พบผลลัพธ์ทั้งหมด 88 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6468/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การขอยืดเวลาฎีกาคำสั่งที่ไม่รับอุทธรณ์โดยไม่ปฏิบัติตามเงื่อนไขการวางเงินประกัน ศาลไม่รับฎีกา
จำเลยอุทธรณ์คำสั่งไม่รับอุทธรณ์ โดยมิได้นำเงินมาชำระตามคำพิพากษาหรือหาประกันให้ไว้ต่อศาลตาม ป.วิ.พ. มาตรา 234 จำเลยยื่นคำร้องขอดำเนินคดีในชั้นอุทธรณ์คำสั่งดังกล่าวโดยไม่ต้องนำเงินมาชำระตามคำพิพากษาหรือหาประกันให้ไว้ต่อศาล อ้างว่าจำเลยเป็นคนอนาถาไม่มีทรัพย์สินใด ๆ จะวางประกันต่อศาล คำร้องของจำเลยดังกล่าวมิได้เป็นการขอยกเว้นค่าธรรมเนียมศาลในชั้นอุทธรณ์ที่จำเลยจะต้องชำระต่อศาลในการยื่นอุทธรณ์ มิใช่เป็นการขอดำเนินคดีอย่างอนาถาตามมาตรา 155, 156 และเป็นคำขอที่ขัดต่อมาตรา 234 ศาลไม่อาจอนุญาตตามคำร้องของจำเลยดังกล่าวได้อยู่แล้ว การที่จำเลยยื่นคำร้องขอขยายระยะเวลาฎีกาคำสั่งอุทธรณ์ภาค 1 อันเป็นกระบวนพิจารณาที่จำเลยดำเนินสืบเนื่องมาจากคำร้องของจำเลยดังกล่าวย่อมไม่เป็นประโยชน์แก่จำเลยเพราะหากได้รับการขยายระยะเวลาศาลก็ไม่อาจอนุญาตตามคำร้องของจำเลยได้ จึงไม่มีเหตุสมควรขยายระยะเวลาฎีกาคำสั่งศาลอุทธรณ์ภาค 1 ให้จำเลย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5074/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแก้ไขคำให้การหลังศาลชี้สองสถาน: กรณีสัญญาประนีประนอมยอมความเป็นโมฆียะกรรม
จำเลยที่ 5 ขอแก้ไขคำให้การเดิมโดยอ้างเพิ่มเติมว่า สัญญาประนีประนอมยอมความตามฟ้องไม่มีผลผูกพันจำเลยที่ 5 เนื่องจากขณะทำสัญญาจำเลยที่ 5 มีอายุเพียง 17 ปี ยังเป็นผู้เยาว์ มิได้รับความเห็นชอบหรือความยินยอมจากมารดาซึ่งเป็นผู้ปกครอง จึงมีผลเป็นโมฆียะกรรม และขอถือเอาคำให้การที่ขอแก้ไขนี้เป็นการบอกล้างโมฆียะกรรม คำให้การที่ขอแก้ไขดังกล่าว มิใช่เป็นเรื่องเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชนอันจะอยู่ในข้อยกเว้นที่พึงอนุญาตให้จำเลยที่ 5 ยื่นคำร้องขอแก้ไขเพิ่มเติมคำให้การภายหลังล่วงพ้นกำหนดเวลาตามที่กฎหมายบัญญัติไว้ ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 180
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1933/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟื้นฟูกิจการต้องมีโอกาสกลับคืนสู่สภาพปกติ หากมีหนี้สินล้นพ้นตัวและไม่มีช่องทางฟื้นฟู ศาลไม่อนุญาต
การฟื้นฟูกิจการนั้นมีวัตถุประสงค์เพื่อให้กิจการของลูกหนี้ซึ่งประสบปัญหาสภาพคล่องทางการเงินชั่วคราวได้มีโอกาสฟื้นฟูกิจการหรือปรับโครงสร้างหนี้เพื่อให้กิจการของลูกหนี้กลับคืนสู่สภาพที่สามารถดำเนินกิจการตามปกติต่อไปได้ แต่ปรากฏว่าลูกหนี้มีหนี้สินมากกว่าสินทรัพย์ถึง 413,308,151.60 บาท มีผลขาดทุนสุทธิ 163,655,768.74 บาท ทำให้มีผลขาดทุนสุทธิเกินทุนจำนวน 313,166,361.28 บาท โดยผู้สอบบัญชีรับอนุญาตแสดงความเห็นว่า บริษัทมีผลขาดทุนจากการดำเนินงานที่ผ่านมาเป็นจำนวนเงินสูง เป็นเหตุให้สงสัยว่าบริษัทอาจไม่สามารถดำรงอยู่ได้ แม้ลูกหนี้จะดำเนินธุรกิจมานานโดยทำสัญญาร่วมทุนเพื่อดำเนินกิจการร้านสะดวกซื้อ เอเอ็ม/พีเอ็มกับวิสาหกิจ 2 แห่ง ในสถานีบริการน้ำมัน ป.ต.ท. ทั่วประเทศ โดยก่อตั้งบริษัทมาบริหารกิจการและลูกหนี้ถือหุ้นอยู่ในบริษัทดังกล่าวจำนวน 3,999,999 หุ้น แต่หุ้นดังกล่าวลูกหนี้ได้จำนำไว้กับผู้คัดค้าน และในปัจจุบันสิทธิในการใช้เครื่องหมาย เอเอ็ม/พีเอ็มก็ตกเป็นของผู้คัดค้านโดยได้รับความยินยอมจากผู้เป็นเจ้าของแล้ว ซึ่งผู้คัดค้านได้บอกเลิกสัญญาให้ใช้สิทธิแล้วอันเนื่องมาจากผลประกอบการที่ขาดทุนและการค้างค่าอนุญาตให้ใช้สิทธิ นอกจากนี้หลังจากปี 2541 เป็นต้นมาไม่ปรากฏว่าลูกหนี้จัดทำงบการเงินยื่นต่อกระทรวงพาณิชย์ แสดงให้เห็นว่าลูกหนี้ไม่ได้ประกอบกิจการใดๆ แล้ว และไม่ปรากฏว่าลูกหนี้ได้รับทุนหมุนเวียนมาจากสถาบันการเงินใด ดังนั้น จึงฟังได้ว่า ลูกหนี้ไม่ได้ประกอบธุรกิจแล้ว ลูกหนี้ไม่มีโอกาสฟื้นฟูกิจการหรือปรับโครงสร้างหนี้เพื่อให้กิจการของลูกหนี้กลับคืนสู่สภาพที่สามารถดำเนินกิจการตามปกติต่อไปได้ กรณีจึงไม่มีเหตุอันสมควรและมีช่องทางที่จะฟื้นฟูกิจการของลูกหนี้ตาม พ.ร.บ.ล้มละลายฯ มาตรา 90/10
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 839/2545 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแก้ไขคำฟ้องในคดีแรงงานต้องยื่นก่อนสืบพยาน หากเลยกำหนดหรือไม่เข้าเหตุยกเว้น ศาลไม่อนุญาต
พ.ร.บ. จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มิได้บัญญัติถึงวิธีการหรือหลักเกณฑ์ในการขอแก้ไขคำฟ้องไว้ จึงต้องนำป.วิ.พ. มาตรา 180 มาใช้บังคับโดยอนุโลมตาม พ.ร.บ. จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 31
ในคดีแรงงานถือได้ว่าไม่มีการชี้สองสถานเพราะการกำหนดประเด็นข้อพิพาทและกำหนดวันสืบพยานเป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาไปตาม พ.ร.บ. จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 39 ซึ่งบัญญัติไว้โดยเฉพาะ ฉะนั้นโจทก์จะต้องยื่นคำร้องขอแก้ไขคำฟ้องก่อนวันสืบพยานไม่น้อยกว่า 7 วัน เว้นแต่มีเหตุยกเว้นตามกฎหมายคดีนี้โจทก์ยื่นคำร้องวันที่ 7 กรกฎาคม 2543 ขอแก้ไขคำฟ้องภายหลังจากจำเลยสืบพยานเสร็จสิ้นแล้ว ซึ่งในขณะที่โจทก์ยื่นคำฟ้อง โจทก์ย่อมจะทราบถึงสิทธิที่โจทก์จะพึงได้รับดอกเบี้ยจากค่าชดเชย ค่าจ้างค้างจ่ายและสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าซึ่งจำเลยผิดนัดไม่จ่ายให้โจทก์อยู่แล้วและคดีไม่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน ทั้งมิใช่เป็นการแก้ไขข้อผิดพลาดหรือข้อผิดหลงเล็กน้อย คำร้องขอแก้ไขคำฟ้องของโจทก์ จึงไม่ชอบด้วยกฎหมาย จำเลยไม่จำต้องชำระดอกเบี้ยแก่โจทก์
ในคดีแรงงานถือได้ว่าไม่มีการชี้สองสถานเพราะการกำหนดประเด็นข้อพิพาทและกำหนดวันสืบพยานเป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาไปตาม พ.ร.