พบผลลัพธ์ทั้งหมด 4 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2124/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การขออนุญาตฎีกาข้อเท็จจริงหลังศาลชั้นต้นไม่รับฎีกา และหน้าที่ของศาลในการส่งคำร้องต่ออธิบดีผู้พิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค
ในชั้นฎีกาประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 248 วรรคหนึ่ง มิได้บัญญัติให้อธิบดีผู้พิพากษาภาคมีอำนาจอนุญาตให้ฎีกาในข้อเท็จจริงได้ และบุคคลผู้มีอำนาจรับรองหรืออนุญาต ให้ฎีกานี้มาตราดังกล่าวก็บัญญัติไว้ชัดแจ้งแล้วว่ามีบุคคลใดบ้าง จึงไม่จำต้องนำบทบัญญัติว่าด้วยผู้มีอำนาจอนุญาตให้อุทธรณ์ ในข้อเท็จจริงมาใช้บังคับโดยอนุโลม คำว่า ผู้พิพากษาศาลอุทธรณ์และอธิบดีผู้พิพากษาศาลอุทธรณ์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 248 วรรคหนึ่งหมายถึงผู้พิพากษาศาลอุทธรณ์ภาคและอธิบดีผู้พิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค ด้วยตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลอุทธรณ์ภาค พ.ศ. 2532 มาตรา 8 ซึ่งการยื่นขอให้รับรองหรืออนุญาตตามมาตรานี้จะต้องยื่นภายใน กำหนดอายุฎีกา แต่การที่จำเลยทั้งสองขอให้อธิบดีผู้พิพากษา ศาลอุทธรณ์ภาค 3 รับรองหรืออนุญาตให้ฎีกาหลังจากที่ ศาลชั้นต้นมีคำสั่งไม่รับฎีกาของจำเลยทั้งสองแล้ว ซึ่งในชั้นฎีกา ไม่มีบทบัญญัติโดยตรงในเรื่องนี้เหมือนเช่นในชั้นอุทธรณ์ ที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 230 วรรคสามจึงต้องนำมาตรา 230 วรรคสาม มาใช้บังคับโดยอนุโลมตามที่ บัญญัติไว้ในมาตรา 247 ดังนั้น เมื่อศาลชั้นต้นมีคำสั่งไม่รับฎีกา ผู้ฎีกาชอบที่จะยื่นคำร้องต่อศาลชั้นต้นถึงอธิบดีผู้พิพากษา ศาลอุทธรณ์ภาค 3 ภายใน 7 วัน เมื่อศาลชั้นต้นได้รับคำร้อง เช่นว่านั้นก็ต้องส่งคำร้องนั้นพร้อมด้วยสำนวนความไปยังอธิบดี ผู้พิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 3 เพื่อมีคำสั่งยืนตามหรือกลับคำสั่ง ของศาลชั้นต้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2124/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การขออนุญาตฎีกาและการส่งคำร้องให้อธิบดีผู้พิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค พิจารณาหลังศาลชั้นต้นมีคำสั่งไม่รับฎีกา
การยื่นขอให้รับรองว่ามีเหตุสมควรที่จะฎีกาหรือ อนุญาตให้ฎีกาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 248 จะต้องยื่นภายในกำหนดอายุฎีกา ในชั้นฎีกา ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 248 วรรคหนึ่ง มิได้บัญญัติให้อธิบดีผู้พิพากษาภาคมีอำนาจอนุญาตให้ฎีกาในข้อเท็จจริงดังเช่นในชั้นอุทธรณ์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 224 วรรคหนึ่งและกรณีเกี่ยวกับบุคคลผู้มีอำนาจรับรองหรืออนุญาตให้ฎีกานี้มาตรา 248 วรรคหนึ่ง บัญญัติไว้โดยชัดแจ้งแล้วว่า มีบุคคลใดบ้าง จึงไม่อาจนำบทบัญญัติว่าด้วยผู้มีอำนาจ อนุญาตให้อุทธรณ์ในข้อเท็จจริงคืออธิบดีผู้พิพากษาภาค มาใช้บังคับโดยอนุโลมได้ คำว่า ผู้พิพากษาศาลอุทธรณ์และอธิบดีผู้พิพากษาศาลอุทธรณ์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 248 หมายถึงผู้พิพากษาศาลอุทธรณ์ภาคและอธิบดีผู้พิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค ด้วย ทั้งนี้ตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลอุทธรณ์ภาค พ.ศ. 2532 มาตรา 8 ในกรณีผู้ฎีกาขอให้อธิบดีผู้พิพากษาศาลอุทธรณ์ภาครับรองหรือ อนุญาตให้ฎีกาหลังจากศาลชั้นต้นมีคำสั่งไม่รับฎีกาของ จำเลยแล้ว ในชั้นฎีกาไม่มีบทบัญญัติโดยตรงในเรื่องนี้กรณีจึงต้องนำมาตรา 230 วรรคสาม มาใช้บังคับโดย อนุโลมตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 247 กล่าวคือ เมื่อศาลชั้นต้นมีคำสั่งไม่รับฎีกา ผู้ฎีกาชอบที่จะยื่นคำร้องต่อศาลชั้นต้นถึง อธิบดีผู้พิพากษาศาลอุทธรณ์ภาคภายใน 7 วัน เมื่อศาลชั้นต้นได้รับคำร้องเช่นว่านั้น ศาลชั้นต้นต้องส่งคำร้องนั้นพร้อมด้วยสำนวนความไปยังอธิบดีผู้พิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค เพื่อมีคำสั่ง ยืนตามหรือกลับคำสั่งของศาลชั้นต้นซึ่งก็คือการไม่อนุญาต หรืออนุญาตให้ฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงนั่นเอง ศาลชั้นต้นมีคำสั่งไม่รับฎีกาวันที่ 13 พฤษภาคม 2541แต่จำเลยทราบคำสั่งศาลชั้นต้นดังกล่าวโดยวิธีปิดหมายเมื่อวันที่ 25 กรกฎาคม 2541 และยื่นคำร้องขอให้ อธิบดีผู้พิพากษาศาลอุทธรณ์ภาคอนุญาตให้ฎีกาเมื่อวันที่ 10 สิงหาคม 2541 ต้องถือว่าเป็นการยื่นภายในกำหนดเวลา ศาลชั้นต้นย่อมมีหน้าที่ส่งคำร้องดังกล่าวพร้อมด้วยสำนวนความไปยังอธิบดีผู้พิพากษาศาลอุทธรณ์ภาคเพื่อพิจารณาและมีคำสั่งต่อไป เสียก่อนมีคำสั่งไม่รับฎีกา การที่ศาลชั้นต้นมิได้มีคำสั่งประการใดในคำร้อง ของ จำเลยทั้งสองและมิได้ ส่งคำร้องดังกล่าวพร้อมสำนวนคดีนี้ไปยังอธิบดีผู้พิพากษา ศาลอุทธรณ์ภาคพิจารณาและมีคำสั่ง จึงเป็นการไม่ชอบ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5183/2538 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจศาลอุทธรณ์ภาคหลังกฎหมายมีผลบังคับใช้ และการรับฟ้องแย้งที่เกี่ยวข้อง/ไม่เกี่ยวข้องกับฟ้องเดิม
ตามพระราชกฤษฎีกากำหนดจำนวน ที่ตั้ง เขตศาลและวันเปิดทำการของศาลอุทธรณ์ภาค (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2536 มาตรา 4 บัญญัติว่าบรรดาคดีที่ได้อุทธรณ์ก่อนวันที่พระราชกฤษฎีกานี้ใช้บังคับ ให้ศาลอุทธรณ์หรือศาลอุทธรณ์ภาคแล้วแต่กรณี ซึ่งคดีนั้นค้างพิจารณาอยู่ คงมีอำนาจพิจารณาพิพากษาต่อไป พระราชกฤษฎีกาฉบับดังกล่าวมีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 29 กรกฎาคม 2536คดีนี้ปรากฏว่า จำเลยยื่นอุทธรณ์และศาลชั้นต้นมีคำสั่งรับอุทธรณ์ของจำเลยเมื่อวันที่26 พฤษภาคม 2536 ก่อนพระราชกฤษฎีกาฉบับดังกล่าวมีผลใช้บังคับ คดีจึงอยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลอุทธรณ์เท่านั้น ศาลอุทธรณ์ภาค 1 ยังไม่มีอำนาจพิจารณาพิพากษาได้
