พบผลลัพธ์ทั้งหมด 412 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 97/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การขาดนัดในคดีแรงงานและการขอพิจารณาคดีใหม่ตาม พ.ร.บ. จัดตั้งศาลแรงงาน กำหนดเวลา 7 วัน
ศาลแรงงานกลางมีคำสั่งรับคำฟ้องของโจทก์ไว้พิจารณา โดยกำหนดวันนัดพิจารณาและสืบพยานโจทก์ และออกหมายเรียกให้จำเลยที่ 1 มาศาลในวันนัด พร้อมกับส่งสำเนาคำฟ้องให้จำเลยที่ 1 โดยชอบ ต้องถือว่าจำเลยที่ 1 ได้รับหมายเรียกให้มาศาลตาม พ.ร.บ. จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 37 แล้ว เมื่อจำเลยที่ 1 ไม่มาศาลตามกำหนดนัดโดยไม่แจ้งเหตุให้ศาลแรงงานกลางทราบ และศาลแรงงานกลางมีคำสั่งว่าจำเลยที่ 1 ขาดนัดและพิจารณาชี้ขาดตัดสินคดีโจทก์ไปฝ่ายเดียว จึงเป็นการที่ศาลแรงงานกลางดำเนินกระบวนพิจารณาไปตามมาตรา 40 วรรคสอง ในกรณีเช่นนี้ การที่จำเลยที่ 1 จะขอให้เพิกถอนคำสั่งของศาลแรงงานกลางดังกล่าวและขอให้พิจารณาคดีใหม่ ย่อมไม่อาจนำ ป.วิ.พ. มาตรา 199 จัตวา มาใช้บังคับได้ แต่จำเลยที่ 1 ต้องปฏิบัติตาม พ.ร.บ. จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 ซึ่งมีบทบัญญัติไว้โดยเฉพาะแล้วในมาตรา 41 คดีนี้ศาลแรงงานกลางมีคำสั่งว่าจำเลยที่ 1 ขาดนัดแล้วพิจารณาพิพากษาคดีไปฝ่ายเดียวเมื่อวันที่ 10 กันยายน 2545 จำเลยที่ 1 ยื่นคำร้องต่อศาลแรงงานกลางเพื่อขอพิจารณาใหม่เมื่อวันที่ 10 มีนาคม 2547 ซึ่งเกินกำหนด 7 วันนับแต่วันที่ศาลแรงงานกลางมีคำสั่งว่าจำเลยที่ 1 ขาดนัด ย่อมล่วงเลยเวลาที่จำเลยที่ 1 จะยื่นคำร้องขอพิจารณาคดีใหม่ได้ ศาลแรงงานกลางจึงชอบจะมีคำสั่งยกคำร้องขอพิจารณาคดีใหม่ของจำเลยที่ 1 โดยไม่ทำการไต่สวนก่อน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9009-9014/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม อายุความ และการโต้แย้งดุลพินิจศาลแรงงาน ศาลฎีกายืนตามคำพิพากษาศาลแรงงาน
ศาลแรงงานกลางวินิจฉัยว่า จำเลยไม่เคยประสบภาวะขาดทุนและไม่ปรากฏว่าแนวโน้มในการประกอบกิจการของจำเลยในปีต่อๆไป จะประสบภาวะวิกฤติจนถึงขั้นไม่อาจดำเนินการต่อไปได้ เมื่อจำเลยอุทธรณ์เพื่อให้ศาลแรงงานกลางรับฟังข้อเท็จจริงตามที่จำเลยคาดการณ์เหตุการณ์ในอนาคต มิใช่ให้ศาลแรงงานกลางรับฟังข้อเท็จจริงอื่นนอกจากที่รับฟังไว้แล้ว จึงเป็นการโต้แย้งดุลพินิจในการรับฟังพยานหลักฐานของศาลแรงงานกลาง เป็นอุทธรณ์ในข้อเท็จจริงต้องห้ามตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 มาตรา 54 วรรคหนึ่ง
ศาลแรงงานกลางวินิจฉัยว่า จำเลยจ่ายค่าชดเชยและสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าให้แก่โจทก์ทั้งหกครบถ้วนแล้ว เมื่อคำนึงถึงอายุงานที่โจทก์ทั้งหกทำงานกับจำเลยมาคนละหลายปี แต่โจทก์ทั้งหกก็มีอายุไม่มากนักยังสามารถหางานทำใหม่ได้ และมูลเหตุแห่งการเลิกจ้างมิได้เกิดจากการกลั่นแกล้งโจทก์ทั้งหก จึงเป็นการใช้ดุลพินิจกำหนดค่าเสียหายโดยคำนึงถึงอายุของลูกจ้าง ระยะเวลาการทำงานของลูกจ้าง ความเดือดร้อนของลูกจ้างเมื่อถูกเลิกจ้างมูลเหตุแห่งการเลิกจ้างและเงินค่าชดเชยที่ลูกจ้างมีสิทธิได้รับประกอบการพิจารณาตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 มาตรา 49 แล้ว มิใช่เป็นการกำหนดค่าเสียหายตามจำเลยอ้าง อุทธรณ์ของจำเลยข้อนี้จึงเป็นการโต้แย้งดุลพินิจในการกำหนดค่าเสียหายของศาลแรงงานกลาง เป็นอุทธรณ์ในข้อเท็จจริง ต้องห้ามตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 มาตรา 54 วรรคหนึ่ง
