พบผลลัพธ์ทั้งหมด 20 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 138/2547 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิในการขอคืนเงินวางศาลเมื่อศาลไม่วินิจฉัยเหตุบรรเทาความเสียหายและไม่แจ้งผู้เสียหายรับเงิน
คดีนี้โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยในความผิดฐานกระทำโดยประมาทเป็นเหตุให้ผู้อื่นได้รับอันตรายแก่กายและรับอันตรายสาหัส ฯลฯ การที่จำเลยให้การรับสารภาพและยื่นคำร้องขอวางเงินต่อศาลชั้นต้น โดยขอให้ศาลชั้นต้นแจ้งให้ผู้เสียหายมารับไปอันเป็นการบรรเทาความเสียหายบางส่วน แสดงว่าจำเลยวางเงินเพื่อจะชำระค่าเสียหายให้แก่ผู้เสียหายโดยมีเจตนาที่จะให้ศาลชั้นต้นวินิจฉัยรอการลงโทษจำคุกให้แก่จำเลย แต่ศาลชั้นต้นไม่ได้แจ้งให้ผู้เสียหายมารับเงินที่จำเลยวางไว้ดังกล่าว และพิพากษาลงโทษจำคุกจำเลยไปโดยไม่ได้วินิจฉัยถึงเหตุที่จำเลยพยายามบรรเทาความเสียหายด้วยการวางเงินต่อศาลเพื่อให้ผู้เสียหายรับไป แม้ต่อมาจำเลยอุทธรณ์ต่อศาลอุทธรณ์ขอให้รอการลงโทษจำคุกให้จำเลย โดยอ้างเหตุที่ได้วางเงินชำระค่าเสียหายให้แก่ผู้เสียหาย แต่ศาลอุทธรณ์พิพากษายืนตามศาลชั้นต้นโดยไม่รอการลงโทษจำคุกให้จำเลยและไม่ได้วินิจฉัยถึงเหตุที่จำเลยวางเงินต่อศาลชั้นต้นดังกล่าว จึงเป็นกรณีที่ศาลล่างทั้งสองไม่ดำเนินการแจ้งให้ผู้เสียหายมารับเงินที่วางศาลและไม่วินิจฉัยถึงเหตุที่จำเลยพยายามบรรเทาผลร้ายหรือความเสียหายด้วยการวางเงินชำระค่าเสียหายบางส่วนให้แก่ผู้เสียหายเพื่อใช้ดุลพินิจรอหรือไม่รอการลงโทษจำคุกจำเลย และเมื่อคดีถึงที่สุดตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์แล้ว โดยไม่มีการดำเนินการตามคำร้องของจำเลย จำเลยย่อมมีสิทธิที่จะขอถอนเงินที่วางต่อศาลชั้นต้นดังกล่าวคืนไปได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 138/2547 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การวางเงินเพื่อบรรเทาความเสียหายและการขอคืนเงินเมื่อศาลไม่วินิจฉัยเหตุรอการลงโทษ
การที่จำเลยให้การรับสารภาพและยื่นคำร้องขอวางเงินจำนวน 20,000 บาท ต่อศาลชั้นต้น โดยขอให้ศาลชั้นต้นแจ้งให้ผู้เสียหายมารับไปอันเป็นการบรรเทาความเสียหายบางส่วน แสดงว่าจำเลยวางเงินเพื่อจะชำระค่าเสียหายให้แก่ผู้เสียหายโดยมีเจตนาที่จะให้ศาลชั้นต้นวินิจฉัยรอการลงโทษจำคุกให้แก่จำเลย แต่ศาลชั้นต้นไม่ได้แจ้งให้ผู้เสียหายมารับเงินที่จำเลยวางไว้ดังกล่าว และพิพากษาลงโทษจำคุกจำเลยไปโดยไม่ได้วินิจฉัยถึงเหตุที่จำเลยพยายามบรรเทาความเสียหายด้วยการวางเงินต่อศาลเพื่อให้ผู้เสียหายรับไป แม้ต่อมาจำเลยอุทธรณ์คำพิพากษาศาลชั้นต้นขอให้รอการลงโทษจำคุกให้จำเลย โดยอ้างเหตุที่ได้วางเงินชำระค่าเสียหายให้แก่ผู้เสียหาย