คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
สนธิสัญญา

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 9 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 483/2546 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การประกอบกิจการในไทยตามมาตรา 76 ทวิ และการยกเว้นภาษีตามสนธิสัญญาภาษีซ้อน
กรณีที่จะถือว่าบริษัทต่างประเทศประกอบกิจการในประเทศไทยมาตรา 76 ทวิ แห่ง ป. รัษฎากร ต้องปรากฏว่าบริษัทที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายของต่างประเทศ มีลูกจ้างหรือผู้ทำการแทนหรือผู้ทำการติดต่อในการประกอบกิจการ ในประเทศไทย ซึ่งเป็นเหตุให้ได้รับเงินได้หรือผลกำไรในประเทศไทย
การที่บริษัท อ. ซึ่งเป็นบริษัทต่างประเทศมีลูกจ้างเข้ามาทำงานในโรงงานของโจทก์ซึ่งเป็นบริษัทไทยที่ประเทศไทยตามสัญญาจัดการทางเทคนิค โดยให้คำแนะนำฝึกฝนเจ้าหน้าที่คนไทยในการดำเนินการของโรงงานและกระบวนการผลิตผลิตภัณฑ์ของโจทก์ และบริษัท อ. ได้รับเงินค่าตอบแทน ค่าธรรมเนียมในอัตราร้อยละ 0.85 บาท จากยอดรายรับจากการขายของโจทก์ทั้งหมดมีลักษณะเป็นการให้ความช่วยเหลือทางเทคนิคแก่โจทก์ในการประกอบกิจการของโจทก์เอง บุคคลดังกล่าวทำงานโดยอิสระในฐานะผู้เชี่ยวชาญของบริษัท อ. โดยไม่ปรากฏว่าโจทก์ซื้อสินค้าผ่านบุคลากรดังกล่าว บุคลากรดังกล่าวมิได้มีส่วนเกี่ยวข้องกับการซื้อขายสินค้าที่ก่อให้เกิดเงินได้พึงประเมิน ตามมาตรา 40 (4) (ก) แห่ง ป. รัษฎากร ในประเทศไทย ถือไม่ได้ว่าบริษัท อ. ประกอบกิจการขายสินค้าให้แก่โจทก์ในประเทศไทยตามมาตรา 76 ทวิ แห่ง ป. รัษฎากร
การที่โจทก์ผู้ซื้อสินค้าชำระดอกเบี้ยซึ่งเป็นเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 (4) (ก) แห่ง ป. รัษฎากร ให้แก่บริษัท อ. ที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายของต่างประเทศ และมิได้ประกอบกิจการในประเทศไทย แต่ได้รับเงินได้พึงประเมินตาม มาตรา 40 (4) (ก) แห่ง ป. รัษฎากร ที่จ่ายจากหรือในประเทศไทย บริษัท อ. จึงต้องเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลโดยให้โจทก์ผู้จ่ายหักภาษีจากเงินได้พึงประเมินที่จ่าย ตามอัตราภาษีเงินได้สำหรับบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลตามมาตรา 70 แห่ง ป. รัษฎากร
ความตกลงระหว่างราชอาณาจักรไทยกับประเทศออสเตรเลีย เพื่อการเว้นการเก็บภาษีซ้อนและการป้องกันการเลี่ยงรัษฎากรในส่วนที่เกี่ยวกับภาษีเก็บจากเงินได้นั้น ใช้บังคับแก่บุคคลที่มีถิ่นที่อยู่ในประเทศไทยกับประเทศออสเตรเลียเท่านั้น บริษัท อ. ที่มีถิ่นที่อยู่ในเมืองฮ่องกง แม้จะเป็นบริษัทในเครือของบริษัทต่างประเทศอีก แห่งหนึ่งซึ่งมีถิ่นที่อยู่ในประเทศออสเตรเลีย ก็เป็นคนละนิติบุคคล จะถือว่าบริษัท อ. มีถิ่นที่อยู่ในประเทศออสเตรเลียหาได้ไม่ จึงไม่อาจนำความตกลงฉบับดังกล่าวมาบังคับได้ บริษัท อ. จึงไม่ได้รับยกเว้นภาษีจากรายได้ที่เป็นดอกเบี้ยตามมาตรา 40 (4) (ก) แห่งประมวลรัษฎากร

