พบผลลัพธ์ทั้งหมด 3 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1387/2516 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิในการร้องสอดของหน่วยงานรัฐในการปกป้องที่ดินนิคมสร้างตนเอง แม้ไม่มีพระราชกฤษฎีกาจัดตั้ง
ตามประมวลกฎหมายที่ดิน มาตรา 20(4) คณะกรรมการจัดที่ดินแห่งชาติมีอำนาจหน้าที่พิจารณาสงวนที่ดินตามความต้องการของกรมประชาสงเคราะห์เพื่อจัดตั้งนิคมสร้างตนเองได้ โดยไม่ต้องออกพระราชกฤษฎีกาหวงห้ามที่ดินตามความในมาตรา 4, 5 แห่งพระราชบัญญัติว่าด้วยการหวงห้ามที่ดินรกร้างว่างเปล่าอันเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดิน พุทธศักราช 2478เพราะพระราชบัญญัติให้ใช้ประมวลกฎหมายที่ดิน พ.ศ.2497 มาตรา 4ได้บัญญัติให้ยกเลิกพระราชบัญญัติหวงห้ามที่ดินรกร้างว่างเปล่าฯนั้นแล้วการที่คณะกรรมการจัดที่ดินแห่งชาติมีมติมอบอำนาจให้กรมประชาสงเคราะห์ดำเนินการเกี่ยวกับการจัดที่ดิน กรมประชาสงเคราะห์จึงมีหน้าที่จัดการที่ดินดังกล่าวนั้นตามมติคณะกรรมการจัดการที่ดินแห่งชาติได้ ถึงแม้ในขณะนั้นจะยังมิได้ออกพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งนิคมสร้างตนเองก็ตาม
เมื่อที่พิพาทเป็นที่ดินที่กรมประชาสงเคราะห์ได้รับมอบหมายมาดังกล่าวได้ถูกโจทก์กล่าวอ้างโต้แย้งสิทธิว่าเป็นที่ดินซึ่งโจทก์มีสิทธิครอบครองอยู่กรมประชาสงเคราะห์ย่อมมีสิทธิที่จะร้องสอดเข้ามาในคดีเพื่อยังให้ได้รับความคุ้มครองหรือบังคับตามสิทธิของตนที่มีอยู่นั้นได้
เมื่อที่พิพาทเป็นที่ดินที่กรมประชาสงเคราะห์ได้รับมอบหมายมาดังกล่าวได้ถูกโจทก์กล่าวอ้างโต้แย้งสิทธิว่าเป็นที่ดินซึ่งโจทก์มีสิทธิครอบครองอยู่กรมประชาสงเคราะห์ย่อมมีสิทธิที่จะร้องสอดเข้ามาในคดีเพื่อยังให้ได้รับความคุ้มครองหรือบังคับตามสิทธิของตนที่มีอยู่นั้นได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1387/2516
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิในที่ดินนิคมสร้างตนเอง: การสงวนที่ดินโดยคณะกรรมการจัดที่ดินแห่งชาติโดยไม่ต้องมี พ.ร.ฎ. และสิทธิของกรมประชาสงเคราะห์
ตามประมวลกฎหมายที่ดิน มาตรา 20(4) คณะกรรมการจัดที่ดินแห่งชาติมีอำนาจหน้าที่พิจารณาสงวนที่ดินตามความต้องการของกรมประชาสงเคราะห์ เพื่อจัดตั้งนิคมสร้างตนเองได้ โดยไม่ต้องออกพระราชกฤษฎีกาหวงห้ามที่ดินตามความในมาตรา 4,5 แห่งพระราชบัญญัติว่าด้วยการหวงห้ามที่ดินรกร้างว่างเปล่าอันเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดิน พุทธศักราช 2478 เพราะพระราชบัญญัติให้ใช้ประมวลกฎหมายที่ดิน พ.ศ.2497 มาตรา 4 ได้บัญญัติให้ยกเลิกพระราชบัญญัติหวงห้ามที่ดินรกร้างว่างเปล่าฯนั้นแล้ว การที่คณะกรรมการจัดที่ดินแห่งชาติมีมติมอบอำนาจให้กรมประชาสงเคราะห์ดำเนินการเกี่ยวกับการจัดที่ดินกรมประชาสงเคราะห์จึงมีหน้าที่จัดการที่ดินดังกล่าวนั้นตามมติคณะกรรมการจัดการที่ดินแห่งชาติได้ ถึงแม้ในขณะนั้นจะยังมิได้ออกพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งนิคมสร้างตนเองก็ตาม
