พบผลลัพธ์ทั้งหมด 17 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8543-8552/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การสันนิษฐานสถานะบริวารในคดีบังคับคดี: ผู้ร้องยังสามารถพิสูจน์สถานะตนเองได้แม้พ้นกำหนด 8 วัน
ตามบทบัญญัติ ป.วิ.พ. มาตรา 296 จัตวา (3) ถ้าผู้ร้องไม่ได้ยื่นคำร้องแสดงอำนาจพิเศษว่าผู้ร้องไม่ใช่บริวารของจำเลยต่อศาลชั้นต้นเสียภายในกำหนดเวลา 8 วัน นับแต่วันที่เจ้าพนักงานบังคับคดีปิดประกาศ ให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่าผู้ร้องเป็นบริวารของจำเลย การที่กฎหมายเพียงแต่ให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่าผู้ร้องเป็นบริวารของจำเลยในกรณีที่ผู้ร้องมิได้ยื่นคำร้องแสดงอำนาจพิเศษว่าผู้ร้องไม่ใช่บริวารของจำเลยเสียภายในกำหนดเวลา 8 วัน นับแต่วันที่เจ้าพนักงานบังคับคดีปิดประกาศ แสดงว่ากฎหมายมิได้บัญญัติบังคับไว้โดยเด็ดขาดว่าถ้าผู้ร้องไม่ได้ยื่นคำร้องแสดงอำนาจพิเศษต่อศาลภายในกำหนดเวลา 8 วัน นับแต่วันที่เจ้าพนักงานบังคับคดีปิดประกาศแล้วผู้ร้องจะต้องเป็นบริวารของจำเลยสถานเดียว โดยบทบัญญัติของกฎหมายดังกล่าวจะเห็นได้ว่าแม้ล่วงเลยกำหนดเวลา 8 วัน นับแต่วันที่เจ้าพนักงานบังคับคดีปิดประกาศไปแล้ว ถ้าผู้ร้องมีหลักฐานสืบแสดงได้ว่าผู้ร้องไม่ใช่บริวารของจำเลย ผู้ร้องก็ชอบที่จะยื่นคำร้องนำพยานหลักฐานมาสืบพิสูจน์สถานภาพของผู้ร้องได้ว่าผู้ร้องไม่ใช่บริวารของจำเลย ระยะเวลา 8 วันดังกล่าว เป็นเพียงระยะเวลาที่กฎหมายสันนิษฐานถึงสถานภาพของบุคคลว่าใช่หรือไม่ใช่บริวารของลูกหนี้ตามคำพิพากษาเท่านั้น มิใช่ระยะเวลาสิ้นสุดแห่งการดำเนินกระบวนพิจารณาแต่อย่างใด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6300/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฎีกาในข้อเท็จจริงเกี่ยวกับสถานะบริวารและสิทธิครอบครองที่ดินพิพาท คดีบังคับคดี
คดีเกี่ยวกับการบังคับวงศ์ญาติและบริวารจำเลยที่ถูกฟ้องขับไล่ที่ดินพิพาทมีราคา102,000บาทและโจทก์ฟ้องเรียกค่าเสียหายจากจำเลยปีละ5,000บาทซึ่งโจทก์และจำเลยต้องห้ามมิให้ฎีกาในข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา248วรรคสองเมื่อศาลชั้นต้นพิจารณาแล้ววินิจฉัยว่าผู้ร้องเป็นบริวารของจำเลยและมีคำสั่งให้ยกคำร้องศาลอุทธรณ์พิพากษายืนผู้ร้องจึงต้องห้ามมิให้ฎีกาในข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา248วรรคสามที่ผู้ร้องทั้งสองฎีกาว่าผู้ร้องทั้งสองเป็นผู้มีอำนาจพิเศษที่จะอยู่ในที่ดินพิพาทได้เพราะผู้ร้องทั้งสองมิใช่บริวารของจำเลยแม้ว่าผู้ร้องทั้งสองจะยกข้อกฎหมายมาอ้างว่าผู้ร้องทั้งสองมีชื่อระบุในหนังสือรับรองการทำประโยชน์ผู้ร้องทั้งสองย่อมมีสิทธิครอบครองร่วมกับจำเลยในที่ดินพิพาทจำเลยไม่่อาจต่อสู้คดีแทนผู้ร้องทั้งสองได้และโจทก์ไม่ได้ฟ้องผู้ร้องทั้งสองเป็นจำเลยจึงไม่อาจบังคับขับไล่ผู้ร้องทั้งสองได้นั้นก็เพื่อสนับสนุนการวินิจฉัยข้อเท็จจริงถือว่าเป็นฎีกาในข้อเท็จจริงจึงต้องห้ามฎีกาตามบทกฎหมายดังกล่าวข้างต้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6013/2539 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การสันนิษฐานสถานะบริวารของลูกหนี้ตามคำพิพากษา ผู้ร้องมีสิทธิยื่นหลักฐานพิสูจน์สถานะได้ แม้พ้นกำหนด 8 วัน
ป.วิ.พ.ได้บัญญัติเกี่ยวกับสิทธิของผู้ร้องไว้ในมาตรา 296 จัตวา(3) คือถ้าผู้ร้องไม่ได้ยื่นคำร้องแสดงอำนาจพิเศษว่าผู้ร้องไม่ใช่บริวารของจำเลยต่อศาลชั้นต้นเสียภายในกำหนดเวลา 8 วันนับแต่วันที่เจ้าพนักงานบังคับคดีปิดประกาศให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่าผู้ร้องเป็นบริวารของจำเลย การที่กฎหมายเพียงแต่ให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่าผู้ร้องเป็นบริวารของจำเลยในกรณีที่ผู้ร้องมิได้ยื่นคำร้องแสดงอำนาจพิเศษว่าผู้ร้องไม่ใช่บริวารของจำเลยเสียภายในกำหนดเวลา 8 วัน นับแต่วันที่เจ้าพนักงานบังคับคดีปิดประกาศ แสดงว่ากฎหมายมิได้บัญญัติบังคับไว้โดยเด็ดขาดว่า ถ้าผู้ร้องไม่ได้ยื่นคำร้องแสดงอำนาจพิเศษต่อศาลภายในกำหนดเวลา 8 วันนับแต่วันที่เจ้าพนักงานบังคับคดีปิดประกาศแล้วผู้ร้องจะต้องเป็นบริวารของจำเลยสถานเดียวแม้ล่วงเลยกำหนดเวลา 8 วันนับแต่วันที่เจ้าพนักงานบังคับคดีปิดประกาศไปแล้วถ้าผู้ร้องมีหลักฐานสืบแสดงได้ว่าผู้ร้องไม่ใช่บริวารของจำเลย ผู้ร้องก็ชอบที่จะยื่นคำร้องนำพยานหลักฐานมาสืบพิสูจน์ถึงสถานภาพของผู้ร้องได้ว่า ผู้ร้องไม่ใช่บริวารของจำเลย และแม้ผู้ร้องจะไม่ได้ขอขยายระยะเวลายื่นคำร้องเสียก่อนสิ้นระยะเวลา8 วันนับแต่วันที่เจ้าพนักงานบังคับคดีปิดประกาศก็ไม่ตัดสิทธิผู้ร้องที่จะยื่นคำร้องในภายหลังเพราะระยะเวลา 8 วันดังกล่าวเป็นเพียงระยะเวลาที่กฎหมายสันนิษฐานถึงสถานภาพของบุคคลว่าใช่หรือไม่ใช่บริวารของลูกหนี้ตามคำพิพากษาเท่านั้น มิใช่ระยะเวลาสิ้นสุดเพื่อให้ดำเนินหรือมิให้ดำเนินกระบวนพิจารณาใด ๆตาม ป.วิ.พ.มาตรา 23
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6013/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การสันนิษฐานสถานะบริวารในบังคับคดี ผู้ร้องมีสิทธิยื่นหลักฐานหลังพ้นกำหนดเวลาได้ และการฟ้องขับไล่เกิน 5,000 บาท ไม่ห้ามฎีกา
