คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
สถานภาพสมรส

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 5 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2583/2522

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแจ้งความเท็จเกี่ยวกับสถานภาพสมรสกระทบสิทธิภริยาเดิมในการรับมรดก โจทก์มีสิทธิฟ้องอาญา
สามีจดทะเบียนสมรสกับหญิงอื่นโดยที่ยังไม่ขาดจากภริยาเดิมที่ได้จดทะเบียนสมรสไว้ แต่อ้างกับเจ้าหน้าที่จดทะเบียนว่าไม่เคยจดทะเบียนสมรสมาก่อน ภริยาเดิมเป็นผู้เสียหายฟ้องสามีตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา137 ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2614/2518 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแจ้งเท็จเกี่ยวกับสถานภาพสมรส ส่งผลต่อสถานะบุคคลของคู่สมรส และมีอำนาจฟ้องคดีอาญา
โจทก์จำเลยยื่นคำร้องขอจดทะเบียนสมรส และจำเลยให้ถ้อยคำอันเป็นเท็จต่อนายทะเบียนสมรสว่า จำเลยยังไม่เคยสมรสมาก่อน ความจริงจำเลยเป็นคู่สมรสกับหญิงอื่นอยู่แล้ว ซึ่งโจทก์ไม่ทราบ นายทะเบียนสมรสจดทะเบียนสมรสให้เพราะเชื่อถ้อยคำของจำเลย ดังนี้ ผลจากการจดทะเบียนสมรสย่อมทำให้การสมรสนั้นสมบูรณ์ ทำให้โจทก์เปลี่ยนฐานะไปเป็นหญิงมีสามี การแจ้งข้อควมอันเป็นเท็จของจำเลยจึงเกี่ยวกับฐานะของบุคคลของโจทก์ที่ได้เปลี่ยนไปในขณะนั้น ถ้อยคำของจำเลยจึงกระทบกระเทือนถึงความเป็นอยู่ของโจทก์ด้วย การจดทะเบียนสมรสนั้นผิดเงื่อนไขแห่งการสมรส เป็นโมฆะ และฝ่าฝืนประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1451 ถ้ามีบุคคลอ้างและศาลพิพากษาว่าการสมรสเป็นโมฆะ โจทก์อาจได้รับความเสียหายเพราะตกอยู่ในฐานะเป็นหญิงมีสามีไม่ชอบด้วยกฎหมาย และเมื่อโจทก์ไม่มีส่วนร่วมในการกระทำผิดของจำเลย โจทก์จึงเป็นผู้เสียหายมีอำนาจฟ้องจำเลยฐานแจ้งข้อความอันเป็นเท็จแก่เจ้าพนักงาน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2614/2518

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแจ้งเท็จเกี่ยวกับสถานภาพสมรสทำให้เกิดความเสียหายต่อคู่สมรสโดยชอบด้วยกฎหมาย โจทก์มีอำนาจฟ้อง
โจทก์จำเลยยื่นคำร้องขอจดทะเบียนสมรส และจำเลยให้ถ้อยคำอันเป็นเท็จต่อนาทะเบียนสมรสว่า จำเลยยังไม่เคยสมรสมาก่อนความจริงเป็นคู่สมรสกับหญิงอื่นอยู่แล้ว ซึ่งโจทก์ไม่ทราบ นายทะเบียนสมรสจดทะเบียนให้เพราะเชื่อถ้อยคำของจำเลยดังนี้ ผลจากการจดทะเบียนสมรสย่อมทำให้การสมรสนั้นสมบูรณ์ ทำให้โจทก์เปลี่ยนฐานะไปเป็นหญิงมีสามี การแจ้งข้อความอันเป็นเท็จของจำเลยจึงเกี่ยวกับฐานะบุคคลของโจทก์ที่ได้เปลี่ยนไปในขณะนั้น ถ้อยคำของจำเลยจึงกระทบกระเทือนถึงความเป็นอยู่ของโจทก์ด้วย การจดทะเบียนสมรสนั้นผิดเงื่อนไขแห่งการสมรส เป็นโมฆะ และฝ่าฝืนประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1451 ถ้ามีบุคคลอ้างและศาลพิพากษาว่าการสมรสเป็นโมฆะ โจทก์อาจได้รับความเสียหายเพราะตกอยู่ในฐานะเป็นหญิงมีสามีไม่ชอบด้วยกฎหมาย และเมื่อโจทก์ไม่มีส่วนร่วมในการกระทำผิดของจำเลย โจทก์จึงเป็นผู้เสียหายมีอำนาจฟ้องจำเลยฐานแจ้งข้อความอันเป็นเท็จแก่เจ้าพนักงาน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1052/2480