บ. จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 39 ซึ่งบัญญัติไว้โดยเฉพาะ ฉะนั้นโจทก์จะต้องยื่นคำร้องขอแก้ไขคำฟ้องก่อนวันสืบพยานไม่น้อยกว่า 7 วัน เว้นแต่มีเหตุยกเว้นตามกฎหมายคดีนี้โจทก์ยื่นคำร้องวันที่ 7 กรกฎาคม 2543 ขอแก้ไขคำฟ้องภายหลังจากจำเลยสืบพยานเสร็จสิ้นแล้ว ซึ่งในขณะที่โจทก์ยื่นคำฟ้อง โจทก์ย่อมจะทราบถึงสิทธิที่โจทก์จะพึงได้รับดอกเบี้ยจากค่าชดเชย ค่าจ้างค้างจ่ายและสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าซึ่งจำเลยผิดนัดไม่จ่ายให้โจทก์อยู่แล้วและคดีไม่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน ทั้งมิใช่เป็นการแก้ไขข้อผิดพลาดหรือข้อผิดหลงเล็กน้อย คำร้องขอแก้ไขคำฟ้องของโจทก์ จึงไม่ชอบด้วยกฎหมาย จำเลยไม่จำต้องชำระดอกเบี้ยแก่โจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5208/2545 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การอุทธรณ์อย่างคนอนาถาต้องมีเหตุผลอันสมควร และพิสูจน์ฐานะยากจนควบคู่กัน ศาลไม่อนุญาตหากขาดเงื่อนไขใดเงื่อนไขหนึ่ง
ศาลชั้นต้นมีคำสั่งยกคำร้องขออุทธรณ์อย่างคนอนาถาของจำเลยโดยวินิจฉัยว่าคดีไม่มีเหตุผลอันสมควรที่จะอุทธรณ์และจำเลยมิใช่คนยากจน การที่จำเลยใช้สิทธิตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 156 วรรคสี่ ยื่นคำร้องขอต่อศาลชั้นต้นให้พิจารณาคำขอนั้นใหม่เพื่ออนุญาตให้จำเลยนำพยานหลักฐานมาแสดงเพิ่มเติมว่าตนเป็นคนยากจน แม้ศาลชั้นต้นทำการไต่สวนและฟังว่าจำเลยเป็นคนยากจน ก็หาเป็นเหตุให้ศาลชั้นต้นมีคำสั่งอนุญาตให้จำเลยอุทธรณ์อย่างคนอนาถาได้ไม่เพราะข้อเท็จจริงยังปรากฏว่าคดีไม่มีเหตุผลอันสมควรที่จะอุทธรณ์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 493/2545 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การขยายเวลายื่นฎีกา: จำเลยต้องเตรียมการด้านการเงินล่วงหน้า แม้ศาลไม่อนุญาต
จำเลยอ้างว่าเงินค่าฤชาธรรมเนียมที่จะต้องชำระและนำมาวางศาลมีจำนวนสูงถึง200,000 บาท และจำเลยประสบปัญหาด้านการเงินนั้น ได้ความว่า จำเลยรับทราบผลคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ก่อนวันครบกำหนดเวลายื่นฎีกาถึง 14 วัน ย่อมมีเวลาเพียงพอที่จะหาเงินค่าฤชาธรรมเนียมที่จะต้องชำระและนำมาวางศาลได้ทัน การที่จำเลยไม่สามารถยื่นฎีกาได้ภายในกำหนดจึงเป็นความบกพร่องของตัวจำเลยและทนายจำเลยเอง มิใช่พฤติการณ์พิเศษที่จะยกขึ้นมากล่าวอ้างเพื่อขอขยายระยะเวลายื่นฎีกาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 23 ได้ แม้ศาลชั้นต้นสั่งยกคำร้องขอขยายระยะเวลายื่นฎีกาเมื่อวันครบกำหนดยื่นฎีกา ก็มิใช่เหตุที่จำเลยจะอ้างว่าคำสั่งของศาลชั้นต้นไม่ชอบ ทั้งนี้เพราะจำเลยควรต้องเตรียมการสำหรับกรณีดังกล่าวไว้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2236/2545
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแก้ไขคำให้การที่ขัดแย้งกับคำให้การเดิม ศาลไม่อนุญาต เพราะทำให้ขาดประเด็นพิจารณา
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 179(3) มิได้บัญญัติว่า ข้อความที่ขอแก้ไขคำให้การจำเลยใหม่จะต้องเกี่ยวกับคำให้การเดิมหรือข้ออ้างเดิมของจำเลยคงบัญญัติห้ามเฉพาะเรื่องคำฟ้องเท่านั้น ฉะนั้นแม้การแก้ไขเพิ่มเติมคำให้การของจำเลยที่ 1 จะเป็นการยกข้อต่อสู้ขึ้นใหม่กล่าวแก้ข้อหาของโจทก์ ซึ่งจะเกี่ยวข้องกับคำให้การเดิมหรือไม่ก็ย่อมกระทำได้
