คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
ศึกษาต่อ

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 10 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1211/2545

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาข้าราชการไปศึกษาต่อต่างประเทศ: การตีความขอบเขตการใช้ทุนและการโอนย้ายสังกัด
ตามสัญญาของข้าราชการไปศึกษาหรือฝึกอบรม ณ ต่างประเทศของจำเลยข้อ 3ระบุว่า เมื่อจำเลยสำเร็จการศึกษาหรือไม่ จำเลยจะรับราชการต่อไปในสังกัดกรมอาชีวศึกษาโจทก์ กระทรวงศึกษาธิการหรือในกระทรวง ทบวง กรมอื่นตามที่ทางราชการเห็นสมควรและข้อ 4 ระบุว่า หากจำเลยผิดสัญญาในข้อ 3 หรือไม่กลับมารับราชการด้วยเหตุใด ๆจำเลยยินยอมชดใช้เงินเดือนหรือเงินอื่นใดที่ได้รับในระหว่างไปศึกษาพร้อมเบี้ยปรับให้แก่โจทก์ สัญญาดังกล่าวมิใช่ว่าจำเลยต้องรับราชการในสังกัดโจทก์เท่านั้น ทั้งตามหนังสือขอโอนข้าราชการโจทก์เป็นผู้เห็นสมควรให้จำเลยโอนไปรับราชการที่สำนักงานสภาสถาบันราชภัฏ ซึ่งเป็นหน่วยงานในสังกัดกระทรวงศึกษาธิการ จำเลยจึงมิได้ปฏิบัติผิดสัญญา จึงไม่ผิดนัดและไม่มีหนี้ที่จะต้องชำระเงินตามสัญญาข้อ 4 แก่โจทก์ หนังสือรับสภาพหนี้แม้จะทำขึ้นเพื่อให้โจทก์ยอมอนุมัติให้จำเลยโอนไปรับราชการอื่นได้ ก็ไม่มีภาระผูกพันหรือทำให้มีหนี้ที่จะต้องชำระเงินตามที่รับสภาพไว้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6132/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ลำดับการชดใช้หนี้สัญญาข้าราชการศึกษาต่อ: พิจารณาจากจำนวนเงินที่ต้องชดใช้เป็นหลัก
จำเลยมีภาระต้องทำงานชดใช้หนี้ตามสัญญาข้าราชการไปศึกษาต่อภายในประเทศเป็นเวลา 5 ปี 10 เดือน 24 วัน คิดเป็นเงินที่ต้องชดใช้จำนวน 160,089.99 บาท และต้องทำงานชดใช้หนี้ตามสัญญาข้าราชการไปศึกษาหรือฝึกอบรม ณ ต่างประเทศเป็นเวลา 1 ปี 6 เดือน 2 วัน คิดเป็นเงินที่ต้องชดใช้จำนวน 556,199.90 บาท ซึ่งในการพิจารณาว่าหนี้รายใดจะตกหนักที่สุดแก่จำเลยนั้นจะต้องพิจารณาจากภาระที่จำเลยจะต้องรับผิดต่อโจทก์เป็นประเด็นสำคัญ แม้ระยะเวลาทำงานชดใช้ตามสัญญาข้าราชการไปศึกษาต่อภายในประเทศยาวนานกว่าก็ตาม แต่กรณีได้ผ่านพ้นระยะเวลาที่จะต้องทำงานชดใช้ไปแล้วเนื่องจากโจทก์อนุญาตให้จำเลยลาออกจากราชการ จำเลยจึงมีหน้าที่เพียงชดใช้เงินให้แก่โจทก์เท่านั้น ดังนั้นจึงต้องพิจารณาจากจำนวนเงินที่จำเลยจะต้องชดใช้ให้แก่โจทก์พร้อมด้วยดอกเบี้ย ดังนั้นหนี้ตามสัญญาข้าราชการไปศึกษาหรืออบรม ณ ต่างประเทศจึงเป็นรายที่ตกหนักที่สุดแก่จำเลยจึงต้องให้หนี้ตามสัญญาดังกล่าวได้เปลื้องไปก่อนตาม ป.