พบผลลัพธ์ทั้งหมด 32 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 471/2548 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หนี้ที่อาจกำหนดจำนวนได้แน่นอนฟ้องล้มละลายได้ แม้ศาลแพ่งยังไม่มีคำพิพากษา
จำเลยเป็นหนี้ตามสัญญากู้เงิน สัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชี สัญญารับรองวงเงินโดยออกตั๋วสัญญาใช้เงิน กับหนี้อาวัลตั๋วสัญญาใช้เงินพร้อมดอกเบี้ย ซึ่งเป็นหนี้ที่กำหนดจำนวนได้แน่นอนที่เจ้าหนี้จะฟ้องเป็นคดีล้มละลายได้โดยเจ้าหนี้ไม่จำเป็นต้องฟ้องเป็นคดีแพ่ง หรือให้ศาลในคดีแพ่งมีคำพิพากษาก่อน เพราะ พ.ร.บ. ล้มละลายฯ มาตรา 9 (3) บัญญัติแต่เพียงว่า หนี้นั้นอาจกำหนดจำนวนได้โดยแน่นอน มิได้บัญญัติว่า หนี้นั้นศาลจะต้องมีคำพิพากษากำหนดจำนวนให้แน่นอนเสียก่อน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3400/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจศาล: คดีผิดสัญญาหมั้นและการวินิจฉัยอำนาจระหว่างศาลแพ่งกับศาลเยาวชนและครอบครัว
ในระหว่างพิจารณาคดีของศาลชั้นต้นจำเลยทั้งสามยื่นคำร้องว่า คำฟ้องของโจทก์เป็นเรื่องเกี่ยวกับการผิดสัญญาหมั้นตามบทบัญญัติบรรพ 5 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ฟ้องโจทก์จึงไม่อยู่ในอำนาจของศาลแพ่งกรุงเทพใต้ ขอให้ศาลวินิจฉัยในปัญหาข้อกฎหมาย ดังนี้ ศาลชั้นต้นชอบที่จะปฏิบัติตาม พ.ร.บ. จัดตั้งศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว พ.ศ. 2534 มาตรา 12 ซึ่งบัญญัติว่า ในกรณีที่มีปัญหาว่าคดีใดจะอยู่ในอำนาจศาลเยาวชนและครอบครัวหรือศาลยุติธรรมอื่นไม่ว่าจะเกิดปัญหาขึ้นในศาลเยาวชนและครอบครัวหรือศาลยุติธรรมอื่นให้ประธานศาลฎีกาเป็นผู้วินิจฉัยชี้ขาด ที่ศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้องโจทก์ไปโดยมิได้ดำเนินการดังกล่าว จึงไม่ชอบด้วยกฎหมาย ปัญหาดังกล่าวเป็นปัญหาเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกายกขึ้นวินิจฉัยเองได้ และเมื่อคดีนี้ขึ้นมาสู่ศาลฎีกา ศาลฎีกาจึงเห็นสมควรส่งสำนวนคดีนี้ไปให้ประธานศาลฎีกาวินิจฉัยชี้ขาดตามบทกฎหมายดังกล่าวต่อไป เมื่อประธานศาลฎีกาได้วินิจฉัยในปัญหาดังกล่าวแล้ว หากคดีไม่อยู่ในอำนาจของศาลชั้นต้น (ศาลแพ่งกรุงเทพใต้) ก็ให้ศาลชั้นต้นดำเนินการตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว พ.ศ. 2534 มาตรา 15 แต่ถ้าคดีอยู่ในอำนาจของศาลชั้นต้นก็ให้ศาลชั้นต้นดำเนินกระบวนพิจารณาต่อไป
