พบผลลัพธ์ทั้งหมด 27 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6006/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การอ้างพยานหลักฐานเพิ่มเติมในชั้นอุทธรณ์ต้องเป็นไปตามขั้นตอนของกฎหมาย มิเช่นนั้นศาลไม่มีอำนาจรับพิจารณา
การที่ผู้ร้องอ้างเอกสารเพิ่มเติมโดยอ้างว่าเพิ่งค้นพบภายหลังจากที่ศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาแล้วจะต้องทำเป็นคำร้องขออนุญาตอ้างพยานหลักฐานเช่นว่านั้นต่อศาลพร้อมกับบัญชีระบุพยานและสำเนาบัญชีระบุพยานดังกล่าว ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 88 วรรคสาม ศาลจึงจะวินิจฉัยได้ว่าสมควรอนุญาตตามคำร้องหรือไม่ แต่คดีนี้ผู้ร้องเพียงอ้างระบุในอุทธรณ์ว่ามีสำเนาสูติบัตร ขอให้ศาลอุทธรณ์พิจารณาเอกสารดังกล่าวและมีคำพิพากษากลับคำพิพากษาของศาลชั้นต้น โดยมิได้ยื่นคำร้องขออนุญาตอ้างพยานหลักฐานดังกล่าวและมิได้ยื่นบัญชีระบุพยานพร้อมสำเนา ศาลอุทธรณ์จึงไม่มีอำนาจอนุญาตให้ผู้ร้องอ้างพยานเพิ่มเติมในชั้นอุทธรณ์ได้ ทำให้คดีไม่มีพยานหลักฐานใหม่ ไม่มีเหตุที่จะย้อนสำนวนไปให้ศาลชั้นต้นพิจารณาพิพากษาใหม่ ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 240 (2)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 637/2547
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องค่าจ้างควบคู่กับการร้องต่อพนักงานตรวจแรงงาน: ศาลไม่มีอำนาจพิจารณาจนกว่าการดำเนินการของพนักงานตรวจแรงงานสิ้นสุด
ก่อนที่โจทก์ทั้งสามจะฟ้องจำเลยทั้งสามเป็นคดีนี้ โจทก์ทั้งสามได้ยื่นคำร้องต่อพนักงานตรวจแรงงานว่าจำเลยที่ 1 ผู้เป็นนายจ้างฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามกฎหมายเกี่ยวกับสิทธิได้รับเงินอย่างหนึ่งอย่างใดและประสงค์ให้พนักงานตรวจแรงงานดำเนินการตาม พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงานฯ มาตรา 123 วรรคหนึ่ง ซึ่งในกรณีนี้โจทก์ทั้งสามอาจจะเลือกที่จะใช้สิทธิฟ้องร้องต่อศาลแรงงานได้ โดยจะต้องใช้สิทธิในทางใดทางหนึ่ง แต่จะใช้สิทธิพร้อมกันทั้งสองทางไม่ได้ เมื่อโจทก์ทั้งสามยื่นคำร้องต่อพนักงานตรวจแรงงานแล้วโจทก์ทั้งสามย่อมไม่มีสิทธิที่จะฟ้องคดีนี้ต่อศาลแรงงานกลางจนกว่าการดำเนินการของพนักงานตรวจแรงงานจะสิ้นสุด ศาลแรงงานย่อมไม่มีอำนาจพิจารณาคำฟ้องของโจทก์ทั้งสามที่ฟ้องเรียกเอาเงินค่าจ้างค้างจ่ายตาม พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงานฯ ข้อกฎหมายนี้เกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกายกขึ้นวินิจฉัยแล้วพิพากษาคดีตาม ป.วิ.พ. มาตรา 142, 246 ประกอบด้วย พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงานฯ มาตรา 31 ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 482/2546 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
