คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
ศาลไม่รับวินิจฉัย

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 50 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4745/2547

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การคืนของกลาง: ศาลไม่รับวินิจฉัยประเด็นริบของกลางซ้ำ หากคำสั่งริบในคดีหลักถึงที่สุดแล้ว
ในคดีร้องขอคืนของกลางที่ศาลสั่งริบนั้น ประเด็นที่ต้องวินิจฉัยตามคำร้องของผู้ร้องมีเพียงว่า ศาลจะสั่งคืนเรือของกลางให้แก่เจ้าของซึ่งมิได้รู้เห็นเป็นใจด้วยในการกระทำความผิดของจำเลยหรือไม่เท่านั้น ส่วนประเด็นที่ว่า ศาลจะสั่งริบเรือของกลางได้หรือไม่ยุติไปตามคำสั่งศาลในคดีหลักซึ่งถึงที่สุดแล้ว ผู้ร้องจะยกประเด็นดังกล่าวขึ้นมาในคำร้องขอคืนเรือของกลางต่อไปอีกไม่ได้ ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยให้
(ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 2/2547)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9682/2544

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ประเด็นการครอบครองปรปักษ์ที่ศาลไม่รับวินิจฉัย เนื่องจากมิได้ยกขึ้นว่ากันในชั้นศาล
โจทก์ฟ้องว่า ที่ดินพิพาทเป็นของโจทก์ จำเลยบุกรุกเข้ามาปลูกกระท่อมอ้างว่าเป็นที่ดินของจำเลย ขอให้บังคับจำเลยรื้อถอนกระท่อมออกจากที่ดินพิพาทห้ามจำเลยและบริวารไม่ให้เข้ามาเกี่ยวข้องอีกต่อไป จำเลยให้การ ในตอนแรกว่าที่ดินพิพาทเป็นส่วนหนึ่งของที่ดินโฉนดเลขที่ 1989 ซึ่งเป็นกรรมสิทธิ์ของจำเลย แต่จำเลยกลับให้การ ในตอนหลังว่า จำเลยครอบครองทำประโยชน์ในที่ดินพิพาทโดยปลูกสร้างบ้านอยู่อาศัยเต็มทั้งแปลงด้วยความสุจริต โดยเจตนายึดถือเพื่อตนด้วยความสงบและเปิดเผยเป็นเวลาเกินกว่า 10 ปี หากที่ดินพิพาทอยู่ในโฉนดที่ดินของโจทก์จำเลยย่อมได้กรรมสิทธิ์ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1382 จึงขัดแย้งคำให้การในตอนแรก รูปคดีตามที่โจทก์ฟ้องและจำเลยให้การไม่มีประเด็นเรื่องการครอบครองปรปักษ์ตามมาตรา 1382 แม้ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์จะรับวินิจฉัยให้ ก็ถือ ไม่ได้ว่าเป็นข้อที่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคหนึ่ง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8404/2544

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเปลี่ยนแปลงคำให้การขัดแย้งเดิม ไม่สร้างประเด็นใหม่ ศาลไม่รับวินิจฉัย
โจทก์ฟ้องว่าที่ดินพิพาทเป็นของโจทก์โดยซื้อมาจากจำเลยจำเลยให้การว่าที่ดินพิพาทเป็นของจำเลย จำเลยไม่เคยขายให้โจทก์แต่ตอนหลังจำเลยกลับให้การว่าที่ดินพิพาทเป็นที่สาธารณสมบัติของแผ่นดิน คำให้การจำเลยในตอนหลังจึงขัดกับคำให้การตอนแรกเป็นคำให้การที่ไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 177 วรรคสอง ไม่ก่อให้เกิดเป็นประเด็นเรื่องที่ดินพิพาทเป็นที่สาธารณสมบัติของแผ่นดินหรือไม่ แม้ศาลชั้นต้นจะกำหนดเป็นประเด็นไว้ก็ไม่ชอบ ศาลอุทธรณ์ชอบที่จะไม่รับวินิจฉัยอุทธรณ์ของจำเลยในเรื่องดังกล่าว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6242/2544

