พบผลลัพธ์ทั้งหมด 6 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 184/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การนับโทษคดีเช็คและอำนาจศาลในการแก้ไขคำพิพากษาเกินคำขอ รวมถึงเหตุผลที่ไม่สามารถจำหน่ายคดีได้
การที่ศาลจะมีคำสั่งจำหน่ายคดีอาญาได้ คือ คดีอาญาเลิกกัน ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 37 กรณีหนึ่งคดีเลิกกันตามพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็คพ.ศ. 2534 มาตรา 7 กรณีหนึ่ง และสิทธินำคดีอาญามาฟ้องระงับไปตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 39อีกกรณีหนึ่ง ดังนั้น แม้จำเลยถูกศาลสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดและโจทก์คดีนี้ได้ยื่นคำร้องขอรับชำระหนี้ในคดีล้มละลายก็เป็นกรณีที่โจทก์ไปดำเนินการใช้สิทธิเรียกร้องทางแพ่งในคดีล้มละลาย บทบัญญัติตามพระราชบัญญัติล้มละลายฯ มาตรา 25 ไม่เกี่ยวกับกรณีคดีอาญาเลิกกันหรือสิทธินำคดีอาญามาฟ้องระงับไปแต่อย่างใดจำเลยจะขอให้ศาลจำหน่ายคดีนี้หาได้ไม่ จำเลยออกเช็ค 2 ฉบับ เมื่อธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงินเช็ค แต่ละฉบับ โจทก์นำคดีมาฟ้องโดยแยกฟ้องเป็น 2 สำนวนโดยแต่ละสำนวนโจทก์ไม่ได้ขอให้นับโทษของจำเลยต่อจึงนับโทษ ต่อกันไม่ได้ เพราะเป็นการพิพากษาเกินคำขอ ซึ่งเป็นปัญหา ข้อกฎหมายเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใด ยกขึ้นอ้าง ศาลฎีกาก็มีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 569/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฎีกาไม่รับวินิจฉัยริบของกลาง เหตุโจทก์ไม่ได้อุทธรณ์และศาลชั้นต้นพิพากษาเกินคำขอ ส่วนประเด็นละเมิดลิขสิทธิ์ศาลแก้ไขคำพิพากษา
โจทก์ฟ้องว่า จำเลยกับพวกซึ่งเป็นผู้ได้รับอนุญาตให้ประกอบกิจการให้เช่า แลกเปลี่ยน หรือจำหน่ายวัสดุโทรทัศน์ได้ร่วมกันมีวิดีโอเทปภาพยนตร์เรื่องมังกรหยกจำนวน 12 ม้วน ซึ่งจำเลยกับพวกร่วมกันละเมิดลิขสิทธิ์ของโจทก์ร่วมกับวิดีโอเทปเรื่องอื่น ๆ อีกจำนวน 472 ม้วน ซึ่งยังไม่ได้ผ่านการตรวจพิจารณาและให้ความเห็นชอบจากเจ้าพนักงานผู้ตรวจเทปและวัสดุโทรทัศน์ไว้ในสถานที่ประกอบกิจการของตน ขอให้ลงโทษตาม พ.ร.บ.ควบคุมกิจการเทปและวัสดุโทรทัศน์ พ.ศ.2530 มาตรา 35 และขอให้ริบเฉพาะวิดีโอเทปเรื่องอื่น ๆ ดังกล่าวจำนวนเพียง472 ม้วน ศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้อง แต่ให้ริบวิดีโอเทปของกลางทั้งหมดจำนวน484 ม้วน จำเลยอุทธรณ์ว่า ของกลางที่โจทก์อ้างว่ามิได้ผ่านการตรวจพิจารณาจากเจ้าพนักงานนั้น เป็นเพียงมิได้เสนอให้เจ้าพนักงานตรวจเสียก่อนตามขั้นตอนเท่านั้นหากวิดีโอเทปดังกล่าวได้ผ่านการพิจารณาของเจ้าพนักงาน ก็อาจได้รับความเห็นชอบจากเจ้าพนักงานก็ได้ เมื่อโจทก์มิได้นำสืบให้ศาลเห็น ไม่สมควรริบ และต้องคืนของกลางแก่จำเลย การที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่า โจทก์ไม่ได้นำสืบให้เห็นว่าวีดีโอเทปของกลางทั้งหมดจำนวน 484 ม้วน ที่อยู่ในครอบครองของจำเลยไม่ได้ผ่านการตรวจพิจารณาและได้รับความเห็นชอบจากเจ้าพนักงาน และจำเลยเป็นเพียงผู้ดูแลหรือลูกจ้างของผู้ได้รับอนุญาตให้ประกอบกิจการวิดีโอเทปจำนวน 484 ม้วน ไม่ใช่ทรัพย์ที่จำเลยใช้หรือมีไว้เพื่อใช้ในการกระทำผิดตาม ป.