พบผลลัพธ์ทั้งหมด 3 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6552/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเปลี่ยนแปลงสถานะทรัพย์สินสมรสตามกฎหมายที่แก้ไขใหม่ ไม่ย้อนหลังบังคับกับทรัพย์สินที่ได้มาภายใต้กฎหมายเดิม
ทรัพย์สินตามบัญชีทรัพย์มรดกรวม 6 รายการ เป็นทรัพย์สินที่เจ้ามรดกได้มาขณะที่ใช้ ป.พ.พ. บรรพ 5 เดิม การพิจารณาว่าเป็นทรัพย์สินระหว่างสามีภรรยาประเภทใดต้องพิจารณาตามบทกฎหมายที่ใช้ในขณะที่ได้มา เมื่อเจ้ามรดกได้รับมรดกและได้รับการยกให้ในระหว่างสมรสโดยไม่มีการระบุว่าให้เป็นสินเดิมหรือสินส่วนตัว ทรัพย์สินดังกล่าวจึงเป็นสินสมรสระหว่างเจ้ามรดกกับ ร. ตาม ป.พ.พ.บรรพ 5 เดิม มาตรา 1466 แม้ต่อมาจะมีบทบัญญัติบรรพ 5 แห่ง ป.พ.พ. ที่ได้ตรวจชำระใหม่ พ.ศ.2519 ใช้บังคับมีมาตรา 1471 บัญญัติให้ทรัพย์สินที่ได้มาระหว่างสมรสโดยการรับมรดกหรือโดยการให้โดยเสน่หาเป็นสินส่วนตัว และมาตรา 1474บัญญัติให้ทรัพย์สินที่ได้มาระหว่างสมรสโดยพินัยกรรมหรือโดยการให้เป็นหนังสือและพินัยกรรมหรือหนังสือยกให้ได้ระบุว่าเป็นสินสมรส จึงเป็นสินสมรส อันแตกต่างจากบทบัญญัติแห่งบรรพ 5 เดิมก็ตาม ก็ไม่ทำให้ทรัพย์สินซึ่งเป็นสินสมรสอยู่แต่เดิมเปลี่ยนเป็นสินส่วนตัวของเจ้ามรดก เพราะกฎหมายที่แก้ไขใหม่ไม่ได้บัญญัติให้เปลี่ยนแปลงไปดังกรณีสินเดิม จึงจะนำบทบัญญัติแห่ง ป.พ.พ. บรรพ 5 ที่ได้ตรวจชำระใหม่พ.ศ.2519 มาตรา 1471 มาใช้บังคับแก่กรณีนี้หาได้ไม่ เมื่อทรัพย์สินนั้นเป็นสินสมรสเจ้ามรดกคงมีส่วนแต่เพียงครึ่งเดียวที่เป็นมรดกตกทอดแก่ทายาท
ที่ศาลชั้นต้นฟังว่าทรัพย์สินตามบัญชีทรัพย์มรดกรวม 4 รายการเป็นสินสมรสนั้นไม่ได้วินิจฉัยว่าเป็นสินสมรสเพราะเหตุว่าเป็นทรัพย์สินที่เจ้ามรดกได้มาระหว่างสมรสโดยได้รับมรดกซึ่งไม่มีการระบุให้เป็นสินเดิมหรือสินส่วนตัวจึงเป็นสินสมรสตาม ป.พ.พ. มาตรา 1466 ดังที่โจทก์ยกขึ้นกล่าวโต้แย้งในอุทธรณ์แต่อย่างใด อุทธรณ์ของโจทก์ที่เกี่ยวกับทรัพย์สิน 4 รายการนี้ จึงเป็นอุทธรณ์ที่ไม่ชัดแจ้ง ไม่ชอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 225 วรรคหนึ่ง แม้โจทก์อุทธรณ์โดยตรงต่อศาลฎีกาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 223 ทวิ ศาลฎีกาก็ไม่รับวินิจฉัยให้
ที่ศาลชั้นต้นฟังว่าทรัพย์สินตามบัญชีทรัพย์มรดกรวม 4 รายการเป็นสินสมรสนั้นไม่ได้วินิจฉัยว่าเป็นสินสมรสเพราะเหตุว่าเป็นทรัพย์สินที่เจ้ามรดกได้มาระหว่างสมรสโดยได้รับมรดกซึ่งไม่มีการระบุให้เป็นสินเดิมหรือสินส่วนตัวจึงเป็นสินสมรสตาม ป.พ.พ. มาตรา 1466 ดังที่โจทก์ยกขึ้นกล่าวโต้แย้งในอุทธรณ์แต่อย่างใด อุทธรณ์ของโจทก์ที่เกี่ยวกับทรัพย์สิน 4 รายการนี้ จึงเป็นอุทธรณ์ที่ไม่ชัดแจ้ง ไม่ชอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 225 วรรคหนึ่ง แม้โจทก์อุทธรณ์โดยตรงต่อศาลฎีกาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 223 ทวิ ศาลฎีกาก็ไม่รับวินิจฉัยให้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 765/2518 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจศาลวินิจฉัยสถานะทรัพย์สินฝ่ายพระมหากษัตริย์ และการเปลี่ยนชื่อผู้ถือกรรมสิทธิ์ในตราจอง