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6530/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ผลผูกพันข้อตกลงการเสนอคดีต่อศาลแพ่งหลัง พ.ร.บ.แก้ไขเพิ่มเติม ป.วิ.พ. และดุลพินิจศาลในการวินิจฉัยชี้ขาดเบื้องต้น
แม้ข้อตกลงตามสัญญาเช่าซื้อที่ว่า หากมีข้อพิพาทเกิดขึ้นเกี่ยวกับสัญญานี้ให้เสนอคดีต่อศาลแพ่ง จะไม่มีผลผูกพันคู่สัญญาอีกต่อไป เพราะได้มีการประกาศใช้ พ.ร.บ.แก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง (ฉบับที่ 12)พ.ศ.2534 ซึ่งเป็นผลให้มาตรา 7 แห่ง ป.วิ.พ.เดิม ถูกยกเลิกไปตั้งแต่วันที่ 28สิงหาคม 2534 แต่การที่ศาลแพ่งได้รับฟ้องของโจทก์ออกหมายเรียกส่งสำเนาคำฟ้องให้แก่จำเลยทั้งสอง และได้ดำเนินกระบวนพิจารณาต่อมาจนกระทั่งเสร็จการพิจารณา ย่อมถือได้ว่าศาลแพ่งได้ใช้ดุลพินิจยอมรับคดีนี้ไว้พิจารณาพิพากษาตามที่พระธรรมนูญศาลยุติธรรม มาตรา 14 (5) ให้อำนาจไว้แล้ว
การที่ศาลชั้นต้นจะวินิจฉัยชี้ขาดเบื้องต้นตาม ป.วิ.พ.มาตรา 24ไปทีเดียวหรือจะรอวินิจฉัยในคำพิพากษานั้น เป็นดุลพินิจของศาลชั้นต้น ทั้งข้อกฎหมายที่จำเลยขอให้วินิจฉัยชี้ขาดเบื้องต้นนั้น แม้จะวินิจฉัยชี้ขาดก็ไม่เป็นคุณแก่จำเลย ดังนั้นที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งว่ายังไม่เห็นสมควรชี้ขาดในชั้นนี้ ให้รอไว้สั่งเมื่อมีคำพิพากษาจึงชอบด้วยกระบวนพิจารณาความแล้ว
การที่ศาลชั้นต้นจะวินิจฉัยชี้ขาดเบื้องต้นตาม ป.วิ.พ.มาตรา 24ไปทีเดียวหรือจะรอวินิจฉัยในคำพิพากษานั้น เป็นดุลพินิจของศาลชั้นต้น ทั้งข้อกฎหมายที่จำเลยขอให้วินิจฉัยชี้ขาดเบื้องต้นนั้น แม้จะวินิจฉัยชี้ขาดก็ไม่เป็นคุณแก่จำเลย ดังนั้นที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งว่ายังไม่เห็นสมควรชี้ขาดในชั้นนี้ ให้รอไว้สั่งเมื่อมีคำพิพากษาจึงชอบด้วยกระบวนพิจารณาความแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6287/2538 เวอร์ชัน 4 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจศาลแพ่งรับฟ้องคดีนอกเขตศาล: การใช้ดุลพินิจตามพระธรรมนูญศาลยุติธรรม
ตามพระธรรมนูญศาลยุติธรรม มาตรา 14 (5) บัญญัติว่าบรรดาคดีที่เกิดขึ้นนอกเขตศาลแพ่งนั้น จะยื่นฟ้องต่อศาลแพ่งก็ได้ ทั้งนี้ให้อยู่ในดุลพินิจของศาลแพ่งที่จะไม่ยอมรับพิจารณาพิพากษาคดีใดคดีหนึ่งที่ยื่นฟ้องเช่นนั้นได้คดีนี้ศาลแพ่งรับฟ้องและดำเนินกระบวนพิจารณาสืบพยานโจทก์จำเลยจนเสร็จแสดงให้เห็นว่า ศาลแพ่งใช้ดุลพินิจยอมรับพิจารณาพิพากษาคดีนี้ตามพระธรรมนูญ-ศาลยุติธรรม มาตรา 14 (5) แล้ว ศาลแพ่งจึงมีอำนาจพิจารณาพิพากษา
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6287/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เขตอำนาจศาล: ศาลแพ่งมีอำนาจพิจารณาคดีนอกเขตได้ตามที่กฎหมายบัญญัติ หากศาลใช้ดุลพินิจรับฟ้อง
