พบผลลัพธ์ทั้งหมด 47 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8388/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คำฟ้องที่ไม่ชัดเจนและฟุ่มเฟือย ทำให้ศาลไม่รับฟ้องคดีทรัพย์สินทางปัญญา
คำฟ้องโจทก์มีเนื้อหาเกินควรกว่าที่จำเป็นและมีมากตอนที่อ่านแล้วไม่เข้าใจ อาทิ ฟ้องข้อ 1 ใช้ถ้อยคำว่า ข้อหาหรือฐานความผิดระหว่างพิจารณาเนื้อหาสาระผลงาน มาตรา 17, 24, 26 และ 27 พร้อมกฎกระทรวงฉบับที่ 21 และยื่นคำขอเป็นครั้งแรกละเมิดมาตรา 24, 25 และ 26 และข้อหาหรือฐานความผิดเบื้องหลังผลงานพ้นจากมาตรา 24, 25, 26 ไปแล้ว และได้เข้าสู่มาตรา 27 หรือในข้อ 2 มีถ้อยคำว่า ข้อหาหรือฐานความผิดละเมิดผิดสัตยาบรรณ รับรองผลไม่เสียหาย ซึ่งอ่านแล้วไม่เข้าใจว่าโจทก์ถูกจำเลยทั้งสองโต้แย้งสิทธิตามกฎหมายในเรื่องใด หรือการกระทำของจำเลยทั้งสองไม่ชอบด้วยกฎหมายอย่างไร หรือฟ้องข้อ 3 มีข้อความว่า ข้อหาหรือฐานความผิด คำสั่งยกคำขอมิชอบด้วยกฎหมายโดยโจทก์กล่าวหาผู้อำนวยการสำนักสิทธิบัตรว่าเซ็นคำสั่งยกคำขอไม่ถูกต้องเพราะจะปฎิบัติราชการแทนอธิบดีกรมทรัพย์สินทางปัญญามิได้เนื่องจากไปขัดข้ามตำแหน่งทางปกครองระดับกรมของรองอธิบดีซึ่งปกครองระดับสำนักงานและเป็นตำแหน่งโปรดเกล้าฯ เป็นต้น จึงเป็นคำฟ้องที่ไม่แสดงให้พอเข้าใจได้ถึงสภาพและข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาตลอดจนคำขอบังคับอีกด้วย ทั้งคำฟ้องของโจทก์ยังมีความฟุ่มเฟือย อ่านไม่เข้าใจจึงเป็นคำฟ้องไม่ชอบด้วยกฎหมาย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7508-7528/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องแย้งคดีแรงงานต้องเกี่ยวเนื่องกับคำฟ้องเดิม หากไม่เกี่ยวเนื่อง ศาลไม่รับฟ้อง
ตามคำฟ้องเดิมของโจทก์เป็นเรื่องที่โจทก์อ้างว่าโจทก์ไม่ได้ทำงานทุกวันเพราะจำเลยที่ 1 ไม่มีวัตถุดิบซึ่งไม่ใช่ความผิดของโจทก์ จำเลยที่ 1 มีหน้าที่ต้องจ่ายค่าจ้างในช่วงที่โจทก์ไม่ได้ทำงานด้วย ต่อมาจำเลยที่ 1 เลิกจ้างโจทก์โดยไม่จ่ายค่าชดเชย โจทก์จึงยื่นคำร้องต่อพนักงานตรวจแรงงานซึ่งพนักงานตรวจแรงงานมีคำสั่งให้จำเลยที่ 1 และที่ 2 จ่ายค่าจ้างช่วงที่จำเลยที่ 1 ไม่มีงานให้โจทก์ทำและค่าชดเชยแก่โจทก์ แต่จำเลยที่ 1 และที่ 2 ไม่จ่ายค่าจ้างและค่าชดเชยตามคำสั่งของพนักงานตรวจแรงงาน ดังนี้ คำฟ้องเดิมจึงเป็นการฟ้องบังคับให้จำเลยที่ 1 และที่ 2 จ่ายเงินตามคำสั่งของพนักงานตรวจแรงงานตาม พ.ร.