พบผลลัพธ์ทั้งหมด 5 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4565-4576/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สถานธนานุบาลกรุงเทพมหานครเป็นรัฐวิสาหกิจหรือไม่? และมีผลต่อสิทธิการได้รับค่าชดเชยของลูกจ้างอย่างไร
โจทก์อุทธรณ์ว่า สถานธนานุบาลกรุงเทพมหานครมิได้เป็นหน่วยธุรกิจที่รัฐเป็นเจ้าของตามคำนิยามคำว่า รัฐวิสาหกิจ ในมาตรา 4 แห่ง พ.ร.บ.พนักงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ พ.ศ. 2534 โดยอ้างว่าพนักงานของสถานธนานุบาลกรุงเทพมหานครทุกคนเป็นสมาชิกกองทุนประกันสังคม แสดงว่าสถานธนานุบาลกรุงเทพมหานครไม่ใช่รัฐวิสาหกิจ มิฉะนั้นแล้วพนักงานของสถานธนานุบาลกรุงเทพมหานครทุกคนคงไม่ต้องเป็นสมาชิกกองทุนประกันสังคม และหากสถานธนานุบาลกรุงเทพมหานครเป็นรัฐวิสาหกิจตามคำวินิจฉัยของศาลแรงงานกลางแล้ว ผลกำไรที่ได้จากการประกอบธุรกิจจะต้องนำส่งเพื่อเป็นรายได้ของกรุงเทพมหานคร แต่กรณีของสถานธนานุบาลกรุงเทพมหานคร ปรากฏว่าไม่ได้ใช้เงินงบประมาณจากกรุงเทพมหานคร เงินเดือนของพนักงานก็ใช้เงินจากการประกอบกิจการของสถานธนานุบาลเอง การประกอบกิจการพาณิชย์ดังกล่าวมีผลกำไรก็ไม่ต้องนำส่งผลกำไรเพื่อเป็นรายได้ของกรุงเทพมหานคร ในปัญหานี้ศาลแรงงานกลางวินิจฉัยว่า สถานธนานุบาลกรุงเทพมหานครเป็นหน่วยงานธุรกิจที่กรุงเทพมหานครจัดตั้งขึ้นเพื่อดำเนินการพาณิชย์ ถือเป็นหน่วยงานธุรกิจที่รัฐเป็นเจ้าของ อุทธรณ์ของโจทก์จึงเป็นอุทธรณ์ในข้อเท็จจริงเพื่อนำไปสู่ปัญหาข้อกฎหมาย ซึ่งถือว่าเป็นอุทธรณ์ในข้อเท็จจริง ต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 54 วรรคหนึ่ง
แม้สถานธนานุบาลกรุงเทพมหานครจะมิใช่ราชการส่วนท้องถิ่น แต่เป็นหน่วยงานธุรกิจที่รัฐเป็นเจ้าของตามคำนิยามของคำว่า รัฐวิสาหกิจ ในมาตรา 4 แห่ง พ.ร.บ.พนักงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ พ.ศ. 2534 กรณีไม่อาจนำประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ลงวันที่ 16 เมษายน 2515 หรือ พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 มาใช้บังคับแก่โจทก์ได้ แต่ต้องนำ พ.ร.บ.พนักงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ พ.ศ. 2534 มาใช้บังคับเทียบเคียงแก่กรณีของโจทก์ ซึ่งมีผลให้โจทก์ที่ต้องพ้นจากตำแหน่งเพราะเหตุเกษียณอายุตามระเบียบข้อบังคับหรือข้อกำหนดของรัฐวิสาหกิจไม่มีสิทธิได้รับค่าชดเชยตามฟ้อง ดังนั้น ที่โจทก์อุทธรณ์ว่า เมื่อสถานธนานุบาลกรุงเทพมหานครมิใช่ราชการส่วนท้องถิ่น ไม่เข้าข้อยกเว้นที่มิให้นำประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ลงวันที่ 16 เมษายน 2515 หรือ พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 มาใช้บังคับ เมื่อโจทก์ออกจากงานเพราะเหตุเกษียณอายุซึ่งถือว่าเป็นการเลิกจ้าง