จำเลยที่ 1 ยื่นคำร้องขอแก้ไขเพิ่มเติมคำให้การว่า โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องอันเป็นเรื่องที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน ซึ่งจำเลยที่ 1 มีสิทธิยื่นคำร้องขอแก้ไขภายหลังจากวันสืบพยานโจทก์ได้ ไม่ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 180
จำเลยที่ 1 ให้การไว้ว่า โจทก์ได้ชำระเบี้ยประกันภัยโดยสั่งจ่ายเช็คและจำเลยที่ 2ได้นำเช็คไปเรียกเก็บเงินเข้าบัญชีของจำเลยที่ 2 แล้ว เมื่อจำเลยที่ 2 ได้ส่งมอบกรมธรรม์ประกันภัยให้แก่โจทก์แล้วก็ต้องถือว่าโจทก์ได้ชำระเบี้ยประกันภัยให้แก่จำเลยที่ 2 แล้วคำให้การดังกล่าวจำเลยที่ 1 รับว่า โจทก์เป็นผู้ทำสัญญาประกันภัยรถยนต์กับจำเลยที่ 2และเงินที่จ่ายค่าเบี้ยประกันภัยเป็นเงินของโจทก์ ส่วนคำร้องขอแก้ไขเพิ่มเติมคำให้การของจำเลยที่ 1 ขอเพิ่มเติมว่าโจทก์ไม่ใช่เจ้าของผู้ครอบครองรถยนต์ในขณะที่นำมาทำสัญญาประกันภัยไว้แก่จำเลยที่ 2 เพราะโจทก์ได้โอนและส่งมอบการครอบครองรถยนต์ให้เป็นทรัพย์สินส่วนกลางของ ท. แล้ว โจทก์จึงไม่ใช่ผู้มีส่วนได้เสียในรถยนต์กรมธรรม์ประกันภัยจึงไม่มีผลผูกพันคู่กรณีเงินค่าเบี้ยประกันภัยไม่ใช่ของโจทก์ โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้อง ดังนั้น คำให้การกับคำร้องขอแก้ไขเพิ่มเติมคำให้การของจำเลยที่ 1จึงขัดแย้งกันเอง หากศาลอนุญาตแล้วย่อมจะทำให้กลายเป็นคำให้การที่มิได้ปฏิเสธข้ออ้างของโจทก์โดยชัดแจ้ง จึงไม่อาจอนุญาตให้จำเลยที่ 1 แก้ไขเพิ่มเติมคำให้การได้
จำเลยที่ 1 ยื่นคำร้องขอแก้ไขเพิ่มเติมคำให้การว่า โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องอันเป็นเรื่องที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน ซึ่งจำเลยที่ 1 มีสิทธิยื่นคำร้องขอแก้ไขภายหลังจากวันสืบพยานโจทก์ได้ ไม่ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 180
จำเลยที่ 1 ให้การไว้ว่า โจทก์ได้ชำระเบี้ยประกันภัยโดยสั่งจ่ายเช็คและจำเลยที่ 2ได้นำเช็คไปเรียกเก็บเงินเข้าบัญชีของจำเลยที่ 2 แล้ว เมื่อจำเลยที่ 2 ได้ส่งมอบกรมธรรม์ประกันภัยให้แก่โจทก์แล้วก็ต้องถือว่าโจทก์ได้ชำระเบี้ยประกันภัยให้แก่จำเลยที่ 2 แล้วคำให้การดังกล่าวจำเลยที่ 1 รับว่า โจทก์เป็นผู้ทำสัญญาประกันภัยรถยนต์กับจำเลยที่ 2และเงินที่จ่ายค่าเบี้ยประกันภัยเป็นเงินของโจทก์ ส่วนคำร้องขอแก้ไขเพิ่มเติมคำให้การของจำเลยที่ 1 ขอเพิ่มเติมว่าโจทก์ไม่ใช่เจ้าของผู้ครอบครองรถยนต์ในขณะที่นำมาทำสัญญาประกันภัยไว้แก่จำเลยที่ 2 เพราะโจทก์ได้โอนและส่งมอบการครอบครองรถยนต์ให้เป็นทรัพย์สินส่วนกลางของ ท. แล้ว โจทก์จึงไม่ใช่ผู้มีส่วนได้เสียในรถยนต์กรมธรรม์ประกันภัยจึงไม่มีผลผูกพันคู่กรณีเงินค่าเบี้ยประกันภัยไม่ใช่ของโจทก์ โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้อง ดังนั้น คำให้การกับคำร้องขอแก้ไขเพิ่มเติมคำให้การของจำเลยที่ 1จึงขัดแย้งกันเอง หากศาลอนุญาตแล้วย่อมจะทำให้กลายเป็นคำให้การที่มิได้ปฏิเสธข้ออ้างของโจทก์โดยชัดแจ้ง จึงไม่อาจอนุญาตให้จำเลยที่ 1 แก้ไขเพิ่มเติมคำให้การได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8099/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแก้ไขคำฟ้องหลังสืบพยานฝ่ายจำเลย: ศาลไม่อนุญาตหากเหตุผลไม่สมควรหรือไม่เข้าข้อยกเว้นตามกฎหมาย