โจทก์ทั้งหกบรรยายฟ้องว่า จำเลยเลิกจ้างโจทก์ทั้งหกโดยโจทก์ทั้งหกไม่ได้กระทำความผิดอันเป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรมขอให้บังคับจำเลยชำระค่าเสียหายจากการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรมมิได้ฟ้องให้จำเลยชำระค่าจ้างหรือค่าเสียหายอันเกิดจากสัญญาจ้างจึงมิใช่ค่าจ้างหรือสินจ้างอย่างอื่นที่มีกำหนดอายุความ 2 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/34 แต่เป็นกรณีที่ฟ้องเรียกค่าเสียหายอันเกิดจากการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรมตามพ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 มาตรา 49 ซึ่งไม่มีกฎหมายบัญญัติถึงอายุความไว้โดยเฉพาะ จึงมีกำหนดอายุความ 10 ปี ตามป.พ.พ. มาตรา 193/30
ศาลแรงงานกลางวินิจฉัยว่า จำเลยจ่ายค่าชดเชยและสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าให้แก่โจทก์ทั้งหกครบถ้วนแล้ว เมื่อคำนึงถึงอายุงานที่โจทก์ทั้งหกทำงานกับจำเลยมาคนละหลายปี แต่โจทก์ทั้งหกก็มีอายุไม่มากนักยังสามารถหางานทำใหม่ได้ และมูลเหตุแห่งการเลิกจ้างมิได้เกิดจากการกลั่นแกล้งโจทก์ทั้งหก จึงเป็นการใช้ดุลพินิจกำหนดค่าเสียหายโดยคำนึงถึงอายุของลูกจ้าง ระยะเวลาการทำงานของลูกจ้าง ความเดือดร้อนของลูกจ้างเมื่อถูกเลิกจ้างมูลเหตุแห่งการเลิกจ้างและเงินค่าชดเชยที่ลูกจ้างมีสิทธิได้รับประกอบการพิจารณาตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 มาตรา 49 แล้ว มิใช่เป็นการกำหนดค่าเสียหายตามจำเลยอ้าง อุทธรณ์ของจำเลยข้อนี้จึงเป็นการโต้แย้งดุลพินิจในการกำหนดค่าเสียหายของศาลแรงงานกลาง เป็นอุทธรณ์ในข้อเท็จจริง ต้องห้ามตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 มาตรา 54 วรรคหนึ่ง
โจทก์ทั้งหกบรรยายฟ้องว่า จำเลยเลิกจ้างโจทก์ทั้งหกโดยโจทก์ทั้งหกไม่ได้กระทำความผิดอันเป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรมขอให้บังคับจำเลยชำระค่าเสียหายจากการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรมมิได้ฟ้องให้จำเลยชำระค่าจ้างหรือค่าเสียหายอันเกิดจากสัญญาจ้างจึงมิใช่ค่าจ้างหรือสินจ้างอย่างอื่นที่มีกำหนดอายุความ 2 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/34 แต่เป็นกรณีที่ฟ้องเรียกค่าเสียหายอันเกิดจากการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรมตามพ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 มาตรา 49 ซึ่งไม่มีกฎหมายบัญญัติถึงอายุความไว้โดยเฉพาะ จึงมีกำหนดอายุความ 10 ปี ตามป.พ.พ. มาตรา 193/30
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8247/2549 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลื่อนคดีแรงงานและการขาดนัดโดยจงใจ ศาลต้องพิจารณาเหตุผลก่อนมีคำสั่ง
