พบผลลัพธ์ทั้งหมด 12 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 275/2549 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สถานะรัฐวิสาหกิจและการจ่ายค่าตอบแทนความชอบ: จำเลยไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยตาม พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน
บริษัทท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน) ผู้ถือหุ้นของจำเลย ได้เปลี่ยนสถานภาพมาจากการท่าอากาศยานแห่งประเทศไทยซึ่งเป็นรัฐวิสาหกิจประเภทองค์การของรัฐตาม พ.ร.บ.ทุนรัฐวิสาหกิจฯ พ.ร.บ. ดังกล่าวระบุเหตุผลในการเปลี่ยนแปลงว่า เพื่อให้บริษัทที่จัดตั้งขึ้นเป็นองค์กรธุรกิจของรัฐที่มีความคล่องตัวในการบริหารและในเหตุผลการจัดตั้งกับมาตรา 26 ได้กำหนดให้บริษัทที่จัดตั้งขึ้นนั้นมีสถานภาพเป็นรัฐวิสาหกิจเช่นเดียวกัน บริษัทท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน) จึงเปลี่ยนแปลงมาจากการท่าอากาศยานแห่งประเทศไทยที่เป็นรัฐวิสาหกิจจึงมีสถานภาพเป็นรัฐวิสาหกิจด้วย เมื่อบริษัทท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน) ซึ่งเป็นรัฐวิสาหกิจถือหุ้นในบริษัทจำเลยเกินกว่าร้อยละห้าสิบ จำเลยจึงเป็นรัฐวิสาหกิจตาม พ.ร.บ.แรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ฯ มาตรา 6 (2) ซึ่งไม่อยู่ในบังคับของ พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงานฯ มาตรา 4 โจทก์ทำงานกับจำเลยจนเกษียณอายุเป็นเวลา 7 ปีเศษ จำเลยจ่ายเงินค่าตอบแทนความชอบให้แก่โจทก์เท่ากับอัตราค่าจ้างสุดท้าย 180 วัน ตามระเบียบคณะกรรมการรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ฯ หมวด 6 ข้อ 47 เป็นการถูกต้องครบถ้วนตามกฎหมายแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 275/2549 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สถานะรัฐวิสาหกิจมีผลบังคับใช้กฎหมายแรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์แทนกฎหมายคุ้มครองแรงงาน
บริษัทท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน) ซึ่งเป็นผู้ถือหุ้นของบริษัทท่าอากาศยานสากลกรุงเทพแห่งใหม่ จำกัด จำเลย ได้เปลี่ยนสถานภาพมาจากการท่าอากาศยานแห่งประเทศไทยซึ่งเป็นรัฐวิสาหกิจประเภทองค์การของรัฐตาม พ.ร.บ.ทุนรัฐวิสาหกิจ พ.ศ.2542 บริษัทท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน) จึงมีสถานภาพเป็นรัฐวิสากิจด้วย เมื่อบริษัทท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน) ถือหุ้นในบริษัทจำเลยเกินกว่าร้อยละห้าสิบ จำเลยจึงเป็นรัฐวิสาหกิจตาม พ.ร.บ.แรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ พ.ศ.2543 มาตรา 6 (2) ซึ่งไม่อยู่ในบังคับของ พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 มาตรา 4 แต่ต้องบังคับตาม พ.ร.บ.แรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ พ.ศ.2543 มาตรา 6 (2) ประกอบระเบียบคณะกรรมการรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ พ.ศ.2543 หมวด 6 ข้อ 47