บ. คุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 มาตรา 124 วรรคสาม อันเป็นคดีพิพาทเกี่ยวด้วยสิทธิหน้าที่ตามกฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองแรงงาน ส่วนฟ้องแย้งของจำเลยที่ 1 และที่ 2 ที่ขอให้บังคับโจทก์ชดใช้ค่าเสียหายต่อชื่อเสียงของจำเลยที่ 1 กรณีโจทก์ไปยื่นคำร้องต่อพนักงานตรวจแรงงานอันเป็นเท็จ ทำให้จำเลยที่ 1 เสียหายเสื่อมเสียชื่อเสียงนั้น เป็นคดีอันเกิดแต่มูลละเมิดซึ่งไม่เกี่ยวกับสัญญาจ้างแรงงานเป็นคนละเรื่องคนละประเด็นแตกต่างกันกับคำฟ้องเดิม ฟ้องแย้งของจำเลยที่ 1 และที่ 2 จึงไม่เกี่ยวกับคำฟ้องเดิม ไม่ชอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 177 วรรคสาม ประกอบด้วย พ.ร.บ. จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 31
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9286/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องแย้งต้องเกี่ยวกับฟ้องเดิมเพื่อรวมพิจารณา หากเป็นคนละเรื่อง ศาลไม่รับฟ้อง
การฟ้องแย้งต้องเกี่ยวกับฟ้องเดิมพอที่จะรวมการพิจารณาและชี้ขาดตัดสินเข้าด้วยกันได้ เมื่อฟ้องเดิมของโจทก์เป็นเรื่องขอให้ศาลบังคับจำเลยชำระเงินกู้และบังคับจำนองที่ดินที่จำเลยทั้งสองจดทะเบียนเป็นประกันหนี้เงินกู้ จำเลยปฏิเสธว่าจำนวนหนี้ตามฟ้องไม่ถูกต้องและโจทก์ทั้งสองไม่เคยมีหนังสือบอกกล่าวบังคับจำนองคดีจึงมีประเด็นว่า จำเลยทั้งสองเป็นหนี้เงินกู้โจทก์ทั้งสองจำนวนเท่าใด และโจทก์ทั้งสองมีสิทธิบังคับจำนองหรือไม่ การที่จำเลยที่ 2ฟ้องแย้งเรียกค่าเสียหายที่ไม่สามารถโอนที่ดินพิพาทที่จำนองให้แก่ผู้ซื้อได้นั้น เป็นคนละเรื่องคนละประเด็น แตกต่างจากฟ้องเดิมของโจทก์ ฟ้องแย้งของจำเลยที่ 2 จึงเป็นเรื่องอื่นไม่เกี่ยวกับฟ้องเดิมพอที่จะรวมพิจารณาและชี้ขาดตัดสินเข้าด้วยกันได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5654/2543 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องซ้ำต้องห้าม: ศาลไม่รับฟ้องคดีเดิมซ้ำ เมื่อประเด็นข้อพิพาทเคยถูกวินิจฉัยถึงที่สุดแล้ว
คดีเดิมเมื่อจำเลยในคดีนี้ฟ้องเรียกให้โจทก์ชำระเงินตามสัญญากู้ยืมและบังคับจำนอง โจทก์มิได้ยกขึ้นเป็นข้อต่อสู้ในคำให้การเลยว่า โจทก์ไม่ได้รับเงินตามสัญญาเพื่อให้เกิดประเด็นข้อพิพาทในคดีนั้น อันเป็นความบกพร่องไม่รอบคอบของโจทก์เอง เมื่อศาลพิพากษาว่าได้มีการกู้เงินไปตามฟ้องจริงและคดีถึงที่สุดไปแล้วโจทก์จะกลับมาฟ้องคดีใหม่อ้างเหตุว่า ความจริงแล้วโจทก์ไม่ได้รับเงินตามสัญญากู้ยืมและบังคับจำนองจากจำเลย ขอให้ห้ามมิให้คำพิพากษาในคดีเดิมมีผลใช้บังคับแก่โจทก์ดังนี้ เท่ากับเป็นการรื้อร้องฟ้องคดีที่ศาลมีคำพิพากษาถึงที่สุด ทั้ง ๆ ที่เป็นคู่ความรายเดียวกัน ซึ่งต้องผูกพันตามคำพิพากษาในคดีดังกล่าวนั้นให้ต้องกลับมาวินิจฉัยซ้ำในเหตุเดียวกันอีกว่าได้มีการกู้เงินไปตามฟ้องจริงหรือไม่ จึงเป็นฟ้องซ้ำ ต้องห้ามตาม ป.วิ.พ.มาตรา 148