กำหนดระยะเวลาฟ้องคดีภาษีโรงเรือนและที่ดิน: มิใช่อายุความ แต่เป็นกำหนดที่กฎหมายบังคับ หากพ้นกำหนด ศาลไม่มีอำนาจพิจารณา
กำหนดระยะเวลาที่ให้ผู้รับการประเมินภาษีโรงเรือนและที่ดินฟ้องคดีต่อศาล เพื่อแสดงให้ศาลเห็นว่าการประเมินนั้นไม่ถูกต้อง โดยต้องฟ้องภายใน 30 วัน นับตั้งแต่วันรับแจ้งความให้ทราบคำชี้ขาดตามมาตรา 31 วรรคแรก แห่ง พ.ร.บ. ภาษีโรงเรือนและที่ดิน พ.ศ. 2475 นั้น เป็นกำหนดระยะเวลาที่กฎหมายบัญญัติให้ผู้รับประเมินฟ้องต่อศาลและศาลในกรณีนี้คือศาลภาษีอากรกลาง กำหนดระยะเวลาดังกล่าวมิใช่อายุความฟ้องร้องตาม ป.พ.พ. บรรพ 1 ลักษณะ 6 จึงนำบทบัญญัติเรื่องอายุความสะดุดหยุดลงมาใช้บังคับไม่ได้ เมื่อโจทก์ทั้งสามมิได้ฟ้องคดีภายในเวลาที่กฎหมายกำหนด แต่ยื่นคำร้องทุกข์ต่อคณะกรรมการวินิจฉัยร้องทุกข์และได้มีการโอนเรื่องที่โจทก์ทั้งสามร้องทุกข์ไปเป็นคดีของศาลปกครองกลาง แล้วต่อมาศาลปกครองกลางวินิจฉัยว่าคดีไม่อยู่ในอำนาจของศาลปกครองก็ตาม โจทก์ทั้งสามย่อมไม่มีอำนาจฟ้องจำเลย ปัญหานี้เป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้เอง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 204/2546 เวอร์ชัน 4 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เขตอำนาจศาล: แม้รับฟ้องแล้ว หากศาลไม่มีเขตอำนาจ คดีต้องโอนไปยังศาลที่มีอำนาจพิจารณา
การที่โจทก์จะนำคดีขึ้นสู่ศาลใดนั้น มิได้พิจารณาว่าคดีนั้นผู้พิพากษาคนเดียวหรือสองคนเป็นผู้มีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีดังกล่าวได้หรือไม่ แต่ต้องพิจารณาว่าคดีนั้นอยู่ในเขตอำนาจของศาลใดเป็นสำคัญ เมื่อคดีอยู่ในเขตอำนาจของศาลใดแล้ว อีกศาลหนึ่งไม่มีอำนาจรับคดีเรื่องนั้นไว้พิจารณาพิพากษา เว้นแต่จะมีบทกฎหมายบัญญัติให้มีอำนาจที่จะรับไว้พิจารณาพิพากษาได้ คดีเรื่องนี้แม้ศาลจังหวัดราชบุรีได้รับฟ้องโจทก์ไว้และมีการพิจารณาแล้วก็ตาม แต่เมื่อปรากฏภายหลังว่าเป็นคดีที่อยู่ในเขตอำนาจของศาลแขวงราชบุรีตามพระธรรมนูญศาลยุติธรรม มาตรา 17 ประกอบมาตรา 25 (4) ไม่ใช่คดีที่อยู่ในเขตอำนาจของศาลจังหวัดราชบุรีเสียแล้ว ศาลจังหวัดราชบุรีก็ย่อมไม่มีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีเรื่องนี้ได้ตามพระธรรมนูญศาลยุติธรรม มาตรา 18 ทั้งไม่มีบทบัญญัติกฎหมายใดให้อำนาจศาลจังหวัดราชบุรีที่จะใช้ดุลพินิจรับไว้พิจารณาพิพากษาต่อไปได้ด้วย ดังนั้น การที่ศาลจังหวัดราชบุรีมีคำสั่งให้โอนคดีเรื่องนี้ไปยังศาลแขวงราชบุรีซึ่งเป็นศาลที่มีเขตอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีได้นั้น เป็นการชอบด้วยพระธรรมนูญศาลยุติธรรม มาตรา 16 วรรคท้ายแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 756/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อุทธรณ์คำสั่งระหว่างพิจารณาต้องทำหลังมีคำพิพากษา หากอุทธรณ์ก่อนเวลา ศาลไม่มีอำนาจวินิจฉัย