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 275/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สถานะรัฐวิสาหกิจของจำเลย และการจ่ายเงินตอบแทนความชอบเมื่อเกษียณตามระเบียบ
บริษัทท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน) ผู้ถือหุ้นของจำเลยได้เปลี่ยนสถานภาพมาจากการท่าอากาศยานแห่งประเทศไทย ซึ่งเป็นรัฐวิสาหกิจประเภทองค์กรของรัฐ ตาม พ.ร.บ. ทุนรัฐวิสาหกิจ ฯ พระราชบัญญัติดังกล่าวระบุเหตุผลในการเปลี่ยนแปลงว่าเพื่อให้บริษัทที่จัดตั้งขึ้นเป็นองค์กรธุรกิจของรัฐที่มีความคล่องตัวในการบริหาร และในเหตุผลการจัดตั้งกับมาตรา 26 ได้กำหนดให้บริษัทที่จัดตั้งขึ้นมีสถานภาพเป็นรัฐวิสาหกิจเช่นเดียวกัน บริษัทท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน) จึงมีสถานภาพเป็นรัฐวิสาหกิจ เมื่อบริษัทดังกล่าวมีทุนรวมอยู่ในบริษัทจำเลยเกินร้อยละห้าสิบ จำเลยจึงเป็นรัฐวิสาหกิจตาม พ.ร.บ. แรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ พ.ศ.2543 มาตรา 6 (2) และอยู่ในบังคับของพระราชบัญญัติดังกล่าว ประกอบระเบียบคณะกรรมการรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ พ.ศ.2534 หมวด 6 ข้อ 47 โจทก์ทำงานกับจำเลยจนเกษียณอายุเป็นเวลา 7 ปีเศษ จำเลยจ่ายเงินเพื่อตอบแทนความชอบในการทำงานให้แก่โจทก์เท่ากับอัตราค่าจ้างสุดท้าย 180 วัน ตามระเบียบดังกล่าว จึงถูกต้องครบถ้วนแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5369/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจศาลพลเรือนจำกัดเมื่อจำเลยเป็นนายทหาร การประทับฟ้องก่อนทราบสถานะจำเลยเป็นกระบวนการผิดหลง
ในวันนัดไต่สวนมูลฟ้อง จำเลยยื่นคำร้องและคำให้การยกข้อต่อสู้ว่าคดีไม่อยู่ในอำนาจพิจารณาของศาลพลเรือนด้วยเหตุจำเลยรับราชการทหารตรงกับคำฟ้องของโจทก์ที่ยื่นไว้ และข้อเท็จจริงปรากฏแก่ศาลชั้นต้นตั้งแต่บัดนั้นแล้วว่า จำเลยเป็นนายทหารชั้นสัญญาบัตรประจำการ จำเลยจึงเป็นบุคคลที่อยู่ในอำนาจศาลทหารตามพระราชบัญญัติธรรมนูญศาลทหารพ.ศ. 2498 มาตรา 16(1) ศาลชั้นต้นซึ่งเป็นศาลพลเรือนจึงไม่มีอำนาจพิจารณาคดีจำเลยก่อนมีคำสั่งประทับฟ้อง การที่ศาลชั้นต้นได้อนุญาตให้เลื่อนการไต่สวนมูลฟ้องไปอีกหลายครั้งและได้ทำการไต่สวนมูลฟ้องและมีคำสั่งรับประทับฟ้องโจทก์ไว้พิจารณา จึงเป็นกระบวนพิจารณาที่ผิดหลง การที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งจำหน่ายคดีในเวลาต่อมาภายหลังเป็นการแก้ไขกระบวนพิจารณาที่ผิดพลาดให้ถูกต้อง มิใช่กรณีที่ศาลชั้นต้นได้มีคำสั่งประทับฟ้องไว้ในขณะที่ยังไม่ปรากฏชัดแจ้งว่าคดีอยู่ในอำนาจของศาลทหารหรือไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7279/2540 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การขาดนัดพิจารณาและการเลื่อนคดีเพื่อแก้ไขสถานะจำเลย
