พบผลลัพธ์ทั้งหมด 8 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 869/2546
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ภูมิลำเนาที่ถูกต้อง: การส่งหมายศาลไปยังสถานที่ทำงานที่จำเลยพักอาศัยเป็นภูมิลำเนาได้
จำเลยเป็นเจ้าของและได้รับอนุญาตให้ตั้งโรงเรียน ม. ซึ่งไม่มีเลขที่ แต่โรงเรียนม. กับบ้านเลขที่ 788 ตั้งอยู่บนที่ดินของบริษัท ด. ซึ่งสำนักงานตั้งอยู่เลขที่ 788 มีจำเลยเป็นกรรมการคนหนึ่ง และเจ้าพนักงานศาลเคยไปส่งหมายเรียกและสำเนาฟ้องให้จำเลย ซึ่งระบุเลขที่ 788 ก็จะนำส่งที่โรงเรียน ม. น่าเชื่อว่าบ้านเลขที่ 788คือสถานที่ตั้งของโรงเรียน ม. ซึ่งเป็นที่ทำงานของจำเลยมาเป็นเวลา 12 ปี จนถึงปัจจุบันจำเลยพักอาศัยอยู่ในโรงเรียนนั้น ถือว่าโรงเรียน ม. เป็นถิ่นอันจำเลยมีสถานที่อยู่เป็นแหล่งสำคัญ สถานที่ดังกล่าวจึงเป็นภูมิลำเนาแห่งหนึ่งของจำเลย การส่งหมายเรียกและสำเนาคำฟ้องให้แก่จำเลยที่ภูมิลำเนาดังกล่าวจึงเป็นการส่งโดยชอบ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1243/2545 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ลักทรัพย์ในเวลากลางคืนและการพิจารณาความผิดฐานลักทรัพย์ในสถานที่ทำงานของจำเลย
สถานที่เกิดเหตุที่จำเลยเข้าไปลักเอาสายไฟฟ้าของโจทก์ร่วมเป็นสำนักงานประปาสงขลา อันเป็นส่วนงานของการประปาส่วนภูมิภาคซึ่งเป็นรัฐวิสาหกิจมิใช่สถานที่ราชการจำเลยจึงไม่มีความผิดฐานลักทรัพย์ในสถานที่ราชการ แต่เมื่อจำเลยลักทรัพย์ดังกล่าวในเวลากลางคืนจึงยังคงมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 335(1) วรรคแรก
คำขอท้ายฟ้องของโจทก์ที่ให้จำเลยคืนหรือใช้ราคาแก่โจทก์ร่วมเป็นคำขอในส่วนคดีแพ่งตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 40 ซึ่งประเด็นนี้จำเลยมิได้อุทธรณ์ไว้ จึงเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลอุทธรณ์ภาค 9 ต้องห้ามมิให้ฎีกาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 249 วรรคหนึ่ง ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
คำขอท้ายฟ้องของโจทก์ที่ให้จำเลยคืนหรือใช้ราคาแก่โจทก์ร่วมเป็นคำขอในส่วนคดีแพ่งตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 40 ซึ่งประเด็นนี้จำเลยมิได้อุทธรณ์ไว้ จึงเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลอุทธรณ์ภาค 9 ต้องห้ามมิให้ฎีกาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 249 วรรคหนึ่ง ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6963/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างลูกจ้างฐานกระทำผิดระเบียบบริษัทจากการรับแทงพนันในที่ทำงาน แม้เจ้ามืออยู่นอกสถานที่
โจทก์รับแทงสลากกินรวบจากเพื่อนร่วมงานในสถานที่ทำงาน ถือได้ว่าโจทก์เป็นผู้จัดการให้มีการเล่นพนันสลากกินรวบอันเป็นความผิดต่อพระราชบัญญัติการพนันพ.ศ. 2478 มาตรา 12 แม้เจ้ามือผู้รับแทงซึ่งภริยาโจทก์นำโพยสลากกินรวบจากโจทก์ไปส่งจะอยู่นอกบริเวณโรงงานจำเลยก็ตาม การกระทำความผิดของโจทก์ก็เกิดขึ้น ณ สถานที่ทำงานดังกล่าว ดังนั้น การที่โจทก์รับแทงสลากกินรวบจากเพื่อนร่วมงานในสถานที่ทำงานจึงเป็นการฝ่าฝืนระเบียบข้อบังคับของบริษัทจำเลยซึ่งเป็นกรณีร้ายแรง การที่จำเลยเลิกจ้างโจทก์จึงชอบด้วยกฎหมายจำเลยไม่ต้องจ่ายสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า ค่าชดเชย เงินรางวัลประจำปีและค่าเสียหายแก่โจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4715/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม เหตุทะเลาะวิวาทนอกสถานที่ทำงานและนอกเวลา