คำร้องของทนายจำเลยซึ่งทนายจำเลยได้ยื่นขอเลื่อนคดีไว้ก่อนถึงวันนัดพิจารณาและสืบพยานโจทก์ เป็นการแจ้งให้ศาลแรงงานกลางทราบถึงเหตุที่ทนายจำเลยไม่อาจมาศาลตามกำหนดนัดตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงานฯ มาตรา 40 วรรคสาม แล้ว ไม่ว่าเหตุตามคำร้องนั้นจะมีเหตุสมควรหรือไม่ก็ตาม ศาลแรงงานกลางชอบที่จะสั่งคำร้องขอเลื่อนคดีของทนายจำเลยเสียก่อน แต่ศาลแรงงานกลางมิได้สั่ง กลับสั่งว่าทนายจำเลยและจำเลยไม่มาศาลโดยไม่แจ้งเหตุขัดข้อง จึงมิชอบด้วยกฎหมายดังกล่าว และเมื่อจำเลยยื่นคำร้องแถลงให้ศาลแรงงานกลางทราบถึงความจำเป็นที่จำเลยไม่อาจมาศาลตามกำหนดได้ จึงเป็นการยื่นคำแถลงตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงานฯ มาตรา 41 ศาลแรงงานกลางชอบที่จะพิจารณาถึงสาเหตุแห่งความจำเป็นที่จำเลยอ้าง กลับมีคำสั่งว่า เนื่องจากทนายจำเลยยื่นคำร้องขอเลื่อนคดีโดยที่ศาลสั่งให้รอสั่งในวันนัด ถึงกำหนดนัดฝ่ายจำเลยไม่ได้มอบฉันทะให้ผู้ใดมาศาล ซึ่งจำเลยได้ทราบนัดโดยชอบ จำเลยจึงขาดนัดโดยจงใจ ให้ยกคำร้อง อันเป็นคำสั่งที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายเช่นกัน จึงถือได้ว่าเป็นการที่ศาลแรงงานกลางมิได้ปฏิบัติตามบทบัญญัติแห่ง ป.วิ.พ. ว่าด้วยการพิจารณาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 243 (2) ประกอบด้วย พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงานฯ มาตรา 31
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8247/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ศาลต้องพิจารณาเหตุจำเป็นที่จำเลย/ทนายขอเลื่อนคดีก่อนสั่งขาดนัด หากไม่พิจารณาคำสั่งไม่ชอบด้วยกฎหมาย
ทนายจำเลยได้ยื่นคำร้องขอเลื่อนคดีไว้ก่อนถึงวันนัดพิจารณาและสืบพยานโจทก์ เป็นการแจ้งให้ศาลแรงงานกลางทราบถึงเหตุที่ทนายจำเลยไม่อาจมาศาลตามกำหนดนัด ตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 มาตรา 40 วรรคสามแล้ว ไม่ว่าเหตุตามคำร้องนั้นจะมีเหตุสมควรหรือไม่ก็ตาม ศาลแรงงานกลางชอบที่จะสั่งคำร้องขอเลื่อนคดีเสียก่อน แต่ศาลแรงงานกลางมิได้สั่ง กลับสั่งว่าทนายจำเลยและจำเลยไม่มาศาลโดยไม่แจ้งเหตุขัดข้อง จึงไม่ชอบด้วยกฎหมายดังกล่าว
หลังจากวันนัดพิจารณา จำเลยยื่นคำร้องแถลงให้ศาลแรงงานกลางทราบถึงความจำเป็นที่จำเลยไม่อาจมาศาลตามกำหนดได้ จึงเป็นการยื่นคำแถลงตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 มาตรา 41 ศาลแรงงานกลางชอบที่จะพิจารณาถึงเหตุแห่งความจำเป็นที่จำเลยแจ้ง แต่หาได้กระทำไม่ กลับมีคำสั่งว่าจำเลยทราบนัดโดยชอบแล้วไม่มาศาล จำเลยขาดนัดโดยจงใจให้ยกคำร้อง จึงเป็นคำสั่งที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย จึงถือได้ว่าเป็นการที่ศาลแรงงานกลางมิได้ปฏิบัติตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งว่าด้วยการพิจารณาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 243 (2) ประกอบด้วย พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 มาตรา 31