โจทก์ยื่นคำร้องขอแก้ไขคำฟ้องขอเรียกดอกเบี้ยจากจำเลยในอัตราร้อยละ 15 ต่อปี ของต้นเงินตามฟ้อง อ้างว่าโจทก์หลงลืมและโจทก์เพิ่งทราบในภายหลังว่าตามกฎหมายสามารถเรียกร้องดอกเบี้ยได้ หลังจากที่ศาลแรงงาน สืบพยานจำเลยซึ่งเป็นฝ่ายที่นำพยานเข้าสืบก่อนเสร็จสิ้นแล้ว แต่เหตุที่โจทก์อ้างก็ไม่ปรากฏว่ามีเหตุอันสมควรที่โจทก์ไม่อาจรู้หรือไม่อาจยื่นคำร้องได้ก่อนนั้น หรือเป็นการขอแก้ไขในเรื่องที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชนหรือเป็นการแก้ไขข้อผิดพลาดเล็กน้อยหรือข้อผิดหลงเล็กน้อย จึงไม่เข้ากรณีที่โจทก์จะขอแก้ไขคำฟ้องได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 180 ประกอบด้วย พ.ร.บ. จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 31
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5133/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแก้ไขคำให้การหลังสืบพยานจำเลย ศาลไม่อนุญาตหากทำให้การพิจารณาไม่สิ้นสุดและไม่กระทบความสงบเรียบร้อย
จำเลยขอแก้ไขคำให้การเป็นครั้งที่สองหลังจากสืบพยานจำเลยซึ่งมีหน้าที่นำสืบก่อนเสร็จสิ้นแล้ว ซึ่งหากอนุญาตให้จำเลยแก้ไขคำให้การได้ตามขอการพิจารณาคดีในส่วนของจำเลยก็ไม่มีที่สิ้นสุด แม้จำเลยจะอ้างว่า คำให้การที่ขอแก้ไขนั้นเป็นเรื่องที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชนก็หามีผลลบล้างพยานหลักฐานของจำเลยที่นำสืบไปเสร็จสิ้นแล้วไม่ กรณีไม่มีเหตุอนุญาตให้แก้ไขคำให้การ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4885/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
แก้ไขคำฟ้องหลังกำหนดเวลา: ศาลไม่อนุญาตหากทราบข้อเท็จจริงก่อนฟ้อง แม้อ้างเพิ่งทราบผลอุทธรณ์
++ เรื่อง คดีปกครอง (เรียกค่าทดแทนที่ดิน) (ชั้นขอแก้ไขคำฟ้อง) ++
++ ทดสอบทำงานในระบบ CW เพื่อค้นหาข้อมูลทาง online ++
++
++
++
++ คดีสืบเนื่องมาจากโจทก์ฟ้องจำเลยทั้งสองขอให้ร่วมกันจ่ายเงินค่าทดแทนที่ดินของโจทก์ที่ถูกเวนคืนเนื้อที่ 43 ไร่ 3 งาน79 ตารางวา เพิ่มขึ้นอีกตารางวาละ 3,000 บาท กับให้จำเลยทั้งสองร่วมกันจ่ายเงินค่าทดแทนที่ดินของโจทก์อีกส่วนหนึ่งที่ถูกเวนคืนในคราวเดียวกัน เนื้อที่ดิน 4 ไร่ 2 งาน ซึ่งโจทก์ยังไม่ได้รับเงินค่าทดแทนที่ดินจากจำเลยทั้งสองคิดเป็นเงินตารางวาละ 8,000 บาท จำเลยทั้งสองให้การว่า ที่ดินของโจทก์ถูกเวนคืนเพียง 43 ไร่ 3 งาน79 ตารางวา เท่านั้น ซึ่งโจทก์ได้รับเงินค่าทดแทนที่ดินที่เหมาะสมไปแล้วในอัตราตารางวาละ 5,000 บาท ส่วนที่ดินอีก 4 ไร่ 2 งาน เป็นที่ดินแนวเขตชลประทานซึ่งเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1304 จำเลยทั้งสองจึงไม่ต้องจ่ายเงินค่าทดแทนที่ดินส่วนนี้ให้แก่โจทก์ และโจทก์มิได้อุทธรณ์ขอเงินค่าทดแทนที่ดินเพิ่มต่อจำเลยที่ 1 ภายใน 60 วัน จึงไม่มีอำนาจฟ้อง ศาลชั้นต้นชี้สองสถานสืบพยานโจทก์เสร็จ และสืบพยานจำเลยทั้งสองได้ 2 ปาก คดีอยู่ในระหว่างสืบพยานจำเลยทั้งสอง โจทก์ยื่นคำร้องขอแก้ไขคำฟ้อง โดยขอเพิ่มเติมข้อความเป็นข้อ 2.1 ว่า จำเลยที่ 2 กับเจ้าหน้าที่จงใจหรือประมาทเลินเล่อละเว้นไม่ปฏิบัติหน้าที่ให้ถูกต้อง โดยมิได้กำหนดเงินค่าทดแทนที่ดินส่วนที่มีเนื้อที่ 4 ไร่ 2 งาน ให้แก่โจทก์ ทำให้โจทก์เสียหายไม่ได้รับเงินค่าทดแทนที่ดินเป็นการทำละเมิดต่อโจทก์ จำเลยที่ 2จึงต้องรับผิดชดใช้ค่าสินไหมทดแทนให้แก่โจทก์ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 420, 421 และตามพระราชบัญญัติความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ. 2539 จำเลยทั้งสองยื่นคำแถลงคัดค้าน
