พบผลลัพธ์ทั้งหมด 11 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3578/2526
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คำรับสารภาพที่ไม่น่าเชื่อถือ: พยานหลักฐานสนับสนุนคำรับสารภาพต้องมีน้ำหนักพอสมควร หากไม่มีพยานหลักฐานอื่นประกอบ และจำเลยปฏิเสธในชั้นพิจารณา ศาลไม่สามารถลงโทษได้
โจทก์คงมีแต่พนักงานสอบสวนผู้สอบสวนคำให้การจำเลยมาเบิกความประกอบคำให้การรับสารภาพในชั้นสอบสวนของจำเลย โดยไม่มีพยานหลักฐานอื่นมาสืบประกอบคำรับดังกล่าว เมื่อจำเลยให้การปฏิเสธในชั้นพิจารณาและนำสืบปฏิเสธว่าคำรับดังกล่าวพนักงานสอบสวนได้มาโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย ดังนี้ พยานโจทก์ยังไม่พอให้รับฟังลงโทษจำเลย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 746/2522
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เบิกความเท็จเกี่ยวกับวันเกิดเหตุบุกรุก ศาลไม่ลงโทษเพราะจำเลยฟ้องผิดวัน และข้อความเท็จไม่เป็นสาระสำคัญ
จำเลยเบิกความว่าโจทก์บุกรุกในวันผิดจากที่ฟ้อง ถึงอย่างไรก็ลงโทษโจทก์ไม่ได้ เพราะโจทก์หลงต่อสู้ฐานที่อยู่ คำเบิกความว่าโจทก์บุกรุกจึงไม่ใช่ข้อสำคัญในคดี ไม่เป็นความผิดตาม มาตรา177
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1514/2508 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เจตนาหลอกลวงเพื่อเอาเงินทอนเข้าข่ายฉ้อโกง แม้ฟ้องฐานลักทรัพย์ ศาลไม่ลงโทษ
ศาลอุทธรณ์ฟังว่า จำเลยที่ 1 ซึ่งไม่ได้อุทธรณ์ ไม่มีความผิดดังฟ้อง โดยลักษณะคดีศาลอุทธรณ์มีอำนาจพิพากษาให้เป็นคุณรวมไปถึงจำเลยที่ไม่ได้อุทธรณ์ด้วยได้ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 213 (อ้างฎีกาที่ 1370/2503)
จำเลยเข้าไปขอซื้อสบู่ในร้านผู้เสียหาย 1 ก้อน ราคา 3 บาท จำเลยส่งธนบัตรใบละ 100 บาทให้ ผู้เสียหายทอนให้ 97 บาท ต่อมาจำเลยพูดว่าไม่ต้องการสบู่ขอเงินคืน พร้อมกับส่งสบู่และเงินทอนให้ผู้เสียหาย ผู้เสียหายรับเงินทอนโดยไม่นับดู แล้วคืนธนบัตร 100 บาทให้จำเลย จำเลยรับแล้วก็รีบออกจากร้านไป ดังนี้ เจตนาของจำเลยก็เพื่อต้องการเงินจำนวนหนึ่งจากเจ้าทรัพย์ โดยใช้อุบายทำทีว่าจะซื้อสบู่ ด้วยการชำระเงินด้วยธนบัตรใบละ 100 บาท เพื่อเจ้าทรัพย์จะได้ทอนเงินปลีกให้เมื่อได้เงินทอนแล้วก็กลับบอกเลิกไม่ซื้อสบู่ และขอธนบัตรใบละ 100 บาทคืน โดยมอบเงินทอนให้แก่เจ้าทรัพย์ แต่ฉวยโอกาสทำการทุจริตยักเอาเงินไว้เสีย 50 บาท โดยแกล้งทำเป็นซื้อสบู่เป็นฉากบังหน้าอันเป็นเท็จ เพื่อหลอกลวงให้ได้ไปซึ่งทรัพย์สินคือเงินส่วนหนึ่งที่เจ้าทรัพย์ทอนให้ เพราะหลงเชื่อในการหลอกลวงนั้น การกระทำของจำเลยเป็นผิดฐานฉ้อโกง
