พบผลลัพธ์ทั้งหมด 16 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4712/2542 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแจ้งข้อมูลเท็จเกี่ยวกับสถานะบุคคลเพื่อเอื้อประโยชน์แก่ผู้ไม่มีสัญชาติไทย ศาลแก้ไขบทความผิดตาม พ.ร.บ.ทะเบียนราษฎร
พระราชบัญญัติการทะเบียนราษฎร พ.ศ. 2534 มาตรา 50 วรรคสองที่ระวางโทษหนักขึ้นกว่าที่กำหนดไว้ในมาตรา 50 วรรคหนึ่ง มุ่งหมายเฉพาะผู้ซึ่งกระทำผิดตามมาตรา 50 วรรคหนึ่ง ซึ่งเป็นคนที่ไม่มีสัญชาติไทย เมื่อจำเลยผู้ซึ่งกระทำความผิดเป็นผู้มีสัญชาติไทย จึงไม่ต้องด้วยมาตรา 50 วรรคสอง คงเป็นความผิดตามมาตรา 50วรรคหนึ่ง เท่านั้น ที่ศาลล่างทั้งสองลงโทษจำเลยตามมาตรา 50 วรรคสอง นั้นไม่ถูกต้องศาลฎีกาเห็นสมควรแก้ไขบทความผิดให้ถูกต้องแต่ศาลล่างวางโทษมาเหมาะสมแล้วศาลฎีกาจึงไม่แก้โทษให้เบาลง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 641/2538 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สถานะโจทก์ต่างกัน แม้คำขอท้ายฟ้องเหมือนกัน ก็ไม่ถือเป็นคดีซ้ำซ้อน
คดีนี้โจทก์ฟ้องจำเลยซึ่งเป็นเจ้าของที่ดินที่โจทก์เข้าไปก่อสร้างอาคารเพื่อรับเงินช่วยค่าก่อสร้างจากผู้เช่าอาคาร ขอให้บังคับจำเลยไปจดทะเบียนการเช่ากับผู้จองเช่าอาคาร ส่วนคดีซึ่งจำเลยอ้างนั้น โจทก์รับมอบอำนาจจากผู้จองเช่าอาคารฟ้องจำเลย ขอให้บังคับจำเลยไปจดทะเบียนการเช่า โจทก์คดีนี้กับคดีที่ผู้จองเช่าอาคารเป็นโจทก์ฟ้องจำเลยนั้น ต่างกันด้วยฐานะบุคคลและฐานะสิทธิก็แยกแตกต่างกัน จึงมิใช่โจทก์เดียวกันตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 173 (1) ส่วนคำขอบังคับท้ายฟ้องแม้จะเหมือนกัน แต่ในชั้นบังคับคดีย่อมต้องเป็นไปตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายซึ่งไม่อาจบังคับซ้ำซ้อนกันอยู่แล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1330/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเพิกถอนคำพิพากษาหย่าเมื่อจำเลยยื่นคำขอพิจารณาใหม่ภายในกำหนด และผลกระทบต่อสถานะบุคคล
ศาลชั้นต้นพิจารณาคดีโจทก์ไปฝ่ายเดียวเนื่องจากจำเลยขาดนัดยื่นคำให้การและขาดนัดพิจารณาแล้วพิพากษาให้โจทก์จำเลยหย่าขาดจากกันโดยไม่มีการส่งคำบังคับให้จำเลยแต่โจทก์นำคำพิพากษาไปให้นายทะเบียนบันทึกการหย่าไว้ในทะเบียนสมรสเป็นการบังคับตามคำพิพากษาโดยวิธีอื่นแล้วจำเลยยื่นคำขอให้พิจารณาใหม่ภายในกำหนด6เดือนนับแต่วันที่มีการบังคับตามคำพิพากษาดังกล่าวได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา208 เมื่อศาลชั้นต้นอนุญาตให้พิจารณาใหม่แล้วคำพิพากษาโดยคู่ความขาดนัดของศาลชั้นต้นและวิธีการบังคับคดีที่ดำเนินไปแล้วนั้นถือว่าเป็นอันเพิกถอนไปในตัวตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา209วรรคแรกการที่โจทก์ไปให้นายทะเบียนบันทึกการหย่าตามคำพิพากษาในทะเบียนสมรสจึงถูกเพิกถอนไปด้วยสถานะบุคคลของโจทก์จำเลยยังคงไม่เปลี่ยนแปลงไปจากการเป็นสามีภริยากัน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 336/2535
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สถานะบุคคลต่างด้าว: การได้รับอนุญาตให้อยู่ในราชอาณาจักรโดยชอบด้วยกฎหมาย
คนต่างด้าวจะมีความผิดตามพระราชบัญญัติคนเข้าเมือง พ.ศ. 2522มาตรา 81 ต้องอยู่ในราชอาณาจักรโดยไม่ได้รับอนุญาตหรือการอนุญาตสิ้นสุดหรือถูกเพิกถอน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1959/2529 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การถอนสัญชาติไทยตามประกาศคณะปฏิวัติ และอำนาจฟ้องคดีเกี่ยวกับสถานะบุคคล
โจทก์ฟ้องจำเลยที่ 1 ในฐานะผู้ว่าราชการจังหวัด โดยบรรยายฟ้องว่าจำเลยที่ 1 ได้สั่งการให้มีการถอนชื่อโจทก์ทั้งสองออกจากทะเบียนบ้านเนื่องจากโจทก์ทั้งสองถูกถอนสัญชาติไทยตามประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 337 และปรากฏข้อเท็จจริงว่าผู้ว่าราชการจังหวัดเท่านั้นที่จะมีอำนาจถอนชื่อโจทก์ทั้งสองออกจากทะเบียนบ้านได้แสดงชัดว่าโจทก์ฟ้องจำเลยที่ 1 ในฐานะผู้ว่าราชการจังหวัดเท่านั้น ส่วนที่โจทก์กล่าวในฟ้องถึงจำเลยที่ 1 ในฐานะเป็นผู้อำนวยการรักษาความมั่นคงภายในเขตจังหวัดนั้นมาด้วยแม้จะเป็นตำแหน่งที่ไม่มีในกฎหมาย ก็ไม่ทำให้ฟ้องของโจทก์ที่ฟ้องจำเลยที่ 1 ในฐานะผู้ว่าราชการจังหวัดเสียไป และการที่จำเลยที่ 1 ในฐานะผู้ว่าราชการจังหวัดมีหนังสือแจ้งให้จำเลยที่ 2 ในฐานะนายทะเบียนท้องถิ่นทราบว่าโจทก์ทั้งสองไม่ได้สัญชาติไทย ตามประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 337 และสั่งให้จำเลยที่ 2 ดำเนินการตามระเบียบ จำเลยที่ 2 จึงได้ดำเนินการถอนชื่อโจทก์ทั้งสองออกจากทะเบียนบ้าน ตามคำสั่งของจำเลยที่ 1 เช่นนี้แสดงว่าจำเลยทั้งสองได้โต้แย้งสิทธิของโจทก์แล้ว แม้การกระทำของจำเลยทั้งสองจะเป็นการปฏิบัติราชการตามหน้าที่โดยชอบด้วยกฎหมายและระเบียบแบบแผนก็ไม่ทำให้กลายเป็นไม่ได้โต้แย้งสิทธิโจทก์ไปไม่.
โจทก์ทั้งสองมีมารดาเป็นคนญวนอพยพ ซึ่งเป็นคนต่างด้าวตามความหมายของประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 337 และได้รับอนุญาตให้อยู่ในราชอาณาจักรไทยชั่วคราวโจทก์ที่ 1 เกิดเมื่อวันที่ 13 ธันวาคม 2501 และโจทก์ที่ 2 เกิดเมื่อวันที่ 15 กรกฎาคม 2503 ในขณะที่โจทก์ทั้งสองเกิดไปปรากฏว่าโจทก์ทั้งสองมีบิดาที่ชอบด้วยกฎหมาย มารดาของโจทก์ทั้งสองเพิ่งจดทะเบียนสมรสกับ ส.ซึ่งเป็นคนสัญชาติไทยและโจทก์อ้างว่าเป็นบิดาของโจทก์เมื่อวันที่ 16 มีนาคม 2504 ดังนั้น ในขณะเกิดเหตุมารดาโจทก์ทั้งสองจึงเป็นคนต่างด้าวที่ได้รับอนุญาตให้อยู่ในราชอาณาจักรไทยชั่วคราว และไม่ปรากฏบิดาที่ชอบด้วยกฎหมาย โจทก์ทั้งสองซึ่งได้สัญชาติไทยโดยการเกิดในราชอาณาจักรไทย จึงถูกถอนสัญชาติตามประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 337 แล้ว แม้ภายหลังที่โจทก์ทั้งสองเกิด โจทก์ทั้งสองจะมีบิดาโดยชอบด้วยกฎหมาย คือ ส.ก็ตาม ก็หาทำให้โจทก์ทั้งสองเกิดสิทธิที่จะได้สัญชาติไทยไม่ และปัญหาดังกล่าวเป็นปัญหาที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชนแม้จำเลยทั้งสองจะมิได้ฎีกา ศาลฎีกาก็มีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 142 เมื่อโจทก์ทั้งสองถูกถอนสัญชาติไทยดังกล่าว โจทก์ทั้งสองจึงไม่มีอำนาจฟ้องจำเลยทั้งสองให้เพิ่มชื่อโจทก์ทั้งสองลงในทะเบียนราษฎร์ได้
