พบผลลัพธ์ทั้งหมด 3 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 45/2547 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การหักลดหย่อนภาษีเงินได้บุตร: สำนักอบรมศึกษากฎหมายแห่งเนติบัณฑิตยสภาเข้าข่ายสถาบันอุดมศึกษาตามมาตรา 47 ป.รัษฎากร
ป.รัษฎากรฯ มิได้ให้ความหมายของคำว่า มหาวิทยาลัยหรือชั้นอุดมศึกษาไว้เป็นพิเศษ ตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถานฯ มหาวิทยาลัย หมายถึง สถาบันอุดมศึกษาที่มีวัตถุประสงค์ให้การศึกษาด้านวิชาการและวิชาชีพชั้นสูงหลายสาขาวิชาหรือหลายกลุ่มสาขาวิชา เพื่อให้ประกาศนียบัตร อนุปริญญา ปริญญาและประกาศนียบัตรบัณฑิตแก่ผู้สำเร็จการศึกษา รวมทั้งดำเนินการวิจัยและให้บริการทางวิชาการแก่สังคม และทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรมของชาติ ส่วนคำว่าอุดมศึกษา หมายถึงการศึกษาในระดับสูงกว่ามัธยมศึกษา เมื่อคำนึงถึงเจตนารมณ์ของมาตรา 47 แห่ง ป.รัษฎากรฯ แล้ว กฎหมายประสงค์จะแบ่งเบาภาระภาษีให้แก่ผู้มีเงินได้ซึ่งมีบุตรที่ไม่ได้เป็นผู้เยาว์และอายุยังไม่เกิน 25 ปี แต่กำลังศึกษาอยู่ในมหาวิทยาลัยหรือสถาบันการศึกษาใด ๆ ในระดับที่สูงกว่ามัธยมศึกษา อันเป็นการส่งเสริมให้ประชาชนในประเทศมีระดับการศึกษาสูงขึ้น
สำนักอบรมศึกษากฎหมายแห่งเนติบัณฑิตยสภาเป็นสถาบันที่เนติบัณฑิตยสภาก่อตั้งขึ้น โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อประสิทธิ์ประสาทและส่งเสริมการศึกษานิติศาสตร์และความรู้ความชำนาญในการประกอบวิชาชีพทางกฎหมายโดยเฉพาะ โดยมีคณะกรรมการอำนวยการศึกษากฎหมายแห่งเนติบัณฑิตยสภาซึ่งแต่งตั้งโดยอาศัยอำนาจตามข้อบังคับเนติบัณฑิตยสภาฯ ที่ออกโดยอาศัยอำนาจตาม พ.ร.บ.เนติบัณฑิตยสภาฯ มาตรา 8 โดยคุณสมบัติของผู้ที่จะสมัครเป็นนักศึกษาของสำนักอบรมศึกษากฎหมายแห่งเนติบัณฑิตยสภาจะต้องเป็นผู้ที่สอบไล่ได้ปริญญาตรีทางนิติศาสตร์และเมื่อสอบความรู้ชั้นเนติบัณฑิตได้จะได้รับประกาศนียบัตรเป็นเนติบัณฑิต จึงเห็นได้ชัดเจนว่า แม้สำนักอบรมศึกษากฎหมายแห่งเนติบัณฑิตยสภาจะมิใช่มหาวิทยาลัย แต่ก็เป็นสถาบันการศึกษาในระดับที่สูงกว่ามัธยมศึกษา ดังนั้น สำนักอบอมศึกษากฎหมายแห่งเนติบัณฑิตยสภาจึงเป็นชั้นอุดมศึกษาตามความหมายของมาตรา 47 แห่ง ป.รัษฎากรฯ แล้ว
สำนักอบรมศึกษากฎหมายแห่งเนติบัณฑิตยสภาเป็นสถาบันที่เนติบัณฑิตยสภาก่อตั้งขึ้น โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อประสิทธิ์ประสาทและส่งเสริมการศึกษานิติศาสตร์และความรู้ความชำนาญในการประกอบวิชาชีพทางกฎหมายโดยเฉพาะ โดยมีคณะกรรมการอำนวยการศึกษากฎหมายแห่งเนติบัณฑิตยสภาซึ่งแต่งตั้งโดยอาศัยอำนาจตามข้อบังคับเนติบัณฑิตยสภาฯ ที่ออกโดยอาศัยอำนาจตาม พ.ร.บ.