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4276/2543 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การขอคืนภาษีธุรกิจเฉพาะต้องยื่นคำร้องก่อนฟ้องคดี หากไม่ปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ ศาลไม่รับฟ้อง
โจทก์อ้างว่าตนไม่มีหน้าที่เสียภาษีธุรกิจเฉพาะ เงินเพิ่มและภาษีส่วนท้องถิ่น แต่ได้ชำระภาษีอากรดังกล่าวแก่จำเลยที่ 2 ไว้ โจทก์จึงนำคดีมาฟ้องขอให้จำเลยทั้งสองร่วมกันชำระเงินดังกล่าวคืน เป็นเรื่องการขอคืนภาษีธุรกิจเฉพาะซึ่งโจทก์ต้องยื่นคำร้องขอคืนตามหลักเกณฑ์ วิธีการและระยะเวลาที่กำหนดไว้ก่อนโจทก์จึงจะนำคดีมาฟ้องต่อศาลภาษีอากรได้ ตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลภาษีอากรและวิธีพิจารณาคดีภาษีอากร พ.ศ. 2528 มาตรา 9 โจทก์รับว่าก่อนฟ้องคดีนี้โจทก์ไม่ได้ยื่นคำร้องขอคืนภาษีที่ตนไม่มีหน้าที่ต้องเสีย จึงเป็นกรณีที่โจทก์มิได้ปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ที่กฎหมายกำหนด โจทก์ไม่อาจนำคดีมาฟ้องต่อศาลได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2824/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การไม่ปฏิบัติตามขั้นตอนการผัดฟ้องต่ออัยการสูงสุดในคดีเยาวชน ส่งผลให้ศาลไม่รับฟ้อง
ศาลชั้นต้นเห็นว่า ไม่มีการผัดฟ้องต่อหรือขออนุญาตจากอัยการสูงสุด คดีโจทก์ต้องห้ามมิให้ฟ้องตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว พ.ศ. 2534 มาตรา 53 จึงมีคำสั่งไม่รับฟ้องเมื่อศาลอุทธรณ์พิพากษายืน ผลเท่ากับศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์พิพากษายกฟ้อง โจทก์ฎีกาไม่ได้ทั้งในปัญหาข้อเท็จจริงและข้อกฎหมายตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 220 ประกอบด้วยพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว พ.ศ. 2534 มาตรา 6
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1034/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแก้ไขฟ้องแย้งหลังศาลไม่รับฟ้อง: ไม่อนุญาตแก้ไขหากศาลมีคำสั่งไม่รับฟ้องแล้ว
เมื่อศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางมีคำสั่งไม่รับฟ้องแย้งของจำเลยไว้พิจารณาแล้ว จึงไม่มีฟ้องแย้งที่จะให้จำเลยแก้ไขได้อีก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4897/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องแย้งเพิกถอนสัญญาเมื่อมีข้อต่อสู้เรื่องโมฆะอยู่แล้ว ศาลไม่รับฟ้องแย้งซ้ำ