++ ศาลชั้นต้นมีคำสั่งว่า โจทก์ยื่นคำร้องขอแก้ไขคำฟ้องเมื่อพ้นกำหนดเวลาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 180แล้ว จึงไม่อนุญาต ให้ยกคำร้องขอ ค่าคำร้องขอเป็นพับ ++
โจทก์อุทธรณ์ ศาลอุทธรณ์พิพากษายืน ค่าฤชาธรรมเนียมชั้นอุทธรณ์ให้เป็นพับ
++ โจทก์ฎีกา ++
++
++ ศาลฎีกาคณะคดีปกครองตรวจสำนวนประชุมปรึกษาแล้วข้อเท็จจริงเบื้องต้นรับฟังได้ว่า โจทก์ฟ้องคดีนี้เรียกให้จำเลยทั้งสองจ่ายเงินค่าทดแทนที่ดินที่ถูกเวนคืนให้แก่โจทก์เพิ่มขึ้นจากที่ได้รับไปแล้วกับให้จ่ายเงินค่าทดแทนที่ดินอีก 4 ไร่ 2 งาน ที่ถูกเวนคืนในคราวเดียวกันซึ่งโจทก์ยังไม่ได้รับเงิน หลังจากสืบพยานโจทก์เสร็จแล้ว ในระหว่างสืบพยานจำเลยทั้งสอง โจทก์ยื่นคำร้องขอแก้ไขคำฟ้องว่า จำเลยที่ 2จงใจหรือประมาทเลินเล่อละเว้นไม่กำหนดเงินค่าทดแทนที่ดินอีกส่วนหนึ่งให้แก่โจทก์ โดยอ้างว่าโจทก์เพิ่งทราบเนื้อหาสาระในเรื่องที่ขอแก้ไขนี้ไม่อาจยื่นคำร้องขอได้ก่อนวันชี้สองสถาน และเป็นเรื่องเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้ยกคำร้องขอและศาลอุทธรณ์พิพากษายืน
++ มีปัญหาต้องวินิจฉัยตามฎีกาของโจทก์ว่า มีเหตุตามกฎหมายที่โจทก์จะยื่นคำร้องขอแก้ไขคำฟ้องหลังวันชี้สองสถานหรือไม่ ++
++ เห็นว่า คำฟ้องของโจทก์แสดงอยู่ว่า โจทก์ทราบว่าจำเลยที่ 2 ไม่จ่ายเงินค่าทดแทนที่ดินในส่วน 4 ไร่ 2 งาน นี้ตั้งแต่ก่อนฟ้องแล้ว จำเลยที่ 2หรือเจ้าหน้าที่ของจำเลยที่ 2 ผู้ใดกระทำละเมิดอย่างไร โจทก์ควรจะต้องทราบอยู่แล้วตั้งแต่ก่อนฟ้อง ไม่ใช่ว่าเพิ่งทราบ ที่อ้างว่าเพิ่งทราบผลการพิจารณาอุทธรณ์เงินค่าทดแทนที่ดิน เพราะทนายจำเลยทั้งสองเพิ่งส่งสำเนาคำวินิจฉัยอุทธรณ์ให้แก่โจทก์เมื่อวันที่ 6 พฤษภาคม 2541 ตามสำเนาเอกสารท้ายคำร้อง เห็นได้จากเอกสารดังกล่าวว่าการอุทธรณ์ของโจทก์เป็นการอุทธรณ์ในเรื่องเงินค่าทดแทนที่ดินทั้งสิ้น ไม่เกี่ยวกับเรื่องละเมิดที่โจทก์ขอแก้ไขคำฟ้องหลังกำหนดเวลาตามกฎหมายเลย การที่จำเลยที่ 2 ไม่จ่ายเงินค่าทดแทนที่ดินในส่วน 4 ไร่ 2 งาน ให้แก่โจทก์นั้นจำเลยที่ 2 อ้างเหตุว่า เป็นแนวเขตชลประทานอันเป็นที่สาธารณะที่คณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ฯ มีมติว่า สำหรับส่วนที่ยังไม่ได้รับเงินค่าทดแทนให้กรมทางหลวงตรวจสอบ จึงน่าจะมีความหมายเพียงว่าให้ตรวจสอบเรื่องการจ่ายเงินค่าทดแทนที่ดินให้แน่ชัดเท่านั้น มิใช่ตรวจสอบการกระทำละเมิดของจำเลยที่ 2 หรือเจ้าหน้าที่ เพราะที่ว่ากล่าวกันมาตั้งแต่แรกไม่มีเรื่องละเมิดนี้อยู่ ที่โจทก์อ้างว่าเพิ่งทราบเนื้อหาสาระในเรื่องที่ขอแก้ไข ไม่อาจยื่นคำร้องขอได้ก่อนวันชี้สองสถานฟังไม่ขึ้น และที่โจทก์อ้างว่าที่ดินในส่วน 4 ไร่ 2 งาน เป็นของโจทก์นั้นก็เห็นอยู่ว่า เป็นการอ้างสิทธิจะเอาที่ดินดังกล่าวเป็นของตน แม้จะพิพาทกับทางราชการ และมีประเด็นที่จำเลยทั้งสองต่อสู้ว่าเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดิน ก็มิใช่ปัญหาที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชนเพราะมิได้กระทบกระเทือนต่อคนส่วนมาก