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 296 จัตวา (3)เพียงแต่ให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่าผู้ร้องเป็นบริวารของจำเลยในกรณีที่ผู้ร้องมิได้ยื่นคำร้องแสดงอำนาจพิเศษว่าผู้ร้องไม่ใช่บริวารของจำเลยภายในกำหนดเวลา 8 วัน นับแต่วันที่เจ้าพนักงานบังคับคดีปิดประกาศ แม้ล่วงเลยกำหนดเวลาดังกล่าวไปแล้ว ถ้าผู้ร้องมีหลักฐานสืบแสดงได้ว่าผู้ร้องไม่ใช่บริวารจำเลย ก็ชอบจะยื่นคำร้องนำพยานหลักฐานมาสืบพิสูจน์ถึงสถานภาพของผู้ร้องได้ และแม้ผู้ร้องจะไม่ขอขยายระยะเวลายื่นคำร้องไว้ก็ไม่ตัดสิทธิที่จะยื่นคำร้องในภายหลังเพราะระยะเวลาดังกล่าวเป็นเพียงระยะเวลาที่กฎหมายสันนิษฐานถึงสถานภาพของบุคคลว่าใช่หรือไม่ใช่บริวารของลูกหนี้ตามคำพิพากษาเท่านั้น มิใช่ระยะเวลาสิ้นสุดเพื่อให้ดำเนินหรือมิได้ดำเนินกระบวนพิจารณาใด ๆ ตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 23
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6013/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การสันนิษฐานสถานะบริวารในบังคับคดี ผู้ร้องมีสิทธิยื่นคำร้องพิสูจน์สถานะแม้พ้นกำหนด 8 วัน
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งได้บัญญัติเกี่ยวกับสิทธิของผู้ร้องไว้ในมาตรา296จัตวา(3)คือถ้าผู้ร้องไม่ได้ยื่นคำร้องแสดงอำนาจพิเศษว่าผู้ร้องไม่ใช่บริวารของจำเลยต่อศาลชั้นต้นเสียภายในกำหนดเวลา8วันนับแต่วันที่เจ้าพนักงานบังคับคดีปิดประกาศให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่าผู้ร้องเป็นบริวารของจำเลยการที่กฎหมายเพียงแต่ให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่าผู้ร้องเป็นบริวารของจำเลยในกรณีที่ผู้ร้องมิได้ยื่นคำร้องแสดงอำนาจพิเศษว่าผู้ร้องไม่ใช่บริวารของจำเลยเสียภายในกำหนดเวลา8วันนับแต่วันที่เจ้าพนักงานบังคับคดีปิดประกาศแสดงว่ากฎหมายมิได้บัญญัติบังคับไว้โดยเด็ดขาดว่าถ้าผู้ร้องไม่ได้ยื่นคำร้องแสดงอำนาจพิเศษต่อศาลภายในกำหนดเวลา8วันนับแต่วันที่เจ้าพนักงานบังคับคดีปิดประกาศแล้วผู้ร้องจะต้องเป็นบริวารของจำเลยสถานเดียวแม้ล่วงเลยกำหนดเวลา8วันนับแต่วันที่เจ้าพนักงานบังคับคดีปิดประกาศไปแล้วถ้าผู้ร้องมีหลักฐานสืบแสดงได้ว่าผู้ร้องไม่ใช่บริวารของจำเลยผู้ร้องก็ชอบที่จะยื่นคำร้องนำพยานหลักฐานมาสืบพิสูจน์ถึงสถานภาพของผู้ร้องได้ว่าผู้ร้องไม่ใช่บริวารของจำเลยและแม้ผู้ร้องจะไม่ได้ขอขยายระยะเวลายื่นคำร้องเสียก่อนสิ้นระยะเวลา8วันนับแต่วันที่เจ้าพนักงานบังคับคดีปิดประกาศก็ไม่ตัดสิทธิผู้ร้องที่จะยื่นคำร้องในภายหลังเพราะระยะเวลา8วันดังกล่าวเป็นเพียงระยะเวลาที่กฎหมายสันนิษฐานถึงสถานภาพของบุคคลว่าใช่หรือไม่ใช่บริวารของลูกหนี้ตามคำพิพากษาเท่านั้นมิใช่ระยะเวลาสิ้นสุดเพื่อให้ดำเนินหรือมิให้ดำเนินกระบวนพิจารณาใดๆตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา23
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 876/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สถานะบริวารยั่งยืน แม้มีการเปลี่ยนแปลงกรรมสิทธิ์ – คำพิพากษาถึงที่สุดไม่กระทบสถานะเดิม
ศาลพิพากษาขับไล่จำเลยและบริวารออกจากที่ดินและสิ่งปลูกสร้างซึ่งจำเลยขายฝากกับโจทก์ และศาลฎีกาได้มีคำวินิจฉัยชี้ขาดในคดีนี้มาแล้วว่าผู้ร้องเป็นบริวารของจำเลย แม้ผู้ร้องจะเข้าเป็นคู่ความแทนที่ผู้ร้องสอดซึ่งมรณะในคดีที่ผู้ร้องสอดฟ้องจำเลย และต่อมาศาลอุทธรณ์จะได้มีคำพิพากษาถึงที่สุดในคดีดังกล่าวให้ลงชื่อผู้ร้องสอดเป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์ร่วมกับจำเลยในที่ดินที่พิพาทกันในคดีนี้ภายหลัง ศาลฎีกาได้มีคำพิพากษาในคดีนี้แล้วก็ตาม ก็หามีผลเปลี่ยนแปลงฐานะในคดีของผู้ร้องซึ่งเป็นเพียงผู้รับมรดกความและผู้จัดการมรดกของผู้ร้องสอดผู้มรณะในคดีนั้นให้พ้นจากฐานะบริวารจำเลยในคดีนี้ไม่ เพราะผู้ร้องมิได้เป็นคู่ความโดยตรง และประเด็นข้อพิพาทก็ต่างกันกับคดีนี้ จึงยังต้องถือว่าผู้ร้องเป็นบริวารจำเลยที่ไม่สามารถแสดงอำนาจพิเศษให้ศาลเห็นได้ดังที่ศาลฎีกาวินิจฉัยมาแล้ว คำพิพากษาคดีนี้จึงบังคับถึงผู้ร้องด้วยตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 142(1)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1139/2529 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิร้องขอในชั้นบังคับคดี: การโต้แย้งสถานะบริวารและสิทธิในที่ดินของผู้ร้อง
ศาลอุทธรณ์ได้พิพากษาคดีระหว่างโจทก์จำเลยคดีนี้ และคดีถึงที่สุดแล้วว่า ให้จำเลยรื้อสิ่งปลูกสร้างออกไปจากที่พิพาทและห้ามจำเลยกับบริวารเข้าเกี่ยวข้อง คำพิพากษาจึงมีผลบังคับถึงบริวารของจำเลยด้วย เมื่อศาลชั้นต้นได้ออกคำบังคับให้จำเลยปฏิบัติตามคำพิพากษา ก็ได้ระบุไว้ในคำบังคับด้วยว่าห้ามจำเลยและบริวารเข้าเกี่ยวข้องกับที่พิพาท เมื่อผู้ร้องทั้งสี่ยื่นคำร้องขออ้างว่าตนมิได้เป็นบริวารของจำเลยและสิ่งปลูกสร้างกับที่พิพาทนี้เป็นของผู้ร้องทั้งสี่มิใช่ของโจทก์ จึงเป็นการตั้งข้อพิพาทกับโจทก์ในชั้นบังคับคดี กรณีจึงเป็นเรื่องผู้ร้องทั้งสี่มีสิทธิร้องขอต่อศาลได้โดยอาศัยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 7 (2), 296 ชอบที่จะรับคำร้องขอของผู้ร้องไว้พิจารณา
