พบผลลัพธ์ทั้งหมด 2 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1345/2531
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความผิดฐานช่วยซ่อนเร้นของหนีภาษี, การคำนวณค่าปรับ, และอำนาจศาลในการแก้ไขโทษ
ขณะถูกจับกุมพร้อมของหนีภาษี จำเลยที่ 3 นั่งรถยนต์ไปกับจำเลยที่ 1 และที่ 2 โดยจำเลยที่ 2 เป็นคนขับรถ ของหนีภาษีที่บรรทุกรถยนต์มามีเป็นจำนวนมากและเป็นสินค้าที่นำมาจากต่างประเทศ ของหนีภาษีบรรทุกรถยนต์มามีเป็นจำนวนมากและเป็นสินค้าที่นำมาจากต่างประเทศ ของบางส่วนเอาไว้ที่เบาะที่นั่งตอนหลังเห็นได้ชัดเจน เช่นนี้นับได้ว่าจำเลยที่ 3 ได้ร่วมกับจำเลยที่ 1 และที่ 2 ช่วยซ่อนเร้น ช่วยพาเอาไปเสีย หรือรับเอาไว้ซึ่งของอันตนรู้ว่าเป็นของที่นำเข้ามาในราชอาณาจักรโดยหลีกเลี่ยงอากรตาม พระราชบัญญัติ ศุลกากร พุทธศักราช 2469 มาตรา27 ทวิ แล้ว
พระราชบัญญัติ ศุลกากร พุทธศักราช 2469 มาตรา 27 ทวิ ให้ปรับเป็นเงินสี่เท่าของราคาของซึ่งได้รวมค่าอากรเข้าด้วยแล้ว ค่าปรับตามบทมาตราดังกล่าวหาได้หมายความรวมถึงภาษีการค้า ภาษีเทศบาลอันเป็นภาษีอากรฝ่ายสรรพากรด้วยไม่ การคิดคำนวนค่าปรับโดยนำภาษีการค้า ภาษีเทศบาล มารวมคำนวณด้วยจึงไม่ชอบ และศาลต้องปรับจำเลยที่ร่วมกระทำความผิดด้วยกันทุกคนไม่เกินสี่เท่าของราคาของซึ่งได้รวมค่าอากรเข้าด้วยแล้ว การที่ศาลชั้นต้นพิพากษาปรับจำเลยทุกคนเรียงตามรายตัวบุคคลจึงเป็นการไม่ถูกต้อง แต่โจทก์พอใจมิได้อุทธรณ์โต้แย้งปัญหานี้ การที่ศาลอุทธรณ์พิพากษาให้ปรับจำเลยที่ 1 ที่ 2 รวมกันย่อมมีผลทำให้จำเลยที่ 1 และที่ 2 ผู้ร่วมกระทำผิดด้วยกันได้รับโทษหนักขึ้น เป็นการต้องห้ามตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา212 เนื่องจากปัญหานี้เป็นปัญหาข้อกฎหมายเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ทั้งเป็นเหตุที่อยู่ในส่วนลักษณะคดี แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดฎีกาศาลฎีกาย่อมมีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยใหม่ให้จำเลยทุกคนได้รับโทษปรับเรียงตามรายตัวบุคคลรวมกันแล้วไม่เกินโทษตามที่กฎหมายบัญญัติไว้ได้.(ที่มา-ส่งเสริมฯ)
พระราชบัญญัติ ศุลกากร พุทธศักราช 2469 มาตรา 27 ทวิ ให้ปรับเป็นเงินสี่เท่าของราคาของซึ่งได้รวมค่าอากรเข้าด้วยแล้ว ค่าปรับตามบทมาตราดังกล่าวหาได้หมายความรวมถึงภาษีการค้า ภาษีเทศบาลอันเป็นภาษีอากรฝ่ายสรรพากรด้วยไม่ การคิดคำนวนค่าปรับโดยนำภาษีการค้า ภาษีเทศบาล มารวมคำนวณด้วยจึงไม่ชอบ และศาลต้องปรับจำเลยที่ร่วมกระทำความผิดด้วยกันทุกคนไม่เกินสี่เท่าของราคาของซึ่งได้รวมค่าอากรเข้าด้วยแล้ว