อ.มาตรา 33 (1) ศาลจึงไม่ริบจึงเป็นการวินิจฉัยนอกหรือเกินไปกว่าที่กล่าวไว้ในอุทธรณ์ของจำเลย ไม่ชอบด้วยป.วิ.อ.มาตรา 192 วรรคหนึ่ง ประกอบด้วยมาตรา 215 นอกจากนี้เมื่อปรากฏว่าในชั้นพิจารณาโจทก์และโจทก์ร่วมนำสืบว่า เมื่อพนักงานสอบสวนแจ้งข้อหาให้จำเลยทราบ จำเลยให้การปฏิเสธ และจำเลยซึ่งอ้างตนเองเป็นพยานเบิกความต่อสู้ว่าด.เป็นเจ้าของวิดีโอเทปของกลางทั้งหมด จำเลยไม่ใช่เจ้าของวิดีโอเทปดังกล่าวและไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับวิดีโอเทปของกลาง เช่นนี้จำเลยย่อมไม่มีสิทธิอุทธรณ์ขอให้คืนของกลางดังกล่าวแก่จำเลย และกรณีเช่นว่านี้ศาลอุทธรณ์ต้องพิพากษายกอุทธรณ์ของจำเลย ดังนี้ คำวินิจฉัยของศาลอุทธรณ์และข้ออุทธรณ์ของจำเลยย่อมถือไม่ได้ว่าเป็นข้อที่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลอุทธรณ์ เมื่อโจทก์ฎีกาในข้อเท็จจริงและข้อกฎหมายเพื่อให้ริบของกลางตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น จึงเป็นฎีกาในข้อเท็จจริงและข้อกฎหมายที่ไม่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลอุทธรณ์ ไม่ชอบด้วย ป.วิ.พ.มาตรา 249 วรรคหนึ่ง ประกอบด้วย ป.วิ.อ.มาตรา 15 และ ป.วิ.อ.มาตรา195 วรรคหนึ่ง ประกอบด้วยมาตรา 225 ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยให้
ส่วนที่โจทก์ฟ้องว่าจำเลยกับพวกร่วมกันละเมิดลิขสิทธิ์ของโจทก์ร่วมโดยนำเอาวิดีโอเทปละเมิดลิขสิทธิ์ของกลางจำนวน 12 ม้วน ออกโฆษณา ขายเสนอขาย ให้เช่า เสนอให้เช่าเพื่อการค้า และขอให้พิพากษาให้วิดีโอเทปของกลางดังกล่าวตกเป็นของเจ้าของลิขสิทธิ์ โดยโจทก์ไม่ได้ขอริบนั้น เมื่อไม่ปรากฏตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นว่าวิดีโอเทปของกลางดังกล่าวเป็นวิดีโอเทปได้ทำขึ้นโดยละเมิดลิขสิทธิ์ของโจทก์ร่วม และศาลชั้นต้นไม่พิพากษาให้ตกเป็นของเจ้าของลิขสิทธิ์ตามคำขอท้ายฟ้องของโจทก์ การที่ศาลชั้นต้นกลับไปพิพากษาให้ริบวิดีโอเทปของกลาง เป็นการพิพากษาเกินคำขอหรือที่มิได้กล่าวในฟ้องของโจทก์ ไม่ชอบด้วย ป.วิ.อ.มาตรา 192วรรคหนึ่ง แม้โจทก์และโจทก์ร่วมมิได้อุทธรณ์ และเป็นอันยุติไปตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นแล้วก็ตาม แต่ปัญหานี้เป็นปัญหาเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดฎีกา ศาลฎีกาก็มีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยและแก้ไขให้ถูกต้องเป็นไม่ริบวิดีโอเทปของกลางนี้ได้ ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบด้วยมาตรา 225