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฎีกาต้องห้าม - โทษจำคุกไม่เกิน 5 ปีต่อกระทง - ศาลไม่รับวินิจฉัย
ศาลชั้นต้นลงโทษจำเลยฐานมีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่ายจำคุก 5 ปี และฐานจำหน่ายเมทแอมเฟตามีนจำคุก 5 ปี รวมจำคุก 10 ปี เพิ่มโทษจำคุกกึ่งหนึ่งเป็นจำคุก 15 ปีเมื่อลดโทษให้จำเลยกึ่งหนึ่งแล้วคงให้จำคุก 7 ปี 6 เดือน กับให้บวกโทษของจำเลยที่รอการลงโทษไว้ในคดีก่อนเข้ากับโทษในคดีนี้ ศาลอุทธรณ์ภาค 1 พิพากษายืน จึงมีผลเท่ากับว่าศาลอุทธรณ์ภาค 1 ยังคงให้ลงโทษจำคุกจำเลยแต่ละกระทงไม่เกิน 5 ปี จึงต้องห้ามมิให้คู่ความฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 218 วรรคหนึ่ง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2883/2544

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฎีกาต้องห้าม กรณีจำเลยขอถอนคำให้การเดิมเป็นรับสารภาพ ศาลไม่รับวินิจฉัยประเด็นใหม่
จำเลยขอถอนคำให้การเดิมที่ปฏิเสธและขอให้การรับสารภาพตามฟ้องตลอดข้อกล่าวหา จำเลยจะฎีกาโต้เถียงว่าไม่มีประจักษ์พยานเห็นว่าจำเลยกระทำความผิดตามฟ้องหาได้ไม่ เพราะไม่ใช่ข้อเท็จจริงที่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้น ต้องห้ามฎีกาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 249 วรรคหนึ่งประกอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 15แม้จำเลยจะได้รับอนุญาตให้ฎีกาก็ตาม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7039/2543

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อุทธรณ์ที่ไม่ชัดแจ้งเหตุผลและรายละเอียดข้อเท็จจริง ทำให้ศาลไม่รับวินิจฉัยและยืนตามคำพิพากษาเดิม
จำเลยอุทธรณ์ว่า ถ้าศาลชั้นต้นให้จำเลยสืบพยานก็จะทราบข้อเท็จจริงในคดีที่จะทำให้จำเลยชนะคดีได้ โดยไม่ได้กล่าวถึงข้อเท็จจริงหรือข้อกฎหมายให้ชัดแจ้ง เพียงแต่กล่าวอ้างถึงคำร้องจำเลยที่คัดค้านคำสั่งศาลชั้นต้นที่สั่งงดสืบพยาน จำเลยให้เป็นส่วนหนึ่งของอุทธรณ์จำเลย ทั้งมิได้กล่าวรายละเอียดตามคำร้องคัดค้านดังกล่าวมาในอุทธรณ์ด้วย จึงไม่อาจจะนำเอารายละเอียดในคำร้องนั้นมาประกอบอุทธรณ์จำเลยให้ชัดแจ้งได้ อุทธรณ์จำเลยจึงเป็น อุทธรณ์ที่ไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 225 วรรคหนึ่ง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3293/2543