หลังจากวันนัดพิจารณา จำเลยยื่นคำร้องแถลงให้ศาลแรงงานกลางทราบถึงความจำเป็นที่จำเลยไม่อาจมาศาลตามกำหนดได้ จึงเป็นการยื่นคำแถลงตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 มาตรา 41 ศาลแรงงานกลางชอบที่จะพิจารณาถึงเหตุแห่งความจำเป็นที่จำเลยแจ้ง แต่หาได้กระทำไม่ กลับมีคำสั่งว่าจำเลยทราบนัดโดยชอบแล้วไม่มาศาล จำเลยขาดนัดโดยจงใจให้ยกคำร้อง จึงเป็นคำสั่งที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย จึงถือได้ว่าเป็นการที่ศาลแรงงานกลางมิได้ปฏิบัติตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งว่าด้วยการพิจารณาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 243 (2) ประกอบด้วย พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 มาตรา 31
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8242-8246/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ค่าล่วงเวลาเป็นสินจ้างตามกฎหมาย และศาลแรงงานมีอำนาจค้นหาความจริงได้เอง
โจทก์ที่ 1 ถึงที่ 3 ฟ้องเรียกค่าล่วงเวลาตามสัญญาจ้างแรงงาน ซึ่งตาม พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 มาตรา 5 นิยามคำว่า "ค่าจ้าง" หมายความว่า เงินที่นายจ้างและลูกจ้างตกลงกันจ่ายเป็นค่าตอบแทนในการทำงานตามสัญญาจ้างสำหรับระยะเวลาการทำงานปกติ... และคำว่า "ค่าล่วงเวลา" หมายความว่า เงินที่นายจ้างจ่ายให้แก่ลูกจ้างเป็นการตอบแทนการทำงานล่วงเวลาในวันทำงาน แม้ค่าล่วงเวลาจะไม่ใช่ค่าจ้างตามความหมายดังกล่าว เพราะไม่ใช่เป็นเงินที่นายจ้างจ่ายให้แก่ลูกจ้างเป็นการตอบแทนการทำงานปกติของวันทำงาน แต่ก็เป็นเงินที่นายจ้างจ่ายตอบแทนการทำงานนอกเวลาปกติ ซึ่งนายจ้างผูกพันต้องจ่ายแก่ลูกจ้างตามสัญญาจ้างแรงงาน ถือว่าเป็นสินจ้างตาม ป.พ.พ. มาตรา 575 ค่าล่วงเวลาจึงเป็นสินจ้างอย่างหนึ่งตามความใน ป.พ.พ. มาตรา 193/34 (9) ซึ่งมีอายุความฟ้องร้อง 2 ปี
ส่วนที่โจทก์ที่ 1 ถึงที่ 3 อุทธรณ์ว่า แม้คำให้การของจำเลยจะอ้างอายุความตามมา แต่จำเลยจะต้องสืบพยานประกอบคำให้การดังกล่าวด้วยตาม ป.วิ.พ. นั้น เห็นว่า การพิจารณาคดีแรงงานต้องบังคับตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 ซึ่งการดำเนินคดีแรงงานแตกต่างจากการดำเนินคดีแพ่งทั่วไป โดยการดำเนินคดีตามพระราชบัญญัตินี้ตั้งอยู่บนพื้นฐานของระบบไต่สวน ซึ่งให้อำนาจศาลในการค้นหาความจริงดังที่บัญญัติไว้ในมาตรา 45 ว่า เพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรมในอันที่จะให้ได้ความแจ้งชัดในข้อเท็จจริงแห่งคดีให้ศาลแรงงานมีอำนาจเรียกพยานหลักฐานมาสืบได้เองตามที่เห็นสมควร ไม่มีบทบัญญัติให้ต้องสืบประกอบดังกล่าว ทั้งตามคำฟ้องและคำให้การปรากฏข้อเท็จจริงได้ความแจ้งชัดพอวินิจฉัยได้แล้ว มิได้นำข้อเท็จจริงนอกสำนวนมาวินิจฉัยแต่อย่างใด อุทธรณ์ของจำเลยที่ 1 ถึงที่ 3 ฟังไม่ขึ้น