ตามพระธรรมนูญศาลยุติธรรมมาตรา14(5)บัญญัติว่าบรรดาคดีที่เกิดขึ้นนอกเขตศาลแพ่งนั้นจะยื่นฟ้องต่อศาลแพ่งก็ได้ทั้งนี้ให้อยู่ในดุลพินิจของศาลแพ่งที่จะไม่ยอมรับพิจารณาพิพากษาคดีใดคดีหนึ่งที่ยื่นฟ้องเช่นนั้นได้คดีนี้ศาลแพ่งรับฟ้องและดำเนินกระบวนพิจารณาสืบพยานโจทก์จำเลยจนเสร็จแสดงให้เห็นว่าศาลแพ่งใช้ดุลพินิจยอมรับพิจารณาพิพากษาคดีนี้ตามพระธรรมนูญศาลยุติธรรมมาตรา14(5)แล้วศาลแพ่งจึงมีอำนาจพิจารณาพิพากษา
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6890/2537 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ศาลแพ่งรับฟ้องข้ามเขต: ดุลพินิจพิจารณาคดีแม้ข้อกฎหมายกำหนดเขตศาล
แม้คำฟ้องโจทก์เกี่ยวด้วยอสังหาริมทรัพย์ซึ่งจะต้องยื่นฟ้องต่อศาลจังหวัดนนทบุรีที่อสังหาริมทรัพย์ตั้งอยู่ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 4 (1) ซึ่งเป็นวันที่กฎหมายดังกล่าวใช้บังคับในขณะที่โจทก์ยื่นฟ้องก็ตาม แต่เมื่อศาลแพ่งได้สั่งรับฟ้องคดีนี้ไว้แล้ว ย่อมถือว่าศาลแพ่งได้ใช้ดุลพินิจยอมรับพิจารณาพิพากษาคดีนี้ตามพระธรรมนูญศาลยุติธรรม มาตรา 14 (4) ซึ่งเป็นวันที่กฎหมายดังกล่าวใช้บังคับในขณะที่โจทก์ยื่นฟ้องแล้ว โดยโจทก์ไม่จำต้องยื่นคำร้องขออนุญาตฟ้องต่อศาลแพ่งแต่อย่างใด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6890/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจศาล: ศาลแพ่งรับฟ้องคดีที่เกี่ยวข้องอสังหาริมทรัพย์ แม้ตามกฎหมายต้องฟ้องที่ศาลจังหวัด
แม้คำฟ้องโจทก์เกี่ยวด้วยอสังหาริมทรัพย์ซึ่งจะต้องยื่นฟ้องต่อศาลจังหวัดนนทบุรีที่อสังหาริมทรัพย์ตั้งอยู่ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 4(1) ซึ่งเป็นวันที่กฎหมายดังกล่าวใช้บังคับในขณะที่โจทก์ยื่นฟ้องก็ตาม แต่เมื่อศาลแพ่งได้สั่งรับฟ้องคดีนี้ไว้แล้ว ย่อมถือว่าศาลแพ่งได้ใช้ดุลพินิจยอมรับพิจารณาพิพากษาคดีนี้ตามพระธรรมนูญศาลยุติธรรม มาตรา 14(4) ซึ่งเป็นวันที่กฎหมายดังกล่าวใช้บังคับในขณะที่โจทก์ยื่นฟ้องแล้ว โดยโจทก์ไม่จำต้องยื่นคำร้องขออนุญาตฟ้องต่อศาลแพ่งแต่อย่างใด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6890/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจศาล: ศาลแพ่งชอบพิจารณาคดีอสังหาริมทรัพย์นอกเขต แม้ฟ้องผิดศาลแรก แต่ศาลรับฟ้องแล้ว