ส่วนที่โจทก์ฟ้องว่าจำเลยกับพวกร่วมกันละเมิดลิขสิทธิ์ของโจทก์ร่วมโดยนำเอาวิดีโอเทปละเมิดลิขสิทธิ์ของกลางจำนวน 12 ม้วน ออกโฆษณา ขายเสนอขาย ให้เช่า เสนอให้เช่าเพื่อการค้า และขอให้พิพากษาให้วิดีโอเทปของกลางดังกล่าวตกเป็นของเจ้าของลิขสิทธิ์ โดยโจทก์ไม่ได้ขอริบนั้น เมื่อไม่ปรากฏตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นว่าวิดีโอเทปของกลางดังกล่าวเป็นวิดีโอเทปได้ทำขึ้นโดยละเมิดลิขสิทธิ์ของโจทก์ร่วม และศาลชั้นต้นไม่พิพากษาให้ตกเป็นของเจ้าของลิขสิทธิ์ตามคำขอท้ายฟ้องของโจทก์ การที่ศาลชั้นต้นกลับไปพิพากษาให้ริบวิดีโอเทปของกลาง เป็นการพิพากษาเกินคำขอหรือที่มิได้กล่าวในฟ้องของโจทก์ ไม่ชอบด้วย ป.วิ.อ.มาตรา 192วรรคหนึ่ง แม้โจทก์และโจทก์ร่วมมิได้อุทธรณ์ และเป็นอันยุติไปตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นแล้วก็ตาม แต่ปัญหานี้เป็นปัญหาเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดฎีกา ศาลฎีกาก็มีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยและแก้ไขให้ถูกต้องเป็นไม่ริบวิดีโอเทปของกลางนี้ได้ ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบด้วยมาตรา 225
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7061/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างและค่าชดเชย: การพิจารณาค่าจ้างสุดท้ายและอำนาจศาลในการแก้ไขคำพิพากษา
ศาลแรงงานฟังข้อเท็จจริงแล้ววินิจฉัยว่า การที่จำเลยที่ 2 ยื่นหนังสือเลิกจ้างให้โจทก์ย่อมเป็นการแสดงเจตนาของจำเลยทั้งสองซึ่งเป็นนายจ้างที่ไม่ประสงค์จะจ้างโจทก์ให้ทำงานต่อไป จึงเป็นการเลิกจ้างและมีผลสมบูรณ์นับแต่ยื่นหนังสือเลิกจ้างดังกล่าว แม้ภายหลังโจทก์รับหนังสือเลิกจ้างแล้วโจทก์ยื่นหนังสือลาออกให้จำเลยที่ 2ก็มิใช่เป็นการตกลงกันใหม่ให้ถือเป็นการลาออกดังที่จำเลยที่ 1 อ้าง ดังนี้ศาลแรงงานฟังข้อเท็จจริงแล้วว่า จำเลยที่ 1 เลิกจ้างโจทก์ การที่จำเลยที่ 1 อุทธรณ์ว่า ศาลแรงงานปรับข้อกฎหมายคลาดเคลื่อนจึงเป็นอุทธรณ์โต้แย้งดุลพินิจในการรับฟังพยานหลักฐานของศาลแรงงานเป็นอุทธรณ์ในข้อเท็จจริงต้องห้ามอุทธรณ์ตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 54 วรรคหนึ่ง
รายได้พิเศษอื่น ๆ ตามที่ระบุไว้ในหนังสือผ่านสิทธิและรับรองเงินเดือนเป็นเงินค่าภาษีเงินได้ซึ่งต้องเสียภาษีเงินได้ต่อกรมสรรพากร จำเลยที่ 1 ผู้เป็นนายจ้างจึงออกภาษีเงินได้ให้แก่กรมสรรพากรแทนโจทก์ โดยมิได้หักจากเงินเดือนของโจทก์ ดังนี้ภาษีเงินได้ดังกล่าวเป็นเพียงสวัสดิการ และเมื่อเงินดังกล่าวมิใช่เงินที่จำเลยที่ 1 ผู้เป็นนายจ้างจ่ายให้แก่โจทก์ผู้เป็นลูกจ้างเพื่อตอบแทนการทำงาน จึงมิใช่ค่าจ้างตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ข้อ 2
โจทก์ฟ้องว่า โจทก์มีสิทธิได้รับเท่ากับค่าจ้างอัตราสุดท้าย 180 วัน หรือ 6 เดือนจำเลยทั้งสองจ่ายให้โจทก์เพียง 3 เดือน ยังคงค้างค่าชดเชยอีก 3 เดือน แต่ศาลแรงงานพิพากษาให้จำเลยที่ 1 จ่ายค่าชดเชยให้โจทก์เท่ากับค่าจ้างอัตราสุดท้าย 180 วัน หรือ6 เดือน โดยมิได้ยกเหตุใด ๆ ขึ้นอ้างเพื่อความเป็นธรรมแก่คู่ความ จึงเป็นการพิพากษาเกินคำขอ ย่อมไม่ชอบตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงานพ.ศ. 2522 มาตรา 52 ปัญหาข้อนี้เป็นปัญหาข้อกฎหมายที่เกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้จำเลยที่ 1 มิได้อุทธรณ์ ศาลฎีกาก็มีอำนาจหยิบยกขึ้นวินิจฉัยได้ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 142(5) ประกอบพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 31