เมื่อความผิดของจำเลยที่ได้ความตามทางพิจารณาเป็นฐานฉ้อโกง โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษฐานลักทรัพย์ ไม่ประสงค์ให้ลงโทษฐานฉ้อโกง ศาลจะลงโทษจำเลยหาได้ไม่
จำเลยเข้าไปขอซื้อสบู่ในร้านผู้เสียหาย 1 ก้อน ราคา 3 บาท จำเลยส่งธนบัตรใบละ 100 บาทให้ ผู้เสียหายทอนให้ 97 บาท ต่อมาจำเลยพูดว่าไม่ต้องการสบู่ขอเงินคืน พร้อมกับส่งสบู่และเงินทอนให้ผู้เสียหาย ผู้เสียหายรับเงินทอนโดยไม่นับดู แล้วคืนธนบัตร 100 บาทให้จำเลย จำเลยรับแล้วก็รีบออกจากร้านไป ดังนี้ เจตนาของจำเลยก็เพื่อต้องการเงินจำนวนหนึ่งจากเจ้าทรัพย์ โดยใช้อุบายทำทีว่าจะซื้อสบู่ ด้วยการชำระเงินด้วยธนบัตรใบละ 100 บาท เพื่อเจ้าทรัพย์จะได้ทอนเงินปลีกให้เมื่อได้เงินทอนแล้วก็กลับบอกเลิกไม่ซื้อสบู่ และขอธนบัตรใบละ 100 บาทคืน โดยมอบเงินทอนให้แก่เจ้าทรัพย์ แต่ฉวยโอกาสทำการทุจริตยักเอาเงินไว้เสีย 50 บาท โดยแกล้งทำเป็นซื้อสบู่เป็นฉากบังหน้าอันเป็นเท็จ เพื่อหลอกลวงให้ได้ไปซึ่งทรัพย์สินคือเงินส่วนหนึ่งที่เจ้าทรัพย์ทอนให้ เพราะหลงเชื่อในการหลอกลวงนั้น การกระทำของจำเลยเป็นผิดฐานฉ้อโกง
เมื่อความผิดของจำเลยที่ได้ความตามทางพิจารณาเป็นฐานฉ้อโกง โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษฐานลักทรัพย์ ไม่ประสงค์ให้ลงโทษฐานฉ้อโกง ศาลจะลงโทษจำเลยหาได้ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 46/2489
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องคดีอาญาต้องระบุข้อกล่าวหาเฉพาะเจาะจงถึงการกระทำของผู้ต้องหาในแต่ละช่วงเวลา หากโจทก์ไม่ได้ระบุการกระทำของผู้ต้องหาในตอนแรก ศาลจะไม่ลงโทษ
ข้อเท็จจริงได้ความว่ามีการวิวาททำร้ายกันสองตอน แต่โจทก์บรรยายฟ้องเฉพาะการวิวาททำร้ายกันในตอนที่ 2 นั้นศาลจะลงโทษจำเลยในความผิดตอนแรกไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1481/2482
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
กฎหมายรัชชูปการยกเลิกแล้ว ศาลไม่สามารถลงโทษจำเลยฐานแจ้งความเท็จได้
จำเลยกระทำผิดฐานแจ้งความเท็จตาม พ.ร.บ.รัชชูปการเมื่อวันที่ 8/1/2480 โจทก์เพิ่งมาฟ้องเมื่อวันที่ 31/6/2482 เมื่อ พ.ร.บ.รัชชูปการที่ได้ยกเลิกแล้ว ศาลยกฟ้องตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาอาญา ม.39(5) ม.5 แห่ง พ.ร.บ.ให้ใช้ประมวลรัษฎากรนั้นใช้บังคับแต่ในทางแพ่งเท่านั้น ส่วนโทษทางอาญาเป็นอันยกเลิก.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1544/2479
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเล่นการพนันเกินเวลาใบอนุญาตต่างจากเล่นโดยไม่ได้รับอนุญาต ศาลไม่ลงโทษหากมีใบอนุญาต
โจทก์ฟ้องว่าจำเลยเล่นการพะนันไพ่โดยมิได้รับอนุญาต ทางพิจารณาปรากฎว่าจำเลยเล่นการพะนันไพ่โดยมีใบอนุญาตหากแต่ว่าเล่นเกินเวลาไปดังนี้ลงโทษจำเลยมิได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 587/2478