พระราชบัญญัติจัดระเบียบทรัพย์สินฝ่ายพระมหากษัตริย์ พ.ศ.2479 มาตรา 4 ได้แบ่งทรัพย์สินฝ่ายพระมหากษัตริย์เป็น 3 ประเภท คือทรัพย์สินส่วนพระองค์ ทรัพย์สินส่วนสาธารณสมบัติของแผ่นดิน และทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์มาตรา 5 บัญญัติว่า ทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ (เว้นเครื่องอุปโภคบริโภค) ให้อยู่ในความดูแลรักษาและจัดหาประโยชน์ของสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ เมื่อที่ดินมีตราจองในคดีนี้ยังอยู่ในพระปรมาภิไธยของพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว แต่สำนักงานทรัพย์สินสวนพระมหากษัตริย์ผู้ร้องอ้างว่าเป็นทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ อยู่ในความดูแลของผู้ร้องแล้วจึงมีปัญหาว่าที่ดินตามตราจองนี้เป็นทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์หรือไม่ การวินิจฉัยปัญหานี้เป็นอำนาจของศาลที่จะวินิจฉัยเจ้าพนักงานที่ดินไม่มีอำนาจเปลี่ยนนามผู้ถือกรรมสิทธิ์ในตรา จองมาเป็นนามผู้ร้องได้ ผู้ร้องจึงมีสิทธิยื่นคำร้องขอให้ศาลไต่สวนและมีคำสั่งเปลี่ยนนามผู้ถือกรรมสิทธิ์ที่ดินตราจองจากพระปรมาภิไธย พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าฯ มาเป็นนามของผู้ร้องถือกรรมสิทธิ์ เพื่อผู้ร้องจะได้ดำเนินการขอเปลี่ยนจากตราจองเป็นโฉนดต่อไปได้
ทรัพย์สินฝ่ายพระมหากษัตริย์ไม่ใช่ทรัพย์สินของสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ผู้ร้อง การที่ผู้ร้องขอให้ลงชื่อผู้ร้องถือกรรมสิทธิ์นั้นเป็นการขอถือกรรมสิทธิ์แทนพระมหากษัตริย์เพื่อประโยชน์ในการจัด การทรัพย์สิน จึงไม่ใช่การจดทะเบียนสิทธิการได้มาซึ่งที่ดินตามประมวลกฎหมายที่ดิน มาตรา 78 เจ้าพนักงานที่ดินจะอาศัยบทกฎหมายดังกล่าวจดทะเบียนลงชื่อผู้ร้องหาได้ไม่
ทรัพย์สินฝ่ายพระมหากษัตริย์ไม่ใช่ทรัพย์สินของสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ผู้ร้อง การที่ผู้ร้องขอให้ลงชื่อผู้ร้องถือกรรมสิทธิ์นั้นเป็นการขอถือกรรมสิทธิ์แทนพระมหากษัตริย์เพื่อประโยชน์ในการจัด การทรัพย์สิน จึงไม่ใช่การจดทะเบียนสิทธิการได้มาซึ่งที่ดินตามประมวลกฎหมายที่ดิน มาตรา 78 เจ้าพนักงานที่ดินจะอาศัยบทกฎหมายดังกล่าวจดทะเบียนลงชื่อผู้ร้องหาได้ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1011/2498
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การพิสูจน์สถานะสินเดิมและผลของการไม่นำสืบพยานตามกฎหมายแพ่ง
โจทก์ฟ้องอ้างว่าที่พิพาทเป็นสินเดิม จำเลยให้การต่อสู้ว่าที่พิพาทจะเป็นสินเดิมของโจทก์หรือไม่จำเลยไม่ทราบ เช่นนี้ถือว่าจำเลยให้การปฏิเสธข้ออ้างของโจทก์ โจทก์ต้องนำสืบว่าทรัพย์ที่พิพาทเป็นสินเดิมของโจทก์ (ประชุมใหญ่ครั้งที่ 14/2498)