คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
ศาลไทย

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 12 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3882/2549

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เขตอำนาจศาลคดีขนส่งระหว่างประเทศ: ศาลไทยมีอำนาจพิจารณา แม้มีข้อตกลงระบุฟ้องที่ฮ่องกง
แม้ข้อตกลงในใบตราส่งจะระบุให้นำข้อพิพาทที่เกิดขึ้นฟ้องต่อศาลเมืองฮ่องกง แต่ตาม พ.ร.บ. จัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศและวิธีพิจารณาคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ พ.ศ. 2539 มาตรา 5 และมาตรา 7 (5) ให้ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางมีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีแพ่งเกี่ยวกับการขนส่งระหว่างประเทศ คดีนี้โจทก์ฟ้องให้จำเลยที่ 2 ผู้ขนส่งซึ่งอยู่ต่างประเทศและมีภูมิลำเนาอยู่ต่างประเทศให้รับผิดชดใช้ค่าเสียหายจากการที่สินค้าได้เสียหายหรือสูญหายในระหว่างการขนส่งตามสัญญารับขนของทางทะเลระหว่างประเทศไทยกับประเทศสเปนอันเป็นการขนส่งระหว่างประเทศ และให้จำเลยที่ 1 ซึ่งมีภูมิลำเนาอยู่ที่กรุงเทพมหานครในฐานะตัวแทนผู้ทำสัญญารับขนดังกล่าวแทนจำเลยที่ 2 ซึ่งอยู่ต่างประเทศและมีภูมิลำเนาอยู่ต่างประเทศให้ร่วมรับผิดตาม ป.พ.พ. มาตรา 824 มูลคดีจึงเกิดจากสัญญารับขนของทางทะเลที่ทำในราชอาณาจักรไทย กฎหมายที่ใช้บังคับคือกฎหมายไทย พยานหลักฐานต่าง ๆ ก็อยู่ในเขตอำนาจศาลไทยเป็นส่วนใหญ่ ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางซึ่งเป็นศาลที่มีเขตอำนาจย่อมพิจารณาพิพากษาข้อพิพาทที่เกิดขึ้นได้ด้วย หาจำต้องนำคดีไปฟ้องยังศาลเมืองฮ่องกงแต่เพียงแห่งเดียวเท่านั้นไม่
กรณีพิพาทเป็นการขนส่งทางทะเลอันเป็นการขนส่งระหว่างประเทศ และปรากฏว่าคู่กรณีฝ่ายหนึ่งคือบริษัท อ. เป็นนิติบุคคลที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมายไทย กฎหมายที่ใช้บังคับกับสัญญารับขนของทางทะเลดังกล่าวจึงต้องเป็น พ.ร.บ. การรับขนของทางทะเล พ.ศ. 2534 ตามมาตรา 4 แห่งพระราชบัญญัติดังกล่าว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3537/2546