โจทก์ยื่นคำร้องขอเลื่อนคดี ในวันเดียวกันศาลชั้นต้นมีคำสั่งไม่อนุญาต และถือว่าไม่ติดใจสืบพยาน ซึ่งเป็นคำสั่งงดสืบพยานโจทก์ และเมื่อจำเลยแถลงไม่สืบพยาน ศาลชั้นต้นจึงมีคำสั่งให้นัดฟังคำพิพากษา คำสั่งไม่อนุญาตให้เลื่อนคดีและงดสืบพยานโจทก์ของศาลชั้นต้นดังกล่าวเป็นคำสั่งระหว่างพิจารณา โจทก์จะอุทธรณ์คำสั่งนั้นได้จะต้องโต้แย้งคำสั่งนั้นไว้ และต้องอุทธรณ์คำสั่งภายหลังจากที่ศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาแล้วตาม ป.วิ.พ.มาตรา 226 วรรคหนึ่ง แต่โจทก์มิได้โต้แย้งคำสั่งระหว่างพิจารณาดังกล่าว และโจทก์ยื่นอุทธรณ์คำสั่งนี้ก่อนเวลาที่ศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาจึงต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ตามบทกฎหมายดังกล่าว แม้ศาลชั้นต้นจะมีคำสั่งรับอุทธรณ์คำสั่งของโจทก์ไว้ ศาลอุทธรณ์ก็ไม่มีอำนาจวินิจฉัยอุทธรณ์ของโจทก์ได้ การที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยอุทธรณ์คำสั่งดังกล่าวจึงไม่ชอบ และถือว่าปัญหานี้ไม่ได้ว่ากล่าวกันมาโดยชอบในศาลอุทธรณ์ การที่โจทก์ฎีกาปัญหานี้ขึ้นมาจึงไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 249 วรรคหนึ่ง ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยและพิพากษายกคำพิพากษาศาลอุทธรณ์และยกอุทธรณ์กับยกฎีกาของโจทก์ คืนค่าขึ้นศาลทั้งหมดในชั้นอุทธรณ์และชั้นฎีกาให้แก่โจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3412/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การขยายระยะเวลาอุทธรณ์ต้องยื่นก่อนครบกำหนด หากเลยกำหนดศาลไม่มีอำนาจรับอุทธรณ์
จำเลยที่ 1 ยื่นคำร้องขอขยายระยะเวลาอุทธรณ์ภายหลังจากที่กำหนดระยะเวลาอุทธรณ์ได้สิ้นสุดลงแล้วโดยกรณีไม่มีเหตุสุดวิสัยศาลชั้นต้นจึงไม่มีอำนาจสั่งขยายระยะเวลาอุทธรณ์ออกไปให้ได้
เมื่อจำเลยที่ 1 ยื่นอุทธรณ์เกินกำหนดระยะเวลาอุทธรณ์หนึ่งเดือนตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 198 วรรคหนึ่ง คำสั่งศาลชั้นต้นที่ให้รับอุทธรณ์ของจำเลยที่ 1จึงไม่ชอบ ศาลอุทธรณ์ชอบแต่จะพิจารณาพิพากษาเฉพาะอุทธรณ์ของจำเลยอื่นเท่านั้น หากพิจารณาแล้วเห็นว่ามีเหตุอยู่ในส่วนลักษณะคดีซึ่งศาลอุทธรณ์มีอำนาจพิพากษาตลอดไปถึงจำเลยที่ 1ที่มิได้อุทธรณ์ด้วย ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 213 ศาลอุทธรณ์จะพิพากษากลับหรือแก้คำพิพากษาศาลชั้นต้นไม่ลงโทษหรือลดโทษให้จำเลยที่ 1 ก็มีอำนาจกระทำได้โดยอาศัยบทบัญญัติของมาตรา 213 ดังกล่าว มิใช่พิพากษาแก้คำพิพากษาศาลชั้นต้นในส่วนที่เกี่ยวกับจำเลยที่ 1 เพราะจำเลยที่ 1อุทธรณ์ขึ้นมา