จำเลยจึงต้องจ่ายค่าชดเชยให้โจทก์ตามฟ้อง โดยนำประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ลงวันที่ 16 เมษายน 2515 หรือ พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 มาใช้บังคับแก่กรณีของโจทก์ จึงไม่เป็นสาระแก่คดีอันควรได้รับการวินิจฉัยเพราะไม่ทำให้ผลคดีเปลี่ยนแปลงไป ต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 225 วรรคหนึ่ง ประกอบด้วย พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณา คดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 31
แม้สถานธนานุบาลกรุงเทพมหานครจะมิใช่ราชการส่วนท้องถิ่น แต่เป็นหน่วยงานธุรกิจที่รัฐเป็นเจ้าของตามคำนิยามของคำว่า รัฐวิสาหกิจ ในมาตรา 4 แห่ง พ.ร.บ.พนักงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ พ.ศ. 2534 กรณีไม่อาจนำประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ลงวันที่ 16 เมษายน 2515 หรือ พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 มาใช้บังคับแก่โจทก์ได้ แต่ต้องนำ พ.ร.บ.พนักงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ พ.ศ. 2534 มาใช้บังคับเทียบเคียงแก่กรณีของโจทก์ ซึ่งมีผลให้โจทก์ที่ต้องพ้นจากตำแหน่งเพราะเหตุเกษียณอายุตามระเบียบข้อบังคับหรือข้อกำหนดของรัฐวิสาหกิจไม่มีสิทธิได้รับค่าชดเชยตามฟ้อง ดังนั้น ที่โจทก์อุทธรณ์ว่า เมื่อสถานธนานุบาลกรุงเทพมหานครมิใช่ราชการส่วนท้องถิ่น ไม่เข้าข้อยกเว้นที่มิให้นำประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ลงวันที่ 16 เมษายน 2515 หรือ พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 มาใช้บังคับ เมื่อโจทก์ออกจากงานเพราะเหตุเกษียณอายุซึ่งถือว่าเป็นการเลิกจ้าง จำเลยจึงต้องจ่ายค่าชดเชยให้โจทก์ตามฟ้อง โดยนำประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ลงวันที่ 16 เมษายน 2515 หรือ พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 มาใช้บังคับแก่กรณีของโจทก์ จึงไม่เป็นสาระแก่คดีอันควรได้รับการวินิจฉัยเพราะไม่ทำให้ผลคดีเปลี่ยนแปลงไป ต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 225 วรรคหนึ่ง ประกอบด้วย พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณา คดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 31
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4565-4576/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สถานะรัฐวิสาหกิจของสถานธนานุบาลกรุงเทพมหานคร และสิทธิประโยชน์ของพนักงานเมื่อเกษียณอายุ