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8327/2544

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ รายได้จากค่าวัสดุอุปกรณ์ได้รับการยกเว้นภาษีตามสนธิสัญญาฯ การประเมินภาษีจากการจำหน่ายเงินกำไรไม่ชอบ
สัญญาซื้อขายที่โจทก์ทำกับองค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทย คู่สัญญามีเจตนาแยกเป็นสัญญาซื้อขายวัสดุอุปกรณ์และสัญญาจ้างทำของ ในส่วนสัญญาซื้อขายถือไม่ได้ว่าเกิดจากการประกอบธุรกิจโดยผ่านสถานประกอบการถาวรของโจทก์ซึ่งตั้งอยู่ในประเทศไทย เมื่อขณะทำสัญญาโจทก์ยังไม่มีสถานประกอบการถาวรตั้งอยู่ในประเทศไทย ดังนั้น รายได้จากค่าวัสดุอุปกรณ์โจทก์จึงได้รับการยกเว้นไม่ต้องเสียภาษีในประเทศไทยตามความตกลงระหว่างราชอาณาจักรไทยกับเบลเยี่ยมเพื่อการเว้นการเก็บภาษีซ้อนในส่วนที่เกี่ยวกับภาษีเก็บจากเงินได้ และพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากรว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากรฯ โจทก์จึงไม่ต้องนำรายได้ค่าวัสดุอุปกรณ์ในปี 2532 และปี 2533 มาเป็นฐานในการคำนวณภาษีเงินได้นิติบุคคลตามมาตรา 71(1) สำหรับรอบระยะเวลาบัญชีปี 2532 และปี 2533 ตามลำดับ
รายได้ค่าวัสดุอุปกรณ์โจทก์ได้รับยกเว้นภาษีตามความตกลงระหว่างราชอาณาจักรไทยกับเบลเยี่ยมเพื่อการเว้นการเก็บภาษีซ้อนในส่วนที่เกี่ยวกับภาษีเก็บจากเงินได้ และจำเลยไม่มีหลักฐานเกี่ยวกับการจำหน่ายเงินกำไรส่วนอื่นออกไปจากประเทศไทย การประเมินภาษีเงินได้นิติบุคคลจากการจำหน่ายเงินกำไรออกไปจากประเทศไทยตามมาตรา 70 ทวิ สำหรับรอบระยะเวลาบัญชีดังกล่าว จึงไม่ชอบ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 690/2511 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาเช่าซื้อกับคนต่างด้าว: สิทธิในการได้มาซึ่งอสังหาริมทรัพย์ภายใต้สนธิสัญญาและความสำคัญของการนำสืบหน้าที่
โจทก์ฟ้องว่า จำเลยทำสัญญาเช่าซื้อที่ดินของโจทก์ และจำเลยผิดสัญญาและค้างชำระเงิน จำเลยให้การรับว่า ทำสัญญาเช่าซื้อกับโจทก์และไม่ได้ชำระเงินค่าเช่าซื้อให้แก่โจทก์จริง แต่อ้างว่าสัญญาเช่าซื้อเป็นโมฆะ เพราะจำเลยเป็นคนต่างด้าว ไม่มีสิทธิได้มาซึ่งกรรมสิทธิ์ในอสังหาริมทรัพย์ และทำสัญญาด้วยความสำคัญผิดในสารสำคัญแห่งนิติกรรมดังนี้ จำเลยเป็นฝ่ายกล่าวอ้างขึ้นใหม่ว่าสัญญาเช่าซื้อเป็นโมฆะ โดยมีวัตถุประสงค์ต้องห้ามตามกฎหมายและสำคัญผิดในสารสำคัญของนิติกรรมมิใช่เพียงปฏิเสธว่าไม่ผิดสัญญาเท่ากับจำเลยต่อสู้ว่าการที่จำเลยไม่ชำระเงินค่าเช่าซื้อ ไม่เป็นผิดสัญญาจำเลยจึงมีหน้าที่นำสืบก่อนว่าสัญญานั้นไม่มีผลผูกพันอันจะทำให้จำเลยไม่ต้องปฏิบัติตามสัญญา
