องจากประสบภาวะการขาดทุน นายทะเบียนหุ้นส่วนบริษัทได้ขีดชื่อออกจากทะเบียนบริษัทและได้ประกาศการขีดชื่อบริษัทในราชกิจจานุเบกษาแล้ว ทำให้บริษัท น.เป็นอันเลิกกันโดยผลของกฎหมาย และเมื่อเป็นการเลิกกันเพราะเหตุอย่างอื่นนอกจากเหตุล้มละลาย จึงต้องมีการชำระบัญชีของบริษัท น.ตาม ป.พ.พ.มาตรา 1251 เพื่อให้ผู้ชำระบัญชีเข้ามาจัดการงานของบริษัทเพื่อประโยชน์ในการรวบรวมทรัพย์สิน จำหน่ายทรัพย์สิน ชำระหนี้คืนทุนแบ่งกำไรหรือขาดทุน และทำการอย่างอื่น ๆ ตามแต่จำเป็นเพื่อชำระบัญชีให้เสร็จไปด้วยดี การที่ผู้ร้องในฐานะเป็นกรรมการของบริษัท น.ยื่นคำร้องขอให้ศาลตั้งผู้ชำระบัญชี จึงมิใช่เป็นการข้ามขั้นตอนตาม ป.พ.พ.มาตรา 1246 (6) เพราะไม่ใช่เป็นเรื่องที่ผู้ร้องขอให้สั่งให้กลับจดชื่อบริษัทคืนเข้าสู่ทะเบียนบริษัท ศาลชั้นต้นจึงต้องดำเนินการไต่สวนพยานผู้ร้องแล้วมีคำสั่งตามรูปคดี

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 906/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลื่อนคดีซ้ำๆ และการไม่นำสืบพยาน ทำให้ศาลสั่งงดสืบพยานได้ ผู้ทรงเช็คโดยสุจริตได้รับการคุ้มครอง
จำเลยตั้งทนายความไว้ 2 คน คือ ธ.และอ. การเลื่อนคดีครั้งแรก จำเลยอ้างเหตุว่า ธ. ทนายความเจ็บป่วยท้องเสียเพราะอาหารเป็นพิษโจทก์ไม่ค้าน ความจริงจำเลยอาจให้ อ. เข้าทำหน้าที่ได้เพราะไม่ปรากฏว่าในวันดังกล่าวอ. มีภาระกิจหรือความจำเป็นอื่นใด ต่อมาในการสืบพยานจำเลยครั้งที่ 2 จำเลยขอเลื่อนคดีอ้างว่าตัวจำเลยติดประชุม โดยตัวจำเลยก็ทราบวันนัดในครั้งนี้ล่วงหน้านานแล้ว ตามบัญชีระบุพยานจำเลยนอกจากจะอ้างจำเลยเป็นพยาน แล้ว ยังอ้าง ว.และสมุห์บัญชีธนาคารก.เป็นพยานอีกด้วยโดยเฉพาะว. เป็นพยานนำ แต่จำเลยก็มิได้นำพยานเหล่านี้มาสืบ แสดงให้เห็นความไม่ขวนขวายเท่าที่ควรอยู่ในตัว ในการเลื่อนครั้งที่ 2 นี้ ศาลได้กำชับว่าให้จำเลยเตรียมพยาน มาให้พร้อมมิฉะนั้นถือว่าไม่ติดใจสืบพยานเนื่องจาก จำเลยได้เลื่อนคดีติดกันเป็นครั้งที่ 2 แล้ว ต่อมา ในวันสืบพยานจำเลยครั้งที่ 3 จำเลยขอเลื่อนคดีอีกโดยอ้างว่า ธ. ทนายความป่วยกล้ามเนื้อขาอักเสบ ตามรายงานแพทย์ไม่มีรายละเอียดอื่น แสดงให้เห็นว่าจำเลยมิได้นำพา ต่อคำสั่งกำชับของศาล ทั้งจำเลยอาจให้ทนายคนอื่น ซักถามพยานแทนได้แต่ไม่ทำเช่นนั้น ประกอบกับโจทก์ คัดค้านการขอเลื่อนคดี ที่ศาลชั้นต้นสั่งงดสืบพยานจำเลย นั้นชอบแล้ว โจทก์ได้รับแลกเช็คพิพาทซึ่งมีจำเลยเป็นผู้ลงลายมือชื่อสั่งจ่ายโจทก์จึงเป็นผู้ทรงเช็คและได้รับประโยชน์ แห่งข้อสันนิษฐานตามกฎหมายว่าเป็นผู้ทรงโดยสุจริต ตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 6 ประกอบกับ มาตรา 904 จำเลยมีหน้าที่นำสืบว่าโจทก์ไม่สุจริตคบคิดกัน ฉ้อฉลกับผู้มีชื่อดังที่จำเลยยื่นคำให้การต่อสู้คดี เมื่อจำเลย มิได้นำสืบในข้อนี้จึงต้องรับผิด