โจทก์ทั้งสองมีมารดาเป็นคนญวนอพยพ ซึ่งเป็นคนต่างด้าวตามความหมายของประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 337 และได้รับอนุญาตให้อยู่ในราชอาณาจักรไทยชั่วคราวโจทก์ที่ 1 เกิดเมื่อวันที่ 13 ธันวาคม 2501 และโจทก์ที่ 2 เกิดเมื่อวันที่ 15 กรกฎาคม 2503 ในขณะที่โจทก์ทั้งสองเกิดไปปรากฏว่าโจทก์ทั้งสองมีบิดาที่ชอบด้วยกฎหมาย มารดาของโจทก์ทั้งสองเพิ่งจดทะเบียนสมรสกับ ส.ซึ่งเป็นคนสัญชาติไทยและโจทก์อ้างว่าเป็นบิดาของโจทก์เมื่อวันที่ 16 มีนาคม 2504 ดังนั้น ในขณะเกิดเหตุมารดาโจทก์ทั้งสองจึงเป็นคนต่างด้าวที่ได้รับอนุญาตให้อยู่ในราชอาณาจักรไทยชั่วคราว และไม่ปรากฏบิดาที่ชอบด้วยกฎหมาย โจทก์ทั้งสองซึ่งได้สัญชาติไทยโดยการเกิดในราชอาณาจักรไทย จึงถูกถอนสัญชาติตามประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 337 แล้ว แม้ภายหลังที่โจทก์ทั้งสองเกิด โจทก์ทั้งสองจะมีบิดาโดยชอบด้วยกฎหมาย คือ ส.ก็ตาม ก็หาทำให้โจทก์ทั้งสองเกิดสิทธิที่จะได้สัญชาติไทยไม่ และปัญหาดังกล่าวเป็นปัญหาที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชนแม้จำเลยทั้งสองจะมิได้ฎีกา ศาลฎีกาก็มีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 142 เมื่อโจทก์ทั้งสองถูกถอนสัญชาติไทยดังกล่าว โจทก์ทั้งสองจึงไม่มีอำนาจฟ้องจำเลยทั้งสองให้เพิ่มชื่อโจทก์ทั้งสองลงในทะเบียนราษฎร์ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1959/2529 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญชาติไทยตามประกาศ คณะปฏิวัติ ฉบับที่ 337: ผลกระทบต่อสถานะบุคคลและการฟ้องร้อง
โจทก์ฟ้องจำเลยที่1ในฐานะผู้ว่าราชการจังหวัดแม้จะกล่าวในฟ้องถึงจำเลยที่1ในฐานะผู้อำนวยการรักษาความมั่นคงภายในเขตจังหวัดด้วยก็ไม่ทำให้ฟ้องของโจทก์ที่ฟ้องจำเลยที่1ในฐานะผู้ว่าราชการจังหวัดเสียไป การที่จำเลยที่1ในฐานะผู้ว่าราชการจังหวัดมีหนังสือแจ้งให้จำเลยที่2ปลัดเทศบาลในฐานะนายทะเบียนท้องถิ่นว่าโจทก์และบุตรทุกคนของส. ไม่ได้สัญชาติไทยตามประกาศของคณะปฏิวัติฉบับที่337ให้จำเลยที่2ถอนชื่อโจทก์ออกจากทะเบียนบ้านและจำเลยที่2ได้ดำเนินการตามคำสั่งจำเลยที่1แล้วถือว่าจำเลยทั้งสองโต้แย้งสิทธิของโจทก์แม้การกระทำของจำเลยทั้งสองจะเป็นการปฏิบัติราชการตามหน้าที่โดยชอบด้วยกฎหมายและระเบียบแบบแผนก็ตามโจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง โจทก์มีมารดาเป็นคนญวนอพยพขณะโจทก์เกิดไม่ปรากฏว่าโจทก์มีบิดาที่ชอบด้วยกฎหมายหลังจากโจทก์เกิดแล้วมารดาโจทก์จึงจดทะเบียนสมรสกับส. คนสัญชาติไทยดังนั้นในขณะโจทก์เกิดมารดาโจทก์จึงเป็นคนต่างด้าวที่ได้รับอนุญาตให้อยู่ในราชอาณาจักรไทยชั่วคราวและไม่ปรากฏบิดาว่าด้วยกฎหมายโจทก์ซึ่งได้สัญชาติไทยโดยการเกิดในอาณาจักรไทยจึงถูกถอนสัญชาติตามประกาศของคณะปฏิวัติฉบับที่337แม้ภายหลังที่โจทก์เกิดแล้วบิดามารดาได้สมรสกันอันเป็นผลให้โจทก์มีบิดาที่ชอบด้วยกฎหมายก็หาทำให้โจทก์เกิดสิทธิที่จะได้สัญชาติไทยไม่จึงไม่มีอำนาจฟ้องให้เพิ่มชื่อโจทก์ลงในทะเบียนราษฎร์ได้.