ตามกฎกระทรวง ฉบับที่ 12 (พ.ศ.2541) ออกตามความใน พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 ข้อ 1 "งานขนส่งทางบก" หมายความว่า การลำเลียงหรือเคลื่อนย้ายบุคคล สัตว์ หรือสิ่งของด้วยยานพาหนะขนส่งทางบกซึ่งเดินด้วยกำลังเครื่องยนต์ กำลังไฟฟ้า หรือพลังงานอื่น ทั้งนี้ ไม่รวมถึงการเคลื่อนย้ายบุคคลหรือสัตว์ที่เจ็บป่วย และการขนส่งในงานดับเพลิงหรืองานบรรเทาสาธารณภัย โจทก์ทั้งห้าเป็นลูกจ้างจำเลยในตำแหน่งพนักงานขับรถให้ผู้บริหารของจำเลยซึ่งเป็นนายจ้างของโจทก์ทั้งห้า ไม่ใช่การขับรถส่งหรือลำเลียงบุคคลทั่วไป ลักษณะงานของโจทก์ทั้งห้าจึงไม่ใช่งานขนส่งทางบกตามกฎกระทรวงดังกล่าว
ส่วนที่โจทก์ที่ 1 ถึงที่ 3 อุทธรณ์ว่า แม้คำให้การของจำเลยจะอ้างอายุความตามมา แต่จำเลยจะต้องสืบพยานประกอบคำให้การดังกล่าวด้วยตาม ป.วิ.พ. นั้น เห็นว่า การพิจารณาคดีแรงงานต้องบังคับตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 ซึ่งการดำเนินคดีแรงงานแตกต่างจากการดำเนินคดีแพ่งทั่วไป โดยการดำเนินคดีตามพระราชบัญญัตินี้ตั้งอยู่บนพื้นฐานของระบบไต่สวน ซึ่งให้อำนาจศาลในการค้นหาความจริงดังที่บัญญัติไว้ในมาตรา 45 ว่า เพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรมในอันที่จะให้ได้ความแจ้งชัดในข้อเท็จจริงแห่งคดีให้ศาลแรงงานมีอำนาจเรียกพยานหลักฐานมาสืบได้เองตามที่เห็นสมควร ไม่มีบทบัญญัติให้ต้องสืบประกอบดังกล่าว ทั้งตามคำฟ้องและคำให้การปรากฏข้อเท็จจริงได้ความแจ้งชัดพอวินิจฉัยได้แล้ว มิได้นำข้อเท็จจริงนอกสำนวนมาวินิจฉัยแต่อย่างใด อุทธรณ์ของจำเลยที่ 1 ถึงที่ 3 ฟังไม่ขึ้น
ตามกฎกระทรวง ฉบับที่ 12 (พ.ศ.2541) ออกตามความใน พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 ข้อ 1 "งานขนส่งทางบก" หมายความว่า การลำเลียงหรือเคลื่อนย้ายบุคคล สัตว์ หรือสิ่งของด้วยยานพาหนะขนส่งทางบกซึ่งเดินด้วยกำลังเครื่องยนต์ กำลังไฟฟ้า หรือพลังงานอื่น ทั้งนี้ ไม่รวมถึงการเคลื่อนย้ายบุคคลหรือสัตว์ที่เจ็บป่วย และการขนส่งในงานดับเพลิงหรืองานบรรเทาสาธารณภัย โจทก์ทั้งห้าเป็นลูกจ้างจำเลยในตำแหน่งพนักงานขับรถให้ผู้บริหารของจำเลยซึ่งเป็นนายจ้างของโจทก์ทั้งห้า ไม่ใช่การขับรถส่งหรือลำเลียงบุคคลทั่วไป ลักษณะงานของโจทก์ทั้งห้าจึงไม่ใช่งานขนส่งทางบกตามกฎกระทรวงดังกล่าว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6698/2549 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การวางเงินต่อศาลเพื่อฟ้องคดีแรงงาน: พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงานฯ มิใช่ค่าฤชาธรรมเนียม
พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงานฯ มาตรา 125 วรรคสาม ที่กำหนดให้นายจ้างที่ไม่พอใจคำสั่งของพนักงานตรวจแรงงานสามารถนำคดีไปสูศาลแรงงานได้ แต่นายจ้างต้องวางเงินต่อศาลตามจำนวนที่ถึงกำหนดจ่ายตามคำสั่งจึงจะฟ้องคดีได้นั้นเป็นบทบัญญัติของกฎหมายที่มุ่งถึงสิทธิของลูกจ้างที่จะได้รับเงินตาม พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงานฯ จากนายจ้างโดยเร็วเมื่อลูกจ้างชนะคดีอันเป็นการป้องกันไม่ให้นายจ้างหน่วงเหนี่ยวชำระให้แก่ลูกจ้างชักช้า และตามมาตรา 125 วรรคสี่ ยังบัญญัติไว้สอดคล้องกันว่า เมื่อคดีถึงที่สุดลูกจ้างเป็นฝ่ายชนะคดี ให้ศาลมีอำนาจจ่ายเงินที่นายจ้างวางไว้ต่อศาลแก่ลูกจ้างได้โดยไม่ต้องบังคับคดี