++ ในเรื่องนี้มิใช่ว่าถ้าสิ่งที่พิพาทกันนั้นเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินแล้วจะต้องเป็นปัญหาที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชนไปเสียทั้งหมด
++ กรณีของโจทก์ไม่เข้าข้อยกเว้นตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 180 โจทก์จะต้องยื่นคำร้องขอแก้ไขคำฟ้องก่อนวันชี้สองสถานตามที่กำหนดไว้ในกฎหมายมาตราดังกล่าวไม่อาจยื่นภายหลังได้ ที่ศาลอุทธรณ์พิพากษายืนตามคำสั่งของศาลชั้นต้นที่สั่งยกคำร้องขอของโจทก์ชอบแล้ว ++
++ พิพากษายืน ค่าฤชาธรรมเนียมชั้นฎีกาให้เป็นพับ.++
++ ทดสอบทำงานในระบบ CW เพื่อค้นหาข้อมูลทาง online ++
++
++
++
++ คดีสืบเนื่องมาจากโจทก์ฟ้องจำเลยทั้งสองขอให้ร่วมกันจ่ายเงินค่าทดแทนที่ดินของโจทก์ที่ถูกเวนคืนเนื้อที่ 43 ไร่ 3 งาน79 ตารางวา เพิ่มขึ้นอีกตารางวาละ 3,000 บาท กับให้จำเลยทั้งสองร่วมกันจ่ายเงินค่าทดแทนที่ดินของโจทก์อีกส่วนหนึ่งที่ถูกเวนคืนในคราวเดียวกัน เนื้อที่ดิน 4 ไร่ 2 งาน ซึ่งโจทก์ยังไม่ได้รับเงินค่าทดแทนที่ดินจากจำเลยทั้งสองคิดเป็นเงินตารางวาละ 8,000 บาท จำเลยทั้งสองให้การว่า ที่ดินของโจทก์ถูกเวนคืนเพียง 43 ไร่ 3 งาน79 ตารางวา เท่านั้น ซึ่งโจทก์ได้รับเงินค่าทดแทนที่ดินที่เหมาะสมไปแล้วในอัตราตารางวาละ 5,000 บาท ส่วนที่ดินอีก 4 ไร่ 2 งาน เป็นที่ดินแนวเขตชลประทานซึ่งเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1304 จำเลยทั้งสองจึงไม่ต้องจ่ายเงินค่าทดแทนที่ดินส่วนนี้ให้แก่โจทก์ และโจทก์มิได้อุทธรณ์ขอเงินค่าทดแทนที่ดินเพิ่มต่อจำเลยที่ 1 ภายใน 60 วัน จึงไม่มีอำนาจฟ้อง ศาลชั้นต้นชี้สองสถานสืบพยานโจทก์เสร็จ และสืบพยานจำเลยทั้งสองได้ 2 ปาก คดีอยู่ในระหว่างสืบพยานจำเลยทั้งสอง โจทก์ยื่นคำร้องขอแก้ไขคำฟ้อง โดยขอเพิ่มเติมข้อความเป็นข้อ 2.1 ว่า จำเลยที่ 2 กับเจ้าหน้าที่จงใจหรือประมาทเลินเล่อละเว้นไม่ปฏิบัติหน้าที่ให้ถูกต้อง โดยมิได้กำหนดเงินค่าทดแทนที่ดินส่วนที่มีเนื้อที่ 4 ไร่ 2 งาน ให้แก่โจทก์ ทำให้โจทก์เสียหายไม่ได้รับเงินค่าทดแทนที่ดินเป็นการทำละเมิดต่อโจทก์ จำเลยที่ 2จึงต้องรับผิดชดใช้ค่าสินไหมทดแทนให้แก่โจทก์ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 420, 421 และตามพระราชบัญญัติความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ. 2539 จำเลยทั้งสองยื่นคำแถลงคัดค้าน
++ ศาลชั้นต้นมีคำสั่งว่า โจทก์ยื่นคำร้องขอแก้ไขคำฟ้องเมื่อพ้นกำหนดเวลาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 180แล้ว จึงไม่อนุญาต ให้ยกคำร้องขอ ค่าคำร้องขอเป็นพับ ++
โจทก์อุทธรณ์ ศาลอุทธรณ์พิพากษายืน ค่าฤชาธรรมเนียมชั้นอุทธรณ์ให้เป็นพับ
++ โจทก์ฎีกา ++
++