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 763/2527 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สถานะบุคคลล้มละลายเริ่มต้นเมื่อศาลพิพากษา การสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดไม่ทำให้ขาดจากตำแหน่งกรรมการ
คำว่า "ล้มละลาย"' ตามมาตรา 1154 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์หมายถึงศาลพิพากษาให้ล้มละลายแล้วดังนั้น การที่กรรมการบริษัทจำกัดถูกศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดจึงยังถือไม่ได้ว่าเป็นบุคคลล้มละลายตามความหมายของมาตราดังกล่าว
พระราชบัญญัติล้มละลาย พุทธศักราช 2483 มาตรา 62 บัญญัติว่าการล้มละลายของลูกหนี้เริ่มต้นมีผลตั้งแต่วันที่ศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ จึงเป็นเรื่องผลเกี่ยวกับการจัดการทรัพย์สินของลูกหนี้และการดำเนินการตามพระราชบัญญัติดังกล่าวโดยเฉพาะ หามีผลให้สถานะบุคคลของลูกหนี้เปลี่ยนเป็นบุคคลล้มละลายตั้งแต่วันที่ศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ไปด้วยไม่
(วรรคแรกวินิจฉัยโดยมติที่ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 1/2527)
พระราชบัญญัติล้มละลาย พุทธศักราช 2483 มาตรา 62 บัญญัติว่าการล้มละลายของลูกหนี้เริ่มต้นมีผลตั้งแต่วันที่ศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ จึงเป็นเรื่องผลเกี่ยวกับการจัดการทรัพย์สินของลูกหนี้และการดำเนินการตามพระราชบัญญัติดังกล่าวโดยเฉพาะ หามีผลให้สถานะบุคคลของลูกหนี้เปลี่ยนเป็นบุคคลล้มละลายตั้งแต่วันที่ศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ไปด้วยไม่
(วรรคแรกวินิจฉัยโดยมติที่ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 1/2527)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 763/2527
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สถานะบุคคลล้มละลายเริ่มต้นเมื่อศาลพิพากษาถึงที่สุด การสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดไม่ทำให้ขาดจากตำแหน่งกรรมการ
คำว่า "ล้มละลาย"' ตามมาตรา 1154 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ หมายถึงศาลพิพากษาให้ล้มละลายแล้วดังนั้น การที่กรรมการบริษัทจำกัดถูกศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดจึงยังถือไม่ได้ว่าเป็นบุคคลล้มละลายตามความหมายของมาตราดังกล่าว พระราชบัญญัติล้มละลาย พุทธศักราช 2483 มาตรา 62 บัญญัติว่าการล้มละลายของลูกหนี้เริ่มต้นมีผลตั้งแต่วันที่ศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ จึงเป็นเรื่องผลเกี่ยวกับการจัดการทรัพย์สินของลูกหนี้และการดำเนินการตามพระราชบัญญัติดังกล่าวโดยเฉพาะ หามีผลให้สถานะบุคคลของลูกหนี้เปลี่ยนเป็นบุคคลล้มละลายตั้งแต่วันที่ศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ไปด้วยไม่ (วรรคแรกวินิจฉัยโดยมติที่ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 1/2527)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1119/2527