สนธิสัญญาทางไมตรีระหว่างราชอาณาจักรไทยกับสาธารณรัฐจีนซึ่งเริ่มใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 28 มีนาคม 2489 ความในข้อ 6แห่งสนธิสัญญามีว่า คนชาติแห่งอัครภาคีแต่ละฝ่ายมีสิทธิที่จะได้มาซึ่งอสังหาริมทรัพย์ตลอดทั่วอาณาเขตของอีกฝ่ายหนึ่งนั้นยังมีผลใช้บังคับตลอดไป ไม่ว่ารัฐบาลของสาธารณรัฐจีนจะไปตั้งอยู่ที่ไต้หวันหรือเกาะฟอโมซาเพราะสนธิสัญญาทางไมตรีระหว่างราชอาณาจักรไทยกับสาธารณรัฐจีนยังมีต่อกันอยู่ หาได้ถูกยกเลิกไปไม่
สำเนาหนังสือกระทรวงมหาดไทยที่ 2639/2504 ลงวันที่ 16กุมภาพันธ์ 2504 ถึงผู้ว่าราชการจังหวัดทุกจังหวัด ระบุสัญชาติคนต่างด้าวที่มีสิทธิขออนุญาตให้ได้มาซึ่งที่ดินตามมาตรา 86 แห่งประมวลกฎหมายที่ดินโดยไม่ระบุคนต่างด้าวสัญชาติจีนรวมอยู่ด้วย และจำเลยแนบติดมาท้ายฎีกาของจำเลยนั้นจำเลยไม่ได้ระบุอ้างเป็นพยานไว้ก่อนและไม่มีเจ้าหน้าที่รับรองว่าเป็นสำเนาที่ถูกต้องทั้งไม่ใช่กฎหมาย ศาลฎีกาย่อมไม่รับวินิจฉัย
ประมวลกฎหมายที่ดิน มาตรา 86 มิได้บัญญัติห้ามเด็ดขาดไม่ให้คนต่างด้าวถือกรรมสิทธิ์ที่ดิน จำเลยซึ่งเป็นบุคคลสัญชาติจีนและเป็นผู้เช่าซื้อที่ดินของโจทก์ยังอยู่ในวิสัยที่จะไปขออนุญาตถือกรรมสิทธิ์ที่ดินได้และไม่ใช่สัญญาที่มีวัตถุประสงค์เป็นการต้องห้ามชัดแจ้งโดยกฎหมายหรือเป็นการพ้นวิสัย สัญญาเช่าซื้อระหว่างโจทก์จำเลยจึงสมบูรณ์ (วินิจฉัยโดยที่ประชุมใหญ่ครั้งที่ 5-6/2511)
ฎีกาจำเลยในข้อที่ว่า การชำระเงินค่าเช่าซื้อ แม้จะผิดพลาดไปบ้างโจทก์ไม่ถือว่าจำเลยผิดสัญญาก็ดี หรือโจทก์ยังไม่ได้บอกกล่าวให้จำเลยชำระเงินค่าเช่าซื้อยังถือไม่ได้ว่าจำเลยผิดสัญญาก็ดีจำเลยไม่ได้ยกขึ้นต่อสู้ว่ากล่าวมาในศาลชั้นต้น จำเลยจะยกขึ้นในชั้นฎีกาไม่ได้
จำเลยฟ้องแย้งว่า จำเลยได้ชำระเงินให้ ป. ซึ่งโจทก์เป็นหนี้ ป. แทนโจทก์ โจทก์ปฏิเสธว่าจำเลยไม่ได้ชำระเงินแทนและโจทก์มิได้เป็นหนี้แต่จำเลยกลับนำสืบว่าจำเลยส่งมอบข้าวสารไม่ใช่ชำระเงินแทนจึงเป็นการนำสืบนอกฟ้องแย้งของจำเลย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 690/2511

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาเช่าซื้อกับคนต่างด้าว: สิทธิในการได้มาซึ่งอสังหาริมทรัพย์ภายใต้สนธิสัญญาและความสมบูรณ์ของสัญญา
โจทก์ฟ้องว่า จำเลยทำสัญญาเช่าซื้อที่ดินของโจทก์ และจำเลยผิดสัญญาและค้างชำระเงิน. จำเลยให้การรับว่า ทำสัญญาเช่าซื้อกับโจทก์และไม่ได้ชำระเงินค่าเช่าซื้อให้แก่โจทก์จริง แต่อ้างว่าสัญญาเช่าซื้อเป็นโมฆะ เพราะจำเลยเป็นคนต่างด้าว ไม่มีสิทธิได้มาซึ่งกรรมสิทธิ์.ในอสังหาริมทรัพย์ และทำสัญญาด้วยความสำคัญผิดในสารสำคัญแห่งนิติกรรม. ดังนี้ จำเลยเป็นฝ่ายกล่าวอ้างขึ้นใหม่ว่าสัญญาเช่าซื้อเป็นโมฆะ โดยมีวัตถุประสงค์ต้องห้ามตามกฎหมายและสำคัญผิดในสารสำคัญของนิติกรรม. มิใช่เพียงปฏิเสธว่าไม่ผิดสัญญาเท่ากับจำเลยต่อสู้ว่าการที่จำเลยไม่ชำระเงินค่าเช่าซื้อ ไม่เป็นผิดสัญญา. จำเลยจึงมีหน้าที่นำสืบก่อนว่าสัญญานั้นไม่มีผลผูกพันอันจะทำให้จำเลยไม่ต้องปฏิบัติตามสัญญา.