พ.พ.มาตรา 328 โดยนำเวลาที่จำเลยกลับเข้าทำงานชดใช้เป็นเวลา3 ปี 1 เดือน 24 วัน ไปชดใช้เวลาที่จำเลยต้องทำงานชดใช้จำนวน 1 ปี6 เดือน 2 วัน ก่อน ซึ่งยังเหลือเวลาที่จำเลยทำงานชดใช้ไว้อีก 1 ปี 7 เดือน22 วัน และถือว่าจำเลยได้ทำงานชดใช้ตามสัญญาข้าราชการไปศึกษาหรือฝึกอบรมณ ต่างประเทศครบตามสัญญาแล้ว จำเลยจึงไม่ต้องรับผิดต่อโจทก์ตามสัญญาดังกล่าวอีก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7047/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เบี้ยปรับสัญญาข้าราชการศึกษาต่อ – ศาลลดเบี้ยปรับได้เมื่อสูงเกินควร
สัญญาข้าราชการไปศึกษาต่อภายในประเทศ ข้อ 7 ก. ข้อ 8และข้อ 9 ความว่า ในกรณีที่จำเลยที่ 1 ผิดสัญญาไม่กลับเข้าปฏิบัติราชการหลังจากการศึกษาของจำเลยที่ 1 ยุติลง และเป็นเหตุให้จำเลยที่ 1 ถูกลงโทษทางวินัยให้ไล่ออกจากราชการ จำเลยที่ 1 จะต้องชดใช้ เงินทุน เงินเดือน และเงิน-อื่นใดที่จำเลยที่ 1 ได้รับไปในระหว่างศึกษาต่อคืนแก่โจทก์ทั้งหมด พร้อมทั้งเบี้ยปรับเป็นเงินอีกหนึ่งเท่าของเงินที่จำเลยที่ 1 ต้องชดใช้คืนแก่โจทก์ นอกจากนี้ จำเลยที่ 1 ยอมให้โจทก์คิดดอกเบี้ยจากเงินที่ยังมิได้ชำระคืนในอัตราร้อยละ 12 ต่อปีอีกด้วย ข้อตกลงเรื่องดอกเบี้ยดังกล่าวถือได้ว่าเป็นการกำหนดเบี้ยปรับเมื่อจำเลยที่ 1 ไม่ชำระหนี้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 380 อีกส่วนหนึ่งด้วยเมื่อศาลอุทธรณ์ภาค 3 พิพากษาให้จำเลยที่ 1 ชำระเบี้ยปรับเป็นจำนวนเงินหนึ่งเท่าของเงินที่จำเลยที่ 1 ต้องชดใช้คืนให้แก่โจทก์ครบจำนวนแล้ว หากนำเบี้ยปรับที่กำหนดเป็นดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 12 ต่อปี รวมเข้าเป็นเบี้ยปรับอีกจำนวนหนึ่ง ย่อมทำให้เบี้ยปรับที่โจทก์ได้รับมีจำนวนสูงเกินไป ศาลชอบที่จะลดเบี้ยปรับให้เหลือเพียงจำนวนพอสมควรได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 383 วรรคหนึ่งดังนั้น โจทก์ย่อมไม่สมควรได้รับดอกเบี้ยอีก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 848/2537 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ขอบเขตความรับผิดของผู้ค้ำประกันตามสัญญาการศึกษาต่อต่างประเทศ การขยายเวลาไม่ผูกพันผู้ค้ำประกันเดิม
โจทก์อนุมัติให้จำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นข้าราชการสังกัดโจทก์ไปศึกษาต่อต่างประเทศมีกำหนด 2 ปี โดยมีจำเลยที่ 2 เป็นผู้ค้ำประกันถือได้ว่าจำเลยที่ 2 ค้ำประกันความรับความผิดของจำเลยที่ 1 ที่มีอยู่ภายในกำหนดเวลา 2 ปีตามสัญญานั้น การที่โจทก์อนุมัติขยายเวลาให้จำเลยที่ 1ศึกษาต่อเพิ่มเติมภายหลังอีก 8 เดือน เป็นการอนุมัตินอกเหนือระยะเวลาตามสัญญาที่จำเลยที่ 2 ได้ค้ำประกันความรับผิดไว้ จำเลยที่ 2 จึงไม่ต้องรับผิดในหนี้ที่เกิดขึ้นหลังจากครบกำหนด 2 ปี