เมื่อจำเลยที่ 1 ยื่นอุทธรณ์เกินกำหนดระยะเวลาอุทธรณ์หนึ่งเดือนตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 198 วรรคหนึ่ง คำสั่งศาลชั้นต้นที่ให้รับอุทธรณ์ของจำเลยที่ 1จึงไม่ชอบ ศาลอุทธรณ์ชอบแต่จะพิจารณาพิพากษาเฉพาะอุทธรณ์ของจำเลยอื่นเท่านั้น หากพิจารณาแล้วเห็นว่ามีเหตุอยู่ในส่วนลักษณะคดีซึ่งศาลอุทธรณ์มีอำนาจพิพากษาตลอดไปถึงจำเลยที่ 1ที่มิได้อุทธรณ์ด้วย ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 213 ศาลอุทธรณ์จะพิพากษากลับหรือแก้คำพิพากษาศาลชั้นต้นไม่ลงโทษหรือลดโทษให้จำเลยที่ 1 ก็มีอำนาจกระทำได้โดยอาศัยบทบัญญัติของมาตรา 213 ดังกล่าว มิใช่พิพากษาแก้คำพิพากษาศาลชั้นต้นในส่วนที่เกี่ยวกับจำเลยที่ 1 เพราะจำเลยที่ 1อุทธรณ์ขึ้นมา
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6381/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เงินชำระค่าสินค้าล่วงหน้าไม่ใช่เบี้ยปรับ ศาลไม่มีอำนาจลดจำนวนได้
โจทก์ทำสัญญาซื้อส้มโอพันธุ์ทองดีจากจำเลย50,000 ผล ในราคา 1,700,000 บาท โจทก์ชำระเงินมัดจำให้จำเลย 150,000 บาท ในวันทำสัญญาอันเป็นการปฏิบัติตามสัญญาซื้อขายข้อ 3 ซึ่งกำหนดไว้ว่า "ผู้ซื้อจ่ายเงินมัดจำให้ 150,000 บาท(หนึ่งแสนห้าหมื่นบาทถ้วน) ในวันที่ 23 สิงหาคม 2536Mr.TUIHUI จะมาดูของ ถ้ามีส้มโอ Mr.TUIHUIจะทำการโอนเงินจำนวน 1,000,000 บาท(หนึ่งล้านบาทถ้วน) ให้กับผู้ขายทันทีเมื่อส้มโอเข้าตู้คอนเทนเนอร์เรียบร้อยแล้ว เงินส่วนที่เหลือจะจ่ายเป็นเงินสดทันทีทั้งหมด" ดังนี้เงินจำนวน 1,000,000 บาทที่กำหนดไว้ในสัญญาดังกล่าวจึงเป็นเงินที่โจทก์จะต้องชำระหนี้ค่าส้มโอบางส่วนล่วงหน้าให้แก่จำเลยครั้นเมื่อโจทก์ได้ชำระเงินจำนวนดังกล่าวให้แก่จำเลยแล้วจำเลยย่อมมีสิทธิริบเงินจำนวนดังกล่าวพร้อมด้วยเงินมัดจำได้หากโจทก์ไม่มารับส้มโอตามกำหนดเวลาในสัญญาดังที่กำหนดไว้ในสัญญาซื้อขายข้อ 6 ที่ว่า"ถ้าผู้ซื้อไม่มารับส้มโอตามกำหนดเวลาในสัญญาผู้ขายมีสิทธิริบเงินจำนวน 1,150,000 บาท(หนึ่งล้านหนึ่งแสนห้าหมื่นบาทถ้วน)" กรณีเงินจำนวน1,000,000 บาท ที่โจทก์ชำระหนี้ให้แก่จำเลยนั้นเป็นเงินที่โจทก์ชำระหนี้บางส่วนโดยมุ่งต่อผลกล่าวคือ ให้จำเลยจัดหาส้มโอที่มีคุณภาพตามจำนวนในสัญญามาขายให้แก่โจทก์ จึงเป็นเงินล่วงหน้าไม่ใช่ลักษณะเป็นเบี้ยปรับดังที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 379แต่เป็นข้อตกลงตามสัญญาซื้อขายที่ว่า ในกรณีที่โจทก์ไม่มารับส้มโอภายในระยะเวลาที่กำหนดไว้ ให้จำเลยมีสิทธิริบเงินค่าส้มโอบางส่วนที่โจทก์ได้ชำระไว้แล้วหาใช่เงินที่จำเลยมีสิทธิที่จะเรียกจากโจทก์หากโจทก์ผิดนัดผิดสัญญาอันจะถือเป็นค่าเสียหายที่กำหนดไว้ล่วงหน้าเมื่อโจทก์เป็นฝ่ายผิดสัญญา กล่าวคือเมื่อถึงกำหนดวันที่ส่งมอบส้มโอและจำเลยได้จัดหาส้มโอเพื่อส่งมอบแก่โจทก์ตามสัญญาแล้ว