สถานธนานุบาลกรุงเทพมหานครเป็นหน่วยงานธุรกิจที่รัฐเป็นเจ้าของตามคำนิยามของคำว่า รัฐวิสาหกิจ ในมาตรา 4แห่งพระราชบัญญัติพนักงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ พ.ศ. 2534กรณีไม่อาจนำประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงานลงวันที่ 16 เมษายน2515 หรือพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงานพ.ศ. 2541มาใช้บังคับได้แต่ต้องนำพระราชบัญญัติพนักงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์พ.ศ. 2534 มาใช้บังคับเทียบเคียง ซึ่งมีผลให้โจทก์ที่ต้องพ้นจากตำแหน่งเพราะเหตุเกษียณอายุตามระเบียบข้อบังคับหรือข้อกำหนดของรัฐวิสาหกิจไม่มีสิทธิได้รับค่าชดเชย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3097/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดของนายจ้างและผู้จัดการสถานธนานุบาลต่อความเสียหายจากการสับเปลี่ยนทองคำ และประเด็นอายุความ/ฟ้องซ้ำ
ฟ้องโจทก์อ้างว่าจำเลยเป็นลูกจ้างกระทำละเมิดและผิดสัญญาจ้างนิติสัมพันธ์ระหว่างโจทก์และจำเลยเนื่องมาจากสัญญาจ้างแรงงานอยู่ด้วยในคราวเดียวกัน ดังนี้ อายุความในการใช้สิทธิเรียกร้องต้องปรับด้วยการผิดสัญญาจ้างแรงงาน เมื่อไม่มีกฎหมายบัญญัติไว้เป็นอย่างอื่น จึงต้องใช้อายุความ 10 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 164 คดีอาญาที่จำเลยถูกพนักงานอัยการฟ้องและขอให้คืนหรือใช้ราคาทรัพย์ที่ยักยอกไป แม้เป็นการขอแทนผู้เสียหายตาม ป.วิ.อ. มาตรา 43 แต่ก็เป็นกรณีความเสียหายนั้นเนื่องมาจากการกระทำผิดอาญา ส่วนคดีนี้โจทก์ฟ้องจำเลยในมูลละเมิดและในมูลแห่งสัญญา แม้คำขอบังคับจะมีลักษณะเดียวกันคือขอให้จำเลยใช้ค่าเสียหาย แต่ข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหามิได้เป็นอย่างเดียวกัน ประเด็นที่วินิจฉัยจึงมิใช่โดยอาศัยเหตุอย่างเดียวกันและมิใช่ฟ้องคดีในเรื่องเดียวกัน ดังนี้ กรณีไม่เป็นฟ้องซ้ำหรือฟ้องซ้อน.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1800/2517 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ผู้จัดการสถานธนานุบาลทุจริตตีราคาสูงเอื้อประโยชน์ส่วนตัว ทำให้เทศบาลเสียหาย
จำเลยเป็นผู้จัดการสถานธนานุบาล (โรงรับจำนำ) ของเทศบาลนครกรุงเทพ ได้รับจำนำสิ่งของไว้จาก อ. รวม 507 รายการ ในราคาสูงกว่าปกติ และส่วนมากสูงกว่าราคาที่จำเลยรับจำนำไว้จากลูกค้ารายอื่น โดยไม่ปรึกษาผู้ช่วยผู้จัดการเมื่อถูกทักท้วง ก็ว่าจะรับผิดชอบเอง อ. นำสิ่งของมาจำนำแทบทุกวันวันละหลาย ๆ ชิ้น มากกว่าลูกค้ารายอื่น สิ่งของบางชิ้น อ. ขอร้องให้จำเลยตีราคาสูง ๆ เพื่อเอาเงินไปชำระค่าดอกเบี้ยสิ่งของที่จำนำไว้และจะครบกำหนด ถ้าเอาสิ่งของ 507 ชิ้นที่รับจำนำไว้ออกขายทอดตลาดขาดทุน จำเลยก็ไม่สามารถจะใช้เงินที่ขาดให้ได้หลังจากจำเลยถูกจับ อ. ก็มิได้มาติดต่อกับสถานธนานุบาลอีกเลยแสดงว่าจะปล่อยสิ่งของเหล่านั้นให้หลุด ซึ่งหากนำออกขายทอดตลาดได้ราคาต่ำกว่าราคาที่จำนำไว้ เทศบาลนครกรุงเทพก็ต้องขาดทุนพฤติการณ์ดังกล่าวแสดงว่าจำเลยกระทำผิดหน้าที่ของตนโดยทุจริตและทำให้เทศบาลนครกรุงเทพเสียหายแก่ประโยชน์ในลักษณะที่เป็นทรัพย์สิน