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจศาลไทยฟ้องคดีกู้ยืมระหว่างประเทศ, การใช้กฎหมายต่างประเทศ, และการคิดอัตราแลกเปลี่ยน
การกู้เงินพิพาทมีผู้ให้กู้ร่วมกันหลายบริษัทซึ่งมีสำนักงานใหญ่อยู่ในประเทศสาธารณรัฐสิงคโปร์และประเทศมาเลเซีย ส่วนผู้กู้มีสำนักงานอยู่ในประเทศไทย การที่คู่สัญญาตกลงกันให้นำคดีเกี่ยวกับสัญญาทางธุรกิจการค้าระหว่างประเทศไปฟ้องยังศาลแห่งประเทศสาธารณรัฐสิงคโปร์จึงทำได้ตามหลักกฎหมายทั่วไประหว่างประเทศแต่ข้อตกลงเลือกศาลดังกล่าว คู่สัญญาไม่ได้ตกลงให้ฟ้องร้องยังศาลแห่งประเทศสาธารณรัฐสิงคโปร์เพียงศาลเดียวเด็ดขาดเพราะได้เปิดโอกาสให้ผู้ให้กู้ฟ้องผู้กู้ในศาลอื่นที่มีเขตอำนาจได้ด้วย การที่โจทก์ทั้งสามซึ่งเป็นผู้ให้กู้ยื่นฟ้องจำเลยทั้งสองซึ่งเป็นผู้กู้ต่อศาลในประเทศไทยจึงมีอำนาจทำได้ตามสัญญา
ตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศและวิธีพิจารณาคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ พ.ศ. 2539มาตรา 5 วรรคสอง บัญญัติให้ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางมีเขตตลอดกรุงเทพมหานคร กับมาตรา 7(5) และ (6) บัญญัติให้ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศมีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีแพ่งเกี่ยวกับการซื้อขาย แลกเปลี่ยนสินค้าหรือตราสารการเงินระหว่างประเทศ หรือการให้บริการระหว่างประเทศ เมื่อจำเลยทั้งสองมีภูมิลำเนาอยู่ในกรุงเทพและคดีพิพาทเป็นเรื่องการกู้ยืมเงินระหว่างประเทศ โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องต่อศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางได้
กฎหมายของประเทศสาธารณรัฐสิงคโปร์มีอยู่อย่างไรเป็นหน้าที่ของคู่ความฝ่ายที่กล่าวอ้างว่าเป็นกรณีที่ศาลไทยต้องใช้กฎหมายดังกล่าวนำพยานผู้เชี่ยวชาญกฎหมายของประเทศนั้นมาสืบประกอบตัวบทกฎหมายที่จะใช้บังคับแก่คดีให้เป็นที่พอใจศาล เมื่อจำเลยทั้งสองซึ่งเป็นฝ่ายกล่าวอ้างมิได้พิสูจน์กฎหมายนั้น ให้เป็นที่พอใจแก่ศาล ศาลจึงต้องใช้กฎหมายภายในของประเทศไทยมาบังคับแก่คดีตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการขัดกันแห่งกฎหมาย พ.ศ. 2481 มาตรา 8

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 26/2527

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ค่าล่วงเวลา: ระเบียบวิธีปฏิบัติภายในบริษัทมิใช่เงื่อนไขตัดสิทธิ, สัญญาให้เสนอข้อพิพาทต่อเจ้าหน้าที่บรูไนมิได้ตัดสิทธิฟ้องร้องต่อศาลไทย
