คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
สถานประกอบกิจการ

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 7 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2228/2545

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การย้ายลูกจ้างไปทำงานที่สถานประกอบกิจการเดิมของนายจ้าง ไม่ถือเป็นการย้ายสถานประกอบกิจการตามกฎหมาย
จำเลยมีคำสั่งปิดสำนักงานแผนกการขายที่กรุงเทพมหานครและย้ายพนักงานขายทั้งหมดไปทำงานที่หน่วยงานของจำเลยในจังหวัดภูเก็ต โดยขณะจำเลยสั่งย้ายโจทก์จำเลยมีสถานประกอบกิจการที่จังหวัดภูเก็ตอยู่ก่อนแล้ว จึงเป็นกรณีนายจ้างสั่งย้ายลูกจ้างให้ไปทำงานที่สถานประกอบกิจการของนายจ้างอีกแห่งหนึ่งที่มีอยู่แล้ว ไม่ใช่นายจ้างย้ายสถานประกอบกิจการ จึงไม่เป็นกรณีที่จำเลยย้ายสถานประกอบกิจการตามพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 มาตรา 120 โจทก์ไม่มีสิทธิได้ค่าชดเชยพิเศษและค่าชดเชยพิเศษแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3066/2535 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิจัดตั้งคณะกรรมการลูกจ้างในแต่ละสาขาของสถานประกอบกิจการ และการคุ้มครองกรรมการลูกจ้างจากการเลิกจ้าง
พระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ.2518 มาตรา 45 วรรคแรก บัญญัติว่าในสถานประกอบกิจการที่มีลูกจ้างตั้งแต่ห้าสิบคนขึ้นไป ลูกจ้างอาจจัดตั้งคณะกรรมการลูกจ้างในสถานประกอบกิจการนั้นได้ และประกาศกรมแรงงาน เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการในการเลือกตั้งคณะกรรมการลูกจ้าง ฉบับลงวันที่ 16 พฤษภาคม 2518 ข้อ 1 กำหนดว่า ในสถานประกอบกิจการแห่งหนึ่ง ให้เลือกตั้งกรรมการลูกจ้างได้หนึ่งคณะ เว้นแต่สถานประกอบกิจการนั้นมีหน่วยงานหรือสาขาในจังหวัดอื่น ลูกจ้างในสถานประกอบกิจการเช่นว่านั้นอาจตกลงกันเลือกตั้งกรรมการลูกจ้างขึ้นจังหวัดละคณะได้ จำนวนกรรมการลูกจ้างในสถานประกอบกิจการหรือในหน่วยงานหรือสาขาในแต่ละจังหวัด ให้กำหนดโดยถือหลักเกณฑ์ตามมาตรา 46 แห่งพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์พ.ศ. 2518 ฉะนั้น แม้สหภาพแรงงาน อ.จะได้ตั้งคณะกรรมการลูกจ้างสำหรับโรงงานของจำเลยที่จังหวัดชลบุรีแล้ว แต่จำเลยมีโรงงานอีกแห่งหนึ่งคือที่จังหวัดนครราชสีมา ทางสหภาพ ฯ ย่อมมีสิทธิที่จะตั้งคณะกรรมการลูกจ้างสำหรับโรงงานของจำเลยที่จังหวัดนครราชสีมาได้อีก
โจทก์เป็นกรรมการลูกจ้างโดยชอบด้วยกฎหมาย จำเลยจึงไม่มีสิทธิเลิกจ้างโจทก์โดยมิได้รับอนุญาตจากศาลแรงงาน ตามพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ.2518 มาตรา 52

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3066/2535 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแต่งตั้งกรรมการลูกจ้างในสถานประกอบกิจการที่มีสาขาต่างจังหวัด สหภาพแรงงานมีสิทธิแต่งตั้งกรรมการลูกจ้างในแต่ละจังหวัดได้
พ.ร.บ.แรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. 2518 มาตรา 45,46 และประกาศของกรมแรงงาน เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการในการเลือกตั้งคณะกรรมการลูกจ้าง ฉบับลงวันที่ 16 พฤษภาคม 2518 ข้อ 1 กำหนดว่า"ในสถานประกอบกิจการแห่งหนึ่ง ให้เลือกตั้งกรรมการลูกจ้างได้หนึ่งคณะ เว้นแต่สถานประกอบกิจการนั้นมีหน่วยงานหรือสาขาในจังหวัดอื่น ลูกจ้างในสถานประกอบการเช่นว่านั้นอาจตกลงกันเลือกตั้งกรรมการลูกจ้างขึ้นจังหวัดละคณะได้" ดังนั้น แม้สหภาพแรงงาน อ.จะได้ตั้งคณะกรรมการลูกจ้างจำนวน 21 คน สำหรับโรงงานของจำเลยที่จังหวัดชลบุรีแล้ว ทางสหภาพฯ ย่อมมีสิทธิที่จะตั้งคณะกรรมการลูกจ้างจำนวน 13 คน สำหรับโรงงานจำเลยที่จังหวัดนครราชสีมาได้อีกโจทก์เป็นกรรมการลูกจ้างโดยชอบด้วยกฎหมายตามการแต่งตั้งในครั้งหลังนี้ จำเลยไม่มีสิทธิเลิกจ้างโจทก์โดยมิได้รับอนุญาตจากศาลแรงงาน ตาม พ.ร.บ.แรงงานสัมพันธ์ฯ มาตรา 52.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3066/2535