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7041/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เพิกถอนการโอนทรัพย์สินในคดีล้มละลาย การกำหนดราคาที่ดินเมื่อศาลสั่งเพิกถอน
คำสั่งเพิกถอนการโอนตามมาตรา 114 (เดิม) แห่ง พ.ร.บ. ล้มละลาย พ.ศ. 2483 ตราบใดที่ศาลยังไม่มีคำสั่ง กรณียังถือได้ว่าเป็นการโอนโดยชอบอยู่ ที่ดินพิพาทยังคงเป็นกรรมสิทธิ์ของผู้คัดค้านและมิใช่เป็นทรัพย์สินในคดีล้มละลายอันอาจเอามาชำระหนี้ตามมาตรา 109 (3) แห่ง พ.ร.บ. ล้มละลาย พ.ศ. 2483 เมื่อศาลมีคำสั่งเพิกถอนการโอนแล้ว แต่ไม่สามารถโอนที่ดินกลับมาได้ต้องมีการใช้ราคา การกำหนดราคาที่ดินพิพาทต้องถือราคาที่ดินในวันที่ศาลมีคำสั่งให้เพิกถอนการโอน อันเป็นวันที่ถือว่าที่ดินพิพาทเป็นทรัพย์ในคดีล้มละลายอันอาจแบ่งแก่เจ้าหนี้ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1370/2540 เวอร์ชัน 4 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การนับระยะเวลาขยายการวางเงินค่าธรรมเนียมศาล เริ่มเมื่อจำเลยทราบคำสั่ง ไม่ใช่เมื่อศาลมีคำสั่ง
การที่ศาลอุทธรณ์มีคำสั่งยืนตามคำปฏิเสธของศาลชั้นต้นที่ไม่รับอุทธรณ์ของจำเลยโดยเหตุว่าอุทธรณ์ของจำเลยยื่นต่อศาลชั้นต้นโดยไม่วางเงินค่าธรรมเนียมศาลและค่าธรรมเนียมใช้แก่โจทก์เป็นการไม่ชอบตาม ป.วิ.พ.มาตรา229 นั้น มิใช่กรณีที่ศาลอุทธรณ์มีคำสั่งยืนตามคำปฏิเสธของศาลชั้นต้นที่ไม่รับอุทธรณ์ของจำเลยด้วยเหตุเนื้อหาในอุทธรณ์ของจำเลยต้องห้ามอุทธรณ์ อันจะเป็นที่สุดตามป.วิ.พ.มาตรา 236 และอุทธรณ์คำสั่งของจำเลยเป็นการอุทธรณ์คัดค้านคำสั่งศาลชั้นต้นที่ปฏิเสธไม่รับการวางเงินค่าขึ้นศาลของจำเลย ซึ่งศาลอุทธรณ์ยังไม่ได้วินิจฉัยปัญหาดังกล่าวไว้ ดังนี้จำเลยจึงมีสิทธิฎีกาได้
การขอขยายระยะเวลาตาม ป.วิ.พ.มาตรา 23 จะมีผลผูกพันให้ผู้ขอต้องดำเนินกระบวนพิจารณาภายในกำหนดเวลาที่ขยายต่อเมื่อผู้ขอได้ทราบคำสั่งนั้นก่อนสิ้นกำหนดเวลาที่ขยายออกไป แต่ในคดีนี้ศาลชั้นต้นสั่งคำร้องขอขยายเวลาวางเงินค่าธรรมเนียมของจำเลยในครั้งที่ 2 เมื่อวันที่ 18 กรกฎาคม 2538หลังจากวันที่ 17 กรกฎาคม 2538 อันเป็นวันที่ศาลชั้นต้นกำหนดนัดให้จำเลยมาทราบคำสั่งและอนุญาตให้ขยายระยะเวลาวางเงินค่าธรรมเนียมให้แก่จำเลยออกไปอีก 