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การพิสูจน์ดีกรีสุรา: ผลการทดลองขัดแย้งและขาดน้ำหนักพอเชื่อ ศาลไม่ลงโทษ
ลักษณะพะยานการชัณสูตร์น้ำสุราเวลาจับได้วัได้ 26 ดีกรี ภายหบังเจ้าพนักงานผู้+เอาไปกลั่นแล้ววัดได้ 70 ดีกรีเศษ และทำลับหลังจำเลย ศาลไม่รับฟังลงโทษ จำเลยศาลไม่รัฟังลงโทษจำเลย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 23/2478
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ประเด็นความประมาทนอกฟ้อง: ศาลไม่ลงโทษหากข้อประมาทที่ฟ้องไม่สม และศาลเดิมยกข้อประมาทอื่นที่ไม่เข้าประเด็น
วิธีพิจารณาอาชญาตัดสินนอกประเด็นฟ้องว่าขับรถประมาท โดยให้คนนั่งหน้ารถ 2 คนและขับเร็วเกินขนาด ศาลจะยกข้อขับรถกินทางเป็นข้อประมาทมาลงโทษจำเลยไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 129/2477
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องผิดฐานและบทลงโทษ: ศาลไม่ลงโทษหากความผิดคนละประเภท แม้มีมูลความผิดอื่น
วิธีพิจารณาอาญา ฟ้อง.ตัดสิน โจทก์ฟ้องผิดฐานแลอ้างมาตราผิดตามปกติศาลไม่ลงโทษจำเลย เว้นแต่จะปรากฎว่าเป็นความผิดประเภทเดียวกันความผิดฐานทำให้สักขีพะยานสูญหายตาม ม.154 กับความผิดฐานฆ่าคนตายตาม ม.249 แล 250 นั้นเป็นความผิดคนละประเภทกันโจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยตามมาตรา 249-250 ถ้าพิจารณาได้ความว่าจำเลยมีผิดตามมาตรา 154 ดังนี้ศาลไม่ลงโทษจำเลย อำนาจฟ้องโจทก์ฟ้องผิดฐานศาลพิพากษายกฟ้องไม่ตัดสิทธิโจทก์ที่จะฟ้องใหม่ให้ถูกฐาน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 10452/2557
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หนังสือมอบอำนาจไม่เป็นพยานหลักฐานเท็จ แม้ไม่ปฏิบัติตามข้อบังคับบริษัท ศาลไม่ลงโทษฐานนำสืบพยานเท็จ
การที่จำเลยที่ 2 และที่ 3 ได้ลงลายมือชื่อร่วมกันในช่องผู้มอบอำนาจโดยไม่ได้ประทับตราสำคัญของจำเลยที่ 1 ซึ่งไม่ได้เป็นไปตามที่มีการจดทะเบียนต่อสำนักงานทะเบียนหุ้นส่วนบริษัทกรุงเทพมหานครเกี่ยวกับเรื่องจำนวนหรือชื่อกรรมการซึ่งลงลายมือชื่อผูกพันบริษัทเป็นเพียงการไม่ปฏิบัติตามข้อบังคับที่ระบุไว้ในหนังสือรับรองดังกล่าวเท่านั้น และจะมีผลต่อรูปคดีหรือไม่เพียงใดเป็นเรื่องที่ศาลในคดีดังกล่าวจะพิจารณาวินิจฉัย หนังสือมอบอำนาจดังกล่าวจึงไม่ใช่พยานหลักฐานอันเป็นเท็จเพราะเหตุจำเลยที่ 2 และที่ 3 ลงลายมือชื่อโดยไม่มีอำนาจและไม่ได้ประทับตราสำคัญของจำเลยที่ 1 การส่งหนังสือมอบอำนาจดังกล่าวเป็นพยานหลักฐานต่อศาลจึงไม่เป็นความผิดฐานร่วมกันนำสืบหรือแสดงพยานหลักฐานอันเป็นเท็จในการพิจารณาคดี