สถานธนานุบาลหรือโรงรับจำนำเป็นธุรกิจอันเป็นที่ไว้วางใจของประชาชน จำเลยได้รับมอบหมายให้เป็นผู้จัดการทรัพย์สินและธุรกิจนั้นของเทศบาลนครกรุงเทพ กระทำผิดหน้าที่ของตนโดยทุจริต ทำให้เทศบาลนครกรุงเทพเสียหายแก่ประโยชน์ในลักษณะที่เป็นทรัพย์สิน จำเลยจึงมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 354
สถานธนานุบาลหรือโรงรับจำนำเป็นธุรกิจอันเป็นที่ไว้วางใจของประชาชน จำเลยได้รับมอบหมายให้เป็นผู้จัดการทรัพย์สินและธุรกิจนั้นของเทศบาลนครกรุงเทพ กระทำผิดหน้าที่ของตนโดยทุจริต ทำให้เทศบาลนครกรุงเทพเสียหายแก่ประโยชน์ในลักษณะที่เป็นทรัพย์สิน จำเลยจึงมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 354
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1800/2517
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ผู้จัดการสถานธนานุบาลทุจริตตีราคาสูงเอื้อประโยชน์ผู้อื่น ทำให้เทศบาลเสียหาย
จำเลยเป็นผู้จัดการสถานธนานุบาล (โรงรับจำนำ) ของเทศบาลนครกรุงเทพ ได้รับจำนำสิ่งของไว้จาก อ. รวม 507รายการ ในราคาสูงกว่าปกติ และส่วนมากสูงกว่าราคาที่จำเลยรับจำนำไว้จากลูกค้ารายอื่น โดยไม่ปรึกษาผู้ช่วยผู้จัดการเมื่อถูกทักท้วง ก็ว่าจะรับผิดชอบเองอ.นำสิ่งของมาจำนำแทบทุกวันวันละหลายๆ ชิ้น มากกว่าลูกค้ารายอื่น สิ่งของบางชิ้น อ.ขอร้องให้จำเลยตีราคาสูงๆ เพื่อเอาเงินไปชำระค่าดอกเบี้ยสิ่งของที่จำนำไว้และจะครบกำหนด ถ้าเอาสิ่งของ 507 ชิ้นที่รับจำนำไว้ออกขายทอดตลาดขาดทุน จำเลยก็ไม่สามารถจะใช้เงินที่ขาดให้ได้หลังจากจำเลยถูกจับ อ.ก็มิได้มาติดต่อกับสถานธนานุบาลอีกเลยแสดงว่าจะปล่อยสิ่งของเหล่านั้นให้หลุด ซึ่งหากนำออกขายทอดตลาดได้ราคาต่ำกว่าราคาที่จำนำไว้ เทศบาลนครกรุงเทพก็ต้องขาดทุนพฤติการณ์ดังกล่าวแสดงว่าจำเลยกระทำผิดหน้าที่ของตนโดยทุจริต และทำให้เทศบาลนครกรุงเทพเสียหายแก่ประโยชน์ในลักษณะที่เป็นทรัพย์สิน
สถานธนานุบาลหรือโรงรับจำนำเป็นธุรกิจอันเป็นที่ไว้วางใจของประชาชน จำเลยได้รับมอบหมายให้เป็นผู้จัดการทรัพย์สินและธุรกิจนั้นของเทศบาลนครกรุงเทพ กระทำผิดหน้าที่ของตนโดยทุจริต ทำให้เทศบาลนครกรุงเทพเสียหายแก่ประโยชน์ในลักษณะที่เป็นทรัพย์สิน จำเลยจึงมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 354
สถานธนานุบาลหรือโรงรับจำนำเป็นธุรกิจอันเป็นที่ไว้วางใจของประชาชน จำเลยได้รับมอบหมายให้เป็นผู้จัดการทรัพย์สินและธุรกิจนั้นของเทศบาลนครกรุงเทพ กระทำผิดหน้าที่ของตนโดยทุจริต ทำให้เทศบาลนครกรุงเทพเสียหายแก่ประโยชน์ในลักษณะที่เป็นทรัพย์สิน จำเลยจึงมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 354