สนธิสัญญาทางไมตรีระหว่างราชอาณาจักรไทยกับสาธารณรัฐจีนซึ่งเริ่มใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 28 มีนาคม 2489 ความในข้อ 6แห่งสนธิสัญญามีว่า คนชาติแห่งอัครภาคีแต่ละฝ่ายมีสิทธิที่จะได้มาซึ่งอสังหาริมทรัพย์ตลอดทั่วอาณาเขตของอีกฝ่ายหนึ่งนั้น. ยังมีผลใช้บังคับตลอดไป ไม่ว่ารัฐบาลของสาธารณรัฐจีนจะไปตั้งอยู่ที่ไต้หวันหรือเกาะฟอโมซา. เพราะสนธิสัญญาทางไมตรีระหว่างราชอาณาจักรไทยกับสาธารณรัฐจีนยังมีต่อกันอยู่ หาได้ถูกยกเลิกไปไม่.
สำเนาหนังสือกระทรวงมหาดไทยที่ 2639/2504 ลงวันที่ 16กุมภาพันธ์ 2504 ถึงผู้ว่าราชการจังหวัดทุกจังหวัด ระบุสัญชาติคนต่างด้าวที่มีสิทธิขออนุญาตให้ได้มาซึ่งที่ดินตามมาตรา 86 แห่งประมวลกฎหมายที่ดิน. โดยไม่ระบุคนต่างด้าวสัญชาติจีนรวมอยู่ด้วย. และจำเลยแนบติดมาท้ายฎีกาของจำเลยนั้น. จำเลยไม่ได้ระบุอ้างเป็นพยานไว้ก่อน.และไม่มีเจ้าหน้าที่รับรองว่าเป็นสำเนาที่ถูกต้องทั้งไม่ใช่กฎหมาย. ศาลฎีกาย่อมไม่รับวินิจฉัย.
ประมวลกฎหมายที่ดิน มาตรา 86 มิได้บัญญัติห้ามเด็ดขาดไม่ให้คนต่างด้าวถือกรรมสิทธิ์ที่ดิน. จำเลยซึ่งเป็นบุคคลสัญชาติจีนและเป็นผู้เช่าซื้อที่ดินของโจทก์ยังอยู่ในวิสัยที่จะไปขออนุญาตถือกรรมสิทธิ์ที่ดินได้และไม่ใช่สัญญาที่มีวัตถุประสงค์เป็นการต้องห้ามชัดแจ้งโดยกฎหมายหรือเป็นการพ้นวิสัย. สัญญาเช่าซื้อระหว่างโจทก์จำเลยจึงสมบูรณ์ (วินิจฉัยโดยที่ประชุมใหญ่ครั้งที่ 5-6/2511).
ฎีกาจำเลยในข้อที่ว่า การชำระเงินค่าเช่าซื้อ แม้จะผิดพลาดไปบ้างโจทก์ไม่ถือว่าจำเลยผิดสัญญาก็ดี. หรือโจทก์ยังไม่ได้บอกกล่าว.ให้จำเลยชำระเงินค่าเช่าซื้อ.ยังถือไม่ได้ว่าจำเลยผิดสัญญาก็ดี. จำเลยไม่ได้ยกขึ้นต่อสู้ว่ากล่าวมาในศาลชั้นต้น จำเลยจะยกขึ้นในชั้นฎีกาไม่ได้.