7 วัน นับแต่วันครบกำหนดเดิมซึ่งจะครบกำหนดในวันที่ 19 กรกฎาคม 2538จึงถือไม่ได้ว่าจำเลยได้ทราบคำสั่งของศาลชั้นต้นดังกล่าวและศาลชั้นต้นก็มิได้แจ้งคำสั่งดังกล่าวให้แก่จำเลยทราบ และตามคำร้องขอวางเงินค่าธรรมเนียมของจำเลยอ้างว่าได้ทราบคำสั่งในวันที่ 21 กรกฎาคม 2538 อันเป็นเวลาภายหลังจากกำหนดระยะเวลาวางเงินค่าธรรมเนียมที่ศาลชั้นต้นได้สั่งอนุญาตไปแล้ว จำเลยจึงไม่อาจดำเนินกระบวนพิจารณาภายในกำหนดเวลาที่ศาลชั้นต้นอนุญาตให้ขยายและไม่ต้องผูกพันให้ต้องวางเงินค่าธรรมเนียมภายในเวลาที่ศาลชั้นต้นได้ขยายให้ จึงต้องถือว่าระยะเวลาที่ศาลชั้นต้นขยายให้เริ่มนับตั้งแต่วันที่จำเลยทราบคำสั่งคือวันที่ 21กรกฎาคม 2538 ระยะเวลาวางเงินค่าธรรมเนียมจึงสิ้นสุดลงวันที่ 28 กรกฎาคม2538 เมื่อจำเลยทั้งสามยื่นคำร้องขอวางเงินค่าธรรมเนียมต่อศาลในวันที่ 25กรกฎาคม 2538 จึงยังไม่พ้นกำหนด

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5466/2539 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาซื้อขายสิทธิเช่าซื้อ: ศาลสั่งให้โอนสิทธิได้ หากโจทก์ชำระเงินคงเหลือและค่าเช่ารายเดือน
จำเลยทำสัญญาเช่าซื้อที่ดินพร้อมอาคารกับการเคหะแห่งชาติ ต่อมาจำเลยตกลงขายสิทธิการเช่าซื้อดังกล่าวแก่โจทก์ แม้จะเป็นการตกลงเพื่อให้โจทก์เข้าไปสวมสิทธิของจำเลยที่มีอยู่ต่อการเคหะแห่งชาติในการที่จะรับโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินพร้อมอาคารต่อไป แต่โจทก์ก็มิได้ฟ้องบังคับให้การเคหะแห่งชาติโอนที่ดินพร้อมอาคารให้แก่โจทก์อันจะต้องอยู่ในบังคับเรื่องการโอนสิทธิโดยโจทก์ฟ้องบังคับให้จำเลยปฏิบัติตามข้อตกลงระหว่างโจทก์กับจำเลยเกี่ยวกับสิทธิเช่าซื้อที่ดินพร้อมอาคารของการเคหะแห่งชาติซึ่งสิทธิเช่าซื้อดังกล่าวเป็นทรัพย์สินชนิดหนึ่งที่สามารถซื้อขายกันได้ ข้อตกลงดังกล่าวจึงเป็นการซื้อขายสิทธิแม้ไม่ทำเป็นหนังสือ แต่เมื่อได้มีการชำระหนี้เนื่องในการซื้อขายกันบ้างแล้ว ย่อมมีผลผูกพันระหว่างกัน โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องบังคับตามข้อตกลงดังกล่าวได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5923/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การทิ้งฟ้องฎีกาเนื่องจากไม่ชำระค่าขึ้นศาล แม้ศาลมีคำสั่งเรียกแล้ว