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4565/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาผูกพันการรับราชการหลังศึกษาต่อ: การชดใช้ค่าเสียหายเมื่อไม่ครบกำหนด
จำเลยที่ 1 ได้ยอมผูกพันตนเข้าทำสัญญากับโจทก์ ซึ่งมีเงื่อนไขว่าเมื่อจำเลยที่ 1 สำเร็จการศึกษาแล้วจะเข้ารับราชการกับโจทก์รวมเป็นเวลาไม่น้อยกว่าสองเท่าของเวลาที่ได้ลาไปศึกษา จำเลยที่ 1 ได้ลาไปศึกษามีกำหนดเวลา 3 ปี รวมเวลาสองเท่าที่จำเลยที่ 1 จะต้องกลับมารับราชการอยู่กับโจทก์เป็นเวลา 6 ปี แต่เมื่อจำเลยที่ 1 สำเร็จการศึกษาแล้วได้รับราชการอยู่กับโจทก์เพียง 2 ปี 4 เดือน ก็ลาออกจากราชการไปซึ่งไม่ครบกำหนดเวลาที่ได้ตกลงกันไว้ จำเลยที่ 1 จึงตกเป็นฝ่ายผิดสัญญา สัญญาข้อ 4.1 ระบุว่าหากจำเลยที่ 1ไปรับราชการในหน่วยงานอื่นโดยโจทก์มิได้ยินยอมเป็นลายลักษณ์อักษร แม้หน่วยงานนั้นจะรับไว้ก็ไม่ถือว่าเป็นไปตามความมุ่งหมายของสัญญา เมื่อจำเลยที่ 1 ไม่ได้รับความยินยอมเป็นลายลักษณ์อักษรจากโจทก์ให้ไปรับราชการในมหาวิทยาลัยขอนแก่นจึงถือไม่ได้ว่าจำเลยที่ 1 ได้ปฏิบัติตามสัญญาและจะถือว่าจำเลยที่ 1 ได้ชดใช้ทุนแล้วหาได้ไม่ จำเลยที่ 1 จึงต้องใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 215ประกอบมาตรา 222 วรรคหนึ่ง, มาตรา 368
หลังจากโจทก์อนุมัติให้ลาออกแล้ว จำเลยที่ 1 ยังปฏิบัติหน้าที่อยู่กับโจทก์ต่อมาอีก 4 เดือน โดยไม่ปรากฏว่าโจทก์ได้คัดค้านหรือทักท้วงถือได้ว่าจำเลยที่ 1 ได้ปฏิบัติหน้าที่อยู่ตามปกติต่อมาอีกชั่วระยะเวลาหนึ่ง อันเป็นเหตุบรรเทาค่าเสียหายลงได้ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 379 ประกอบมาตรา 383

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1056/2536 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาค้ำประกัน-ขอบเขตความรับผิด-การอนุมัติระยะเวลาศึกษาต่อเพิ่มเติม-เบี้ยปรับสูงเกินไป
สัญญาระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 มิได้ระบุระยะเวลาที่จำเลยที่ 1 ได้รับอนุมัติให้ไปศึกษาต่อ ณ ต่างประเทศ และสัญญาค้ำประกันที่จำเลยที่ 2 ทำไว้กับโจทก์ก็มิได้ระบุเวลาที่จำเลยที่ 1 ได้รับอนุมัติให้ไปศึกษาต่อเช่นกัน ฉะนั้น การที่จำเลยที่ 1 ได้รับอนุมัติให้ไปศึกษาต่อ ณ ต่างประเทศเป็นเวลา 2 ปี ครบแล้วโจทก์ได้อนุมัติให้จำเลยที่ 1 ศึกษาต่ออีกเป็นเวลา 4 ปีเศษโดยมิได้แจ้งให้จำเลยที่ 2 ทราบ และจำเลยที่ 2 มิได้ยินยอมในการที่โจทก์อนุมัติให้จำเลยที่ 1 ศึกษาต่ออีกนั้น แม้จะเป็นภาระหนักขึ้นแก่จำเลยที่ 2 ผู้ค้ำประกันแต่ก็ไม่เป็นการฝ่าฝืนข้อตกลงในสัญญาและเป็นคนละเรื่องกับการที่เจ้าหนี้ยอมผ่อนเวลาให้ลูกหนี้ จำเลยที่ 2 ผู้ค้ำประกันจึงไม่หลุดพ้นจากความรับผิด