จำเลยฟ้องแย้งว่า จำเลยได้ชำระเงินให้ ป. ซึ่งโจทก์เป็นหนี้ ป. แทนโจทก์. โจทก์ปฏิเสธว่าจำเลยไม่ได้ชำระเงินแทนและโจทก์มิได้เป็นหนี้แต่จำเลยกลับนำสืบว่าจำเลยส่งมอบข้าวสาร. ไม่ใช่ชำระเงินแทน. จึงเป็นการนำสืบนอกฟ้องแย้งของจำเลย.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 188/2492 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิในที่ดินของคนต่างด้าวตาม พ.ร.บ.ที่ดิน 2486: ต้องมีสนธิสัญญา และได้รับอนุญาตจากเจ้าหน้าที่
พ.ร.บ.ที่ดินในส่วนที่เกี่ยวกับคนต่างด้าว 2486 มาตรา 5, 6 คนต่างด้าวจะเข้าถือสิทธิในที่ดินได้ ก็ต่อเมื่อมีสนธิสัญญาบัญญัติให้ไว้ แต่ถ้าไม่มีสนธิสัญญาบัญญัติให้มีกรรมสิทธิในที่ดินได้ คนต่างด้าวก็ไม่มีสิทธิจะได้มาซึ่งที่ดิน และแม้จะขออนุญาตต่อเจ้าพนักงานเจ้าหน้าที่ พนักงานเจ้าหน้าที่ก็ไม่มีอำนาจอนุญาตได้
โจทก์เป็นคนจีนทำสัญญาซื้อที่ดินจากจำเลย ในเวลาที่จะต้องโอนที่ดินตามสัญญานั้น ประเทศจีนยังไม่ได้ประกาศใช้สนธิสัญญากับประเทศไทย โจทก์ไม่มีทางที่จะได้กรรมสิทธิในที่ดินตามสัญญาได้ จำเลยต้องคืนเงินมัดจำให้โจทก์.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 188/2492

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิในที่ดินของคนต่างด้าว: ต้องมีสนธิสัญญาและได้รับอนุญาตจากเจ้าหน้าที่
พระราชบัญญัติที่ดินในส่วนที่เกี่ยวกับคนต่างด้าว 2486 มาตรา 5,6คนต่างด้าวจะเข้าถือสิทธิในที่ดินได้ ก็ต่อเมื่อมีสนธิสัญญาบัญญัติให้ไว้แต่ถ้าไม่มีสนธิสัญญาบัญญัติให้มีกรรมสิทธิ์ในที่ดินได้คนต่างด้าวก็ไม่มีสิทธิจะได้มาซึ่งที่ดิน และแม้จะขออนุญาตต่อเจ้าพนักงานเจ้าหน้าที่พนักงานเจ้าหน้าที่ ก็ไม่มีอำนาจอนุญาตได้
โจทก์เป็นคนจีนทำสัญญาซื้อที่ดินจากจำเลย ในเวลาที่จะต้องโอนที่ดินตามสัญญานั้น ประเทศจีนยังไม่ได้ประกาศใช้สนธิสัญญากับประเทศไทยโจทก์ไม่มีทางที่จะได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินตามสัญญาได้ จำเลยต้องคืนเงินมัดจำให้โจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1114/2492 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิการซื้อที่ดินของคนต่างด้าว: ต้องมีสนธิสัญญาและได้รับอนุญาตจากเจ้าหน้าที่ หากไม่มีสัญญา สัญญาซื้อขายเป็นโมฆะ
พ.ร.บ.ที่ดินในส่วนที่เกี่ยวกับคนต่างด้าว 2486 มาตรา 5, 6 คนต่างด้าวจะเข้าถือกรรมสิทธิในที่ดินได้ ก็ต่อเมื่อมีสนธิสัญญาบัญญัติให้ไว้ และแม้จะมีสนธิสัญญาเช่นว่านั้นก็ตาม แต่การได้มาจะต้องเป็นไปตามเงื่อนไขและข้อกำหนด ทั้งต้องได้รับอนุญาตจากพนักงานเจ้าหน้าที่ด้วย แต่ถ้าไม่มีสนธิสัญญาให้มีกรรมสิทธิในที่ดินได้ คนต่างด้าวนั้นก็ไม่มีสิทธิจะได้มาซึ่งที่ดินและแม้จะขออนุญาตต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ ๆ ก็ไม่มีอำนาจอนุญาตได้.