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญชาติไทย: การพิสูจน์สถานะบุคคล การถอนสัญชาติ และผลกระทบต่อผู้เกิดจากมารดาคนญวนอพยพ
ฟ้องอ้างว่าโจทก์มีสัญชาติไทยเพราะเกิดในราชอาณาจักรไทยแล้วถูกทางราชการตำรวจภูธรอำเภอท่าอุเทนซึ่งอยู่ใต้บังคับบัญชาของจำเลยบังคับให้โจทก์ทำบัตรประจำตัวคนญวนอพยพ ดังนี้เป็นการโต้แย้งเกี่ยวกับสิทธิหรือหน้าที่ของโจทก์ในฐานะเป็นคนมีสัญชาติไทยตามกฎหมายแพ่ง โจทก์มีอำนาจฟ้องตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 55
โจทก์ที่ 2 ถึงที่ 7 ซึ่งได้สัญชาติไทยโดยการเกิดตาม พระราชบัญญัติสัญชาติ พ.ศ.2508 มาตรา 7(3) เกิดจากมารดาคือโจทก์ที่ 1 เป็นคนญวนอพยพได้รับอนุญาตให้เข้าอยู่ในราชอาณาจักรไทยเพียงชั่วคราว ส่วนบิดาไม่ได้จดทะเบียนสมรสฉะนั้นโจทก์ที่ 2 ถึงที่ 7 จึงถูกถอนสัญชาติไทยแล้วตามประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 337 ข้อ 1
โจทก์ที่ 2 ถึงที่ 7 ซึ่งได้สัญชาติไทยโดยการเกิดตาม พระราชบัญญัติสัญชาติ พ.ศ.2508 มาตรา 7(3) เกิดจากมารดาคือโจทก์ที่ 1 เป็นคนญวนอพยพได้รับอนุญาตให้เข้าอยู่ในราชอาณาจักรไทยเพียงชั่วคราว ส่วนบิดาไม่ได้จดทะเบียนสมรสฉะนั้นโจทก์ที่ 2 ถึงที่ 7 จึงถูกถอนสัญชาติไทยแล้วตามประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 337 ข้อ 1
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3057/2526
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิการจดทะเบียนสมรส: กรณีเจ้าหน้าที่ปฏิเสธเนื่องจากสถานะบุคคลฝ่ายหญิง
การที่ผู้ร้องเป็นบุคคลสัญชาติไทย ได้ยื่นคำร้องขอจดทะเบียนสมรสกับนางสาว น. บุคคลเชื้อชาติสัญชาติญวน และเจ้าหน้าที่บันทึกเสนอผู้คัดค้านว่า นางสาว น. ฝ่ายหญิงเป็นคนญวนอพยพเข้าเมืองโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย มีบัตรประจำตัวคนญวนอพยพ ปลัดอำเภอบันทึกความเห็นต่อไปว่า เห็นควรแจ้งให้ผู้ร้องฝ่ายหญิงทราบว่าจะต้องมีใบสำคัญประจำตัวคนต่างด้าวก่อนจึงจะจดทะเบียนสมรสให้ได้ ผู้คัดค้านสั่งในรายการความเห็นของนายอำเภอว่ารายงานจังหวัดขอความเห็นชอบ ให้สารวัตรใหญ่สืบสวน แจ้งให้ผู้ร้องทราบนั้น พระราชบัญญัติจดทะเบียนครอบครัว พุทธศักราช 2478 มาตรา 15 มิได้ระบุว่านายทะเบียนไม่ยอมรับจดทะเบียนสมรสด้วยเหตุใดบ้าง ผู้มีส่วนได้เสียจึงจะยื่นคำร้องต่อศาลได้ ดังนั้นเมื่อผู้คัดค้านซึ่งเป็นนายทะเบียนไม่ยอมรับจดทะเบียนสมรสดังกล่าว จึงเป็นการไม่ยอมรับจดทะเบียนสมรสตามความหมายแห่งบทบัญญัติของกฎหมายมาตราดังกล่าวแล้ว ผู้ร้องย่อมมีสิทธิยื่นคำร้องขอให้ศาลมีคำสั่งให้จดทะเบียนสมรสให้ผู้ร้องได้