แต่โจทก์ไม่มารับส้มโอเพราะโจทก์ไม่สามารถจัดหาตู้ส่งสินค้าทางเรือมารับส้มโอตามสัญญาอีกทั้งยังบอกเลิกการซื้อส้มโอจากจำเลยเสียเช่นนี้จำเลยจึงมีสิทธิริบเงินจำนวนนี้ได้ตามสัญญาซื้อขายโจทก์ไม่มีสิทธิอันใดที่จะได้รับเงินจำนวนนี้แม้เพียงบางส่วนคืนจากจำเลย เมื่อเงินจำนวนนี้มิใช่เบี้ยปรับศาลย่อมไม่มีอำนาจใช้ดุลพินิจลดจำนวนลงตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 383 ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 656/2538 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เงินมัดจำกับเบี้ยปรับมีความแตกต่างกัน ศาลไม่มีอำนาจลดเงินมัดจำ
ตาม ป.พ.พ. มาตรา 377 เงินมัดจำเป็นเงินประกันการที่จะปฏิบัติตามสัญญา ซึ่งตามมาตรา 378 กำหนดไว้ว่าหากผู้วางมัดจำผิดสัญญาก็ให้ริบหากผู้รับมัดจำผิดสัญญาก็ให้ส่งคืน เว้นแต่จะได้ตกลงไว้เป็นอย่างอื่น ทั้งนี้มิได้ถือเอาความเสียหายของผู้รับมัดจำมาเป็นหลักประกอบการพิจารณาในการริบมัดจำส่วนเงินเบี้ยปรับตามมาตรา 379 เป็นจำนวนค่าเสียหายที่คู่สัญญากำหนดกันไว้ล่วงหน้าในเมื่อมีการไม่ชำระหนี้หรือชำระหนี้ไม่ถูกต้องตามสัญญา และการริบเบี้ยปรับ มาตรา 383 ให้ถือเอาทางได้ทางเสียของเจ้าหนี้เป็นหลักในการพิจารณาว่าจะริบเบี้ยปรับทั้งหมดหรือจะลดลงเป็นจำนวนพอสมควร จึงเห็นได้ว่าเงินมัดจำกับเงินเบี้ยปรับมีลักษณะไม่เหมือนกัน มัดจำจึงไม่มีลักษณะเป็นเบี้ยปรับศาลจึงไม่มีอำนาจลดเงินมัดจำลงได้อย่างเบี้ยปรับ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 656/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เงินมัดจำกับเบี้ยปรับมีลักษณะต่างกัน ศาลไม่มีอำนาจลดเงินมัดจำ
เงินมัดจำกับเงินเบี้ยปรับมีลักษณะคนละอย่างไม่เหมือนกันมัดจำจึงไม่มีลักษณะเป็นเบี้ยปรับ ศาลจึงไม่มีอำนาจลดเงินมัดจำลงได้อย่างเบี้ยปรับ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 656/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เงินมัดจำกับการริบตามสัญญาซื้อขาย ศาลไม่มีอำนาจลดจำนวนมัดจำเหมือนเบี้ยปรับ
ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา377เงินมัดจำเป็นเงินประกันการที่จะปฏิบัติตามสัญญาซึ่งตามมาตรา378กำหนดไว้ว่าหากผู้วางมัดจำผิดสัญญาก็ให้ริบหากผู้รับมัดจำผิดสัญญาก็ให้ส่งคืนเว้นแต่จะได้ตกลงไว้เป็นอย่างอื่นทั้งนี้มิได้ถือเอาความเสียหายของผู้รับมัดจำมาเป็นหลักประกอบการพิจารณาในการริบมัดจำส่วนเงินเบี้ยปรับตามมาตรา379เป็นจำนวนค่าเสียหายที่คู่สัญญากำหนดกันไว้ล่วงหน้าในเมื่อมีการไม่ชำระหนี้หรือชำระหนี้ไม่ถูกต้องตามสัญญาและการริบเบี้ยปรับมาตรา383ให้ถือเอาทางได้ทางเสียของเจ้าหนี้เป็นหลักในการพิจารณาว่าจะริบเบี้ยปรับทั้งหมดหรือจะลดลงเป็นจำนวนพอสมควรจึงเห็นได้ว่าเงินมัดจำกับเงินเบี้ยปรับมีลักษณะไม่เหมือนกันมัดจำจึงไม่มีลักษณะเป็นเบี้ยปรับศาลจึงไม่มีอำนาจลดเงินมัดจำลงได้อย่างเบี้ยปรับ