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฎีกาในคดีอาญาที่ศาลชั้นต้นและอุทธรณ์พิพากษายกฟ้องฐานปล้นทรัพย์ ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยฐานปล้นทรัพย์ตาม ป.อ. มาตรา 340, 340 ตรี, 83 ศาลชั้นต้นพิพากษาว่า จำเลย มีความผิดฐานทำร้ายร่างกายตาม ป.อ. มาตรา 295, 83 จำคุก 1 ปี ข้อหาและคำขออื่นนอกจากนี้ให้ยก ศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้เป็นว่า จำเลยมีความผิดฐานลักทรัพย์ตาม ป.อ. มาตรา 334 อีกกระทงหนึ่งเรียงกระทงลงโทษตาม ป.อ. มาตรา 91 จำคุก 1 ปี รวมเป็นจำคุก 2 ปี ลดโทษให้หนึ่งในสาม คงจำคุก 1 ปี 4 เดือน นอกจากที่แก้ให้เป็นไปตาม คำพิพากษาศาลชั้นต้นมีผลเท่ากับว่าศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ พิพากษายกฟ้องโจทก์ในข้อหาปล้นทรัพย์ ต้องห้าม มิให้คู่ความฎีกาตาม ป.วิ.อ. มาตรา 220 ที่ศาลชั้นต้นสั่งรับฎีกาโจทก์ย่อมเป็นการไม่ชอบ ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยให้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2126/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การพิสูจน์กรรมสิทธิ์ที่ดินจากพยานหลักฐาน เอกสารสัญญาขาย และการครอบครอง โดยศาลไม่รับวินิจฉัยประเด็นพินัยกรรม
สำเนาหนังสือสัญญาขายที่ดินเป็นเอกสารที่ส่งมาจากสำนักงานที่ดินกรุงเทพมหานคร สาขาบางกอกน้อย แม้จะเป็นสำเนาเอกสารก็สามารถรับฟังเป็นพยานหลักฐานในคดีได้ เพราะต้นฉบับได้ส่งไปยังศาลแพ่งและศาลแพ่งแจ้งว่าตรวจหาแล้วไม่พบ เพราะมีการปลดเผาตามระเบียบแล้ว แสดงว่าต้นฉบับหนังสือดังกล่าวเป็นเอกสารที่มีอยู่จริงเพียงแต่หาต้นฉบับไม่ได้เท่านั้น
ประเด็นที่ว่าโจทก์มีกรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทโดยทางพินัยกรรมหรือไม่นั้น ตามคำบรรยายฟ้องของโจทก์มิได้กล่าวถึงประเด็นข้อนี้อันจะอาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาเช่นว่านั้น แม้ในชั้นชี้สองสถานศาลชั้นต้นจะได้กำหนดเป็นประเด็นพิพาทไว้ก็ตาม แต่ก็ถือว่าเป็นข้อที่ว่ากันมาแล้วโดยมิชอบ ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1601/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดจากละเมิดและการก่อสร้างใกล้สถานศึกษา ศาลไม่รับวินิจฉัยประเด็นความรับผิดตามมาตรา 428
คำฟ้องของโจทก์ทั้งสองไม่ได้กล่าวเลยว่า จำเลยที่ 1 ได้ว่าจ้างจำเลยที่ 2 ให้ก่อสร้างอาคารในลักษณะจ้างแรงงานหรือจ้างทำของอันจะเป็นการต้องด้วย ป.พ.พ. มาตรา 428 แต่คงกล่าวรวม ๆ กันไปว่า จำเลยทั้งสองได้ร่วมกันกระทำละเมิดต่อโจทก์ และจำเลยที่ 1 ก็ไม่ได้ให้การปฏิเสธไว้โดยชัดแจ้งว่าจำเลยที่ 1 ได้จ้างเหมาจำเลยที่ 2 ในลักษณะจ้างทำของไปแล้ว จึงไม่ต้องรับผิด คงให้การแต่เพียงว่าจำเลยที่ 1 ว่าจ้างจำเลยที่ 2 เป็นผู้ก่อสร้างอาคารและรับผิดในความเสียหายต่อบุคคลภายนอก อีกทั้งได้ประกันความเสียหายไว้แก่บริษัทประกันภัย และจำเลยทั้งสองได้ยอมชดใช้ค่าเสียหายให้โจทก์ทั้งสองไปแล้วจึงไม่ต้องรับผิด ด้วยเหตุนี้การที่ศาลชั้นต้นวินิจฉัยเกี่ยวกับประเด็นที่ว่าจำเลยที่ 1 ต้องร่วมรับผิดตาม ป.พ.พ. มาตรา 428 จึงไม่ชอบ ตลอดจนการที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยในประเด็นดังกล่าวรวม ๆ กันไปกับประเด็นที่ว่าฟ้องโจทก์เกี่ยวกับค่าเสียหายเคลือบคลุมหรือไม่ ก็เป็นการไม่ชอบเช่นเดียวกัน ฎีกาของจำเลยที่ 1 เกี่ยวกับการที่ต้องร่วมรับผิดตาม ป.พ.พ. มาตรา 428 หรือไม่ ถือเป็นการไม่ชอบตาม ป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคหนึ่ง ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