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฉ้อโกงจากการให้ข้อมูลเท็จเกี่ยวกับสถานภาพสมรสเพื่อทำสัญญาจำนอง
พถตติการณ์ที่เป็นการหลอกลวงฐานฉ้อโกง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8739/2552

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแจ้งความเท็จเรื่องสถานภาพสมรสเพื่อจำนองทรัพย์สินร่วม การกระทำผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 137
จำเลยซื้ออาคารชุดอุรุพงษ์คอนโดในระหว่างสมรสกับโจทก์ อาคารชุดดังกล่าวจึงเป็นสินสมรส ซึ่งตาม ป.พ.พ. มาตรา 1476 (1) และมาตรา 1480 วรรคหนึ่ง สามีและภริยาต้องจัดการสินสมรสร่วมกันหรือได้รับความยินยอมจากอีกฝ่ายหนึ่งในกรณีจำนองอสังหาริมทรัพย์ หากคู่สมรสฝ่ายหนึ่งได้ทำนิติกรรมไปแต่เพียงฝ่ายเดียวหรือโดยปราศจากความยินยอมของคู่สมรสอีกฝ่ายหนึ่ง คู่สมรสอาจฟ้องให้ศาลเพิกถอนนิติกรรมนั้นได้ การที่จำเลยให้ถ้อยคำแก่เจ้าพนักงานที่ดินว่าเป็นโสดไม่เคยมีคู่สมรสไม่ว่าจะชอบหรือมิชอบด้วยกฎหมาย จึงเป็นการแจ้งความอันเป็นเท็จอันเป็นความผิดตาม ป.อ. มาตรา 137
เมื่ออาคารชุดอุรุพงษ์คอนโดเป็นสินสมรสระหว่างโจทก์และจำเลย อำนาจการจัดการจำนองอาคารชุดดังกล่าวจึงเป็นของโจทก์และจำเลยร่วมกัน แม้จำเลยจะมีชื่อเป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์เพียงผู้เดียวจำเลยก็ไม่มีอำนาจทำนิติกรรมโดยโจทก์ไม่ยินยอม การที่จำเลยแจ้งข้อความอันเป็นเท็จแก่เจ้าพนักงานที่ดินดังกล่าวย่อมทำให้โจทก์ได้รับความเสียหายโดยไม่ต้องคำนึงว่าโจทก์ต้องร่วมรับผิดชำระหนี้จำนองหรือโจทก์มีสินสมรสเพิ่มขึ้นหรือไม่ โจทก์จึงเป็นผู้เสียหายและมีอำนาจฟ้อง
การคุมความประพฤติจำเลยตาม ป.อ. มาตรา 56 เป็นเพียงวิธีการที่ศาลกำหนดเงื่อนไขประกอบ การใช้ดุลพินิจรอการลงโทษจำคุกให้แก่จำเลยเท่านั้น บทบัญญัติดังกล่าวมิได้มีหลักเกณฑ์ว่า ความผิดที่จะกำหนดเงื่อนไขคุมความประพฤติต้องเป็นความผิดร้ายแรง หรือจำเลยต้องมีความประพฤติเสื่อมเสียหรือเป็นอันตรายต่อสังคม หรือติดยาเสพติดให้โทษดังที่จำเลยกล่าวอ้าง เมื่อปรากฏว่าศาลล่างทั้งสองรอการลงโทษจำคุกจำเลย การที่ศาลล่างทั้งสองกำหนดเงื่อนไขเพื่อคุมความประพฤติของจำเลยตาม ป.อ. มาตรา 56 จึงชอบแล้ว