รายได้พิเศษอื่น ๆ ตามที่ระบุไว้ในหนังสือผ่านสิทธิและรับรองเงินเดือนเป็นเงินค่าภาษีเงินได้ซึ่งต้องเสียภาษีเงินได้ต่อกรมสรรพากร จำเลยที่ 1 ผู้เป็นนายจ้างจึงออกภาษีเงินได้ให้แก่กรมสรรพากรแทนโจทก์ โดยมิได้หักจากเงินเดือนของโจทก์ ดังนี้ภาษีเงินได้ดังกล่าวเป็นเพียงสวัสดิการ และเมื่อเงินดังกล่าวมิใช่เงินที่จำเลยที่ 1 ผู้เป็นนายจ้างจ่ายให้แก่โจทก์ผู้เป็นลูกจ้างเพื่อตอบแทนการทำงาน จึงมิใช่ค่าจ้างตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ข้อ 2
โจทก์ฟ้องว่า โจทก์มีสิทธิได้รับเท่ากับค่าจ้างอัตราสุดท้าย 180 วัน หรือ 6 เดือนจำเลยทั้งสองจ่ายให้โจทก์เพียง 3 เดือน ยังคงค้างค่าชดเชยอีก 3 เดือน แต่ศาลแรงงานพิพากษาให้จำเลยที่ 1 จ่ายค่าชดเชยให้โจทก์เท่ากับค่าจ้างอัตราสุดท้าย 180 วัน หรือ6 เดือน โดยมิได้ยกเหตุใด ๆ ขึ้นอ้างเพื่อความเป็นธรรมแก่คู่ความ จึงเป็นการพิพากษาเกินคำขอ ย่อมไม่ชอบตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงานพ.ศ. 2522 มาตรา 52 ปัญหาข้อนี้เป็นปัญหาข้อกฎหมายที่เกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้จำเลยที่ 1 มิได้อุทธรณ์ ศาลฎีกาก็มีอำนาจหยิบยกขึ้นวินิจฉัยได้ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 142(5) ประกอบพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 31
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8261/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรื้อถอนอาคารต่อเติมขัดต่อข้อบัญญัติควบคุมอาคาร และอำนาจศาลในการแก้ไขคำพิพากษา
อาคารชั้นเดียวขนาด4.00x3.00เมตรที่ก่อสร้างต่อเติมขึ้นใหม่ขัดต่อข้อบัญญัติกรุงเทพมหานครเรื่องควบคุมการก่อสร้างอาคารพ.ศ.2522ข้อ76(1)ซึ่งเป็นกรณีไม่สามารถแก้ไขให้ถูกต้องตามข้อบัญญัติดังกล่าวได้ ส่วนอาคารสูง4ชั้นที่จำเลยต่อเติมนั้นเมื่อรื้ออาคารชั้นเดียวแล้วก็จะทำให้มีที่ว่างอันปราศจากหลังคาหรือสิ่งปกคลุมเกินกว่า30ใน100ส่วนของพื้นที่และยังมีที่ว่างโดยปราศจากสิ่งปกคลุมเป็นทางเดินหลังอาคารได้ถึงกันไม่น้อยกว่า2.00เมตรซึ่งจะไม่ขัดข้อบัญญัติกรุงเทพมหานครเรื่องควบคุมการก่อสร้างอาคารพ.ศ.2522ข้อ76(1)(4)ดังนั้นการที่จำเลยก่อสร้างต่อเติมอาคารสูง4ชั้นจึงเป็นกรณีที่สามารถแก้ไขเปลี่ยนแปลงให้ถูกต้องได้ซึ่งโจทก์มีอำนาจสั่งให้จำเลยยื่นคำขอใบรับอนุญาตตามที่บัญญัติไว้ในพระราชบัญญัติควบคุมอาคารพ.ศ.2522มาตรา43 ศาลอุทธรณ์พิพากษาให้จำเลยรื้อถอนอาคารชั้นเดียวขนาด4.00x4.00เมตรปรากฏว่าอาคารดังกล่าวโจทก์มิได้ขอให้รื้อถอนและไม่มีอาคารดังกล่าวอยู่ในที่ดินของจำเลยที่โจทก์บรรยายฟ้องถึงอาคารดังกล่าวมาเป็นการบรรยายโดยสับสนที่ศาลอุทธรณ์พิพากษาให้รื้อถอนอาคารดังกล่าวด้วยนั้นจึงไม่ชอบศาลฎีกาแก้ไขให้ถูกต้องได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4579/2552 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อพิพาทสัญญาเงินกู้: อัตราดอกเบี้ยสูงสุดตามประกาศธนาคาร และอำนาจศาลในการแก้ไขคำพิพากษา