เนติบัณฑิตยสภาฯ มาตรา 8 โดยคุณสมบัติของผู้ที่จะสมัครเป็นนักศึกษาของสำนักอบรมศึกษากฎหมายแห่งเนติบัณฑิตยสภาจะต้องเป็นผู้ที่สอบไล่ได้ปริญญาตรีทางนิติศาสตร์และเมื่อสอบความรู้ชั้นเนติบัณฑิตได้จะได้รับประกาศนียบัตรเป็นเนติบัณฑิต จึงเห็นได้ชัดเจนว่า แม้สำนักอบรมศึกษากฎหมายแห่งเนติบัณฑิตยสภาจะมิใช่มหาวิทยาลัย แต่ก็เป็นสถาบันการศึกษาในระดับที่สูงกว่ามัธยมศึกษา ดังนั้น สำนักอบอมศึกษากฎหมายแห่งเนติบัณฑิตยสภาจึงเป็นชั้นอุดมศึกษาตามความหมายของมาตรา 47 แห่ง ป.รัษฎากรฯ แล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 45/2547
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การหักลดหย่อนภาษีบุตรที่ศึกษาในสถาบันที่เทียบเท่ามหาวิทยาลัย และการกำหนดค่าทนายความ
ประมวลรัษฎากร มาตรา 47 มิได้ให้ความหมายของคำว่ามหาวิทยาลัยหรือชั้นอุดมศึกษาไว้เป็นพิเศษ ต้องถือความหมายตามพจนานุกรม ทั้งกฎหมายมีเจตนารมณ์ที่จะแบ่งเบาภาระภาษีให้แก่ผู้มีเงินได้ซึ่งมีบุตรที่ไม่ได้เป็นผู้เยาว์และอายุยังไม่เกิน 25 ปีแต่กำลังศึกษาอยู่ในมหาวิทยาลัยหรือสถาบันการศึกษาใด ๆ ในระดับที่สูงกว่ามัธยมศึกษาอันเป็นการส่งเสริมให้ประชาชนในประเทศมีระดับการศึกษาสูงขึ้น ดังนั้น เมื่อสำนักอบรมศึกษากฎหมายแห่งเนติบัณฑิตยสภาเป็นสถาบันที่เนติบัณฑิตยสภาก่อตั้งขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อประสิทธิ์ประสาทและส่งเสริมการศึกษานิติศาสตร์และความรู้ความชำนาญในการประกอบวิชาชีพทางกฎหมายโดยเฉพาะมิใช่มหาวิทยาลัยแต่ก็เป็นสถาบันการศึกษาในระดับที่สูงกว่ามัธยมศึกษาจึงเป็นชั้นอุดมศึกษาตามความหมายของมาตรา 47โจทก์จึงมีสิทธิหักลดหย่อนบุตรซึ่งกำลังศึกษาอยู่ที่สถาบันดังกล่าวได้
การกำหนดค่าทนายความว่าควรจะให้ผู้แพ้คดีใช้แทนผู้ชนะคดีมากน้อยเพียงใดเป็นการใช้ดุลพินิจอันเป็นปัญหาข้อเท็จจริงอุทธรณ์ของโจทก์ที่โต้แย้งดุลพินิจในการกำหนดค่าทนายความของศาล จึงเป็นอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริง เมื่อทุนทรัพย์ที่พิพาทไม่เกินห้าหมื่นบาทจึงต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลภาษีอากรและวิธีพิจารณาคดีภาษีอากร พ.ศ. 2528 มาตรา 25 แต่การที่ศาลชั้นต้นกำหนดค่าทนายความให้โจทก์ใช้แทนจำเลยจำนวน 1,000 บาท เกินอัตราขั้นสูงของตาราง 6 ท้ายประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งในกรณีที่ทุนทรัพย์ที่พิพาทไม่เกิน 2,000 บาท จึงไม่ชอบด้วยกฎหมาย ปัญหานี้เป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้