จำเลยที่ 1 ผิดสัญญาต่อโจทก์จะต้องคืนเงินเดือนเงินเพิ่มช่วยค่าครองชีพที่ตนรับไปให้โจทก์เป็นเงิน 161,863.96 บาท และต้องเสียเบี้ยปรับอีกเท่ากับเงินทั้งหมดที่รับไปกับจะต้องเสียดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 15 ต่อปีสำหรับเงินต้นรวมกับเบี้ยปรับตามสัญญาด้วยนั้น เบี้ยปรับและดอกเบี้ยดังกล่าวเป็นข้อสัญญาที่ระบุความเสียหายหรือความรับผิดในการที่จำเลยไม่ชำระหนี้ไว้ล่วงหน้าเมื่อศาลเห็นว่าเบี้ยปรับสูงเกิน ส่วนศาลก็มีอำนาจลดลงเป็นจำนวนพอสมควรได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 383 และเมื่อกำหนดเบี้ยปรับเป็นค่าเสียหายจำนวนพอสมควรแล้ว ก็ไม่จำเป็นต้องให้ค่าเสียหายเป็นดอกเบี้ยอีก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 656/2535 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญารับทุนศึกษาต่อระดับปริญญาโท, การปฏิบัติราชการ, และการชดใช้ทุน
สัญญารับทุนไม่มีข้อความว่าให้สิ้นความผูกพันเมื่อผู้รับทุนเรียนจบในระดับปริญญาตรี คงมีระบุว่าให้มีความผูกพันในระดับปริญญาโดยไม่ได้ระบุว่าระดับปริญญาตรี โท หรือเอก ดังนั้นเมื่อหลังจากจำเลยเรียนจบปริญญาตรีแล้วจำเลยได้ดำเนินการขอเรียนต่อในระดับปริญญาโทจนต้นสังกัดเห็นชอบ รัฐบาลออสเตรเลียเจ้าของทุนขยายทุนให้และในที่สุดจำเลยที่ 1 ได้รับทุนและเข้าเรียนจนจบ สัญญารับทุนจึงมีผลผูกพันจำเลยที่ 1 ในระดับปริญญาโทด้วย จำเลยที่ 1 ไปฝึกอบรมดูงานที่ประเทศอังกฤษซึ่งเป็นเรื่องที่จำเลยที่ 1 ขวนขวายขอไปเองโดยทางราชการหรือต้นสังกัดมิได้มีส่วนเกี่ยวข้องอยู่ด้วย จึงถือไม่ได้ว่าเป็นการปฏิบัติราชการ จะนำเอาระยะเวลาในช่วยที่จำเลยที่ 1 ไปฝึกอบรมดูงานที่ประเทศอังกฤษ ไปหักเพื่อลดจำนวนเงินที่จำเลยที่ 1จะต้องชดใช้ตามสัญญารับทุนไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3675/2529 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม, การลาศึกษาต่อ, และสิทธิในการรับเงินบำเหน็จของลูกจ้าง