++ ศาลฎีกาคณะคดีปกครองตรวจสำนวนประชุมปรึกษาแล้วข้อเท็จจริงเบื้องต้นรับฟังได้ว่า โจทก์ฟ้องคดีนี้เรียกให้จำเลยทั้งสองจ่ายเงินค่าทดแทนที่ดินที่ถูกเวนคืนให้แก่โจทก์เพิ่มขึ้นจากที่ได้รับไปแล้วกับให้จ่ายเงินค่าทดแทนที่ดินอีก 4 ไร่ 2 งาน ที่ถูกเวนคืนในคราวเดียวกันซึ่งโจทก์ยังไม่ได้รับเงิน หลังจากสืบพยานโจทก์เสร็จแล้ว ในระหว่างสืบพยานจำเลยทั้งสอง โจทก์ยื่นคำร้องขอแก้ไขคำฟ้องว่า จำเลยที่ 2จงใจหรือประมาทเลินเล่อละเว้นไม่กำหนดเงินค่าทดแทนที่ดินอีกส่วนหนึ่งให้แก่โจทก์ โดยอ้างว่าโจทก์เพิ่งทราบเนื้อหาสาระในเรื่องที่ขอแก้ไขนี้ไม่อาจยื่นคำร้องขอได้ก่อนวันชี้สองสถาน และเป็นเรื่องเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้ยกคำร้องขอและศาลอุทธรณ์พิพากษายืน
++ มีปัญหาต้องวินิจฉัยตามฎีกาของโจทก์ว่า มีเหตุตามกฎหมายที่โจทก์จะยื่นคำร้องขอแก้ไขคำฟ้องหลังวันชี้สองสถานหรือไม่ ++
++ เห็นว่า คำฟ้องของโจทก์แสดงอยู่ว่า โจทก์ทราบว่าจำเลยที่ 2 ไม่จ่ายเงินค่าทดแทนที่ดินในส่วน 4 ไร่ 2 งาน นี้ตั้งแต่ก่อนฟ้องแล้ว จำเลยที่ 2หรือเจ้าหน้าที่ของจำเลยที่ 2 ผู้ใดกระทำละเมิดอย่างไร โจทก์ควรจะต้องทราบอยู่แล้วตั้งแต่ก่อนฟ้อง ไม่ใช่ว่าเพิ่งทราบ ที่อ้างว่าเพิ่งทราบผลการพิจารณาอุทธรณ์เงินค่าทดแทนที่ดิน เพราะทนายจำเลยทั้งสองเพิ่งส่งสำเนาคำวินิจฉัยอุทธรณ์ให้แก่โจทก์เมื่อวันที่ 6 พฤษภาคม 2541 ตามสำเนาเอกสารท้ายคำร้อง เห็นได้จากเอกสารดังกล่าวว่าการอุทธรณ์ของโจทก์เป็นการอุทธรณ์ในเรื่องเงินค่าทดแทนที่ดินทั้งสิ้น ไม่เกี่ยวกับเรื่องละเมิดที่โจทก์ขอแก้ไขคำฟ้องหลังกำหนดเวลาตามกฎหมายเลย การที่จำเลยที่ 2 ไม่จ่ายเงินค่าทดแทนที่ดินในส่วน 4 ไร่ 2 งาน ให้แก่โจทก์นั้นจำเลยที่ 2 อ้างเหตุว่า เป็นแนวเขตชลประทานอันเป็นที่สาธารณะที่คณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ฯ มีมติว่า สำหรับส่วนที่ยังไม่ได้รับเงินค่าทดแทนให้กรมทางหลวงตรวจสอบ จึงน่าจะมีความหมายเพียงว่าให้ตรวจสอบเรื่องการจ่ายเงินค่าทดแทนที่ดินให้แน่ชัดเท่านั้น มิใช่ตรวจสอบการกระทำละเมิดของจำเลยที่ 2 หรือเจ้าหน้าที่ เพราะที่ว่ากล่าวกันมาตั้งแต่แรกไม่มีเรื่องละเมิดนี้อยู่ ที่โจทก์อ้างว่าเพิ่งทราบเนื้อหาสาระในเรื่องที่ขอแก้ไข ไม่อาจยื่นคำร้องขอได้ก่อนวันชี้สองสถานฟังไม่ขึ้น และที่โจทก์อ้างว่าที่ดินในส่วน 4 ไร่ 2 งาน เป็นของโจทก์นั้นก็เห็นอยู่ว่า เป็นการอ้างสิทธิจะเอาที่ดินดังกล่าวเป็นของตน แม้จะพิพาทกับทางราชการ และมีประเด็นที่จำเลยทั้งสองต่อสู้ว่าเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดิน ก็มิใช่ปัญหาที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชนเพราะมิได้กระทบกระเทือนต่อคนส่วนมาก
++ ในเรื่องนี้มิใช่ว่าถ้าสิ่งที่พิพาทกันนั้นเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินแล้วจะต้องเป็นปัญหาที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชนไปเสียทั้งหมด
++ กรณีของโจทก์ไม่เข้าข้อยกเว้นตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 180 โจทก์จะต้องยื่นคำร้องขอแก้ไขคำฟ้องก่อนวันชี้สองสถานตามที่กำหนดไว้ในกฎหมายมาตราดังกล่าวไม่อาจยื่นภายหลังได้ ที่ศาลอุทธรณ์พิพากษายืนตามคำสั่งของศาลชั้นต้นที่สั่งยกคำร้องขอของโจทก์ชอบแล้ว ++
++ พิพากษายืน ค่าฤชาธรรมเนียมชั้นฎีกาให้เป็นพับ.++