คำให้การของจำเลยอ้างแต่เพียงว่าเหตุที่เลิกจ้างโจทก์เพราะโจทก์ทะเลาะวิวาททำร้ายผู้อื่นในสถานที่ทำงานของจำเลย อันเป็นเหตุเลิกจ้างตามข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของจำเลย ข้อ 3.9.1 เท่านั้น หาได้อ้างเหตุเลิกจ้างอื่นตามข้อ 3.9.8 และข้อ 3.9.9 ด้วยไม่ การที่จำเลยอุทธรณ์อ้างเหตุเลิกจ้างตามข้อ3.9.8 และข้อ 3.9.9 จึงเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลแรงงาน ศาลฎีกาจึงไม่รับวินิจฉัย
แม้ตามข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของจำเลยข้อ 3.9.1 จะมีข้อความว่า "พนักงานต้องไม่ทำการทะเลาะวิวาท หรือใช้กำลังประทุษร้ายซึ่งกันและกันในบริเวณบริษัทฯ..." แต่เมื่อข้อเท็จจริงได้ความว่าโจทก์ทำร้ายร่างกาย ส.ที่ถนนในบริเวณบริษัท มิใช่ภายในอาคารที่ทำงานหรือที่เก็บสินค้าของจำเลย ขณะเกิดเหตุเป็นเวลาประมาณ 17 นาฬิกา หลังจากเลิกงานแล้ว ทั้งไม่ปรากฏว่า ส.ได้รับบาดเจ็บพฤติการณ์และการกระทำของโจทก์จึงยังไม่อาจถือได้ว่าเป็นการฝ่าฝืนข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของจำเลยกรณีที่ร้ายแรงที่จำเลยจะเลิกจ้างโจทก์ได้โดยไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ข้อ 47 (4)
แม้ตามข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของจำเลยข้อ 3.9.1 จะมีข้อความว่า "พนักงานต้องไม่ทำการทะเลาะวิวาท หรือใช้กำลังประทุษร้ายซึ่งกันและกันในบริเวณบริษัทฯ..." แต่เมื่อข้อเท็จจริงได้ความว่าโจทก์ทำร้ายร่างกาย ส.ที่ถนนในบริเวณบริษัท มิใช่ภายในอาคารที่ทำงานหรือที่เก็บสินค้าของจำเลย ขณะเกิดเหตุเป็นเวลาประมาณ 17 นาฬิกา หลังจากเลิกงานแล้ว ทั้งไม่ปรากฏว่า ส.ได้รับบาดเจ็บพฤติการณ์และการกระทำของโจทก์จึงยังไม่อาจถือได้ว่าเป็นการฝ่าฝืนข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของจำเลยกรณีที่ร้ายแรงที่จำเลยจะเลิกจ้างโจทก์ได้โดยไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ข้อ 47 (4)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 424/2532
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อบังคับบริษัท: การห้ามทำกิจกรรมส่วนตัวในสถานที่ทำงาน แม้หลังเลิกงาน ก็เป็นวินัยที่ลงโทษได้
ข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของบริษัทผู้ร้องกำหนดว่า ลูกจ้างต้องไม่นำสิ่งอื่นใดนอกจากงานในหน้าที่มาทำในเวลาทำงานหรือในสถานที่ทำงานของบริษัท ย่อมมีความหมายชัดแจ้งว่า ห้ามลูกจ้างนำสิ่งอื่นใดนอกจากงานในหน้าที่เข้ามาทำในสถานที่ทำงาน หรือทำสิ่งอื่นใดซึ่งไม่เกี่ยวกับงานในหน้าที่ในสถานที่ทำงาน ไม่ว่าจะเป็นการกระทำในเวลาทำงานปกติหรือนอกเวลาทำงาน ดังนั้น การที่ผู้คัดค้านซึ่งเป็นกรรมการลูกจ้างนำเครื่องวิทยุมาซ่อมในสถานที่ทำงานซึ่งไม่ใช่งานในหน้าที่แม้จะเป็นการทำนอกเวลาทำงานก็ถือว่าเป็นการฝ่าฝืนข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานดังกล่าว.(ที่มา-ส่งเสริม)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6923/2557
