พบผลลัพธ์ทั้งหมด 8 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2696/2548 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิจัดการศพของผู้เปลี่ยนศาสนา: ผู้มีส่วนได้เสียมีสิทธิร้องขอจัดการศพตามศาสนาที่ผู้ตายนับถือ
จำเลยที่ 1 อยู่กินเป็นสามีภริยากับผู้ตายมานานกว่า 10 ปี โดยผู้ตายเปลี่ยนมานับถือศาสนาอิสลามเช่นเดียวกับจำเลยที่ 1 เมื่อผู้ตายถึงแก่ความตายจำเลยที่ 1 เป็นธุระจัดการทำศพโดยทำพิธีศพของผู้ตายตามแบบพิธีที่ผู้ตายนับถือซึ่งถูกต้องสมควรแก่จารีตประเพณีท้องถิ่น นับว่าจำเลยที่ 1 เป็นผู้มีส่วนได้เสียที่จะร้องขอต่อศาลให้ตั้งบุคคลอื่นเป็นผู้จัดการทำศพของผู้ตายได้ หากเห็นว่าโจทก์ซึ่งเป็นทายาทโดยธรรมที่มีสิทธิรับมรดกมากที่สุด อันมีอำนาจหน้าที่จัดการทำศพของผู้ตายไม่สมควรเป็นผู้จัดการทำศพได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1649 วรรคสอง ดังนั้น เมื่อศพผู้ตายได้มีการจัดการฝังแล้วตามหลักศาสนาอิสลามที่ผู้ตายนับถือ จึงหมดความจำเป็นที่จะนำศพผู้ตายขึ้นมาจัดการทำศพ โจทก์ไม่มีอำนาจเรียกให้ส่งมอบศพผู้ตายให้แก่โจทก์เพื่อจัดการทำศพอีก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2149/2547
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สินสมรส: แม้หย่าทางศาสนาอิสลาม แต่ยังเป็นสามีภริยาโดยชอบด้วยกฎหมาย ต้องบังคับตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
โจทก์จำเลยซื้อที่ดินพิพาทมาในระหว่างสมรส ที่ดินพิพาทย่อมตกเป็นสินสมรสระหว่างโจทก์จำเลย แม้ต่อมาโจทก์จำเลยจะแยกกันอยู่หรือหย่ากันในทางศาสนาอิสลาม ก็จะถือว่าโจทก์จำเลยขาดจากการเป็นสามีภริยาโดยชอบด้วยกฎหมายแล้วมิได้ เพราะมูลคดีมิได้เกิดขึ้นในจังหวัดปัตตานี นราธิวาส ยะลา และสตูล จึงนำพระราชบัญญัติว่าด้วยการใช้กฎหมายอิสลามในเขตจังหวัดปัตตานี นราธิวาส ยะลา และสตูล พ.ศ. 2489 มาปรับใช้มิได้ ความสัมพันธ์ระหว่างสามีภริยาในเรื่องทรัพย์สินต้องบังคับตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1533 เมื่อโจทก์จำเลยยังมีสถานะเป็นสามีภริยาต่อกันตามกฎหมาย จำเลยจึงฟ้องขอแบ่งสินสมรสมิได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3643/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
กรรมสิทธิ์ที่ดิน: การซื้อขายที่ดินโดยใช้ชื่อผู้อื่นเพื่อเหตุผลทางศาสนา ไม่ถือเป็นทรัพย์มรดก