โจทก์ฟ้องให้จำเลยที่ 1 รับผิดในมูลหนี้ตามสัญญาขอเปิดเลตเตอร์ออฟเครดิตและสัญญาทรัสต์รีซีทโดยเมื่อจำเลยที่ 1 ทำสัญญาทรัสต์รีซีทกับโจทก์ จำเลยที่ 1 ได้ออกตั๋วสัญญาใช้เงินให้แก่โจทก์ไว้ ซึ่งเป็นการออกตั๋วสัญญาใช้เงินเพื่อชำระหนี้ตามสัญญาทรัสต์รีซีท เมื่อจำเลยที่ 1 ไม่ชำระเงินตามตั๋วสัญญาใช้เงินจำเลยที่ 1 จึงยังเป็นหนี้ต่อโจทก์ตามสัญญาทรัสต์รีซีทอยู่ ดังนั้นข้อตกลงที่จะระบุไว้ในสัญญาทรัสต์รีซีทจึงมีผลใช้บังคับ และตามสัญญาทรัสต์รีซีทระบุว่า จำเลยที่ 1 ยินยอมให้โจทก์มีสิทธิใช้ดุลพินิจเปลี่ยนหนี้ที่เป็นสกุลเงินต่างประเทศเป็นสกุลเงินบาทได้นับตั้งแต่วันที่จำเลยที่ 1 ตกเป็นฝ่ายผิดนัด ดังนั้นโจทก์จึงมีสิทธิเรียกร้องให้จำเลยดังกล่าวชำระหนี้เป็นสกุลเงินบาทได้ แม้หนี้ตามสัญญาขอเปิดเลตเตอร์ออฟเครดิตและสัญญาทรัสต์รีซีทตลอดจนตามตั๋วสัญญาใช้เงินตามฟ้องจะแสดงไว้เป็นเงินต่างประเทศก็ตาม
โจทก์ฟ้องให้จำเลยที่ 1 รับผิดโดยอาศัยมูลหนี้ตามสัญญาขอเปิดเลตเตอร์ออฟเครดิตและสัญญาทรัสต์รีซีท การที่จำเลยที่ 1 ออกตั๋วสัญญาใช้เงินให้แก่โจทก์ก็เพื่อการชำระหนี้ตามสัญญาทรัสต์รีซีทเท่านั้น เมื่อจำเลยที่ 1 ไม่ชำระเงินตามตั๋วสัญญาใช้เงิน จำเลยที่ 1 จึงต้องรับผิดต่อโจทก์ตามสัญญาขอเปิดเลตเตอร์ออฟเครดิตและสัญญาทรัสต์รีซีท เมื่อสัญญาทรัสต์รีซีทระบุถึงข้อตกลงเกี่ยวกับอัตราดอกเบี้ยไว้ว่า "...ข้าพเจ้า (จำเลยที่ 1) ยอมให้ธนาคารคิดดอกเบี้ยในจำนวนเงินที่ระบุไว้ในรายละเอียดแนบท้ายที่ค้างชำระดังกล่าวในอัตราสูงสุดนับแต่วันที่ข้าพเจ้าตกเป็นผู้ผิดนัดผิดสัญญาจนกว่าจะชำระหนี้เสร็จสิ้น..." แสดงว่าในกรณีที่จำเลยที่ 1 ผิดนัดไม่ชำระหนี้ตามสัญญาทรัสต์รีซีทดังกล่าว โจทก์ย่อมมีสิทธิคิดดอกเบี้ยจากจำเลยที่ 1 ในต้นเงินที่ค้างชำระในอัตราสูงสุดตามประกาศธนาคารโจทก์ได้ตามข้อสัญญาดังกล่าว ไม่ใช่กรณีไม่มีข้อตกลงเกี่ยวกับดอกเบี้ยในกรณีผิดนัดที่จะคิดในอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี
โจทก์ฟ้องให้จำเลยที่ 1 รับผิดโดยอาศัยมูลหนี้ตามสัญญาขอเปิดเลตเตอร์ออฟเครดิตและสัญญาทรัสต์รีซีท การที่จำเลยที่ 1 ออกตั๋วสัญญาใช้เงินให้แก่โจทก์ก็เพื่อการชำระหนี้ตามสัญญาทรัสต์รีซีทเท่านั้น เมื่อจำเลยที่ 1 ไม่ชำระเงินตามตั๋วสัญญาใช้เงิน จำเลยที่ 1 จึงต้องรับผิดต่อโจทก์ตามสัญญาขอเปิดเลตเตอร์ออฟเครดิตและสัญญาทรัสต์รีซีท เมื่อสัญญาทรัสต์รีซีทระบุถึงข้อตกลงเกี่ยวกับอัตราดอกเบี้ยไว้ว่า "...ข้าพเจ้า (จำเลยที่ 1) ยอมให้ธนาคารคิดดอกเบี้ยในจำนวนเงินที่ระบุไว้ในรายละเอียดแนบท้ายที่ค้างชำระดังกล่าวในอัตราสูงสุดนับแต่วันที่ข้าพเจ้าตกเป็นผู้ผิดนัดผิดสัญญาจนกว่าจะชำระหนี้เสร็จสิ้น..." แสดงว่าในกรณีที่จำเลยที่ 1 ผิดนัดไม่ชำระหนี้ตามสัญญาทรัสต์รีซีทดังกล่าว โจทก์ย่อมมีสิทธิคิดดอกเบี้ยจากจำเลยที่ 1 ในต้นเงินที่ค้างชำระในอัตราสูงสุดตามประกาศธนาคารโจทก์ได้ตามข้อสัญญาดังกล่าว ไม่ใช่กรณีไม่มีข้อตกลงเกี่ยวกับดอกเบี้ยในกรณีผิดนัดที่จะคิดในอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5474/2550