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เขตอำนาจศาลแรงงาน: สถานที่ทำงานเป็นที่เกิดมูลคดี แม้มีสถานที่ทำงานหลายแห่ง
โจทก์บรรยายฟ้องว่าจำเลยจ้างโจทก์ให้ทำงานโดยมีสถานที่ทำงาน 2 แห่ง คือกรุงเทพมหานครและนิคมอุตสาหกรรมอีสเทิร์นซีบอร์ด (ระยอง) จังหวัดระยอง จำเลยมิได้โต้แย้งคัดค้านเกี่ยวกับสถานที่ทำงาน 2 แห่ง และศาลแรงงานภาค 2 ก็ดำเนินกระบวนพิจารณาสืบพยานจำเลยและโจทก์จนเสร็จ ทนายจำเลยเพิ่งแถลงคัดค้านเรื่องเขตอำนาจศาล ดังนั้น จังหวัดระยองที่โจทก์ทำงานอยู่ด้วยจึงเป็นสถานที่มูลคดีเกิดเช่นกัน ศาลแรงงานภาค 2 มีอำนาจรับฟ้องคดีนี้ไว้พิจารณาตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 มาตรา 33
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 483/2557
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การลักทรัพย์ในสถานที่ทำงาน: ความผิดฐานลักทรัพย์ธรรมดา มิใช่ลักทรัพย์ในสถานที่ราชการ
จำเลยเป็นพนักงานช่วยงานพยาบาลซึ่งทำงานในโรงพยาบาลที่เกิดเหตุ ห้องน้ำที่เกิดเหตุเป็นสถานที่ที่จำเลยต้องเข้าไปทำงานตามหน้าที่ และเหตุคดีนี้เกิดในช่วงเวลาที่จำเลยทำงาน กรณีจึงมิใช่เรื่องที่จำเลยเข้าไปโดยไม่ได้รับอนุญาตแล้วลักทรัพย์ในสถานที่ดังกล่าว การกระทำของจำเลยย่อมเป็นความผิดฐานลักทรัพย์ตาม ป.อ. มาตรา 334 มิใช่ลักทรัพย์ในสถานที่ราชการ ปัญหาดังกล่าวเป็นปัญหาข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย แม้จำเลยมิได้ฎีกา ศาลฎีกาก็มีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยแก้ไขให้ถูกต้องได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 225
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9559/2552
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ลักทรัพย์สำเร็จในสถานที่ทำงาน: ศาลฎีกาแก้ไขข้อกฎหมายและลงโทษฐานลักทรัพย์ธรรมดา
การที่จำเลยเอายาและเครื่องเวชภัณฑ์ใส่ไว้ในถุงพลาสติก ซึ่งไม่ว่าจะเป็นการไปเอาจากห้องคลังยาโดยตรงหรือในช่วงที่จำเลยเอาไปวางบนชั้นด้านหลังเคาน์เตอร์เภสัชกร ย่อมถือได้ว่าจำเลยเคลื่อนย้ายทรัพย์จากที่ตั้งตามปกติและเข้าถือเอาทรัพย์นั้นแล้ว ทั้งจำเลยยังถือถุงพลาสติกออกไปแม้จะยังไม่พ้นจากห้องจ่ายยาเพราะมีผู้พบเห็นเสียก่อนทำให้จำเลยเอาทรัพย์ไปไม่ได้ ก็ถือว่าความผิดฐานลักทรัพย์สำเร็จแล้วหาใช่เป็นเพียงพยายามลักทรัพย์ไม่ การปรับบทกฎหมายให้ถูกต้องเป็นปัญหาเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้และไม่ถือเป็นการเพิ่มเติมโทษจำเลย นอกจากนี้จำเลยเป็นลูกจ้างประจำและทำงานอยู่ในโรงพยาบาลที่เกิดเหตุ ห้องจ่ายยาผู้ป่วยในเป็นสถานที่ทำงานของจำเลยและเหตุเกิดในช่วงเวลาที่จำเลยทำงาน จึงมิใช่เป็นเรื่องที่จำเลยเข้าไปโดยไม่ได้รับอนุญาตแล้วจึงลักทรัพย์ในสถานที่ดังกล่าว การกระทำของจำเลยย่อมเป็นความผิดฐานลักทรัพย์ธรรมดามิใช่ลักทรัพย์ในสถานที่ราชการ และศาลมีอำนาจที่จะลงโทษจำเลยตามที่พิจารณาได้ความซึ่งเป็นบทที่เบากว่าได้ ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 192 วรรคท้าย ปัญหาดังกล่าวเป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้เอง ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 225