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิในการตั้งคณะกรรมการลูกจ้างในสถานประกอบกิจการที่มีสาขาต่างจังหวัด
นายจ้างมีสถานประกอบกิจการโรงงาน 2 แห่ง แต่ละแห่งอยู่คนละจังหวัดกัน เมื่อสหภาพแรงงานได้ตั้งคณะกรรมการลูกจ้างสำหรับโรงงานในจังหวัดหนึ่งแล้ว ก็ยังมีสิทธิที่จะตั้งคณะกรรมการลูกจ้างสำหรับโรงงานในอีกจังหวัดหนึ่งได้อีก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2414/2526 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สถานประกอบกิจการเดียว: การรถไฟฯ มีคณะกรรมการลูกจ้างได้เพียงคณะเดียว การแต่งตั้งกรรมการลูกจ้างประจำจังหวัดไม่ชอบด้วยกฎหมาย
การรถไฟแห่งประเทศไทยจำเลยมีผู้ว่าการเป็นผู้บริหารงานและเป็นผู้บังคับบัญชาของพนักงานทุกคน ดำเนินการโดยสั่งการจากส่วนกลางไปยังส่วนภูมิภาคมิได้มีการแบ่งหน่วยงานที่ดำเนินกิจการโดยลำพังเป็นหน่วย ๆ จึงเป็นสถานประกอบกิจการเพียงหน่วยเดียวและมีคณะกรรมการลูกจ้างได้เพียงคณะเดียว พนักงานของจำเลยจึงจะแยกเลือกตั้งคณะกรรมการลูกจ้างในแต่ละเขตการเดินรถหรือแต่ละจังหวัดไม่ได้
เมื่อคำสั่งของสหภาพแรงงานจำเลยที่แต่งตั้งโจทก์กับพวกเป็นกรรมการลูกจ้างประจำจังหวัดเป็นคำสั่งที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย จำเลยจึงมีอำนาจลงโทษทางวินัยแก่โจทก์โดยไม่จำต้องได้รับอนุญาตจากศาลแรงงาน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2414/2526

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สถานประกอบกิจการเดียว การแต่งตั้งกรรมการลูกจ้างจังหวัดไม่ชอบด้วยกฎหมาย นายจ้างมีอำนาจลงโทษวินัยได้
การรถไฟแห่งประเทศไทยจำเลยมีผู้ว่าการเป็นผู้บริหารงานและเป็นผู้บังคับบัญชาของพนักงานทุกคน ดำเนินการโดยสั่งการจากส่วนกลางไปยังส่วนภูมิภาคมิได้มีการแบ่งหน่วยงานที่ดำเนินกิจการโดยลำพังเป็นหน่วย ๆ จึงเป็นสถานประกอบกิจการเพียงหน่วยเดียวและมีคณะกรรมการลูกจ้างได้เพียงคณะเดียว พนักงานของจำเลยจึงจะแยกเลือกตั้งคณะกรรมการลูกจ้างในแต่ละเขตการเดินรถหรือแต่ละจังหวัดไม่ได้
เมื่อคำสั่งของสหภาพแรงงานจำเลยที่แต่งตั้งโจทก์กับพวกเป็นกรรมการลูกจ้างประจำจังหวัดเป็นคำสั่งที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายจำเลยจึงมีอำนาจลงโทษทางวินัยแก่โจทก์โดยไม่จำต้องได้รับอนุญาตจากศาลแรงงาน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3322/2524

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแต่งตั้งกรรมการลูกจ้างเกินจำนวนที่กฎหมายกำหนด สถานประกอบกิจการมีสิทธิปฏิเสธและไม่จัดประชุมได้
โรงงานกระดาษบางปะอิน กรมโรงงานอุตสาหกรรม ถือได้ว่าเป็นสถานประกอบกิจการเดียวมีลูกจ้าง 574 คน ตามพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ.2518 มาตรา 46(4) ย่อมมีคณะกรรมการลูกจ้างได้สิบเอ็ดคน เมื่อปรากฏว่าโรงงานกระดาษบางปะอินมีคณะกรรมการลูกจ้างที่ได้รับการแต่งตั้งรวมยี่สิบสองคน จึงเกินกว่าจำนวนที่พระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. 2518 มาตรา 46(4) กำหนด จำเลยจึงชอบที่จะปฏิเสธไม่รับรองคณะกรรมการลูกจ้างและไม่จัดให้มีการประชุมหารือกับ คณะกรรมการลูกจ้างเสียได้