แม้ ป. บิดาโจทก์จะมีชื่อในหนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส.3) ที่พิพาทอันสันนิษฐานไว้ก่อนว่าป. ผู้มีชื่อในทะเบียนเป็นผู้มีสิทธิครอบครองตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1373 ก็ตามแต่ทางนำสืบของโจทก์เป็นเรื่องเลื่อนลอยไม่น่าเชื่อ ส่วนพยานหลักฐานจำเลยมีน้ำหนักน่าเชื่อว่าที่พิพาทเป็นของจำเลยซื้อมาแล้วให้ ป. เป็นผู้มีชื่อในเอกสารสิทธิดังกล่าวด้วยเหตุผลทางศาสนาอิสลามการที่จำเลยยื่นคำร้องขอเป็นผู้จัดการมรดกโดยอ้างว่า ที่พิพาทเป็นมรดกของ ป. เป็นเพียงต้องการให้ที่พิพาทซึ่งเป็นของจำเลยกลับโอนมาเป็นของจำเลยตามที่มีผู้แนะนำให้ดำเนินการเท่านั้น ไม่อาจฟังว่าที่พิพาทเป็นมรดกของ ป. ข้อเท็จจริงจึงฟังได้ว่าที่ดินพิพาทมิใช่ทรัพย์ของ ป.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การครอบครองที่ดินเพื่อกิจการศาสนาอิสลาม ไม่ก่อให้เกิดกรรมสิทธิ์ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1382
บิดาจำเลยยกที่ดินพิพาทให้ก็เพื่อให้บิดาโจทก์ใช้เป็นสถานที่ก่อสร้างโรงเรียนสอนศาสนาอิสลามอันเป็นการยกให้ตามหลักศาสนาอิสลามมิได้มีความประสงค์ที่จะยกที่ดินพิพาทให้แก่บิดาโจทก์เป็นสิทธิส่วนตัว ซึ่งบิดาโจทก์ทราบถึงเจตนาของบิดาจำเลยและข้อบัญญัติของศาสนาอิสลามเพราะเป็นครูสอนศาสนาอิสลาม แม้โจทก์เองซึ่งเป็นผู้ดำเนินกิจการของโรงเรียนสอนศาสนาอิสลามต่อจากบิดาก็ทราบดีว่าที่ดินที่บิดาจำเลยยกให้นั้นมิได้ยกให้เป็นสิทธิส่วนตัวของบิดาโจทก์ แต่ยกให้แก่โรงเรียนสอนศาสนา การที่บิดาโจทก์ครอบครองดูแลที่ดินพิพาทตั้งแต่ได้รับยกให้จากบิดาจำเลยจึงเป็นการครอบครองดูแลรักษาตามบทบัญญัติของศาสนาอิสลาม บิดาโจทก์มิได้มีเจตนายึดถือครอบครองที่ดินพิพาทเพื่อตนด้วยเจตนาเป็นเจ้าของ แม้ครอบครองที่ดินพิพาทมานานเท่าใด บิดาโจทก์หรือโจทก์ก็ไม่ได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทโดยการครอบครองตาม ป.พ.พ. มาตรา 1382
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2617/2522 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาประนีประนอมยอมความแบ่งมรดกตามศาสนาอิสลาม: การบอกเลิกสัญญาและการข่มขู่หลอกลวง
หนังสือแต่งตั้งอนุญาโตตุลาการให้แบ่งมรดกตามบัญญัติของศาลนาอิสลาม ถือว่าเป็นหลักฐานแห่งสัญญาประนีประนอมยอมความระหว่างโจทก์กับจำเลยการที่จำเลยบอกโจทก์ว่าตามศาสนาอิสลาม โจทก์เป็นหญิงไม่มีสิทธิรับมรดก แต่จะแบ่งให้บ้างถ้าโจทก์ลงชื่อตั้งอนุญาโตตุลาการ มิฉะนั้นโจทก์จะอยู่ในบ้านที่เป็นมรดกไม่ได้ ดังนี้ หาเป็นการข่มขู่หลอกลวงโจทก์ให้ลงชื่อในสัญญานี้ไม่ โจทก์จึงไม่มีสิทธิบอกเลิกสัญญาประนีประนอมยอมความดังกล่าว เมื่อโจทก์บอกเลิกการตั้งอนุญาโตตุลาการไปยังคณะอนุญาโตตุลาการโดยจำเลยมิได้ยินยอมด้วยจึงไม่มีผล
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2069/2522
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิมรดกตามหลักศาสนาอิสลาม: ญาติฝ่ายบิดาย่อมได้ก่อนญาติฝ่ายมารดา การครอบครองมรดกโดยไม่มีสิทธิย่อมไม่ตัดอายุความ
ตามหลักศาสนาอิสลาม เมื่อมีญาติฝ่ายบิดาผู้ตายรับมรดกแล้วญาติทางฝ่ายมารดาไม่มีสิทธิรับมรดก เมื่อครอบครองมรดกโดยไม่มีสิทธิรับมรดกก็ยกอายุความต่อสู้ผู้จัดการมรดกไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1286/2481