ในวันนัดสืบพยานโจทก์นัดแรก นอกจากฝ่ายโจทก์ไม่มาศาลแล้วจำเลยทั้งสามก็ไม่มาศาลเพราะยังส่งหมายเรียกและสำเนาคำฟ้องให้จำเลยที่ 1ไม่ได้ ส่วนจำเลยที่ 2 มิได้ยื่นคำให้การภายในระยะเวลาที่กฎหมายกำหนด แต่ศาลชั้นต้นยังไม่ได้มีคำสั่งว่าจำเลยที่ 2 ขาดนัดยื่นคำให้การ สำหรับจำเลยที่ 3ที่ได้รับหมายเรียกและสำเนาคำฟ้อง ก็ยังมีสิทธิยื่นคำให้การภายหลังวันนัดสืบพยานโจทก์นัดแรกนั้น กรณีเช่นนี้แม้โจทก์และพยานโจทก์จะมาศาลก็ไม่อาจสืบพยานโจทก์ได้ ศาลชั้นต้นชอบที่จะสั่งเลื่อนคดีไปเพื่อมีคำสั่งเกี่ยวกับจำเลยทั้งสามเสียก่อน การที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งว่าโจทก์ขาดนัดพิจารณาและให้จำหนายคดีเสียจากสารบบความย่อมไม่ชอบ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7279/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลื่อนคดีเพื่อแก้ไขสถานะจำเลยที่ไม่พร้อม และความชอบธรรมในการสั่งจำหน่ายคดี
ในวันนัดสืบพยานโจทก์นัดแรกนอกจากฝ่ายโจทก์ไม่มาศาลแล้ว จำเลยทั้งสามก็ไม่มาศาลเพราะยังส่งหมายเรียกและสำเนาคำฟ้องให้จำเลยที่ 1 ไม่ได้ ส่วนจำเลยที่ 2 มิได้ยื่นคำให้การภายในระยะเวลาที่กฎหมายกำหนด แต่ศาลชั้นต้นยังไม่ได้มีคำสั่งว่าจำเลยที่ 2 ขาดนัดยื่นคำให้การ สำหรับจำเลยที่ 3 ที่ได้รับหมายเรียกและสำเนาคำฟ้องก็ยังมีสิทธิยื่นคำให้การภายหลังวันนัดสืบพยานโจทก์นัดแรกนั้น กรณีเช่นนี้แม้โจทก์และพยานโจทก์จะมาศาลก็ไม่อาจสืบพยานโจทก์ได้ ศาลชั้นต้นชอบที่จะสั่งเลื่อนคดีไปเพื่อมีคำสั่งเกี่ยวกับจำเลยทั้งสามเสียก่อน การที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งว่าโจทก์ขาดนัดพิจารณาและให้จำหน่ายคดีเสียจากสารบบความย่อมไม่ชอบ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2172-2173/2533
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดของกรรมการผู้จัดการในฐานะนายจ้าง และการไม่เป็นฟ้องซ้ำเมื่อสถานะจำเลยต่างกัน
จำเลยที่1เป็นกรรมการผู้จัดการของบริษัทจำเลยที่2ซึ่งเป็นนายจ้างของโจทก์จำเลยที่1จึงเป็นผู้มีอำนาจกระทำการแทนจำเลยที่2ซึ่งเป็นนิติบุคคลและมีฐานะเป็นนายจ้างตามความหมายของประกาศกระทรวงมหาดไทยเรื่องการคุ้มครองแรงงานข้อ2จำเลยที่1ต้องร่วมรับผิดกับบริษัทจำเลยที่2 คดีเดิมโจทก์ฟ้องจำเลยที่1ให้รับผิดในฐานะที่เป็นหุ้นส่วนผู้จัดการของห้างหุ้นส่วนจำกัดส่วนคดีนี้โจทก์ฟ้องจำเลยที่1ให้รับผิดในฐานะที่จำเลยที่1เป็นกรรมการผู้จัดการผู้มีอำนาจกระทำการแทนจำเลยที่2ซึ่งเป็นบริษัทจำกัดถือว่าจำเลยที่1ในคดีเดิมและคดีนี้เป็นคนละคนกันจึงมิใช่เป็นกรณีที่คู่ความเดียวกันรื้อร้องฟ้องกันอีกอันจะเป็นฟ้องซ้ำ.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2215/2524
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การไม่อนุญาตเลื่อนคดีเมื่อทนายจำเลยอ้างป่วยโดยไม่มีใบรับรองแพทย์ และการฟ้องที่ระบุสถานะจำเลยไม่ชัดเจน ศาลฎีกาพิพากษายืน
วันนัดสืบพยานโจทก์นัดแรก ทนายจำเลยมอบฉันทะให้เสมียนทนายมายื่นคำร้องขอเลื่อนคดีอ้างว่าป่วยโดยไม่มีใบรับรองของแพทย์มาแสดงโจทก์คัดค้านทั้งขอให้นำแพทย์ไปตรวจปรากฏว่าเสมียนทนายไม่สามารถนำไปได้ และฝ่ายโจทก์เตรียมพยานมาพร้อมที่จะสืบตามที่นัดไว้แล้ว ที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งไม่อนุญาตให้เลื่อนคดี จึงชอบด้วยกฎหมายแล้ว
ฟ้องโจทก์ได้แสดงโดยแจ้งชัดซึ่งสภาพแห่งข้อหาและคำขอบังคับทั้งข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาเช่นว่านั้นแล้วตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 172 ฟ้องโจทก์จึงไม่เคลือบคลุม และในการพิจารณาคดีส่วนแพ่งจำเลยจะอ้างว่าหลงข้อต่อสู้อย่างเช่นในคดีอาญาหาได้ไม่
