พบผลลัพธ์ทั้งหมด 5 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 729/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เจ้าหนี้ไม่ผูกพันข้อเท็จจริงที่ผู้จัดการสาขาทราบ หนี้เกิดก่อนรู้สถานะลูกหนี้ ไม่ต้องห้ามขอรับชำระ
ผู้จัดการสาขามิใช่ผู้แทนเจ้าหนี้ซึ่งเป็นนิติบุคคล ดังนั้นข้อเท็จจริงใดที่ผู้จัดการสาขารับรู้หาผูกพันให้เจ้าหนี้ต้องรับรู้ไม่ เมื่อกรรมการผู้จัดการของเจ้าหนี้ไม่รู้ถึงการก่อหนี้ที่เจ้าหนี้นำมาขอรับชำระในคดีนี้ หนี้ดังกล่าวจึงมิใช่หนี้ซึ่งเจ้าหนี้ยอมให้ลูกหนี้กระทำขึ้นเมื่อเจ้าหนี้ได้รู้ถึงการที่ลูกหนี้มีหนี้สินล้นพ้นตัว ไม่ต้องห้ามมิให้ขอรับชำระหนี้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 212/2527 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การล้มละลาย: การยกเลิกการประนอมหนี้และการกลับสู่สถานะล้มละลาย ต้องมีคำพิพากษาใหม่
การที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้ยกเลิกการประนอมหนี้ภายหลังล้มละลายหาทำให้ลูกหนี้กลับเป็นบุคคลล้มละลายในทันทีตามคำสั่งของศาลชั้นต้นไม่ ศาลชั้นต้นจะต้องพิพากษาให้ลูกหนี้เป็นบุคคลล้มละลายใหม่อีกดังที่บัญญัติไว้ในมาตรา 60 แห่งพระราชบัญญัติล้มละลาย พุทธศักราช 2483 เสียก่อน กรณีจึงจะถือว่าลูกหนี้ตกเป็นบุคคลล้มละลายตามคำพิพากษาอันจะให้สิทธิและอำนาจแก่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์นำทรัพย์สินของลูกหนี้ออกขายทอดตลาดตามมาตรา 19 หรือมาตรา 123 ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 544/2520
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ทรัพย์สินที่ได้มาในระหว่างล้มละลายตกเป็นของกองทรัพย์สิน แม้เจ้าหนี้ไม่ทราบสถานะลูกหนี้
จำเลยได้ซื้อที่ดินในระหว่างล้มละลาย จึงเป็นทรัพย์ที่จะต้องนำเข้ากองทรัพย์สินของจำเลยตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 109(2) พระราชบัญญัติล้มละลาย (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2511 มาตรา 7ทั้งนี้ ไม่ว่าโจทก์ผู้เป็นเจ้าหนี้จะได้ทราบว่าจำเลยเป็นบุคคลล้มละลายหรือไม่ โจทก์จะอ้างถึงความสุจริตของโจทก์บังคับชำระหนี้เอาจากที่ดินนั้นหาได้ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 91/2507 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องล้มละลายไม่เป็นฟ้องซ้ำคดีแพ่ง หากประเด็นต่างกัน คือ คดีแพ่งชี้สถานะลูกหนี้ ส่วนคดีล้มละลายชี้สถานะหนี้สินล้นพ้นตัว
โจทก์ฟ้องให้จำเลยชำระหนี้ ศาลพิพากษาให้จำเลยชำระหนี้ตามฟ้อง คดีถึงที่สุดแล้ว โจทก์นำเจ้าพนักงานยึดทรัพย์ของจำเลย แต่มีผู้ร้องขัดทรัพย์ ทรัพย์ที่เหลือไม่พอชำระหนี้ โจทก์จึงฟ้องให้จำเลยเป็นบุคคลล้มละลาย การฟ้องเช่นนี้ไม่เป็นฟ้องซ้ำ เพราะคดีแพ่งซึ่งถึงที่สุดไปแล้วนั้นเป็นเรื่องชี้ขาดว่าจำเลยเป็นลูกหนี้โจทก์ ส่วนคดีนี้มีประเด็นว่า เมื่อจำเลยเป็นลูกหนี้โจทก์ตามคำพิพากษาแล้ว จำเลยเป็นบุคคลมีหนี้สินล้นพ้นตัว ควรตกเป็นบุคคลล้มละลายหรือไม่ การวินิจฉัยคดีทั้งสองนี้มิได้อาศัยเหตุอย่างเดียวกัน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1505/2567
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การกู้เงินโดยปกปิดสถานะลูกหนี้ล้มละลาย ถือเป็นความผิดตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย
พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 165 บัญญัติว่า "ในระหว่างเวลาตั้งแต่ศาลได้มีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์จนถึงเวลาที่พ้นจากล้มละลาย ลูกหนี้คนใดกระทำการอย่างหนึ่งอย่างใดดังต่อไปนี้ มีความผิดต้องระวางโทษปรับไม่เกินสองแสนบาทหรือจำคุกไม่เกินสองปี หรือทั้งปรับทั้งจำ (1) รับสินเชื่อจากผู้อื่นมีจำนวนตั้งแต่สองพันบาทขึ้นไป โดยมิได้แจ้งให้ผู้นั้นทราบว่าตนถูกพิทักษ์ทรัพย์หรือล้มละลาย" โจทก์บรรยายฟ้องในข้อ 3.1 ว่า เมื่อวันที่ 24 ตุลาคม 2560 ธนาคาร อ. เป็นโจทก์ฟ้องจำเลยให้ล้มละลาย เมื่อวันที่ 26 เมษายน 2561 ศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดจำเลย จำเลยทราบวันนัดฟังคำสั่งโดยชอบ แต่ไม่ไปฟังคำสั่งศาล จำเลยกลับยื่นขอกู้เงินโจทก์จำนวน 3,165,000 บาท โดยจำเลยตั้งใจจะทุจริตฉ้อโกงโจทก์โดยปกปิดข้อความจริงซึ่งควรบอกให้ทราบว่า จำเลยถูกฟ้องล้มละลายและศาลนัดฟังคำสั่งและศาลได้มีคำสั่งพิทักษ์เด็ดขาดจำเลยแล้วในวันที่ 26 เมษายน 2561 ซึ่งโจทก์ได้ตรวจสอบสถานะของจำเลยแล้วไม่พบว่าเป็นบุคคลล้มละลายและเข้าเงื่อนไขการกู้ โจทก์จึงอนุมัติเงินกู้และโอนเงินกู้ให้จำเลยเมื่อวันที่ 4 พฤษภาคม 2561 ... จึงเป็นคำฟ้องที่สมบูรณ์ ครบองค์ประกอบของฐานความผิดตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 165 (1) ฟ้องโจทก์จึงชอบด้วย ป.วิ.อ. มาตรา 158 (5) ประกอบ พ.ร.บ.จัดตั้งศาลล้มละลายและวิธีพิจารณาคดีล้มละลาย พ.ศ. 2542 มาตรา 14
คดีที่ธนาคาร อ. เป็นโจทก์ฟ้องจำเลยในคดีล้มละลาย จำเลยแต่งตั้งทนายความเข้ามาต่อสู้คดี รายงานกระบวนพิจารณาฉบับลงวันที่ 2 มีนาคม 2561 ระบุว่าคดีเสร็จการพิจารณาแล้ว ศาลนัดฟังคำพิพากษาหรือคำสั่งในวันที่ 26 เมษายน 2561 เวลา 9.00 นาฬิกา โดยจำเลยและทนายความซึ่งไปศาลในวันดังกล่าวลงลายมือชื่อทราบนัดไว้ ครั้นถึงวันนัดฟังคำพิพากษาหรือคำสั่งมีเพียงทนายความจำเลยไปฟังคำสั่งศาล ส่วนจำเลยไม่ไป จำเลยจะอ้างว่าไม่ทราบคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดย่อมมิอาจรับฟังได้ จึงต้องฟังว่าจำเลยทราบคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดแล้วในวันที่ 26 เมษายน 2561 การที่ในวันเดียวกันจำเลยได้ทำหนังสือขอกู้และสัญญาเงินกู้สามัญพิเศษเสนอต่อโจทก์ และโจทก์ส่งมอบเงินตามสัญญากู้ให้แก่จำเลยด้วยการโอนเงินเข้าบัญชีธนาคารเมื่อวันที่ 4 พฤษภาคม 2561 โดยไม่ปรากฎว่าหลังจากจำเลยทำหนังสือขอกู้และสัญญาเงินกู้สามัญพิเศษเสนอโจทก์จนกระทั่งได้รับโอนเงินกู้เข้าบัญชีธนาคารของจำเลยดังกล่าว จำเลยได้แจ้งให้โจทก์ทราบว่าตนถูกพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาด และหลังจากได้รับโอนเงินแล้วก็ไม่ปรากฎว่าจำเลยได้ปฏิเสธไม่รับเงินตามสัญญากู้หรือบอกเลิกสัญญากู้กับโจทก์ การกระทำของจำเลยดังที่กล่าวมาจึงเป็นความผิดตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 165 (1) ตามที่โจทก์ฟ้อง
คดีที่ธนาคาร อ. เป็นโจทก์ฟ้องจำเลยในคดีล้มละลาย จำเลยแต่งตั้งทนายความเข้ามาต่อสู้คดี รายงานกระบวนพิจารณาฉบับลงวันที่ 2 มีนาคม 2561 ระบุว่าคดีเสร็จการพิจารณาแล้ว ศาลนัดฟังคำพิพากษาหรือคำสั่งในวันที่ 26 เมษายน 2561 เวลา 9.00 นาฬิกา โดยจำเลยและทนายความซึ่งไปศาลในวันดังกล่าวลงลายมือชื่อทราบนัดไว้ ครั้นถึงวันนัดฟังคำพิพากษาหรือคำสั่งมีเพียงทนายความจำเลยไปฟังคำสั่งศาล ส่วนจำเลยไม่ไป จำเลยจะอ้างว่าไม่ทราบคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดย่อมมิอาจรับฟังได้ จึงต้องฟังว่าจำเลยทราบคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดแล้วในวันที่ 26 เมษายน 2561 การที่ในวันเดียวกันจำเลยได้ทำหนังสือขอกู้และสัญญาเงินกู้สามัญพิเศษเสนอต่อโจทก์ และโจทก์ส่งมอบเงินตามสัญญากู้ให้แก่จำเลยด้วยการโอนเงินเข้าบัญชีธนาคารเมื่อวันที่ 4 พฤษภาคม 2561 โดยไม่ปรากฎว่าหลังจากจำเลยทำหนังสือขอกู้และสัญญาเงินกู้สามัญพิเศษเสนอโจทก์จนกระทั่งได้รับโอนเงินกู้เข้าบัญชีธนาคารของจำเลยดังกล่าว จำเลยได้แจ้งให้โจทก์ทราบว่าตนถูกพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาด และหลังจากได้รับโอนเงินแล้วก็ไม่ปรากฎว่าจำเลยได้ปฏิเสธไม่รับเงินตามสัญญากู้หรือบอกเลิกสัญญากู้กับโจทก์ การกระทำของจำเลยดังที่กล่าวมาจึงเป็นความผิดตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 165 (1) ตามที่โจทก์ฟ้อง