แต่ศาลอุทธรณ์พิพากษายืนตามศาลชั้นต้นโดยไม่รอการลงโทษจำคุกให้จำเลยและไม่ได้วินิจฉัยถึงเหตุที่จำเลยวางเงินต่อศาลชั้นต้นดังกล่าว จึงเป็นกรณีที่ศาลล่างทั้งสองไม่ดำเนินการแจ้งให้ผู้เสียหายมารับเงินที่วางศาลและไม่วินิจฉัยถึงเหตุที่จำเลยพยายามบรรเทาผลร้ายหรือความเสียหายด้วยการวางเงินชำระค่าเสียหายบางส่วนให้แก่ผู้เสียหายเพื่อใช้ดุลพินิจรอหรือไม่รอการลงโทษจำคุกจำเลย และเมื่อคดีนี้ถึงที่สุดตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์แล้ว โดยไม่มีการดำเนินการตามคำร้องของจำเลย จำเลยย่อมมีสิทธิที่จะขอถอนเงินที่วางต่อศาลชั้นต้นดังกล่าวคืนไปได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8404/2544 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คำให้การขัดแย้งกันเองไม่ก่อให้เกิดประเด็นใหม่ ศาลไม่วินิจฉัยได้
โจทก์ฟ้องว่าที่ดินพิพาทเป็นของโจทก์โดยซื้อมาจากจำเลยและบุตรจำเลย จำเลยให้การต่อสู้ว่าที่ดินพิพาทเป็นของจำเลยและบุตร จำเลยและบุตรไม่เคยขายที่ดินพิพาทให้โจทก์ แต่ตอนหลังจำเลยกลับให้การว่าที่ดินพิพาทเป็นที่สาธารณสมบัติของแผ่นดิน ขัดกับคำให้การในตอนแรก จึงเป็นคำให้การที่ไม่ชอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 177 วรรคสอง ไม่ก่อให้เป็นประเด็นเรื่องที่ดินพิพาทเป็นที่สาธารณสมบัติของแผ่นดินหรือไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1946/2542 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบังคับคดีตามคำพิพากษาถึงที่สุด แม้มีการวางทรัพย์ก่อนฟ้อง แต่โจทก์ไม่รับ และศาลไม่ได้วินิจฉัย
แม้จำเลยที่ 3 จะได้นำเงินจำนวน 60,000 บาท ไปวางต่อ สำนักงานวางทรัพย์ก่อนที่โจทก์ฟ้องจำเลยที่ 3 ก็ตาม แต่โจทก์ก็ปฏิเสธไม่ยอมรับเงินดังกล่าวตลอดมาเพราะโจทก์ เห็นว่าเป็นการชำระหนี้ไม่ถูกต้อง เมื่อคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ ถึงที่สุดมิได้กล่าวถึงการวางเงินของจำเลยที่ 3 ต่อ สำนักงานวางทรัพย์แต่ประการใด อีกทั้งศาลอุทธรณ์พิพากษาให้จำเลยที่ 3 ชำระดอกเบี้ยร้อยละ 19 ต่อปีของเงิน60,000 บาท นับแต่วันที่ 23 ตุลาคม 2539 ไปจนกว่าจะชำระเสร็จแก่โจทก์ หากจำเลยที่ 3 ไม่ยอมชำระหรือชำระไม่ครบให้ยึดทรัพย์จำนองขายทอดตลาด ถ้าไม่พอให้ยึดทรัพย์อื่น ของจำเลยที่ 3 ออกขายทอดตลาดนำเงินที่ขายได้มาชำระหนี้แก่โจทก์จนครบ คำพิพากษาศาลอุทธรณ์ดังกล่าวได้อ่านให้คู่ความฟัง เมื่อวันที่ 5 มกราคม 2532 และถึงที่สุดไปแล้วโดยจำเลยที่ 3 มิได้ฎีกาย่อมมีผลผูกพันคู่ความตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 145 เมื่อ จำเลยที่ 3 ไม่ชำระหนี้ตามคำพิพากษาของศาลอุทธรณ์ที่ถึงที่สุด โจทก์จึงมีสิทธิบังคับคดีเอาแก่ทรัพย์สินของจำเลยที่ 3 ได้ การที่ศาลชั้นต้นตั้งเจ้าพนักงานบังคับคดีและยึดทรัพย์ของจำเลยที่ 3 จึงเป็นการชอบแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4850/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การผิดสัญญาซื้อขายและการไม่วินิจฉัยประเด็นสำคัญของศาล