ซึ่งเงินที่กฎหมายกำหนดให้นายจ้างต้องนำมาวางศาลเมื่อฟ้องคดีขอให้เพิกถอนคำสั่งพนักงานตรวจแรงงานดังกล่าวเป็นเงินตาม พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงานฯ ที่พนักงานตรวจแรงงานเห็นว่าลูกจ้างมีสิทธิที่จะได้รับ จึงมีคำสั่งให้นายจ้างจ่ายแก่ลูกจ้าง มิใช่เงินค่าฤชาธรรมเนียมที่ พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงานฯ มาตรา 27 กำหนดให้ได้รับยกเว้นไม่ต้องชำระเมื่อฟ้องคดีต่อศาลแรงงานแต่อย่างใด ดังนี้ ที่ศาลแรงงานกลางมีคำสั่งไม่รับคำฟ้องของโจทก์เพราะโจทก์ไม่วางเงินต่อศาลตามที่ พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงานฯ มาตรา 125 วรรคสาม กำหนดไว้ จึงไม่ขัดต่อ พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงานฯ มาตรา 27
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6076-6077/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คำสั่งพนักงานตรวจแรงงานมีผลผูกพันเมื่อนายจ้างไม่นำคดีสู่ศาลแรงงานภายในกำหนด และการส่งคำสั่งทางไปรษณีย์ลงทะเบียนถือว่าชอบแล้ว
โจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยจ่ายเงินต่าง ๆ ตามคำสั่งพนักงานตรวจแรงงาน คดีมีประเด็นข้อพิพาทแต่เพียงว่า คำสั่งพนักงานตรวจแรงงานเป็นที่สุดหรือไม่ และจำเลยได้จ่ายเงินตามฟ้องให้โจทก์แล้วหรือไม่เท่านั้น ปัญหาว่าโจทก์เป็นลูกจ้างจำเลยหรือไม่ เป็นกรณีที่จำเลยจะต้องโต้แย้งให้เป็นประเด็นไว้ในชั้นสอบสวนของพนักงานตรวจแรงงาน และหากพนักงานตรวจแรงงานมีคำสั่งอย่างใดแล้ว จำเลยไม่พอใจ จำเลยย่อมมีสิทธินำคดีไปสู่ศาลแรงงานได้ภายใน 30 วัน นับแต่วันทราบคำสั่ง ตาม พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 มาตรา 125 วรรคหนึ่ง หากไม่นำคดีไปสู่ศาลภายในกำหนด คำสั่งนั้นเป็นที่สุดตามมาตรา 125 วรรคสอง เมื่อจำเลยมิได้ใช้สิทธินำคดีสู่ศาลแรงงานตามบทบัญญัติดังกล่าว คำสั่งพนักงานตรวจแรงงานดังกล่าวย่อมเป็นที่สุด จำเลยจึงหามีสิทธิที่จะยกประเด็นเรื่องความเป็นนายจ้างลูกจ้างกันซึ่งยุติไปแล้วในชั้นพนักงานตรวจแรงงานมากล่าวอ้างในชั้นที่โจทก์มาฟ้องต่อศาลแรงงานกลางขอให้บังคับจำเลยจ่ายเงินตามคำสั่งพนักงานตรวจแรงงานไม่ ที่ศาลแรงงานกลางวินิจฉัยประเด็นนี้มาว่าโจทก์ไม่ได้เป็นลูกจ้างจำเลยจึงไม่ชอบ ปัญหาดังกล่าวเป็นข้อกฎหมายเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้โจทก์มิได้อุทธรณ์ ศาลฎีกาก็มีอำนาจหยิบยกขึ้นวินิจฉัยได้เองตาม ป.วิ.พ. มาตรา 142 (5), 246 ประกอบด้วย พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 มาตรา 31
เมื่อปรากฏว่าคำสั่งพนักงานตรวจแรงงานที่สั่งให้จำเลยจ่ายค่าจ้าง ค่าชดเชย และสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าถูกส่งไปให้บริษัทจำเลยทางไปรษณีย์ลงทะเบียนตอบรับ โดยมีผู้ลงชื่อรับคำสั่งระบุความเกี่ยวพันกับจำเลยว่าเป็นพนักงานจำเลย จำเลยซึ่งเป็นนายจ้างจึงได้รับคำสั่งพนักงานตรวจแรงงานโดยชอบด้วย พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 มาตรา 143 วรรคหนึ่ง แล้ว จำเลยไม่นำคดีไปสู่ศาลแรงงานภายใน 30 วัน นับแต่วันทราบคำสั่ง คำสั่งดังกล่าวจึงเป็นที่สุดตามมาตรา 