จำเลยที่ 1 เสียค่าขึ้นศาลชั้นฎีกาไม่ถูกต้อง เมื่อศาลฎีกามีคำสั่งให้ศาลชั้นต้นเรียกค่าขึ้นศาลที่ยังขาดอยู่จากจำเลยให้ครบถ้วน และศาลชั้นต้นได้มีหมายแจ้งให้จำเลยชำระค่าขึ้นศาลชั้นฎีกาที่ยังขาดอยู่แล้ว แต่จำเลยเพิกเฉยไม่ยอมชำระ กรณีถือได้ว่า จำเลยเพิกเฉยไม่ดำเนินคดีภายในเวลาที่ศาลกำหนดเป็นการทิ้งฟ้องฎีกาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 174(2),246และมาตรา 247

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3460/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การขอให้ศาลสั่งให้เป็นคนไร้ความสามารถต้องมีหลักฐานแสดงสภาพบุคคลที่ชัดเจน การหลบหนีไปและไม่ทราบถึงการมีชีวิตอยู่เป็นอุปสรรค
บ. ซึ่งเป็นบุคคลวิกลจริตได้หลบหนีออกจากบ้านผู้ร้องไปประมาณ2ปีแล้วไม่ปรากฏว่าขณะนี้ บ. อยู่ที่ใดและยังมีชีวิตอยู่หรือไม่จึงไม่อาจสั่งให้ บ. เป็นคนไร้ความสามารถและจัดให้อยู่ในความอนุบาลของผู้ร้องได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2028/2537 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การส่งสำเนาฟ้องอุทธรณ์ไม่สำเร็จ ศาลสั่งให้โจทก์แถลงผล แต่ไม่แจ้งผลให้ทราบ ถือว่าโจทก์ยังไม่ได้ละเลยคดี
ศาลชั้นต้นมีคำสั่งในอุทธรณ์ของโจทก์ในวันเดียวกับวันที่โจทก์ยื่นอุทธรณ์ว่า "รับเป็นอุทธรณ์ของโจทก์ สำเนาให้จำเลยแก้ใน 15 วัน โดยให้โจทก์นำส่งภายใน 7 วัน หากส่งไม่ได้ให้แถลงภายใน 7 วันนับแต่วันส่งไม่ได้"ต่อมาโจทก์ยื่นคำแถลงว่า จำเลยมีภูมิลำเนาอยู่ในเขตศาลแพ่งธนบุรี ขอให้ศาลชั้นต้นมีหนังสือไปยังศาลแพ่งธนบุรีเพื่อดำเนินการส่งสำเนาคำฟ้องอุทธรณ์ให้จำเลยโดยโจทก์แนบตั๋วแลกเงินไปรษณีย์มาพร้อมคำแถลง ศาลชั้นต้นจัดการให้ ต่อมาศาลแพ่งธนบุรีได้มีหนังสือแจ้งให้ศาลชั้นต้นทราบว่าได้จัดการส่งหมายนัดและสำเนาฟ้องอุทธรณ์ให้จำเลยแล้ว แต่ส่งไม่ได้พร้อมกับส่งหลักฐานรายงานการส่งหมายของเจ้าพนักงานให้ศาลชั้นต้นทราบด้วย ศาลชั้นต้นรับทราบแล้วมีคำสั่งอีกว่า "ให้โจทก์แถลงภายใน 7 วัน " คำสั่งของศาลชั้นต้นดังกล่าวนั้นมีความหมายว่าโจทก์ต้องทราบถึงผลของการส่งสำเนาฟ้องอุทธรณ์ด้วยว่าส่งให้จำเลยไม่ได้ แต่ปรากฏว่าศาลชั้นต้นยังไม่ได้แจ้งให้โจทก์ทราบว่าเจ้าพนักงานเดินหมายของศาลแพ่งธนบุรีส่งสำเนาฟ้องอุทธรณ์ให้จำเลยไม่ได้ โจทก์จึงไม่มีโอกาสทราบถึงผลของการส่งสำเนาฟ้องอุทธรณ์ให้จำเลย ดังนั้นแม้โจทก์มิได้แถลงให้ศาลชั้นต้นทราบตามเวลาที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งก็ยังถือไม่ได้ว่าโจทก์ไม่ดำเนินคดีภายในเวลาที่ศาลชั้นต้นกำหนดตามประมวล-กฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 174 (2)
of 7