ฟ้องโจทก์ได้แสดงโดยแจ้งชัดซึ่งสภาพแห่งข้อหาและคำขอบังคับทั้งข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาเช่นว่านั้นแล้วตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 172 ฟ้องโจทก์จึงไม่เคลือบคลุม และในการพิจารณาคดีส่วนแพ่งจำเลยจะอ้างว่าหลงข้อต่อสู้อย่างเช่นในคดีอาญาหาได้ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 358-359/2500 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สถานะจำเลยไม่ใช่ข้าราชการ จึงไม่ผิดฐานยักยอกทรัพย์ในฐานะเจ้าพนักงาน
จำเลยได้รับการแต่งตั้งเป็นเสมียนเจ้าพนักงานประจำแผนกกลางของสำนักงานท่องเที่ยวกรมประชาสัมพันธ์ สำนักนายกรัฐมนตรี ได้รับมอบหมายให้มีหน้าที่ฝ่ายการเงินของสำนักงานท่องเที่ยว กรมประชาสัมพันธ์ คือการรับเงินจ่ายเงิน ปกครองรักษาและนำเงินผลประโยชน์ รายได้ต่าง ๆ ของสำนักงานท่องเที่ยวกรมประชาสัมพันธ์ส่งต่อเจ้าหน้าที่ แผนกคลังกรมประชาสัมพันธ์เป็นรายได้ของรัฐบาล จำเลยได้ยักยอกเงินที่ได้รับไว้ในหน้าที่ไปเป็นประโยชน์ส่วนตัว แต่ปรากฏว่าเจ้าหน้าที่ของสำนักงานท่องเที่ยวนี้ได้รับเงินเดือนประเภทการจรมีฐานะเป็นลูกจ้างรายเดือนของสำนักงานและในคำให้การของจำเลยชั้นสอบสวนปรากฏว่า จำเลยรับราชการเป็นลูกจ้างได้ค่าจ้างเป็นรายเดือน จำเลยจึงไม่เป็นข้าราชการตาม พ.ร.บ.ข้าราชการพลเรือน ถือไม่ได้ว่าเป็นเจ้าพนักงานอันจะเป็นผิดตาม ม.131
ในคดียักยอกทรัพย์ถึงที่สุดในศาลอุทธรณ์โดยศาลพิพากษาว่าจำเลยผิด ก.ม.อาญา 319 (3) คู่ความไม่ได้ฎีกาขึ้นมาก็ตามแต่เนื่องจากประมวลกฎหมายอาญา ม.3 บัญญัติให้ใช้ ก.ม. ในส่วนที่เป็นคุณแก่ผู้กระทำผิดและตามประมวล ก.ม.อาญามิได้บัญญัติการกระทำของจำเลยอันความผิดตรงกับ ม.319 ดังนั้นความผิดของจำเลยจึงเข้า ม.352 ฐานยักยอกทรัพย์ธรรมดาซึ่งมีโทษเบากว่าโทษตาม ก.ม.อาญา ม.319 จึงต้องใช้ประมวล ก.ม.อาญา ม.352 บังคับ ลงโทษจำเลย.
ในคดียักยอกทรัพย์ถึงที่สุดในศาลอุทธรณ์โดยศาลพิพากษาว่าจำเลยผิด ก.ม.อาญา 319 (3) คู่ความไม่ได้ฎีกาขึ้นมาก็ตามแต่เนื่องจากประมวลกฎหมายอาญา ม.3 บัญญัติให้ใช้ ก.ม. ในส่วนที่เป็นคุณแก่ผู้กระทำผิดและตามประมวล ก.ม.อาญามิได้บัญญัติการกระทำของจำเลยอันความผิดตรงกับ ม.319 ดังนั้นความผิดของจำเลยจึงเข้า ม.352 ฐานยักยอกทรัพย์ธรรมดาซึ่งมีโทษเบากว่าโทษตาม ก.ม.อาญา ม.319 จึงต้องใช้ประมวล ก.ม.อาญา ม.352 บังคับ ลงโทษจำเลย.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1421/2493
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความชอบด้วยกฎหมายขององค์คณะผู้พิพากษาศาลทหารกลางที่มีสถานะสูงกว่าจำเลย
จำเลยมียศเพียงนายเรือตรี แต่ตุลาการศาลทหารกลางที่เป็นนายทหารพิจารณาพิพากษาคดีพร้อมกับตุลาการผู้รักษาพระธรรมนูญอีก 2 นายนั้นเป็นนายทหารชั้นพลโททั้ง 3 นาย ไม่มีตุลาการที่เป็นนายทหารคนใดมียศต่ำกว่าจำเลย ฉะนั้นฐานะของตุลาการศาลทหารกลางที่เป็นนายทหารพิจารณาพิพากษาคดีของจำเลยจึงเป็นอันชอบด้วยกฎหมายแล้ว