การกำหนดค่าทนายความว่าควรจะให้ผู้แพ้คดีใช้แทนผู้ชนะคดีมากน้อยเพียงใดเป็นการใช้ดุลพินิจอันเป็นปัญหาข้อเท็จจริงอุทธรณ์ของโจทก์ที่โต้แย้งดุลพินิจในการกำหนดค่าทนายความของศาล จึงเป็นอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริง เมื่อทุนทรัพย์ที่พิพาทไม่เกินห้าหมื่นบาทจึงต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลภาษีอากรและวิธีพิจารณาคดีภาษีอากร พ.ศ. 2528 มาตรา 25 แต่การที่ศาลชั้นต้นกำหนดค่าทนายความให้โจทก์ใช้แทนจำเลยจำนวน 1,000 บาท เกินอัตราขั้นสูงของตาราง 6 ท้ายประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งในกรณีที่ทุนทรัพย์ที่พิพาทไม่เกิน 2,000 บาท จึงไม่ชอบด้วยกฎหมาย ปัญหานี้เป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3782/2552
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ภาษีโรงเรือนและที่ดิน: สถาบันอุดมศึกษาเอกชนแสวงหากำไร ไม่ได้รับการยกเว้น
พระราชบัญญัติภาษีโรงเรือนและที่ดิน พ.ศ.2475 มาตรา 9 บัญญัติว่า ทรัพย์สินดังต่อไปนี้ ท่านให้ยกเว้นจากบทบัญญัติแห่งภาคนี้ (3) ทรัพย์สินของโรงพยาบาลสาธารณะและโรงเรียนสาธารณะซึ่งกระทำกิจการอันมิใช่เพื่อเป็นผลกำไรส่วนบุคคล และใช้เฉพาะในการรักษาพยาบาลและในการศึกษา โรงเรียนที่จะได้รับยกเว้นภาษีโรงเรือนและที่ดินจึงต้องประกอบด้วยลักษณะสามประการ กล่าวคือประการแรก เป็นโรงเรียนสาธารณะ ประการที่สอง จะต้องกระทำกิจการอันมิใช่เพื่อเป็นผลกำไรส่วนบุคคล และประการที่สาม จะต้องใช้เฉพาะในการศึกษาเท่านั้น
ตามพระราชบัญญัติสถาบันอุดมศึกษาเอกชน พ.ศ.2522 มาตรา 61 แสดงให้เห็นว่า การกระทำกิจการของสถาบันอุดมศึกษาเอกชนอย่างเช่นมหาวิทยาลัยโจทก์เป็นกิจการที่หาผลกำไรได้
กิจการมหาวิทยาลัยโจทก์เป็นกิจการที่กระทำเพื่อหวังผลกำไรโดยแท้ และเมื่อผู้รับใบอนุญาตสามารถได้รับการจัดสรรผลกำไรได้ตามที่พระราชบัญญัติสถาบันอุดมศึกษาเอกชน พ.ศ.2522 มาตรา 61 วรรคสอง บัญญัติไว้ จึงเป็นกิจการเพื่อเป็นผลกำไรส่วนบุคคล
เมื่อโจทก์กระทำกิจการเพื่อเป็นผลกำไรส่วนบุคคลแล้ว การที่ผู้รับใบอนุญาตที่จะได้รับปันผลเงินคืนจะมีวัตถุประสงค์แสวงหากำไรหรือไม่ เป็นคนละกรณีกันกับโจทก์ ดังนั้น ทรัพย์สินของโจทก์จึงไม่เข้าข้อยกเว้นที่จะไม่ต้องเสียภาษีโรงเรือนและที่ดิน ตามพระราชบัญญัติภาษีโรงเรือนและที่ดิน พ.ศ.2475 มาตรา 9 (3)
ตามพระราชบัญญัติสถาบันอุดมศึกษาเอกชน พ.ศ.2522 มาตรา 61 แสดงให้เห็นว่า การกระทำกิจการของสถาบันอุดมศึกษาเอกชนอย่างเช่นมหาวิทยาลัยโจทก์เป็นกิจการที่หาผลกำไรได้
กิจการมหาวิทยาลัยโจทก์เป็นกิจการที่กระทำเพื่อหวังผลกำไรโดยแท้ และเมื่อผู้รับใบอนุญาตสามารถได้รับการจัดสรรผลกำไรได้ตามที่พระราชบัญญัติสถาบันอุดมศึกษาเอกชน พ.ศ.2522 มาตรา 61 วรรคสอง บัญญัติไว้ จึงเป็นกิจการเพื่อเป็นผลกำไรส่วนบุคคล
เมื่อโจทก์กระทำกิจการเพื่อเป็นผลกำไรส่วนบุคคลแล้ว การที่ผู้รับใบอนุญาตที่จะได้รับปันผลเงินคืนจะมีวัตถุประสงค์แสวงหากำไรหรือไม่ เป็นคนละกรณีกันกับโจทก์ ดังนั้น ทรัพย์สินของโจทก์จึงไม่เข้าข้อยกเว้นที่จะไม่ต้องเสียภาษีโรงเรือนและที่ดิน ตามพระราชบัญญัติภาษีโรงเรือนและที่ดิน พ.ศ.2475 มาตรา 9 (3)