แม้คำฟ้องโจทก์เกี่ยวด้วยอสังหาริมทรัพย์ซึ่งจะต้องยื่นฟ้องต่อศาลจังหวัดนนทบุรีที่อสังหาริมทรัพย์ตั้งอยู่ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา4(1)ซึ่งเป็นวันที่กฎหมายดังกล่าวใช้บังคับในขณะที่โจทก์ยื่นฟ้องก็ตามแต่เมื่อศาลแพ่งได้สั่งรับฟ้องคดีนี้ไว้แล้วย่อมถือว่าศาลแพ่งได้ใช้ดุลพินิจยอมรับพิจารณาพิพากษาคดีนี้ตามพระธรรมนูญศาลยุติธรรมมาตรา14(4)ซึ่งเป็นวันที่กฎหมายดังกล่าวใช้บังคับในขณะที่โจทก์ยื่นฟ้องแล้วโดยโจทก์ไม่จำต้องยื่นคำร้องขออนุญาตฟ้องต่อศาลแพ่งแต่อย่างใด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3527/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อตกลงเสนอคดีต่อศาลแพ่งต้องมีลายมือชื่อคู่สัญญาครบถ้วน จึงจะผูกพันได้
จำเลยที่ 2 ทำสัญญาค้ำประกันจำเลยที่ 1 ต่อโจทก์มีข้อตกลงว่าหากมีข้อพิพาทจากการค้ำประกันดังกล่าวให้เสนอคดีต่อศาลแพ่ง จำเลยที่ 2 ลงชื่อในสัญญาค้ำประกันฝ่ายเดียว โจทก์มิได้ลงชื่อด้วย ถือไม่ได้ว่าโจทก์กับจำเลยที่ 2 มีการตกลงเป็นหนังสือตามบทบัญญัติประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 7(4)ที่ใช้บังคับขณะยื่นฟ้องว่าโจทก์จะต้องเสนอคดีนี้ต่อศาลแพ่งโจทก์จึงฟ้องจำเลยที่ 2 ที่ศาลจังหวัดเชียงใหม่ ซึ่งจำเลยที่ 2มีภูมิลำเนาอยู่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5458/2534
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เขตอำนาจศาล: คดีภาษีอากรอยู่ในอำนาจศาลภาษีอากร ไม่ใช่ศาลแพ่ง
ฟ้องโจทก์กล่าวอ้างว่าฝ่ายจำเลยแจ้งให้โจทก์ชำระภาษีโรงเรือนและที่ดิน ซึ่งเป็นการปฏิบัติหน้าที่ของฝ่ายจำเลยตามพระราชบัญญัติภาษีโรงเรือนและที่ดิน พ.ศ. 2475 โดยจำเลยเห็นว่าโจทก์เป็นเจ้าของโรงเรือนมีหน้าที่ต้องเสียภาษีโรงเรือนตามกฎหมาย โจทก์โต้แย้งว่าโจทก์ไม่ได้เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์โรงเรือนนั้น ไม่มีหน้าที่ต้องเสียภาษีโรงเรือนตามที่จำเลยแจ้งแก่โจทก์ดังนี้ กรณีจึงเป็นเรื่องพิพาทเกี่ยวกับสิทธิเรียกร้องของรัฐในหนี้ค่าภาษีอากรตาม พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลภาษีอากรฯ มาตรา 7(2) ประกอบด้วยมาตรา 3 เมื่อโจทก์นำคดีมาฟ้องต่อศาล คดีโจทก์มิใช่เป็นคดีแพ่งลักษณะละเมิดศาลแพ่งจึงไม่มีอำนาจที่จะพิจารณาพิพากษาคดีโจทก์ ตามมาตรา 10วรรคแรก การที่ศาลแพ่งสั่งไม่รับคำฟ้องโจทก์เพราะสิทธิของโจทก์ถูกกำจัดห้ามโดยบทบัญญัติแห่งกฎหมายเรื่องเขตอำนาจศาลจึงเป็นการสั่งไม่รับคำคู่ความตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 18ไม่ใช่เป็นการวินิจฉัยชี้ขาดข้อพิพาทแห่งคดี ผู้พิพากษานายเดียวย่อมมีอำนาจสั่งได้ตามพระธรรมนูญศาลยุติธรรมมาตรา 21(2)