โจทก์เป็นคนจีนทำสัญญาซื้อที่ดินจากจำเลย ในเวลาที่จะต้องโอนที่ดินตามสัญญานั้น ประเทศจีนยังไม่ได้ประกาศใช้สนธิสัญญากับประเทศไทย โจทก์จึงไม่มีทางได้กรรมสิทธิในที่ดินตามสัญญาได้ สัญญาระหว่างโจทก์จำเลยตกเป็นโมฆะตาม ป.ม.แพ่ง ฯ มาตรา 113 จำเลยไม่ใช่ฝ่ายผิดสัญญาและไม่ต้องชดใช้เบี้ยปรับ แต่จำเลยควรคืนมัดจำให้โจทก์.
(อ้างฎีกา 188/2492)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1114/2492

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิการได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินของคนต่างด้าวตาม พ.ร.บ.ที่ดิน 2486 ต้องมีสนธิสัญญาคุ้มครองและได้รับอนุญาต
พ.ร.บ.ที่ดินในส่วนที่เกี่ยวกับคนต่างด้าว 2486 มาตรา 5,6 คนต่างด้าวจะเข้าถือกรรมสิทธิ์ในที่ดินได้ ก็ต่อเมื่อมีสนธิสัญญาบัญญัติให้ไว้ และแม้จะมีสนธิสัญญาเช่นว่านั้นก็ตาม แต่การได้มาจะต้องเป็นไปตามเงื่อนไขและข้อกำหนด ทั้งต้องได้รับอนุญาตจากพนักงานเจ้าหน้าที่ด้วย แต่ถ้าไม่มีสนธิสัญญาให้มีกรรมสิทธิ์ในที่ดินได้ คนต่างด้าวนั้นก็ไม่มีสิทธิจะได้มาซึ่งที่ดิน และแม้จะขออนุญาตต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ พนักงานเจ้าหน้าที่ก็ไม่มีอำนาจอนุญาตได้
โจทก์เป็นคนจีนทำสัญญาซื้อที่ดินจากจำเลย ในเวลาที่จะต้องโอนที่ดินตามสัญญานั้น ประเทศจีนยังไม่ได้ประกาศใช้สนธิสัญญากับประเทศไทยโจทก์จึงไม่มีทางได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินตามสัญญาได้ สัญญาระหว่างโจทก์จำเลยตกเป็นโมฆะตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 113 จำเลยไม่ใช่ฝ่ายผิดสัญญาและไม่ต้องชดใช้เบี้ยปรับ แต่จำเลยควรคืนมัดจำให้โจทก์ (อ้างฎีกาที่ 188/2492)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 669/2565

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ธนาคาร NORD/LB ไม่เป็นสถาบันการเงินตามสนธิสัญญาฯ จึงต้องหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย
มีปัญหาที่ต้องวินิจฉัยว่า ธนาคาร Norddeutsche Landesbank Girozentrale หรือธนาคาร NORD/LB เป็นสถาบันการเงินตามข้อ 11 (4) (ข) ของความตกลงระหว่างราชอาณาจักรไทยกับสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนีเพื่อการเว้นการเก็บภาษีซ้อนในส่วนที่เกี่ยวกับภาษีเก็บจากเงินได้และจากทุนหรือไม่ ความตกลงระหว่างราชอาณาจักรไทยกับสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนีเพื่อการเว้นการเก็บภาษีซ้อนในส่วนที่เกี่ยวกับภาษีเก็บจากเงินได้และจากทุน ข้อ 11 ระบุว่า "... (4) แม้จะมีบทของวรรค 2 และ 3 อยู่ ดอกเบี้ยซึ่งเกิดขึ้นในรัฐผู้ทำสัญญารัฐหนึ่งจะได้รับยกเว้นภาษีในรัฐนั้น ถ้าดอกเบี้ยนั้นได้รับโดย (ก) รัฐผู้ทำสัญญาอีกรัฐหนึ่ง มลรัฐ (ลันด์) ส่วนราชการ เจ้าหน้าที่ส่วนท้องถิ่น หรือองค์การบริหารส่วนท้องถิ่นของอีกรัฐหนึ่งนั้น หรือ (ข) สถาบันการเงินใด