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจศาลในคดีมรดกของผู้นับถือศาสนาอิสลาม: ศาลสตูลมีอำนาจพิจารณา แม้มรดกบางส่วนอยู่ในกรุงเทพฯ
+พิพาทในเรื่องมฤดกของ+ถือสาสนาอิศลามในจังหวัดสตูลนั้น ย่อมตกอยู่+อำนาจของศาลจังหวัดทูลที่จะพิจารณาพิพากษาการที่มฤดกบางอย่างเป็นอสังหาริมทรัพย์อยู่ในจังหวัดพระนครไม่ทำให้ศาลแพ่งมีอำนาจรับคดีไว้พิจารณาได้ +ารตราของกระทรวงยุตติธรรมที่ 30/4353 มีผลเท่ากับกฎหมายเพราะได้ออกโดยพระบรมราชโองการและยังคงมีผลอยู่จนบัดนี้ เมื่อโจทก์นำฟ้องมายื่นต่อศาลที่ไม่มีอำนาจก็ให้ศาลนั้นคืนฟ้องนั้นไปเพื่อให้ยื่นต่อศาลที่มีเขตต์อำนาจเหนือคดีนั้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8523/2552
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การกระทำชำเราเด็กหญิงที่สมรสตามหลักศาสนาอิสลาม ผู้กระทำผิดไม่ต้องรับโทษตามกฎหมาย
ความผิดฐานกระทำชำเราเด็กหญิงอายุยังไม่เกินสิบห้าปี ถ้าเป็นการกระทำที่ชายกระทำแก่เด็กหญิงอายุกว่าสิบสามปีแต่ยังไม่เกินสิบห้าปีโดยเด็กหญิงนั้นยินยอมและภายหลังศาลอนุญาตให้ชายและเด็กหญิงนั้นสมรสกัน ผู้กระทำผิดไม่ต้องรับโทษตาม ป.อ. มาตรา 277 วรรคแรก (เดิม) และวรรคท้าย (เดิม) มีความหมายว่า ในกรณีที่ชายและเด็กหญิงมีอายุไม่เกิน 17 ปีบริบูรณ์ยังไม่อาจที่จะสมรสกัน หากจะสมรสกันต้องมีคำสั่งศาลอนุญาตให้ทำการสมรสได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1448 หรือกรณีที่ชายและเด็กหญิงเป็นผู้นับถือศาสนาอิสลามและมีภูมิลำเนาอยู่ในเขตจังหวัดปัตตานี นราธิวาส ยะลา และสตูล ทำการสมรสกันโดยถูกต้องตามหลักกฎหมายอิสลามว่าด้วยครอบครัวและมรดก ซึ่งมี พ.ร.บ.ว่าด้วยการใช้กฎหมายอิสลามในเขตจังหวัดปัตตานี นราธิวาส ยะลา และสตูล พ.ศ.2489 อันเป็นกฎหมายพิเศษให้ใช้บังคับแก่ผู้นับถือศาสนาอิสลามในส่วนที่เกี่ยวด้วยครอบครัวและมรดกเฉพาะในสี่จังหวัดดังกล่าวแทนบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 5 และบรรพ 6 จึงมีผลให้ผู้กระทำผิดในคดีอาญานั้นไม่ต้องรับโทษ
จำเลยกับผู้เสียหายที่ 2 เป็นผู้นับถือศาสนาอิสลาม มีภูมิลำเนาอยู่ในจังหวัดสตูลทำการสมรสกันโดยถูกต้องตามกฎหมายอิสลาม จำเลยจึงไม่ต้องรับโทษในความผิดตาม ป.อ. มาตรา 277 วรรคแรก (เดิม) แม้จำเลยไม่ฎีกาแต่เป็นปัญหาข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 225
จำเลยกับผู้เสียหายที่ 2 เป็นผู้นับถือศาสนาอิสลาม มีภูมิลำเนาอยู่ในจังหวัดสตูลทำการสมรสกันโดยถูกต้องตามกฎหมายอิสลาม จำเลยจึงไม่ต้องรับโทษในความผิดตาม ป.อ. มาตรา 277 วรรคแรก (เดิม) แม้จำเลยไม่ฎีกาแต่เป็นปัญหาข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 225