125 วรรคสอง จำเลยมีหน้าที่ต้องจ่ายเงินตามคำสั่งพนักงานตรวจแรงงานให้โจทก์ภายใน 15 วัน นับแต่วันทราบคำสั่ง ตามมาตรา 124 วรรคสาม เมื่อไม่ชำระในกำหนด จำเลยจึงตกเป็นผู้ผิดนัด สำหรับค่าจ้างและค่าชดเชย จำเลยต้องเสียดอกเบี้ยแก่โจทก์ในอัตราร้อยละ 15 ต่อปี นับแต่วันผิดนัด แต่สินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าไม่ใช่เงินตามที่ พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 มาตรา 9 วรรคหนึ่ง บัญญัติให้นายจ้างเสียดอกเบี้ยให้ลูกจ้างในอัตราร้อยละ 15 ต่อปี จำเลยจึงมีหน้าที่เสียดอกเบี้ยเพียงอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 224 วรรคหนึ่ง เท่านั้น
เมื่อปรากฏว่าคำสั่งพนักงานตรวจแรงงานที่สั่งให้จำเลยจ่ายค่าจ้าง ค่าชดเชย และสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าถูกส่งไปให้บริษัทจำเลยทางไปรษณีย์ลงทะเบียนตอบรับ โดยมีผู้ลงชื่อรับคำสั่งระบุความเกี่ยวพันกับจำเลยว่าเป็นพนักงานจำเลย จำเลยซึ่งเป็นนายจ้างจึงได้รับคำสั่งพนักงานตรวจแรงงานโดยชอบด้วย พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 มาตรา 143 วรรคหนึ่ง แล้ว จำเลยไม่นำคดีไปสู่ศาลแรงงานภายใน 30 วัน นับแต่วันทราบคำสั่ง คำสั่งดังกล่าวจึงเป็นที่สุดตามมาตรา 125 วรรคสอง จำเลยมีหน้าที่ต้องจ่ายเงินตามคำสั่งพนักงานตรวจแรงงานให้โจทก์ภายใน 15 วัน นับแต่วันทราบคำสั่ง ตามมาตรา 124 วรรคสาม เมื่อไม่ชำระในกำหนด จำเลยจึงตกเป็นผู้ผิดนัด สำหรับค่าจ้างและค่าชดเชย จำเลยต้องเสียดอกเบี้ยแก่โจทก์ในอัตราร้อยละ 15 ต่อปี นับแต่วันผิดนัด แต่สินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าไม่ใช่เงินตามที่ พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 มาตรา 9 วรรคหนึ่ง บัญญัติให้นายจ้างเสียดอกเบี้ยให้ลูกจ้างในอัตราร้อยละ 15 ต่อปี จำเลยจึงมีหน้าที่เสียดอกเบี้ยเพียงอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 224 วรรคหนึ่ง เท่านั้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3531/2549 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ขอบเขตการอุทธรณ์ต้องอยู่ในประเด็นที่ท้ากัน, การเลิกจ้างเนื่องจากเกษียณอายุชอบด้วยกฎหมาย
คู่ความท้ากันให้ศาลแรงงานวินิจฉัยเฉพาะข้อบังคับของการรถไฟแห่งประเทศไทย ฉบับที่ 3.5 ว่าจำเลยมีอำนาจลงโทษโจทก์ตามข้อบังคับดังกล่าวหรือไม่ และศาลแรงงานกลางวินิจฉัยว่า จำเลยไม่มีสิทธิไล่โจทก์ออกจากงานและต้องแพ้คดีโจทก์ไปตามคำท้า ดังนั้นการที่จำเลยอุทธรณ์ว่า จำเลยมีสิทธิไล่โจทก์ออกจากงานได้แม้โจทก์จะพ้นจากการเป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐไปแล้วก็ดี จำเลยสั่งให้โจทก์ออกจากงานด้วยเกษียณอายุเพราะสำคัญผิดก็ดี ล้วนเป็นเรื่องที่อยู่นอกเหนือคำท้าทั้งสิ้น จึงเป็นอุทธรณ์ในเรื่องนอกประเด็น ถือว่าเป็นเรื่องที่มิได้ว่ากล่าวกันมาแล้วโดยชอบในศาลแรงงานกลาง ต้องห้ามตาม ป.วิ.พ.มาตรา 225 วรรคหนึ่ง ประกอบ พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 มาตรา 31