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
จำนอง ขายลดเช็ค ผิดนัดชำระหนี้ ศาลลดดอกเบี้ยเบี้ยปรับและแก้ไขคำพิพากษา
ตามคำร้องขอเลื่อนคดีของทนายจำเลยที่ 1 และที่ 2 ปรากฏว่าทนายจำเลยที่ 1 และที่ 2 ป่วยเป็นไข้ มีอาการวิงเวียนศีรษะ ส่วนที่จำเลยที่ 2 แจ้งว่าป่วยเป็นไข้หวัดนั้น โดยไม่มีใบรับรองแพทย์มายืนยันว่าป่วยถึงขนาดไม่สามารถมาศาลได้ ตามพฤติการณ์แห่งคดีดังกล่าวประกอบกับการขอเลื่อนคดีหลายครั้งเชื่อว่าจำเลยที่ 1 และที่ 2 มีเจตนาประวิงคดีให้ล่าช้า ที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้งดสืบพยานจำเลยที่ 1 และที่ 2 โดยไม่สั่งเกี่ยวกับคำร้องขอเลื่อนคดีก่อนเท่ากับศาลชั้นต้นไม่อนุญาตให้เลื่อนคดีแล้ว และคำร้องขอเลื่อนคดีดังกล่าวปรากฏว่าทนายจำเลยที่ 1 และที่ 2 ได้ออกไปซื้อยามารับประทานแล้วนอนพักผ่อน แสดงว่าอาการเจ็บป่วยของทนายความจำเลยที่ 1 และที่ 2 และตัวจำเลยที่ 2 เป็นการเจ็บป่วยเพียงเล็กน้อยเท่านั้น ไม่ใช่กรณีมีเหตุจำเป็นอันไม่อาจก้าวล่วงเสียได้ และไม่มีความจำเป็นต้องตั้งเจ้าพนักงานหรือแพทย์ไปตรวจตาม ป.วิ.พ. มาตรา 40 และมาตรา 41
จำเลยที่ 1 และที่ 2 ให้การว่า หนังสือรับรองการจดทะเบียนนิติบุคคลของโจทก์ไม่ถูกต้องเพราะความจริงแล้ว อ. ไม่ได้เป็นกรรมสิทธิ์ของโจทก์ และไม่มีอำนาจลงลายมือชื่อกระทำการในนามโจทก์ อีกทั้งหนังสือรับรองดังกล่าวไม่ได้ออกโดยกรมทะเบียนการค้า กระทรวงพาณิชย์ อ. จึงไม่มีอำนาจกระทำการในนามโจทก์เท่ากับจำเลยที่ 1 และที่ 2 ต่อสู้แต่เพียงว่า อ. ไม่ได้เป็นกรรมการของโจทก์ และหนังสือดังกล่าวไม่ได้ออกโดยกรมทะเบียนการค้า กระทรวงพาณิชย์ โดยจำเลยที่ 1 และที่ 2 มิได้โต้แย้งคัดค้านว่า เอกสารดังกล่าวไม่มีต้นฉบับ หรือว่าต้นฉบับนั้นปลอมทั้งฉบับหรือบางส่วนหรือสำเนานั้นไม่ถูกต้องกับต้นฉบับอย่างหนึ่งอย่างใดตาม ป.วิ.พ. มาตรา 125 จึงถือไม่ได้ว่าจำเลยที่ 1 และที่ 2 ได้คัดค้านเอกสารดังกล่าวไว้แล้ว ประกอบกับขณะที่โจทก์นำสืบเอกสารดังกล่าว พยานโจทก์เบิกความว่า โจทก์เป็นนิติบุคคลประเภทบริษัทจำกัดมหาชน มี อ. เป็นกรรมการผู้มีอำนาจกระทำการแทนตามหนังสือรับรองพร้อมสำเนาหมาย จ.13 แสดงว่าโจทก์ได้นำเอาต้นฉบับเอกสารมาแสดงให้ศาลชั้นต้นดูด้วย แล้วขอส่งสำเนาเอกสารไว้แทนก็ไม่ปรากฏว่าจำเลยที่ 1 และที่ 2 โต้แย้งคัดค้าน ถือได้ว่าจำเลยที่ 1 และที่ 2 ได้ยอมรับถึงการมีอยู่และความแท้จริงของต้นฉบับของเอกสารนั้น รวมทั้งยอมรับว่าสำเนานั้นถูกต้องกับต้นฉบับ ศาลชั้นต้นย่อมรับฟังสำเนาหนังสือรับรองดังกล่าวเป็นพยานหลักฐานได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 93 (1) และมาตรา 125 ตามหนังสือรับรองการจดทะเบียนนิติบุคคลของโจทก์ระบุว่า กรรมการคนใดคนหนึ่งของบริษัทโจทก์มีอำนาจลงลายมือชื่อแทนบริษัทโจทก์และผูกพันบริษัทโจทก์ได้ อ. เป็นกรรมการคนหนึ่งของบริษัทโจทก์ จึงมีอำนาจลงลายมือชื่อเป็นผู้มอบอำนาจแทนบริษัทโจทก์ได้ ไม่จำต้องประทับตราของบริษัทโจทก์ ส่วนการระบุฐานะของผู้มอบอำนาจนั้นไม่มีกฎหมายข้อใดบังคับว่าการลงลายมือชื่อผู้มอบอำนาจต้องระบุฐานะของผู้มอบอำนาจด้วย ดังนั้น หนังสือมอบอำนาจจึงชอบด้วยกฎหมายแล้ว