ครั้งแรกจำเลยที่ 1 มีคำสั่งเลิกจ้างโจทก์ด้วยข้อกล่าวหาอันเป็นเท็จและเป็นการเลิกจ้างที่ขัดต่อระเบียบข้อบังคับของจำเลย โจทก์จึงอุทธรณ์ต่อประชาชนกรรมการของจำเลยที่ 1 คณะกรรมการพิจารณาแล้วมีมติให้ยกเลิกคำสั่งดังกล่าวและให้โจทก์รอการบรรจุไว้ โดยให้รอผลการพิจารณาปรับปรุงโครงสร้างของจำเลยที่ 1 ต่อไป จำเลยที่ 1 จึงได้ออกคำสั่งตามมติของคณะกรรมการ อันเป็นผลให้คำสั่งเดิมไม่มีผลบังคับต่อไป การเลิกจ้างโจทก์โดยคำสั่งครั้งแรกจึงไม่เกิดขึ้น กรณีไม่อาจกล่าวอ้างได้ว่าการเลิกจ้างตามคำสั่งนั้นเป็นการเลิกจ้างเป็นธรรมหรือไม่
จำเลยที่ 1 ประสบภาวะการขาดทุนอย่างรุนแรง จึงเลิกจ้างโจทก์เพื่อเป็นการปรับปรุงงาน และเกิดความประหยัด เป็นการเลิกจ้างเพื่อลดรายจ่ายของจำเลยที่ 1 การเลิกจ้างด้วยเหตุดังกล่าวไม่ถือว่าเป็นการเลิกจ้างไม่เป็นธรรม
จำเลยที่ 1 อนุมัติให้โจทก์ลาไปศึกษาต่อที่ต่างประเทศมีกำหนดระยะเวลา 2 ปี โดยมีเงื่อนไขต่อกันว่าโจทก์ไม่ขอรับเงินเดือนในระหว่างนั้น โจทก์จึงยังมีฐานะเป็นลูกจ้างของจำเลยที่ 1 อยู่ โจทก์เดินทางไปแล้วกลับมา ขอกลับเข้าทำงานก่อนครบกำหนดลา แต่จำเลยที่ 1 ยังไม่ให้โจทก์เข้าทำงานเนื่องจากเหตุจำเป็นหลายประการ โจทก์จึงมิได้ปฏิบัติงานให้แก่จำเลยที่ 1 กรณีจึงเป็นเรื่องที่จำเลยที่ 1 ได้ถือปฏิบัติตามข้อตกลงดังกล่าวนั้นอยู่ โจทก์ไม่มีสิทธิเรียกร้องเอาค่าจ้างจากจำเลยที่ 1
ตามข้อบังคับองค์การเหมืองแร่ ฉบับที่ 10 (พ.ศ.2522) ว่าด้วยกองทุนบำเหน็จผู้ปฏิบัติงานในองค์การเหมืองแร่ ข้อ 6.2 ว่าเวลาป่วยลา พักงานหรือไม่ได้อยู่ปฏิบัติงาน ถ้าเวลาดังกล่าวไม่ได้รับอนุญาตให้ได้รับเงินเดือนหรือค่าจ้างไม่ให้นับเป็นเวลาทำงานและให้หักออกจากเวลาทำงานโจทก์ได้รับอนุญาตจากจำเลยที่ 1 ให้ลาไปศึกษายังต่างประเทศโดยไม่ขอรับเงินเดือน โจทก์จึงไม่มีสิทธิขอให้นับเวลาทำงานในช่วงเวลาดังกล่าวเพื่อนำมาคำนวณอายุการทำงานในการรับเงินบำเหน็จของโจทก์ตามข้อบังคับดังกล่าว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3675/2529 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม, การลาศึกษาต่อ, และสิทธิประโยชน์หลังเกษียณ: กรณีศึกษาการฟ้องร้องแรงงาน
ครั้งแรกจำเลยที่ 1 มีคำสั่งเลิกจ้างโจทก์ด้วยข้อกล่าวหาอัน เป็นเท็จและเป็นการเลิกจ้างที่ขัดต่อระเบียบข้อบังคับของจำเลย โจทก์จึงอุทธรณ์ต่อประชาชนกรรมการของจำเลยที่ 1คณะกรรมการพิจารณาแล้วมีมติให้ยกเลิกคำสั่งดังกล่าวและให้โจทก์รอการบรรจุไว้ โดยให้รอผลการพิจารณาปรับปรุงโครงสร้างของจำเลยที่ 1 ต่อไป จำเลยที่ 1 จึงได้ออกคำสั่งตามมติของคณะกรรมการ อันเป็นผลให้คำสั่งเดิมไม่มีผลบังคับต่อไป การเลิกจ้างโจทก์โดยคำสั่งครั้งแรกจึงไม่เกิดขึ้น กรณีไม่อาจกล่าวอ้างได้ว่าการเลิกจ้างตามคำสั่งนั้นเป็นการเลิกจ้างเป็นธรรมหรือไม่