โจทก์ฟ้องขับไล่จำเลยออกจากที่ดินโจทก์ เพราะจำเลยประพฤติผิดสัญญาเช่า แต่จำเลยฟ้องแย้งขอให้ศาลพิพากษาว่า คำสั่งแต่งตั้งประธานกรรมการและผู้ว่าการรถไฟแห่งประเทศไทยเป็นโมฆะ เพราะขัดต่อมาตรา 26แห่งพระราชบัญญัติการรถไฟแห่งประเทศไทย พ.ศ.2494 จึงไม่เกี่ยวกับฟ้องเดิมศาลล่างทั้งสองไม่รับฟ้องแย้งของจำเลยส่วนนี้ชอบแล้ว ส่วนฟ้องแย้งที่จำเลยขอให้ศาลบังคับโจทก์ทำสัญญาให้จำเลยเช่าที่ดินโจทก์ต่อมีกำหนด 3 ปี นับแต่คำพิพากษาคดีนี้ถึงที่สุด และให้จำเลยมีสิทธิต่อสัญญาเช่าได้คราวละ 3 ปี ตลอดไปนั้น เป็นฟ้องแย้งที่กล่าวอ้างสัญญาเช่าเดิมที่โจทก์ฟ้อง ฟ้องแย้งของจำเลยส่วนนี้จึงเกี่ยวกับฟ้องเดิม แต่ตามฟ้องแย้งของจำเลยนั้นแม้ข้อเท็จจริงจะฟังได้ตามฟ้องแย้ง ศาลก็ไม่สามารถบังคับโจทก์ให้ทำสัญญาเช่าให้แก่จำเลยตามคำขอท้ายฟ้องแย้งได้ศาลชั้นต้นชอบที่จะยกฟ้องแย้งส่วนนี้เสียได้ในชั้นตรวจคำฟ้องแย้งตาม ป.วิ.พ.มาตรา 131 (2)
โจทก์ฟ้องขับไล่จำเลยออกจากที่ดินโจทก์ เพราะจำเลยประพฤติผิดสัญญาเช่า แต่จำเลยฟ้องแย้งขอให้ศาลพิพากษาว่า คำสั่งแต่งตั้งประธานกรรมการและผู้ว่าการรถไฟแห่งประเทศไทยเป็นโมฆะ เพราะขัดต่อมาตรา 26แห่งพระราชบัญญัติการรถไฟแห่งประเทศไทย พ.ศ.2494 จึงไม่เกี่ยวกับฟ้องเดิมศาลล่างทั้งสองไม่รับฟ้องแย้งของจำเลยส่วนนี้ชอบแล้ว ส่วนฟ้องแย้งที่จำเลยขอให้ศาลบังคับโจทก์ทำสัญญาให้จำเลยเช่าที่ดินโจทก์ต่อมีกำหนด 3 ปี นับแต่คำพิพากษาคดีนี้ถึงที่สุด และให้จำเลยมีสิทธิต่อสัญญาเช่าได้คราวละ 3 ปี ตลอดไปนั้น เป็นฟ้องแย้งที่กล่าวอ้างสัญญาเช่าเดิมที่โจทก์ฟ้อง ฟ้องแย้งของจำเลยส่วนนี้จึงเกี่ยวกับฟ้องเดิม แต่ตามฟ้องแย้งของจำเลยนั้นแม้ข้อเท็จจริงจะฟังได้ตามฟ้องแย้ง ศาลก็ไม่สามารถบังคับโจทก์ให้ทำสัญญาเช่าให้แก่จำเลยตามคำขอท้ายฟ้องแย้งได้ศาลชั้นต้นชอบที่จะยกฟ้องแย้งส่วนนี้เสียได้ในชั้นตรวจคำฟ้องแย้งตาม ป.วิ.พ.มาตรา 131 (2)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 11367/2554
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
องค์คณะไม่ครบถ้วนในการพิจารณาคดีของศาลอุทธรณ์ภาค การวินิจฉัยของศาลฎีกาเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย
พระธรรมนูญศาลยุติธรรม มาตรา 27 วรรคหนึ่ง บัญญัติว่า ในการพิจารณาพิพากษาคดีของศาลอุทธรณ์ ศาลอุทธรณ์ภาคหรือศาลฎีกา ต้องมีผู้พิพากษาอย่างน้อยสามคน จึงเป็นองค์คณะที่มีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีได้ เมื่อคดีนี้มีผู้พิพากษาลงชื่อในคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 5 เพียงสองคน จึงไม่ครบองค์คณะ ไม่ชอบด้วยบทบัญญัติดังกล่าว ปัญหาดังกล่าวเป็นปัญหาข้อกฎหมายเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดฎีกา ศาลฎีกาก็มีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบด้วยมาตรา 225