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1139/2529 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิร้องคัดค้านคำบังคับคดี: การโต้แย้งสถานะ 'บริวาร' และสิทธิในทรัพย์สินหลังคำพิพากษาถึงที่สุด
ศาลออกคำบังคับห้ามจำเลยและบริวารเข้าเกี่ยวข้องกับที่พิพาทผู้ร้องยื่นคำร้องว่าผู้ร้องมิได้เป็นบริวารของจำเลยและสิ่งปลูกสร้างกับที่พิพาทเป็นของผู้ร้องไม่ใช่ของโจทก์เป็นการตั้งข้อพิพาทกับโจทก์ในชั้นบังคับคดีผู้ร้องมีสิทธิร้องต่อศาลได้ตามป.วิ.พ.มาตรา7(2),296ชอบที่จะรับคำร้องขอของผู้ร้องไว้พิจารณา.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2267/2524
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การผูกพันตามคำแถลงต่อศาลและการยอมรับสถานะบริวาร ย่อมไม่อาจเปลี่ยนแปลงภายหลังได้
ผู้ร้องเคยแถลงต่อศาลว่าจะขนย้ายทรัพย์ออกจากตึกแถวพิพาท เคยยื่นคำร้องว่าเป็นบริวารของจำเลยและลงชื่อในรายงานกระบวนพิจารณาในฐานะเป็นบริวารจำเลย จึงเป็นการยอมรับมาแต่ต้นว่าผู้ร้องเป็นบริวารของจำเลย ผู้ร้องจะมายื่นคำร้องในภายหลังว่าผู้ร้องไม่ใช่บริวารของจำเลยอีกหาได้ไม่
ศาลพิพากษาคดีถึงที่สุด โดยวินิจฉัยว่าโจทก์เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ในที่ดินและตึกแถวพิพาท ผู้ร้องซึ่งมีฐานะเป็นเพียงบริวารของจำเลย จึงไม่อาจเถียงได้อีกต่อไปว่าโจทก์ไม่ใช่เจ้าของกรรมสิทธิ์ในตึกแถวพิพาท
ศาลพิพากษาคดีถึงที่สุด โดยวินิจฉัยว่าโจทก์เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ในที่ดินและตึกแถวพิพาท ผู้ร้องซึ่งมีฐานะเป็นเพียงบริวารของจำเลย จึงไม่อาจเถียงได้อีกต่อไปว่าโจทก์ไม่ใช่เจ้าของกรรมสิทธิ์ในตึกแถวพิพาท
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 449/2512 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สถานะบริวารหลังหย่า: สิทธิในการอยู่อาศัยบนที่ดินเช่าเมื่อถูกขับไล่
จำเลยแต่งงานกับ ฉ. แล้วจำเลยขึ้นทะเบียนอยู่บ้านพิพาทกับ ฉ. โดยลงว่าจำเลยเป็นหัวหน้าครอบครัว ฉ. เป็นภริยา จำเลยเช่าที่ดินซึ่งบ้านพิพาทปลูกอยู่จากบิดาโจทก์ได้เสียค่าเช่าตลอดมา เมื่อจำเลยกับ ฉ. จดทะเบียนหย่ากันแล้ว จำเลยก็ยังไปมาหาสู่ ฉ. ดังนี้ถือว่า ฉ.เป็นบริวารจำเลย เมื่อศาลพิพากษาขับไล่จำเลยให้รื้อเรือนออกไปจากที่ดินโจทก์แล้ว ฉ. ไม่มีสิทธิจะอยู่ได้ต่อไป