จำเลยที่ 1 ประสบภาวะการขาดทุนอย่างรุนแรง จึงเลิกจ้างโจทก์เพื่อเป็นการปรับปรุงงาน และเกิดความประหยัด เป็นการเลิกจ้างเพื่อลดรายจ่ายของจำเลยที่ 1 การเลิกจ้างด้วยเหตุดังกล่าวไม่ถือว่าเป็นการเลิกจ้างไม่เป็นธรรม
จำเลยที่ 1 อนุมัติให้โจทก์ลาไปศึกษาต่อที่ต่างประเทศมีกำหนดระยะเวลา 2 ปี โดยมีเงื่อนไขต่อกันว่าโจทก์ไม่ขอรับเงินเดือนในระหว่างนั้น โจทก์จึงยังมีฐานะเป็นลูกจ้างของจำเลยที่ 1 อยู่ โจทก์เดินทางไปแล้วกลับมาขอกลับเข้าทำงานก่อนครบกำหนดลา แต่จำเลยที่ 1 ยังไม่ให้โจทก์เข้าทำงานเนื่องจากเหตุจำเป็นหลายประการ โจทก์จึงมิได้ปฏิบัติงานให้แก่จำเลยที่ 1 กรณีจึงเป็นเรื่องที่จำเลยที่ 1 ได้ถือปฏิบัติตามข้อตกลงดังกล่าวนั้นอยู่ โจทก์ไม่มีสิทธิเรียกร้องเอาค่าจ้างจากจำเลยที่ 1
ตามข้อบังคับองค์การเหมืองแร่ ฉบับที่ 10 (พ.ศ.2522) ว่าด้วยกองทุนบำเหน็จผู้ปฏิบัติงานในองค์การเหมืองแร่ ข้อ 6.2 ว่าเวลาป่วย ลา พักงานหรือไม่ได้อยู่ปฏิบัติงาน ถ้าเวลาดังกล่าวไม่ได้รับอนุญาตให้ได้รับเงินเดือนหรือค่าจ้างไม่ให้นับเป็นเวลาทำงานและให้หักออกจากเวลาทำงาน โจทก์ได้รับอนุญาตจากจำเลยที่ 1 ให้ลาไปศึกษายังต่างประเทศโดยไม่ขอรับเงินเดือน โจทก์จึงไม่มีสิทธิขอให้นับเวลาทำงานในช่วงเวลาดังกล่าวเพื่อนำมาคำนวณอายุการทำงานในการรับเงินบำเหน็จของโจทก์ตามข้อบังคับดังกล่าว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1860/2529 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิรับเงินทดแทนของบุตรผู้ตายเมื่ออายุครบ 18 ปี และไม่ได้ศึกษาต่อ
บุตรของผู้ตายตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ข้อ 50(3) มิใช่มีสิทธิได้รับเงินทดแทนตลอดไปจนกว่าจะครบกำหนดตามคำสั่งของพนักงานเงินทดแทน แต่มีสิทธิได้รับเงินทดแทนเฉพาะในระหว่างที่ตนมีคุณสมบัติครบถ้วนตามที่กฎหมายกำหนด หากขาดคุณสมบัติดังกล่าวแล้วแม้ประกาศกระทรวงมหาดไทยฉบับนี้จะมิได้กำหนดให้ส่วนแบ่งของบุตรของผู้ตายเป็นอันยุติหรือเหตุดังกล่าวไม่ใช่เหตุตามที่ระบุไว้ในข้อ 50 วรรคสาม ซึ่งกำหนดให้ส่วนแบ่งของผู้มีสิทธิได้รับเงินทดแทนเป็นอันยุติก็ตาม ก็ต้องถือว่าเป็นอันยุติไปโดยผลของข้อ 50(3) เมื่อส.บุตรของผู้ตายมีอายุครบสิบแปดปีและมิได้ศึกษาอยู่ซึ่งขาดคุณสมบัติที่จะได้รับเงินทดแทนจากจำเลย สิทธิเรียกร้องของ ส.จึงเป็นอันยุติ จำเลยไม่มีหน้าที่ต้องจ่ายเงินทดแทนให้แก่ ส. และประกาศกระทรวงมหาดไทยฉบับดังกล่าวมิได้กำหนดให้สิทธิของ ส.โอนหรือตกทอดไปยังโจทก์ทั้งสองซึ่งเป็นภรรยาและบุตรอีกผู้หนึ่งของผู้ตาย หรือมิได้กำหนดให้จำเลยต้องนำเงินทดแทนอันเป็นส่วนของ ส. มาเฉลี่ยแบ่งจ่ายให้แก่โจทก์ โจทก์ย่อมไม่มีสิทธิเรียกร้องเงินทดแทนอันเป็นส่วนของ ส.