ตามสัญญาท้ายคำให้การและฟ้องแย้งกำหนดให้โจทก์ทำการค้าตามวันเวลาที่จำเลยที่ 1 กำหนด และตามหนังสือบอกเลิกสัญญาเอกสารท้ายคำให้การและฟ้องแย้งก็มีข้อความว่าโจทก์มิได้เข้าทำการค้าตามวันเวลาที่จำเลยกำหนดด้วยเอกสารดังกล่าวเป็นส่วนหนึ่งของคำให้การและฟ้องแย้ง ในวันชี้สองสถานจำเลยก็แถลงว่าไม่ได้เป็นฝ่ายผิดสัญญา แต่โจทก์เป็นฝ่ายผิดสัญญา เพราะไม่ชำระค่าเช่าและไม่ทำการค้าให้เป็นไปตามข้อตกลงในสัญญา ซึ่งศาลชั้นต้นได้กำหนดประเด็นข้อพิพาทว่า โจทก์หรือจำเลยที่ 1 เป็นฝ่ายผิดสัญญา คดีจึงมีประเด็นที่จะต้องวินิจฉัยว่า โจทก์เป็นฝ่ายผิดสัญญาเพราะไม่ทำการค้าขายตามเวลาที่กำหนดในสัญญาหรือไม่การที่ศาลล่างทั้งสองไม่วินิจฉัยประเด็นดังกล่าวให้จึงเป็นการไม่ชอบ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 936/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรุกล้ำที่ดินและกรรมสิทธิ์โดยการครอบครองปรปักษ์ ศาลไม่วินิจฉัยเรื่องกรรมสิทธิ์หากจำเลยขอเพียงยกฟ้อง
ฟ้องโจทก์กล่าวหาว่าจำเลยเป็นผู้สร้างกันสาดรุกล้ำที่ดินของโจทก์ แต่กลับนำสืบว่า ว. เป็นผู้สร้างกันสาดนั้นในขณะที่ดินยังเป็นของ ส. และโจทก์เพิ่งมาซื้อที่ดินดังกล่าวในภายหลัง จึงฟังได้ว่าจำเลยไม่ได้เป็นผู้ก่อสร้างกันสาดรุกล้ำที่ดินของโจทก์ ทั้งจำเลยรับโอนอาคารในสภาพที่มีกันสาดรุกล้ำที่ดินอยู่ก่อนแล้ว จำเลยจึงมิได้กระทำละเมิดต่อโจทก์
แม้ตามคำฟ้องฎีกาจำเลยจะยกเหตุผลกล่าวอ้างว่าจำเลยได้กรรมสิทธิ์ที่ดินของโจทก์โดยการครอบครองที่ดินส่วนที่กันสาดรุกล้ำเป็นเวลากว่าสิบปีแล้ว แต่คำขอของจำเลยในคำฟ้องฎีกาไม่ได้ขอให้พิพากษาว่า จำเลยได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินส่วนที่อาคารรุกล้ำโดยการครอบครองปรปักษ์ คงมีคำขอเพียงว่าให้พิพากษายกฟ้องโจทก์เท่านั้น ศาลฎีกาจึงไม่จำต้องวินิจฉัยฎีกาข้อนี้ของจำเลยเพราะหากพิพากษาว่าจำเลยได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินดังกล่าวย่อมจะเป็นการต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 142 ประกอบมาตรา 246 และมาตรา 247