แม้โจทก์จะไม่ได้ตอกบัตรลงเวลาทำงานและไม่มีลายเซ็นรับรองของวิศวกรและโฟร์แมนในการทำงานล่วงเวลาตามข้อบังคับของจำเลยเกี่ยวกับการคำนวณค่าล่วงเวลาก็ตาม แต่ระเบียบตามข้อบังคับนี้เป็นเพียงวิธีปฏิบัติในการทำงานล่วงเวลาเพื่อเป็นหลักฐานและประโยชน์เกี่ยวกับการคำนวณค่าล่วงเวลาเท่านั้นทั้งมิได้กำหนดยกเว้นว่าลูกจ้างคนใดไม่ปฏิบัติตามระเบียบดังกล่าวแล้วจะไม่มีสิทธิได้รับค่าล่วงเวลาอีกด้วยดังนี้ เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่าจำเลยให้โจทก์ทำงานล่วงเวลา จำเลยก็จะอ้างข้อบังคับดังกล่าวเพื่อปฏิเสธไม่จ่ายค่าล่วงเวลาแก่โจทก์หาได้ไม่
สัญญาจ้างแรงงานที่มีข้อความว่า "ข้อพิพาทใดๆ ที่เกิดขึ้นจากการตีความหรือการใช้บังคับของความในสัญญานี้ใดๆให้นำไปเสนอเจ้าหน้าที่ของรัฐบาลบรูไน คำตัดสินของทางการดังกล่าวให้ถือว่าเด็ดขาดและผูกพันระหว่างบริษัทและลูกจ้างฯลฯ"นั้น มิได้บังคับไว้โดยเด็ดขาดว่า หากคู่กรณีไม่นำข้อพิพาทเสนอต่อเจ้าหน้าที่รัฐบาลบรูไนตัดสินก่อนแล้วจะฟ้องร้องต่อศาลมิได้ ดังนั้น เมื่อจำเลยไม่ชำระหนี้ค่าล่วงเวลาให้โจทก์ จึงเป็นการโต้แย้งสิทธิโจทก์โจทก์ย่อมมีอำนาจฟ้องจำเลยต่อศาลแรงงานกลางซึ่งโจทก์และจำเลยมีภูมิลำเนาอยู่ในเขตอำนาจได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3854/2525 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจศาลไทยคดีข้ามแดนและองค์ประกอบความผิดทางศุลกากร
สถานีรถไฟปาดังเบซาร์อยู่ในประเทศมาเลเซียห่างเขตแดนประเทศไทย 500 เมตร ภายในสถานีมีที่ทำการด่านศุลกากรของไทยและมาเลเซียเมื่อนายตรวจศุลกากรประจำด่านของไทย ยึดเห็ดหอมซึ่งเป็นสินค้าต่างประเทศไม่ปรากฏเจ้าของมาเพื่อเก็บในด่านศุลกากร ขณะรอคนเปิดประตูห้องอยู่นั้น จำเลยเข้ามาแสดงตัวเป็นเจ้าของขอคืน แต่ไม่ได้คืนจึงเกิดการทำร้ายกันขึ้น เช่นนี้ เมื่อเป็นความผิดตามกฎหมายภาษีศุลกากรกับความผิดซึ่งเกี่ยวเนื่องกันคือต่อสู้ขัดขวางเจ้าพนักงาน และเอาของกลางไป ศาลไทยมีอำนาจพิจารณาพิพากษาได้
การที่จำเลยนำเห็ดหอมไปวางไว้ในที่พักพนักงานตรวจรถไป ซึ่งอยู่ติดกับสถานีรถไฟปาดังเบธาร์ และห่างเขตแดนไทยถึงห้าร้อยเมตร ยังถือไม่ได้ว่าจำเลยนำสินค้าต่างประเทศเข้ามาในราชอาณาจักรอันเป็นความผิดตามพระราชบัญญัติศุลกากร ฯลฯ แม้เพียงชั้นพยายามกระทำผิด การที่จำเลยไปนำเห็ดหอมกลับคืนจึงไม่มีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 142