ในช่วงที่มีการก่อสร้างอาคารคอนโดมิเนียมของจำเลยที่ 1 ซึ่งสูงถึง 29 ชั้น และอยู่ห่างจากโรงเรียนของโจทก์ทั้งสองเพียง 4 เมตร มีวัสดุก่อสร้างตกเรี่ยราดเกลื่อนกลาดไปทั่วบริเวณโรงเรียน หล่นใส่อาคารเรียน โรงฝึก และส่วนอื่น ๆ ได้รับความเสียหาย นักเรียนสมัครเข้าเรียนในโรงเรียนน้อยลงผิดปกติเป็นเวลาถึง 3 ปี จนกระทั่งเมื่อการก่อสร้างแล้วเสร็จ จึงมีนักเรียนมาสมัครเข้าเรียนเพิ่มขึ้นเกือบร้อยเปอร์เซ็นต์ เมื่อพิจารณาว่าสถานศึกษาต้องเป็นสถานที่สงบเงียบ ร่มรื่น สะอาดสะอ้าน ปลอดภัย เมื่อผู้ประสบพบเห็นเหตุการณ์ก่อสร้างที่เกรงว่าน่าจะเกิดอันตราย จึงไม่พึงปรารถนาจะส่งบุตรหลานเข้าไปเล่าเรียน การที่มีนักเรียนมาสมัครเรียนน้อยลงจึงถือเป็นความเสียหายโดยตรงที่โจทก์ทั้งสองพึงได้รับจากการกระทำละเมิดดังกล่าว โจทก์ทั้งสองชอบที่จะได้รับชดใช้ค่าเสียหายในส่วนนี้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5480/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้อง, หนังสือมอบอำนาจ, สัญญา, การยกข้อต่อสู้ใหม่, ข้อหาที่ไม่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้ว
ที่จำเลยฎีกาในเรื่องอำนาจฟ้องว่า ในชั้นพิจารณาโจทก์ไม่ได้นำสืบว่าขณะทำหนังสือมอบอำนาจ ศ.ยังเป็นกรรมการผู้มีอำนาจของโจทก์หรือไม่เพราะหนังสือมอบอำนาจมิได้ระบุวันที่การทำหนังสือมอบอำนาจไว้นั้น ในประเด็นนี้จำเลยให้การสู้คดีไว้ว่า การมอบอำนาจไม่ชอบด้วยกฎหมาย เพราะมิใช่ลายมือที่แท้จริงของ ศ.กรรมการผู้มีอำนาจกระทำการแทน โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้อง ฎีกาของจำเลยดังกล่าวจึงเป็นข้อที่ไม่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
โจทก์บรรยายฟ้องว่า หลังจากจำเลยได้เบิกเงินจากบัญชีกระแส-รายวัน เลขที่ 5151-5 ที่สาขาขอนแก่นของโจทก์ โดยใช้เช็คหรือใบเบิกที่โจทก์มอบให้ และได้นำเงินเข้าบัญชีอันเป็นการเดินสะพัดทางบัญชี แต่จำเลยไม่ได้ชำระดอกเบี้ยให้แก่โจทก์ตามกำหนดเวลาที่ตกลงกันไว้ คิดตั้งแต่วันที่ 20 พฤษภาคม2531 อันเป็นที่จำเลยทำสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีกับโจทก์ ถึงวันที่ 29 มิถุนายน2534 ซึ่งเป็นวันเลิกสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชี จำเลยเป็นหนี้ต้นเงินและดอกเบี้ยทบต้นในอัตราร้อยละ 15 ต่อปี เป็นเงิน 1,602,129.80 บาท คำฟ้องของโจทก์ดังกล่าวได้บรรยายโดยแจ้งชัดซึ่งสภาพแห่งข้อหาและข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาข้อนี้ด้วย ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 172 วรรคสอง แล้ว
ส่วนที่จำเลยฎีกาว่า นับตั้งแต่วันที่ 27 กันยายน 2533โจทก์ไม่มีสิทธิคิดดอกเบี้ยทบต้นจากจำเลยเพราะสัญญาบัญชีเดินสะพัดเลิกกันแล้วนั้นจำเลยให้การสู้คดีไว้ว่า จำเลยไม่เคยทำสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีและสัญญากู้เงินจากโจทก์และยอดหนี้ตามฟ้องไม่ถูกต้องเพราะจำเลยไม่ได้เป็นหนี้โจทก์ตามฟ้องตามคำให้การดังกล่าวมีความหมายว่า จำเลยไม่เคยทำสัญญากู้เงินและไม่เคยทำสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีกับโจทก์ จำเลยจึงไม่ได้เป็นหนี้โจทก์ตามฟ้อง ฎีกาข้อนี้ของจำเลยจึงเป็นข้อที่ไม่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
of 5