คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
สถานะสัญชาติ

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 4 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1450/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สถานะสัญชาติไทยของผู้เกิดในไทยภายหลังมารดาถูกถอนสัญชาติ และการโต้แย้งสิทธิโดยเจ้าพนักงาน
ง. มารดาโจทก์ที่ 1 ถึงที่ 5 เกิดในราชอาณาจักรไทยเมื่อพ.ศ. 2493 จึงได้สัญชาติไทยตาม พ.ร.บ.สัญชาติ พ.ศ.2456 มาตรรา 3 (3)ต่อมา ง.ถูกถอนสัญชาติไทยโดยประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 337 ซึ่งมีผลใช้บังคับในวันที่ 14 ธันวาคม 2515 แต่โจทก์ที่ 1 ถึงที่ 3 เกิดในราชอาณาจักรไทยโดยขณะเกิด ง.มารดายังคงมีสัญชาติไทยอยู่จึงได้สัญชาติไทยโดยการเกิดตาม พ.ร.บ.สัญชาติ พ.ศ.2508 มาตรา 7 (1) ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดย พ.ร.บ.สัญชาติ(ฉบับที่ 2) พ.ศ.2535 มาตรา 4 ประกอบมาตรา 10 ที่บัญญัติให้บทบัญญัติมาตรา7 (1) ที่แก้ไขเพิ่มเติมนี้ ให้มีผลใช้บังคับกับผู้เกิดก่อนวันที่ พ.ร.บ.สัญชาติ(ฉบับที่ 2) พ.ศ.2535 ใช้บังคับด้วย
โจทก์ที่ 4 และที่ 5 แม้เกิดในราชอาณาจักรไทยภายหลัง ง.มารดาถูกเพิกถอนสัญชาติไทยกลายเป็นคนต่างด้าวตามประกาศของคณะปฏิวัติฉบับที่ 337 ข้อ 1 แล้วก็ตาม แต่ ง.เกิดในราชอาณาจักรไทยมิใช่ผู้ที่เข้ามาอยู่ในราชอาณาจักรไทยตามความหมายแห่งประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 337 กรณีของโจทก์ที่ 4 และที่ 5 ไม่เข้าเงื่อนไขที่จะไม่ได้รับสัญชาติไทยตามประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 337 ข้อ 2 จึงได้สัญชาติไทยตาม พ.ร.บ.สัญชาติ พ.ศ.2508มาตรา 7 (3) เดิมก่อนการแก้ไขเพิ่มเติมและไม่เสียสัญชาติไทยตาม พ.ร.บ.สัญชาติ พ.ศ.2508 มาตรา 7 ทวิ ที่แก้ไขใหม่เพราะโจทก์ที่ 4 และที่ 5 มีบิดาซี่งมิได้มีการสมรสกับมารดาเป็นคนสัญชาติไทย จึงไม่เข้ากรณีที่ต้องเสียสัญชาติไทยตามมาตรา 7 ทวิ โจทก์ที่ 4 และที่ 5 ยังคงมีสัญชาติไทย
จำเลยเป็นเจ้าพนักงานผู้มีอำนาจหน้าที่ควบคุมดูแลเกี่ยวกับกิจการญวนอพยพ และเจ้าหน้าที่ผู้ใต้บังคับบัญชาของจำเลยได้ขอสูติบัตรของโจทก์คืน โดยอ้างว่าเป็นคนญวนอพยพและได้จัดทำทะเบียนบ้านญวนอพยพโดยเพิ่มเติมชื่อโจทก์ลงในทะเบียนบ้านญวนอพยพ ทั้ง ๆ ที่โจทก์เป็นผู้มีสัญชาติไทย และสูติบัตรกับสำเนาทะเบียนบ้านก็ระบุสัญชาติของโจทก์ว่าสัญชาติไทย จึงเป็นการโต้แย้งสิทธิของโจทก์แล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1196/2504

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สถานะสัญชาติไทยและการเนรเทศ: คำสั่งเนรเทศชอบด้วยกฎหมายแม้ภายหลังมีกฎหมายใหม่ให้สัญชาติคืน
โจทก์เกิดในประเทศไทย บิดาเป็นคนต่างด้าวและโจทก์ได้รับใบสำคัญประจำตัวคนต่างด้าว ต่อมาจำเลยสั่งเนรเทศโจทก์ก่อนพระราชบัญญัติสัญชาติ (ฉบับที่ 3) พ.ศ.2499 มาตรา 7 ใช้บังคับ คำสั่งเนรเทศดังกล่าวย่อมเป็นคำสั่งที่ชอบด้วยกฎหมาย
ก่อนมีพระราชบัญญัติสัญชาติ (ฉบับที่ 3) พ.ศ.2499 มาตรา 7 ใช้บังคับ โจทก์ฟ้องขอให้ศาลพิพากษาว่าโจทก์เป็นบุคคลมีสัญชาติไทยซึ่งขณะฟ้องโจทก์ยังคงเป็นบุคคลขาดสัญชาติไทยอยู่ แม้ว่าต่อมาได้มีพระราชบัญญัติสัญชาติ (ฉบับที่ 3) พ.ศ.2499 มาตรา 7 ใช้บังคับแล้วก็ดีปัญหาที่ว่า โจทก์จะได้สัญชาติไทยกลับคืนมาหรือไม่นั้นเป็นอีกเรื่องหนึ่งไม่เกี่ยวกับคดีนี้ ซึ่งโจทก์ฟ้องเพื่อขอแสดงว่าเป็นคนมีสัญชาติไทยเพื่อจะให้ยกเลิกคำสั่งเนรเทศเท่านั้น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1687/2498 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สถานะสัญชาติ: การได้/เสียสัญชาติไทยจากการแต่งงานกับชาวจีน และการถือครองใบสำคัญคนต่างด้าว
โจทก์นำสืบ ก.ม.จีนโดยนำเลขาธิการคณะกรรมการกฤษฎีกาซึ่งสำเร็จวิชา ก.ม.ไทยและเป็นดอกเตอร์ ก.ม.เยอรมันมาเป็นพยานเบิกความว่าพยานได้ทราบ ก.ม.จีนที่อ้างนั้นโดยพยานติดต่อไปทางกระทรวงการต่างประเทศแล้วสถานทูตจีนส่ง ก.ม.นั้นมาให้ เช่นนี้ยังถือไม่ได้ว่าเป็นการของพยานผู้ชำนาญการพิเศษในเรื่อง ก.ม.จีน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1212/2497

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สถานะสัญชาติไทยของบุคคลเกิดในไทยที่มีบิดาเป็นชาวต่างชาติภายหลังพ.ร.บ.สัญชาติ (ฉบับที่ 2) 2496
คนต่างด้าวที่เกิดในประเทศไทยได้ขอรับใบสำคัญประจำตัวตามกฎหมายว่าด้วยการทะเบียนคนต่างด้าวแล้วย่อมขาดจากสัญชาติไทยตามพระราชบัญญัติสัญชาติ (ฉบับที่ 2)2496 มาตรา 5
คนต่างด้าวได้ยื่นฟ้องต่อศาล ขอให้แสดงว่ามีสัญชาติไทยก่อนใช้พระราชบัญญัติสัญชาติ ฉบับที่ 2 ก็ตามหามีผลให้คนต่างด้าวมีสัญชาติไทยไม่
พระราชบัญญัติสัญชาติ (ฉบับที่ 2)2496 ไม่ขัดต่อรัฐธรรมนูญ