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 786/2524

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจศาล: การฟ้องหย่า จำเลยมีภูมิลำเนาต่างประเทศ ศาลไทยไม่มีอำนาจพิจารณา
โจทก์ฟ้องหย่าจำเลย แต่จำเลยมีเชื้อชาติและสัญชาติฝรั่งเศสและมีภูมิลำเนาอยู่ในประเทศฝรั่งเศส ศาลไทยจึงไม่มีอำนาจรับคำฟ้องของโจทก์ไว้พิจารณาได้ แม้มูลคดีจะเกิดในเขตศาลไทย แต่จำเลยก็ไม่ได้เข้ามาในประเทศไทย กรณีจึงไม่อยู่ในบังคับ ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 4(3) และเมื่อศาลยังไม่ได้ สั่งรับคำฟ้องจะใช้ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 34 บังคับไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3015/2524 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฟ้องแย้งของจำเลยในคดีที่โจทก์เป็นชาวต่างชาติและฟ้องต่อศาลไทย ศาลอนุญาตฟ้องแย้งได้ตามมาตรา 7
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 4 (3) เป็นบทบัญญัติซึ่งใช้บังคับแก่การฟ้องเริ่มคดีต่อศาลไทยด้วยการฟ้องบุคคลผู้เป็นลูกหนี้ซึ่งมิได้มีภูมิลำเนาอยู่ในประเทศไทย
โจทก์ไม่มีภูมิลำเนาอยู่ในประเทศไทย ตั้งตัวแทนให้ฟ้องจำเลยต่อศาลไทยและตัวแทนโจทก์ได้ฟ้องจำเลยต่อศาลไทยแล้วจึงเป็นกรณีที่มีคดีค้างพิจารณาอยู่ในศาลไทยจำเลยให้การและฟ้องแย้งโจทก์ในขณะเดียวกันได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 7(1) ซึ่งเป็นบทบัญญัติยกเว้นมาตรา 4(3)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3234/2522 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องคดีต่อศาลไทยของสำนักงานสาขาบริษัทต่างชาติ: การระบุชื่อจำเลยที่ถูกต้อง
ในคำฟ้องช่องคู่ความ โจทก์ระบุชื่อจำเลยว่า สายเดินเรือเมอสค์ สาขากรุงเทพฯ และบรรยายในฟ้องว่า จำเลยอันหมายถึงบริษัทดัมป์สกิปเซลสกาเบ็ท อาฟ 1912 อักตีเซลสกาป จำกัด และบริษัทอักตีเซลสกาเบ็ท ดัมป์สกิปเซลสกาเบ็ท สเว็นด์บอร์ก จำกัด ซึ่งจดทะเบียนเป็นนิติบุคคลตามกฎหมายของราชอาณาจักรแห่งประเทศเดนมารค์ ดำเนินธุรกิจในการขนส่งทางทะเลและจดทะเบียนพาณิชย์ต่อสำนักงานทะเบียนพาณิชย์กระทรวงพาณิชย์ และใช้ชื่อในการประกอบการพาณิชยกิจว่า "สายเดินเรือเมอสค์ สาขากรุงเทพฯ" โดยมีสำนักทำการงานเพื่อดำเนินกิจการดังกล่าว สำนักงานแห่งใหญ่ อยู่เลขที่ 231/2 ถนนสาธรใต้ ตำบลยานนาวา อำเภอยานนาวา กรุงเทพมหานคร เป็นที่เห็นได้ว่า โจทก์ฟ้องบริษัทดัมป์สกิปเซลสกาเบ็ท อาฟ 1912 อักตีเซลสกาป จำกัด และ บริษัทอักตีเซลสกาเบ็ท ดัมป์สกิป เซลสกาเบ็ท สเว็นด์บอร์ก จำกัด ซึ่งใช้ชื่อในการประกอบกิจการพาณิชย์ด้านรับส่งสินค้าในประเทศไทยว่า "สายเดินเรือเมอสค์ สาขากรุงเทพฯ" หาใช่ฟ้องสายเดินเรือเมอสค์ สาขากรุงเทพฯ ให้ใช้ค่าสินไหมทดแทนตามลำพังตนเองไม่ และดังนั้นสายเดินเรือเมอสค์ สาขากรุงเทพฯ จึงอยู่ในฐานะเป็นสำนักทำการงาน อันเกิดจากการประกอบกิจการร่วมกันของบริษัททั้งสองดังกล่าว มิใช่กิจการและบุคคลต่างหากออกไปถือได้ว่าสายเดินเรือเมอสค์ สาขากรุงเทพฯ เป็นสำนักงานสาขาของบริษัททั้งสอง เมื่อบริษัททั้งสองมีสำนักงานสาขาอยู่ในประเทศไทย ซึ่งตามกำหมายถือว่าถิ่นที่มีสาขาสำนักงานเป็นภูมิลำเนาในส่วนกิจการอันทำ ณ ที่นั้น ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 71 โจทก์จึงฟ้องจำเลยต่อศาลแพ่งได้ ตามประมวบกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 4 (2)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 698/2521

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาซื้อขายต่างประเทศและข้อตกลงอนุญาโตตุลาการ: ศาลไทยรับรองคำชี้ขาดอนุญาโตตุลาการต่างประเทศได้
แม้คำให้การจำเลยตอนแรกจะปฏิเสธว่าไม่ได้ทำสัญญากับโจทก์ตามฟ้องแต่ในตอนต่อมาเมื่อได้อ่านโดยตลอดแล้วสรุปได้ว่าจำเลยรับว่าได้ทำสัญญาตามสำเนาท้ายฟ้องจริงเพียงแต่ต่อสู้ว่าสัญญาดังกล่าวจะต้องบังคับตามกฎหมายไทยศาลจึงรับฟังความมีอยู่และความถูกต้องของสัญญาได้
โจทก์มีภูมิลำเนาอยู่ในประเทศสหรัฐอเมริกา จำเลยอยู่ในประเทศไทยโจทก์จำเลยทำสัญญาซื้อขายโดยตกลงกันว่า เมื่อมีข้อพิพาทอันเกี่ยวกับสัญญา ให้ทำการชำระความโดยอนุญาโตตุลาการในนิวยอร์ค ข้อตกลงดังกล่าวเป็นข้อตกลงที่เกิดจากความสมัครใจของคู่กรณี ไม่ขัดต่อกฎหมายหรือความสงบเรียบร้อยแต่อย่างใด จึงใช้บังคับกันได้ ดังนั้นเมื่อได้มีการนำข้อพิพาทเสนอให้อนุญาโตตุลาการวินิจฉัยถูกต้องตามขั้นตอน และไม่ปรากฏว่าอนุญาโตตุลาการได้วินิจฉัยชี้ขาดโดยฝ่าฝืนไม่ชอบด้วยกฎหมายของรัฐนิวยอร์คคำวินิจฉัยชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการดังกล่าวจึงฟ้องร้องให้บังคับกันได้ในศาลไทย
ฟ้องบังคับให้จำเลยรับผิดตามคำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการมีอายุความ 10 ปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 168