ก่อนฟ้องคดีโจทก์ได้มีหนังสือบอกกล่าวบังคับจำนองส่งถึงจำเลยที่ 1 และที่ 2 ทางไปรษณีย์ลงทะเบียนตอบรับจ่าหน้าซองตามภูมิลำเนาที่ปรากฏในฟ้องปรากฏว่าส่งไม่ได้ พนักงานไปรษณีย์ได้ระบุข้อขัดข้องไว้ที่หน้าซองจดหมายว่าไม่มีผู้รับตามจ่าหน้า และได้ออกใบแจ้งความให้จำเลยที่ 1 และที่ 2 ไปรับจดหมาย ณ ที่ทำการไปรษณีย์ แสดงว่าพนักงานไปรษณีย์พบบ้านอันเป็นภูมิลำเนาของจำเลยที่ 1 และที่ 2 แต่ส่งจดหมายไม่ได้เพราะไม่มีบุคคลใดลงชื่อรับจดหมาย โจทก์จึงได้ประกาศบอกกล่าวบังคับจำนองทางหนังสือพิมพ์ ถือได้ว่าโจทก์ได้ส่งคำบอกกล่าวบังคับจำนองโดยชอบด้วยกฎหมายตาม ป.พ.พ. มาตรา 728 แล้ว
สัญญาขายลดตั๋วเงิน ข้อ 2 ที่กำหนดให้โจทก์คิดดอกเบี้ยจากจำเลยในอัตราร้อยละ 18 ต่อปี เมื่อตั๋วเงินที่จำเลยที่ 1 นำมาขายลด และโจทก์เรียกเก็บเงินตามตั๋วเงินนั้นไม่ได้เมื่อถึงวันกำหนดใช้เงินนั้น เป็นการกำหนดค่าเสียหายไว้ล่วงหน้าในรูปของดอกเบี้ยที่คิดเพิ่มขึ้นจากอัตราส่วนลดเดิมที่กำหนดไว้ในอัตราร้อยละ 16 ต่อปี ในกรณีลูกหนี้ผิดนัด ดอกเบี้ยที่คิดเพิ่มขึ้นนี้จึงมีลักษณะเป็นเบี้ยปรับตาม ป.พ.พ. มาตรา 379 ซึ่งถ้าสูงเกินส่วน ศาลมีอำนาจลดลงได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 383
การที่ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์กำหนดให้ยึดทรัพย์ที่จำนองทั้ง 3 รายการมาชำระหนี้โจทก์โดยคิดดอกเบี้ยหนี้จำนองในวันก่อนทำสัญญาและวันทำสัญญาขายลดเช็คกับโจทก์นั้นไม่ถูกต้อง เพราะดอกเบี้ยหนี้จำนองจะเกิดขึ้นก็ต่อเมื่อธนาคารตามเช็คแต่ละฉบับปฏิเสธการจ่ายเงิน เช่นเดียวกับหนี้ตามสัญญาขายลดเช็คซึ่งเป็นหนี้ประธาน
เมื่อจำเลยที่ 1 ในฐานะลูกหนี้ชั้นต้นต้องรับผิดชำระดอกเบี้ยลดลงผู้ค้ำประกันและผู้จำนองเป็นประกันหนี้ของจำเลยที่ 1 ก็ย่อมจะต้องรับผิดลดลงด้วยในฐานะลูกหนี้ร่วมและเป็นเรื่องเกี่ยวด้วยการชำระหนี้อันไม่อาจแบ่งแยกได้ จึงพิพากษาให้มีผลถึงจำเลยที่ 3 และที่ 4 ซึ่งมิได้ยื่นฎีกาขึ้นมาด้วยได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 245 (1) ประกอบมาตรา 247
จำเลยที่ 1 และที่ 2 ให้การว่า หนังสือรับรองการจดทะเบียนนิติบุคคลของโจทก์ไม่ถูกต้องเพราะความจริงแล้ว อ. ไม่ได้เป็นกรรมสิทธิ์ของโจทก์ และไม่มีอำนาจลงลายมือชื่อกระทำการในนามโจทก์ อีกทั้งหนังสือรับรองดังกล่าวไม่ได้ออกโดยกรมทะเบียนการค้า กระทรวงพาณิชย์ อ. จึงไม่มีอำนาจกระทำการในนามโจทก์เท่ากับจำเลยที่ 1 และที่ 2 ต่อสู้แต่เพียงว่า อ. ไม่ได้เป็นกรรมการของโจทก์ และหนังสือดังกล่าวไม่ได้ออกโดยกรมทะเบียนการค้า กระทรวงพาณิชย์ โดยจำเลยที่ 1 และที่ 2 มิได้โต้แย้งคัดค้านว่า เอกสารดังกล่าวไม่มีต้นฉบับ หรือว่าต้นฉบับนั้นปลอมทั้งฉบับหรือบางส่วนหรือสำเนานั้นไม่ถูกต้องกับต้นฉบับอย่างหนึ่งอย่างใดตาม ป.วิ.