เมื่อที่พิพาทเป็นที่ดินที่กรมประชาสงเคราะห์ได้รับมอบหมายมาดังกล่าวได้ถูกโจทก์กล่าวอ้างโต้แย้งสิทธิว่าเป็นที่ดินซึ่งโจทก์มีสิทธิครอบครองอยู่ กรมประชาสงเคราะห์ย่อมมีสิทธิที่จะร้องสอดเข้ามาในคดีเพื่อยังให้ได้รับความคุ้มครองหรือบังคับตามสิทธิของตนที่มีอยู่นั้นได้
เมื่อที่พิพาทเป็นที่ดินที่กรมประชาสงเคราะห์ได้รับมอบหมายมาดังกล่าวได้ถูกโจทก์กล่าวอ้างโต้แย้งสิทธิว่าเป็นที่ดินซึ่งโจทก์มีสิทธิครอบครองอยู่ กรมประชาสงเคราะห์ย่อมมีสิทธิที่จะร้องสอดเข้ามาในคดีเพื่อยังให้ได้รับความคุ้มครองหรือบังคับตามสิทธิของตนที่มีอยู่นั้นได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 453/2512 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ที่ดินสาธารณสมบัติ: การสงวนที่ดินและการได้มาซึ่งสิทธิโดยชอบธรรม การออกเอกสารสิทธิบนที่ดินสาธารณสมบัติ
ที่ดินรกร้างว่างเปล่าซึ่งนายอำเภอประกาศสงวนเมื่อวันที่30 ตุลาคม 2478 สำหรับใช้ดำเนินการเป็นทัณฑ์นิคมของกรมราชทัณฑ์นั้นแม้ในประกาศสงวนจะมีความว่าห้ามราษฎรบุกรุกถากถางจับจอง เว้นแต่จะได้รับอนุญาตจากเจ้าพนักงานแต่เมื่อต่อมามีพระราชบัญญัติว่าด้วยการหวงห้ามที่ดินรกร้างว่างเปล่าอันเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินพ.ศ.2478 ซึ่งใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 8 เมษายน 2479 แล้ว การถอนการหวงห้ามที่สงวนตามประกาศสงวนของนายอำเภอดังกล่าวจะทำได้ก็แต่โดยพระราชกฤษฎีกา
ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1305 สาธารณสมบัติของแผ่นดินนั้นจะโอนแก่กันมิได้เว้นแต่อาศัยอำนาจแห่งบทกฎหมายเฉพาะหรือพระราชกฤษฎีกา
โจทก์เข้าก่นสร้างที่พิพาทซึ่งเป็นที่สงวนเมื่อ พ.ศ.2483 ขอจับจองและได้รับใบเหยียบย่ำเมื่อ พ.ศ.2494 ครอบครองทำประโยชน์และได้รับหนังสือรับรองการทำประโยชน์เมื่อ พ.ศ. 2501 ไม่ทำให้โจทก์อ้างสิทธิขึ้นเป็นข้อต่อสู้แผ่นดินได้ ที่พิพาทยังคงเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินอยู่นั่นเองเจ้าพนักงานจะออกใบเหยียบย่ำหรือโฉนดบนที่สาธารณสมบัติของแผ่นดินชนิดนี้ให้เอกชนไม่ได้ (อ้างฎีกาที่ 214/2480)
ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1305 สาธารณสมบัติของแผ่นดินนั้นจะโอนแก่กันมิได้เว้นแต่อาศัยอำนาจแห่งบทกฎหมายเฉพาะหรือพระราชกฤษฎีกา
โจทก์เข้าก่นสร้างที่พิพาทซึ่งเป็นที่สงวนเมื่อ พ.ศ.2483 ขอจับจองและได้รับใบเหยียบย่ำเมื่อ พ.ศ.2494 ครอบครองทำประโยชน์และได้รับหนังสือรับรองการทำประโยชน์เมื่อ พ.ศ. 2501 ไม่ทำให้โจทก์อ้างสิทธิขึ้นเป็นข้อต่อสู้แผ่นดินได้ ที่พิพาทยังคงเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินอยู่นั่นเองเจ้าพนักงานจะออกใบเหยียบย่ำหรือโฉนดบนที่สาธารณสมบัติของแผ่นดินชนิดนี้ให้เอกชนไม่ได้ (อ้างฎีกาที่ 214/2480)