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1304/2501

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิการขอรับชำระหนี้ในคดีล้มละลายข้ามประเทศ: เจ้าหนี้ต่างประเทศมีสิทธิยื่นขอรับชำระหนี้ในไทยได้
เมื่อฟังว่าเจ้าหนี้ในประเทศไทยมีสิทธิขอรับชำระหนี้ในคดีล้มละลายในศาลแห่งประเทศอังกฤษได้ ผู้ขอรับชำระหนี้ซึ่งเป็นเจ้าหนี้ต่างประเทศและมีภูมิลำเนาอยู่ในประเทศอังกฤษก็มีสิทธิขอรับชำระหนี้ในคดีล้มละลายในศาลไทยได้ตามพระราชบัญญัติล้มละลาย มาตรา 178(1)
แต่เมื่อศาลแพ่งยังไม่ได้วินิจฉัยข้อเท็จจริงว่า ผู้ขอรับชำระหนี้มีสิทธิจะได้รับชำระหนี้เป็นจำนวนเงินเท่าใด โดยศาลแพ่งเห็นว่า ผู้ขอรับชำระหนี้ไม่มีสิทธิยื่นคำขอรับชำระหนี้และให้ยกคำขอรับชำระหนี้เสียเช่นนี้ การที่ศาลอุทธรณ์ตัดสินให้ยกคำสั่งศาลแพ่ง ให้ศาลแพ่งวินิจฉัยข้อเท็จจริงที่ว่า ผู้ขอรับชำระหนี้มีสิทธิจะได้รับชำระหนี้เป็นจำนวนเงินเท่าใดแล้วมีคำสั่งใหม่ตามรูปความ โดยศาลอุทธรณ์ไม่พิพากษาบังคับไปเลย ย่อมเป็นการชอบแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9681/2557

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การหย่าข้ามสัญชาติ: ศาลไทยต้องพิจารณากฎหมายสัญชาติคู่สมรสก่อนตัดสินคดีหย่า
เมื่อปรากฏว่าจำเลยมิใช่เป็นบุคคลที่มีสัญชาติไทย แต่เป็นบุคคลสัญชาติแอลจีเรีย ตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยการขัดกันแห่งกฎหมาย พ.ศ.2481 มาตรา 27 บัญญัติว่า "ศาลสยามจะไม่พิพากษาให้หย่ากัน เว้นแต่กฎหมายสัญชาติแห่งสามีภริยาทั้งสองยอมให้กระทำได้ เหตุหย่าให้เป็นไปตามกฎหมายแห่งถิ่นที่ยื่นฟ้องหย่า" ดังนั้นในเบื้องต้นต้องได้ความว่า กฎหมายแห่งประเทศแอลจีเรียอนุญาตให้บุคคลที่มีสัญชาติแอลจีเรียหย่ากันได้หรือไม่ จึงเป็นข้อสำคัญแห่งคดีที่ศาลจะต้องนำมาพิจารณาคดีเสียก่อนและเป็นข้อเท็จจริงที่โจทก์ต้องนำสืบให้ปรากฏ เพราะกฎหมายของต่างประเทศถือเป็นข้อเท็จจริงและไม่ใช่ข้อเท็จจริงที่ศาลไทยรับรู้ได้เอง เมื่อโจทก์ไม่นำสืบกฎหมายเรื่องการหย่าของประเทศแอลจีเรีย ศาลชั้นต้นยกฟ้องตามบทบัญญัติแห่ง พ.ร.บ.ว่าด้วยการขัดกันแห่งกฎหมาย พ.ศ.2481 มาตรา 27 วรรคหนึ่ง จึงเป็นการชอบด้วยกฎหมายแล้ว
of 2