ๆ ซึ่งรัฐผู้ทำสัญญาอีกรัฐหนึ่ง มลรัฐ (ลันด์) ส่วนราชการ เจ้าหน้าที่ส่วนท้องถิ่น หรือองค์การบริหารส่วนท้องถิ่นของอีกรัฐหนึ่งนั้นเป็นเจ้าของทั้งหมด และโดยเฉพาะในกรณีสหพันธ์สาธารณรัฐ โดย "ดอยช์ บุนเดสแบงก์" หรือ "เครดิตทันสตาลห์ฟือร์ วีเดอรัฟเบา" และในกรณีประเทศไทย โดย "ธนาคารแห่งประเทศไทย" หรือ (ค) โดยผู้มีถิ่นที่อยู่ในรัฐผู้ทำสัญญาอีกรัฐหนึ่งจากพันธบัตรซึ่งออกจำหน่ายโดยรัฐบาลของรัฐผู้ทำสัญญารัฐแรก..." ธนาคาร Norddeutsche Landesbank Girozentrale หรือธนาคาร NORD/LB ไม่เป็นสถาบันการเงินซึ่งมลรัฐ ส่วนราชการ เจ้าหน้าที่ส่วนท้องถิ่น หรือองค์การบริหารส่วนท้องถิ่นของสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนีเป็นเจ้าของทั้งหมดตามข้อ 11 (4) (ข) ของความตกลงดังกล่าวแต่อย่างใด เพราะเหตุผลสามประการประกอบกัน ประการที่หนึ่ง คำว่า เป็นเจ้าของทั้งหมดตามข้อ 11 (4) (ข) หมายถึงเป็นเจ้าของทั้งหมดโดยทางตรงเท่านั้น ไม่หมายรวมถึงการเป็นเจ้าของโดยอ้อมหรือโดยทางอ้อมด้วย ดังจะเห็นได้ว่า ตามความตกลงนี้หากกรณีที่ต้องการให้หมายรวมถึงโดยทางอ้อมด้วยก็จะระบุไว้ชัดเจน ดังที่ระบุไว้ในข้อ 9 และข้อ 23 ประการที่สอง เมื่อพิจารณาเปรียบเทียบข้อ 11 (4) (ก) กับข้อ 11 (4) (ข) แล้วควรมีความสำคัญที่เท่าเทียมหรือเกือบเท่าเทียมกัน ซึ่งตามข้อ 11 (4) (ก) ถ้าดอกเบี้ยได้รับโดยรัฐ มลรัฐ ส่วนราชการ เจ้าหน้าที่ส่วนท้องถิ่นหรือองค์การบริหารส่วนท้องถิ่น ส่วนข้อ 11 (4) (ข) ผู้รับดอกเบี้ยมิใช่รัฐ แต่เป็นสถาบันการเงินโดยเป็นสถาบันการเงินซึ่งรัฐเป็นเจ้าของทั้งหมด การที่รัฐเป็นเจ้าของทั้งหมดของสถาบันการเงิน สถาบันการเงินจึงควรมีความสำคัญเท่ากับหรือเกือบเท่ากับรัฐตามข้อ 11 (4) (ก) นั่นคือ ต้องเป็นเจ้าของทั้งหมดโดยทางตรงเท่านั้น เพราะหากเป็นเจ้าของทั้งหมดโดยทางอ้อมด้วย ความสำคัญของสถาบันการเงินจะมีน้อยกว่ารัฐตามข้อ 11 (4) (ก) มาก เช่น หากรัฐเป็นเจ้าของทางอ้อมด้วย รัฐไม่อาจควบคุมดูแลสถาบันการเงินได้ดีเหมือนกับที่รัฐเป็นเจ้าของทั้งหมดโดยทางตรง และประการที่สาม กรณีที่กระทรวงการคลัง สหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนีมีหนังสือ 2 ฉบับ ตอบมายังจำเลย โดยตอบมารวมความได้ว่า ธนาคาร Norddeutsche Landesbank Girozentrale หรือธนาคาร NORD/LB มีหน่วยราชการส่วนท้องถิ่นถือหุ้นโดยทางอ้อมด้วย จึงไม่ได้เป็นสถาบันการเงินตามข้อ 11 (4) (ข) ที่อาจอ้างสิทธิได้รับยกเว้นภาษีจากแหล่งเงินได้ ซึ่งเมื่อได้พิจารณาเหตุผลสามประการดังกล่าวประกอบกันแล้ว เห็นได้ชัดว่าธนาคาร Norddeutsche Landesbank Girozentrale หรือธนาคาร NORD/LB ไม่เป็นสถาบันการเงินซึ่งมลรัฐ ส่วนราชการ เจ้าหน้าที่ส่วนท้องถิ่น หรือองค์การบริหารส่วนท้องถิ่นของสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนีเป็นเจ้าของทั้งหมดตามข้อ 11 (4) (ข) ของความตกลงดังกล่าว