พ. มาตรา 125 จึงถือไม่ได้ว่าจำเลยที่ 1 และที่ 2 ได้คัดค้านเอกสารดังกล่าวไว้แล้ว ประกอบกับขณะที่โจทก์นำสืบเอกสารดังกล่าว พยานโจทก์เบิกความว่า โจทก์เป็นนิติบุคคลประเภทบริษัทจำกัดมหาชน มี อ. เป็นกรรมการผู้มีอำนาจกระทำการแทนตามหนังสือรับรองพร้อมสำเนาหมาย จ.13 แสดงว่าโจทก์ได้นำเอาต้นฉบับเอกสารมาแสดงให้ศาลชั้นต้นดูด้วย แล้วขอส่งสำเนาเอกสารไว้แทนก็ไม่ปรากฏว่าจำเลยที่ 1 และที่ 2 โต้แย้งคัดค้าน ถือได้ว่าจำเลยที่ 1 และที่ 2 ได้ยอมรับถึงการมีอยู่และความแท้จริงของต้นฉบับของเอกสารนั้น รวมทั้งยอมรับว่าสำเนานั้นถูกต้องกับต้นฉบับ ศาลชั้นต้นย่อมรับฟังสำเนาหนังสือรับรองดังกล่าวเป็นพยานหลักฐานได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 93 (1) และมาตรา 125 ตามหนังสือรับรองการจดทะเบียนนิติบุคคลของโจทก์ระบุว่า กรรมการคนใดคนหนึ่งของบริษัทโจทก์มีอำนาจลงลายมือชื่อแทนบริษัทโจทก์และผูกพันบริษัทโจทก์ได้ อ. เป็นกรรมการคนหนึ่งของบริษัทโจทก์ จึงมีอำนาจลงลายมือชื่อเป็นผู้มอบอำนาจแทนบริษัทโจทก์ได้ ไม่จำต้องประทับตราของบริษัทโจทก์ ส่วนการระบุฐานะของผู้มอบอำนาจนั้นไม่มีกฎหมายข้อใดบังคับว่าการลงลายมือชื่อผู้มอบอำนาจต้องระบุฐานะของผู้มอบอำนาจด้วย ดังนั้น หนังสือมอบอำนาจจึงชอบด้วยกฎหมายแล้ว
ก่อนฟ้องคดีโจทก์ได้มีหนังสือบอกกล่าวบังคับจำนองส่งถึงจำเลยที่ 1 และที่ 2 ทางไปรษณีย์ลงทะเบียนตอบรับจ่าหน้าซองตามภูมิลำเนาที่ปรากฏในฟ้องปรากฏว่าส่งไม่ได้ พนักงานไปรษณีย์ได้ระบุข้อขัดข้องไว้ที่หน้าซองจดหมายว่าไม่มีผู้รับตามจ่าหน้า และได้ออกใบแจ้งความให้จำเลยที่ 1 และที่ 2 ไปรับจดหมาย ณ ที่ทำการไปรษณีย์ แสดงว่าพนักงานไปรษณีย์พบบ้านอันเป็นภูมิลำเนาของจำเลยที่ 1 และที่ 2 แต่ส่งจดหมายไม่ได้เพราะไม่มีบุคคลใดลงชื่อรับจดหมาย โจทก์จึงได้ประกาศบอกกล่าวบังคับจำนองทางหนังสือพิมพ์ ถือได้ว่าโจทก์ได้ส่งคำบอกกล่าวบังคับจำนองโดยชอบด้วยกฎหมายตาม ป.พ.พ. มาตรา 728 แล้ว
สัญญาขายลดตั๋วเงิน ข้อ 2 ที่กำหนดให้โจทก์คิดดอกเบี้ยจากจำเลยในอัตราร้อยละ 18 ต่อปี เมื่อตั๋วเงินที่จำเลยที่ 1 นำมาขายลด และโจทก์เรียกเก็บเงินตามตั๋วเงินนั้นไม่ได้เมื่อถึงวันกำหนดใช้เงินนั้น เป็นการกำหนดค่าเสียหายไว้ล่วงหน้าในรูปของดอกเบี้ยที่คิดเพิ่มขึ้นจากอัตราส่วนลดเดิมที่กำหนดไว้ในอัตราร้อยละ 16 ต่อปี ในกรณีลูกหนี้ผิดนัด ดอกเบี้ยที่คิดเพิ่มขึ้นนี้จึงมีลักษณะเป็นเบี้ยปรับตาม ป.พ.พ. มาตรา 379 ซึ่งถ้าสูงเกินส่วน ศาลมีอำนาจลดลงได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 383
การที่ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์กำหนดให้ยึดทรัพย์ที่จำนองทั้ง 3 รายการมาชำระหนี้โจทก์โดยคิดดอกเบี้ยหนี้จำนองในวันก่อนทำสัญญาและวันทำสัญญาขายลดเช็คกับโจทก์นั้นไม่ถูกต้อง เพราะดอกเบี้ยหนี้จำนองจะเกิดขึ้นก็ต่อเมื่อธนาคารตามเช็คแต่ละฉบับปฏิเสธการจ่ายเงิน เช่นเดียวกับหนี้ตามสัญญาขายลดเช็คซึ่งเป็นหนี้ประธาน
เมื่อจำเลยที่ 1 ในฐานะลูกหนี้ชั้นต้นต้องรับผิดชำระดอกเบี้ยลดลงผู้ค้ำประกันและผู้จำนองเป็นประกันหนี้ของจำเลยที่ 1 ก็ย่อมจะต้องรับผิดลดลงด้วยในฐานะลูกหนี้ร่วมและเป็นเรื่องเกี่ยวด้วยการชำระหนี้อันไม่อาจแบ่งแยกได้ จึงพิพากษาให้มีผลถึงจำเลยที่ 3 และที่ 4 ซึ่งมิได้ยื่นฎีกาขึ้นมาด้วยได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 245 (1) ประกอบมาตรา 247