จำเลยให้โจทก์ออกจากงานเพราะเหตุเกษียณอายุ มิได้สั่งให้โจทก์ออกจากงานไว้ก่อนเพื่อรอผลการสอบสวนพิจารณาตามข้อบังคับการรถไฟแห่งประเทศไทย ฉบับที่ 3.5 ข้อ 6 ทวิ การที่จำเลยให้โจทก์ออกจากงานเพราะเหตุเกษียณอายุถือเป็นการเลิกจ้าง สัญญาจ้างแรงงานจึงสิ้นสุดทันที และการแสดงเจตนาเลิกสัญญานี้ไม่อาจถอนได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 386 วรรคสอง ประกอบกับข้อบังคับการรถไฟแห่งประเทศไทย ฉบับที่ 3.5 ก็มิได้ให้อำนาจจำเลยที่จะสั่งลงโทษไล่ออกแก่ผู้ที่พ้นจากการเป็นเจ้าพนักงานไปแล้วได้ จำเลยจึงไม่อาจสั่งลงโทษโจทก์ซึ่งพ้นจากการเป็นเจ้าพนักงานของจำเลยไปแล้วให้ออกจากงานได้
จำเลยให้โจทก์ออกจากงานเพราะเหตุเกษียณอายุ มิได้สั่งให้โจทก์ออกจากงานไว้ก่อนเพื่อรอผลการสอบสวนพิจารณาตามข้อบังคับการรถไฟแห่งประเทศไทย ฉบับที่ 3.5 ข้อ 6 ทวิ การที่จำเลยให้โจทก์ออกจากงานเพราะเหตุเกษียณอายุถือเป็นการเลิกจ้าง สัญญาจ้างแรงงานจึงสิ้นสุดทันที และการแสดงเจตนาเลิกสัญญานี้ไม่อาจถอนได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 386 วรรคสอง ประกอบกับข้อบังคับการรถไฟแห่งประเทศไทย ฉบับที่ 3.5 ก็มิได้ให้อำนาจจำเลยที่จะสั่งลงโทษไล่ออกแก่ผู้ที่พ้นจากการเป็นเจ้าพนักงานไปแล้วได้ จำเลยจึงไม่อาจสั่งลงโทษโจทก์ซึ่งพ้นจากการเป็นเจ้าพนักงานของจำเลยไปแล้วให้ออกจากงานได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2993/2549 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การอุทธรณ์ต้องยื่นต่อศาลแรงงานชั้นต้นตามกฎหมาย และการขยายเวลาอุทธรณ์ต้องมีเหตุผลอันสมควร
พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 มาตรา 54 วรรคสอง บัญญัติว่า " การอุทธรณ์นั้นให้ทำเป็นหนังสือยื่นต่อศาลแรงงานซึ่งมีคำพิพากษาหรือคำสั่ง..." จากบทบัญญัติดังกล่าวเห็นได้ว่าโจทก์จะต้องยื่นอุทธรณ์ต่อศาลแรงงานกลาง อันเป็นศาลที่มีคำพิพากษาคดีนี้ ไม่อาจยื่นอุทธรณ์โดยตรงต่อศาลฎีกาได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 871/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หน้าที่หักภาษี ณ ที่จ่ายของจำเลยในการชำระหนี้ตามคำพิพากษาศาลแรงงาน
หนี้ค่าจ้างค้างจ่าย เงินสะสม สินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าและค่าชดเชยที่จำเลยจะต้องชำระแก่โจทก์ตามคำพิพากษาศาลแรงงานกลาง ล้วนแต่เป็นเงินที่โจทก์ฟ้องเรียกร้องให้จำเลยชำระอันเนื่องมาจากการที่จำเลยกับโจทก์มีนิติสัมพันธ์กันในฐานะนายจ้างกับลูกจ้าง ถือว่าเป็นเงินที่โจทก์ได้เนื่องจากการจ้างแรงงานตามที่บัญญัติไว้ใน ป.รัษฎากรฯ มาตรา 40 (1) ซึ่งกำหนดให้เป็นเงินได้พึงประเมิน จำเลยผู้จ่ายเงินดังกล่าวให้โจทก์ตามคำพิพากษาย่อมมีหน้าที่หักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่ายตาม ป.รัษฎากรฯ มาตรา 50 ประกอบด้วยมาตรา 3 จตุทศ ซึ่งเป็นหน้าที่ที่จำเลยจะต้องปฏิบัติตามกฎหมาย แม้จำเลยจะมิได้อ้างเรื่องการหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่ายไว้ในชั้นพิจารณา แต่เมื่อจำเลยจะต้องชำระหนี้ตามคำพิพากษาจำเลยก็สามารถหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่ายได้