จำเลยให้การต่อสู้คดีว่า สัญญากู้ยืมเงินระหว่างโจทก์และจำเลย ที่โจทก์นำมาฟ้องตกเป็นโมฆะเพราะเป็นการแสดงเจตนาโดยสำคัญผิดในสิ่งซึ่งเป็นสาระสำคัญแห่งนิติกรรมหากศาลพิจารณาได้ความจริงดังที่จำเลยกล่าวอ้าง ศาลก็มีอำนาจชี้ขาดให้ยกฟ้องโจทก์ ซึ่งมีผลให้จำเลยไม่ต้องรับผิดต่อโจทก์ได้อยู่แล้ว จำเลยจึงไม่จำต้องฟ้องแย้งขอให้เพิกถอนและทำลายสัญญากู้ยืมเงินดังกล่าวให้สิ้นผลบังคับต่อกันอันจะเป็นเหตุให้ศาลต้องวินิจฉัยชี้ขาดปัญหานั้นซ้ำอีกจึงชอบที่ศาลจะมีคำสั่งไม่รับฟ้องแย้งของจำเลย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 393/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คำฟ้องไม่ชัดเจน ศาลไม่รับฟ้อง แม้มีการแก้ไขหลายครั้ง โจทก์อุทธรณ์ไม่ชัดเจน ศาลฎีกายกอุทธรณ์
ศาลแรงงานกลางมีคำสั่งไม่รับคำฟ้องเพราะคำฟ้องเขียนฟุ่มเฟือย อ่านไม่เข้าใจโจทก์อุทธรณ์อ้างเพียงว่าศาลแรงงานกลางมีคำสั่งดังกล่าวและให้จำหน่ายคดีออกจากสารบบความ กับอ้างว่าโจทก์ใช้สิทธิทางศาลตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 55ศาลตัดสิทธิโจทก์ทั้งที่ทราบว่าคดียังไม่ถึงที่สุดเท่านั้นมิได้โต้แย้งคำสั่งศาลแรงงานกลางว่าคำฟ้องมิได้เขียนฟุ่มเฟือยและสามารถอ่านเข้าใจได้ พร้อมทั้งเหตุผลสนับสนุนข้อโต้แย้งดังกล่าว จึงเป็นอุทธรณ์ที่ไม่ชัดแจ้ง ไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 225 วรรคหนึ่ง ประกอบด้วยพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522มาตรา 31 ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5545/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องแย้งขอคืน/ทำลายเอกสารค้ำประกันเมื่อศาลต้องยกฟ้องอยู่แล้ว ศาลไม่รับฟ้องแย้ง
จำเลยให้การว่า หนังสือสัญญาค้ำประกันท้ายฟ้องเป็นเอกสารที่จำเลยลงลายมือชื่อโดยที่ยังไม่ได้กรอกข้อความโจทก์หรือตัวแทนโจทก์กรอกข้อความลงในเอกสารดังกล่าวโดยไม่ได้รับความยินยอมจากจำเลย จึงเป็นเอกสารปลอมขอให้ยกฟ้อง และฟ้องแย้งบังคับโจทก์คืนเอกสารดังกล่าวแก่จำเลย หากไม่คืนขอให้มีคำพิพากษาหรือคำสั่งทำลายเอกสารดังกล่าวโดยถือเอาคำพิพากษาเป็นการแสดงเจตนาแทน ซึ่งหากพิจารณา ได้ความตามคำให้การจำเลยดังกล่าว ศาลต้องพิพากษายกฟ้อง จำเลยย่อมได้รับผลตามคำพิพากษาอยู่แล้ว กรณีไม่มีเหตุจำเป็น ที่จำเลยจะฟ้องแย้งขอให้บังคับโจทก์คืนเอกสารหรือทำลายเอกสาร ดังกล่าวอีก จึงชอบที่ศาลจะไม่รับฟ้องแย้งของจำเลย