การที่ศาลชั้นต้นพิพากษาปรับจำเลยทุกคนเรียงตามรายตัวบุคคลจึงเป็นการไม่ถูกต้อง แต่โจทก์พอใจมิได้อุทธรณ์โต้แย้งปัญหานี้ การที่ศาลอุทธรณ์พิพากษาให้ปรับจำเลยที่ 1 ที่ 2 รวมกันย่อมมีผลทำให้จำเลยที่ 1 และที่ 2 ผู้ร่วมกระทำผิดด้วยกันได้รับโทษหนักขึ้น เป็นการต้องห้ามตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา212 เนื่องจากปัญหานี้เป็นปัญหาข้อกฎหมายเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ทั้งเป็นเหตุที่อยู่ในส่วนลักษณะคดี แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดฎีกาศาลฎีกาย่อมมีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยใหม่ให้จำเลยทุกคนได้รับโทษปรับเรียงตามรายตัวบุคคลรวมกันแล้วไม่เกินโทษตามที่กฎหมายบัญญัติไว้ได้.(ที่มา-ส่งเสริมฯ)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6762/2562
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความผิดอาญาจากอาวุธปืนและการสนับสนุนการฆ่าผู้อื่น โดยศาลแก้ไขโทษจากตัวการเป็นผู้สนับสนุน
ก่อนวันเกิดเหตุตามฟ้องที่ น. และ ส. ร่วมกันมีอาวุธปืนไว้ในครอบครองและพาอาวุธปืนติดตัวไปยิงผู้ตายนั้น จำเลยที่ 1 ได้รับมอบการครอบครองอาวุธปืนจาก ว. แล้วพาอาวุธปืนดังกล่าวติดตัวไปส่งมอบให้แก่จำเลยที่ 2 และจำเลยที่ 2 ได้รับมอบการครอบครองอาวุธปืนจากจำเลยที่ 1 แล้วนำติดตัวไปส่งมอบให้แก่ น. เพื่อให้ น. และ ส. ร่วมกันใช้อาวุธปืนยิงผู้ตาย การกระทำของจำเลยทั้งสองจึงเป็นความผิดฐานร่วมกันมีอาวุธปืนที่เป็นของผู้อื่นซึ่งได้รับใบอนุญาตให้มีและใช้ตามกฎหมายและเครื่องกระสุนปืนไว้ในครอบครองโดยไม่ได้รับใบอนุญาต และฐานร่วมกันพาอาวุธปืนติดตัวไปในเมือง หมู่บ้าน หรือทางสาธารณะโดยไม่ได้รับใบอนุญาตตามฟ้องแล้ว แม้วันเกิดเหตุ จำเลยทั้งสองไม่ได้ร่วมกับ น. ส. และ ว. ใช้อาวุธปืนยิงผู้ตาย แต่การครอบครองและพาอาวุธปืนของกลางของจำเลยทั้งสองเป็นการกระทำที่ต่อเนื่องเกี่ยวพันกับการที่ น. และ ส. ร่วมกันมีอาวุธปืนของกลางไว้ในครอบครองและร่วมกันพาอาวุธปืนติดตัวไปในเมือง หมู่บ้าน หรือทางสาธารณะแล้วใช้อาวุธปืนยิงผู้ตาย ซึ่งเป็นกรณีที่ทางพิจารณาได้ความว่า วันเวลาและสถานที่กระทำความผิดแตกต่างจากข้อเท็จจริงที่กล่าวในฟ้องเท่านั้น ข้อแตกต่างดังกล่าวเป็นเพียงรายละเอียดไม่ถือว่าเป็นข้อแตกต่างในข้อสาระสำคัญ ประกอบกับจำเลยให้การรับสารภาพ จึงไม่ใช่เรื่องที่จำเลยหลงต่อสู้ และไม่ถือว่าข้อที่พิจารณาได้ความนั้นเป็นเรื่องที่เกินคำขอหรือเป็นเรื่องที่โจทก์ไม่ประสงค์ให้ลงโทษตาม ป.วิ.อ. มาตรา 192 วรรคสาม ศาลมีอำนาจลงโทษจำเลยทั้งสองตามข้อเท็จจริงที่ได้ความนั้นก็ได้