แม้ตามคำฟ้องฎีกาจำเลยจะยกเหตุผลกล่าวอ้างว่าจำเลยได้กรรมสิทธิ์ที่ดินของโจทก์โดยการครอบครองที่ดินส่วนที่กันสาดรุกล้ำเป็นเวลากว่าสิบปีแล้ว แต่คำขอของจำเลยในคำฟ้องฎีกาไม่ได้ขอให้พิพากษาว่า จำเลยได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินส่วนที่อาคารรุกล้ำโดยการครอบครองปรปักษ์ คงมีคำขอเพียงว่าให้พิพากษายกฟ้องโจทก์เท่านั้น ศาลฎีกาจึงไม่จำต้องวินิจฉัยฎีกาข้อนี้ของจำเลยเพราะหากพิพากษาว่าจำเลยได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินดังกล่าวย่อมจะเป็นการต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 142 ประกอบมาตรา 246 และมาตรา 247
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6313/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การครอบครองที่ดินพิพาท: ศาลไม่วินิจฉัยเกินเลยเมื่อจำเลยอ้างสิทธิของตนเอง
จำเลยให้การและนำสืบว่า ที่ดินพิพาทเป็นของจำเลยที่ 1แต่ผู้เดียว โจทก์และจำเลยที่ 2 อยู่โดยอาศัยสิทธิของจำเลยที่ 1ดังนี้ตามคำให้การและทางนำสืบของจำเลยทั้งสองแสดงว่าไม่อาจมีปัญหาเรื่องแย่งการครอบครองที่ดินพิพาทจากโจทก์แต่อย่างใดจึงไม่มีการอ้างสิทธิตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1375เพราะการแย่งการครอบครองจะเกิดมีขึ้นได้ก็แต่ในที่ดินของผู้อื่นเท่านั้น เมื่อจำเลยทั้งสองอ้างในคำให้การว่า จำเลยที่ 1 เป็นผู้มีสิทธิครอบครอง ศาลก็ไม่อาจยกขึ้นวินิจฉัยได้เพราะเป็นการวินิจฉัยขัดแย้งกับที่จำเลยทั้งสองให้การไว้ ที่ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ภาค 2 ไม่วินิจฉัยประเด็นที่ว่าโจทก์มีอำนาจฟ้องเรียกที่ดินพิพาทคืนจากจำเลยที่ 1 เกินกว่าหนึ่งปีชอบแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 565/2534
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฎีกาต้องห้ามในข้อเท็จจริง ทำให้ศาลไม่วินิจฉัยประเด็นข้อกฎหมายเกี่ยวกับการขาดนัด
ฎีกาของจำเลยที่ว่า จำเลยมิได้จงใจขาดนัดยื่นคำให้การและขาดนัดพิจารณา เป็นฎีกาในข้อเท็จจริง ส่วนฎีกาข้อกฎหมายของจำเลยที่ว่า ศาลล่างทั้งสองมีคำสั่งยกคำร้องของจำเลยโดยมิได้ทำการไต่สวนตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 21 เสียก่อนเป็นการไม่ชอบนั้น เมื่อฎีกาของจำเลยต้องห้ามมิให้ฎีกาในข้อเท็จจริงเสียแล้ว ฎีกาข้อกฎหมายที่จำเลยยกขึ้นอ้าง จึงไม่เป็นสาระแก่คดีอันควรได้รับการวินิจฉัย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4547/2530 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การสนับสนุนความผิดอาญา: ตัวการไม่มีความผิด ผู้สนับสนุนจึงไม่มีความผิด, ศาลไม่วินิจฉัยข้อหาที่โจทก์ไม่เคยอุทธรณ์
จำเลยที่ 1 เป็นนายทะเบียนยานพาหนะจังหวัด จำเลยที่ 2 เป็นผู้ช่วยเสมียนยานพาหนะจังหวัดเดียวกัน เมื่อจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นตัวการไม่ได้กระทำผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 161 จึงไม่อาจจะมีผู้สนับสนุนในการกระทำความผิดได้ จำเลยที่ 2 จึงไม่มีความผิดฐานสนับสนุนความผิดดังกล่าว
โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยทั้งสองตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 83, 91, 147, 157, 161, 162, 264, 265 ศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษจำเลยที่ 1 ตามมาตรา 83, 147, 161 ลงโทษจำเลยที่ 2 ตามมาตรา 147, 161 ประกอบด้วยมาตรา 86 ข้อหาความผิดอื่นให้ยก เมื่อศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้องโจทก์สำหรับจำเลยทั้งสองในข้อหาตามมาตรา 157, 264 และ 265 แล้วโจทก์มิได้อุทธรณ์จำเลยทั้งสองอุทธรณ์ฝ่ายเดียว และศาลอุทธรณ์เห็นว่าจำเลยที่ 1 ไม่มีความผิดตามมาตรา 147 และ 161 จำเลยที่ 2 ไม่มีความผิดตามมาตรา 161 ก็จะยกข้อหาตามมาตรา 157, 264 และ 265 ซึ่งยุติไปแล้วขึ้นวินิจฉัยอีกไม่ได้
โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยทั้งสองตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 83, 91, 147, 157, 161, 162, 264, 265 ศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษจำเลยที่ 1 ตามมาตรา 83, 147, 161 ลงโทษจำเลยที่ 2 ตามมาตรา 147, 161 ประกอบด้วยมาตรา 86 ข้อหาความผิดอื่นให้ยก เมื่อศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้องโจทก์สำหรับจำเลยทั้งสองในข้อหาตามมาตรา 157, 264 และ 265 แล้วโจทก์มิได้อุทธรณ์จำเลยทั้งสองอุทธรณ์ฝ่ายเดียว และศาลอุทธรณ์เห็นว่าจำเลยที่ 1 ไม่มีความผิดตามมาตรา 147 และ 161 จำเลยที่ 2 ไม่มีความผิดตามมาตรา 161 ก็จะยกข้อหาตามมาตรา 157, 264 และ 265 ซึ่งยุติไปแล้วขึ้นวินิจฉัยอีกไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 136/2522 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เขตอำนาจศาล & การฟ้องขับไล่จากละเมิด: จำเลยไม่ยกปัญหาฟ้องผิดศาลในชั้นต้น ศาลไม่วินิจฉัย & โจทก์มีอำนาจฟ้องขับไล่เมื่อจำเลยบุกรุก
เมื่อข้อเท็จจริงเรื่องที่ตั้งของที่ดินพิพาทยังไม่แน่นอนว่าจะอยู่ในเขตของศาลใด และจำเลยก็มิได้ยกปัญหาเรื่องที่โจทก์ฟ้องผิดศาลขึ้นเป็นข้อต่อสู้ไว้ในคำให้การ ศาลฎีกาจึงไม่เห็นสมควรที่จะยกปัญหาเรื่องนี้ขึ้นวินิจฉัย (อ้างฎีกาที่ 2642/2519)
โจทก์เป็นเจ้าของที่ดินพิพาท มีอำนาจฟ้องขับไล่จำเลย ซึ่งบุกรุกเข้าไปปลูกบ้านอยู่ในที่ดินขอบโจทก์โดยพลการ ซึ่งเป็นการละเมิดต่อโจทก์ได้ โดยไม่จำต้องบอกกล่าว (อ้างฎีกาที่ 1190/2518)
โจทก์เป็นเจ้าของที่ดินพิพาท มีอำนาจฟ้องขับไล่จำเลย ซึ่งบุกรุกเข้าไปปลูกบ้านอยู่ในที่ดินขอบโจทก์โดยพลการ ซึ่งเป็นการละเมิดต่อโจทก์ได้ โดยไม่จำต้องบอกกล่าว (อ้างฎีกาที่ 1190/2518)