คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
ศึกษา

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 3 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5600/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ขอบเขตความรับผิดของผู้ค้ำประกันเมื่อมีการขยายเวลาศึกษาเกินกำหนดสัญญา
สัญญาระหว่างกรมวิเทศสหการโจทก์กับจำเลยที่ 2 ได้กำหนดระยะเวลาไว้แน่นอนว่าจำเลยที่ 1 ได้รับทุนไปศึกษาต่อ ณ ต่างประเทศเป็นเวลา 5 ปี และสัญญาค้ำประกันระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 2 ก็ระบุว่าค้ำประกันหนี้ซึ่งจะเกิดขึ้นตามสัญญาระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 ดังนั้น จำเลยที่ 2 จะต้องผูกพันรับผิดต่อโจทก์ภายในกำหนดเวลา 5 ปี ซึ่งกำหนดไว้แน่นอนแล้วเท่านั้น เมื่อโจทก์อนุญาตให้จำเลยที่ 1 ศึกษาต่อไปอีกเกินกว่ากำหนด 5 ปี โดยไม่ได้แจ้งให้จำเลยที่ 2 ทราบ และจำเลยที่ 2 มิได้ยินยอมด้วยในการขยายกำหนดเวลาการศึกษา จำเลยที่ 2 จึงไม่ต้องรับผิดต่อโจทก์สำหรับกำหนดระยะเวลาที่เกินกว่า 5 ปี

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 18803-18804/2556

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การอ้างอิงถึงผลงานผู้อื่นเพื่อสร้างสรรค์งานใหม่ ไม่ถือเป็นการละเมิดลิขสิทธิ์ หากมีการศึกษาและนำแนวคิดมาสร้างสรรค์
เนื้อหาในภาพยนตร์เรื่อง "เปนชู้กับผี" ไม่ถึงกับแสดงว่ามีการดัดแปลงมาจากนิยายผีของ ห. การที่จำเลยที่ 2 และที่ 3 เคยให้สัมภาษณ์ว่า ได้รับแรงบันดาลใจในการสร้างภาพยนตร์จากนิยายผีของ ห. นั้น การได้แรงบันดาลใจนั้นอาจเป็นเพียงความคิดเท่านั้น ซึ่งลำพังแนวความคิดไม่ได้รับความคุ้มครองตาม พ.ร.บ.ลิขสิทธิ์ พ.ศ.2537 มาตรา 6 วรรคสอง งานอันมีลิขสิทธิ์ที่จะได้รับความคุ้มครองต้องมีการนำความคิดมาแสดงออกเป็นงานแล้ว เมื่อมีแต่บางส่วนที่มีแนวความคิดคล้ายกันหรือใช้แนวความคิดของ ห. ที่ได้เป็นแรงบันดาลใจ ก็ไม่อาจฟังได้ว่าจำเลยที่ 1 และที่ 3 ร่วมกันละเมิดลิขสิทธิ์โดยการดัดแปลงงานวรรณกรรมนิยายผีที่ ห. เป็นผู้สร้างสรรค์มาสร้างเป็นภาพยนตร์เรื่อง "เปนชู้กับผี"
ภาพผีไต่ลงจากเสาห้อยหัวลงปรากฏว่าเคยมีคนใช้แนวคิดลักษณะเช่นนี้มาแล้ว จึงมีลักษณะเป็นแนวคิดจินตนาการลักษณะอาการของผีให้น่ากลัว หาใช่ว่าบุคคลใดใช้แนวความคิดวาดภาพเช่นนี้แล้วจะหวงกันให้ผู้อื่นไม่มีสิทธิใช้แนวคิดนี้ไปสร้างงานของตนได้
แม้การโฆษณาอาจทำให้เข้าใจว่าภาพยนตร์เรื่องนี้สร้างจากงานวรรณกรรมของ ห. แต่โฆษณามีรายละเอียดต่อมาอีกมาก เมื่ออ่านโดยรวมแล้วเข้าใจได้ว่าเป็นการยกย่องผลงานของ ห. และจำเลยที่ 1 ได้แรงบันดาลใจจากผลงานดังกล่าว นอกจากนี้ ในฉากจบยังมีข้อความว่า "ความดีของภาพยนตร์เรื่องนี้ขออุทิศแด่ ห. บรมครูศิลปินผู้เป็นแรงบันดาลใจ" ทั้งเมื่อจำเลยที่ 1 ทราบว่าโจทก์ร่วมและโจทก์ที่ 2 เกรงว่าคนจะเข้าใจผิด ก็ได้รีบเชิญสื่อมวลชนมารับทราบว่าภาพยนตร์ดังกล่าวไม่ได้สร้างจากนิยายผีของ ห. แสดงถึงพฤติการณ์ของจำเลยที่ 1 และที่ 3 ที่ต้องการยกย่องและแสดงถึงการสร้างภาพยนตร์โดยได้แรงบันดาลใจจากงานของ ห. จึงไม่มีเหตุที่จะทำให้โจทก์ร่วมและโจทก์ที่ 2 ต้องเสียหาย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3595/2561

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิรับเงินทดแทนบุตร: อายุและสถานภาพการศึกษา ณ เวลาประสบอันตราย
พ.ร.บ.เงินทดแทน พ.ศ.2537 มาตรา 20 วรรคหนึ่ง (3) กำหนดบุคคลผู้มีสิทธิได้รับเงินทดแทน คือ บุตรมีอายุต่ำกว่าสิบแปดปี เว้นแต่เมื่อมีอายุครบสิบแปดปี และยังศึกษาอยู่ในระดับไม่สูงกว่าปริญญาตรี ให้ได้รับส่วนแบ่งต่อไปตลอดระยะเวลาที่ศึกษาอยู่ จึงมีความหมายชัดแจ้งแล้วว่าบุตรที่มีสิทธิได้รับเงินทดแทนจะต้องเป็นบุตรที่มีอายุต่ำกว่าอายุสิบแปดปีเสียก่อน และหากบุตรซึ่งมีอายุต่ำกว่าสิบแปดปีนั้นได้รับค่าทดแทนแล้ว ต่อมามีอายุครบสิบแปดปี และยังศึกษาอยู่ในระดับไม่สูงกว่าปริญญาตรีก็จะได้รับส่วนแบ่งต่อไปตลอดเวลาที่ยังศึกษา