คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
สนองรับคำเสนอ

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 6 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 93/2548

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เขตอำนาจศาล: สัญญาบริการวิทยุคมนาคมเกิดผลเมื่อเปิดสัญญาณฯ แม้แจ้งจำเลยภายหลัง
การที่สำนักงานใหญ่ของโจทก์เป็นผู้มีอำนาจพิจารณาอนุมัติคำขอ/สัญญาการใช้บริการวิทยุคมนาคมที่จำเลยยื่นต่อสำนักงานสาขาหรือตัวแทนของโจทก์ และเมื่ออนุมัติสัญญาแล้วพร้อมกันนั้นสำนักงานใหญ่ของโจทก์จะเป็นผู้เปิดสัญญาณคลื่นวิทยุคมนาคมที่อยู่สำนักงานใหญ่ และจะโทรศัพท์แจ้งสำนักงานสาขาหรือตัวแทนของโจทก์เพื่อแจ้งให้จำเลยผู้ขอใช้บริการทราบ จากนั้นจำเลยจึงจะสามารถใช้บริการวิทยุคมนาคมตามคำขอที่ยื่นไว้ได้เช่นนี้ กรณีย่อมถือได้ว่าคำขอใช้บริการวิทยุคมนาคมที่จำเลยกรอกข้อความแล้วยื่นต่อสำนักงานสาขาหรือตัวแทนของโจทก์ดังกล่าวเป็นเพียงคำเสนอเพื่อขอใช้บริการวิทยุคมนาคมต่อโจทก์ซึ่งเป็นผู้ให้บริการวิทยุคมนาคม ส่วนการพิจารณาอนุมัติสัญญาและเปิดสัญญาณคลื่นวิทยุคมนาคมของสำนักงานใหญ่ของโจทก์นั้นถือเป็นการอันใดอันหนึ่งซึ่งมีผลเป็นการแสดงเจตนาสนองรับคำเสนอของจำเลยตามคำขอที่ยื่นขอใช้บริการ แม้ถึงจะเป็นการแสดงเจตนาที่กระทำต่อจำเลยซึ่งมิได้อยู่เฉพาะหน้า แต่ก็ถือได้ว่าตามปกติประเพณีการตกลงทำสัญญาการใช้บริการวิทยุคมนาคมระหว่างโจทก์กับจำเลยที่กระทำขึ้นในลักษณะเช่นนี้ ได้เกิดเป็นสัญญาขึ้นเมื่อสำนักงานใหญ่ของโจทก์ได้สนองรับคำเสนอของจำเลยโดยการเปิดสัญญาณวิทยุคมนาคมอันมีผลให้จำเลยสามารถใช้บริการวิทยุคมนาคมจากโจทก์ได้โดยไม่จำเป็นต้องมีคำบอกกล่าวสนองไปถึงจำเลยผู้เสนอตาม ป.พ.พ. มาตรา 361 วรรคสองอีก ส่วนการที่สำนักงานใหญ่ของโจทก์แจ้งให้สำนักงานสาขาหรือตัวแทนของโจทก์เพื่อแจ้งให้จำเลยทราบอีกครั้งหนึ่งก็เป็นการแจ้งให้ทราบภายหลังจากสัญญาได้เกิดขึ้นแล้ว เมื่อสัญญาการใช้บริการวิทยุคมนาคมระหว่างโจทก์กับจำเลยได้เกิดขึ้นที่สำนักงานใหญ่ของโจทก์ซึ่งตั้งอยู่ในเขตอำนาจตามสัญญาการใช้บริการวิทยุคมนาคมดังกล่าว จึงถือได้ว่าศาลชั้นต้นเป็นศาลหนึ่งที่มูลคดีเกิดขึ้นในเขตศาลตาม ป.วิ.พ. มาตรา 4 (1) ศาลชั้นต้นจึงมีอำนาจที่จะพิจารณาพิพากษาคดีนี้ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1254/2531 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การทำสัญญาประกันชีวิตต้องมีการสนองรับคำเสนอจากผู้รับประกันโดยตรง หากไม่มีการสนองรับ สัญญาประกันยังไม่เกิดขึ้น
ในกรณีที่ผู้เอาประกันชีวิตได้ยื่นใบสมัครหรือทำคำเสนอเพื่อทำประกันชีวิตกับตัวแทนของผู้รับประกันชีวิตนั้น จะต้องนำเอาบทบัญญัติพระราชบัญญัติประกันชีวิตมาประกอบการวินิจฉัยคดีด้วย ซึ่งหากไม่ปรากฏข้อเท็จจริงว่า ผู้รับประกันชีวิตมอบอำนาจเป็นหนังสือให้ตัวแทนของผู้รับประกันชีวิตทำสัญญาประกันชีวิตได้ในนามของผู้รับประกันชีวิตดังที่พระราชบัญญัติประกันชีวิต พ.ศ. 2510 มาตรา 61 บัญญัติไว้ถือได้ว่าตัวแทนของผู้รับประกันชีวิตมีอำนาจเพียงรับแบบฟอร์มใบสมัครขอประกันชีวิตและรับเบี้ยประกันล่วงหน้าส่งไปให้ผู้รับประกันชีวิตพิจารณาก่อนเท่านั้น และต้องมีการสนองรับคำเสนอจากผู้รับประกันชีวิตโดยตรง สัญญาประกันชีวิตจึงเกิดขึ้น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1254/2531 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การทำสัญญาประกันชีวิตต้องมีการสนองรับคำเสนอจากผู้รับประกัน หากไม่มีการสนองรับ สัญญาประกันยังไม่เกิดขึ้น
ในกรณีที่ผู้เอาประกันชีวิตได้ยื่นใบสมัครหรือทำคำเสนอเพื่อทำประกันชีวิตกับตัวแทนของผู้รับประกันชีวิตนั้น จะต้องนำเอา บทบัญญัติ พระราชบัญญัติประกันชีวิตมาประกอบการวินิจฉัยคดีด้วยซึ่งหากไม่ปรากฏข้อเท็จจริงว่า ผู้รับประกันชีวิตมอบอำนาจเป็นหนังสือให้ตัวแทนของผู้รับประกันชีวิตทำสัญญาประกันชีวิตได้ในนามของผู้รับประกันชีวิตดังที่พระราชบัญญัติประกันชีวิต พ.ศ.2510 มาตรา 61 บัญญัติไว้ถือได้ว่าตัวแทนของผู้รับประกันชีวิตมีอำนาจเพียงรับแบบฟอร์มใบสมัครขอประกันชีวิตและรับเบี้ยประกันล่วงหน้าส่งไปให้ผู้รับประกันชีวิตพิจารณาก่อน เท่านั้นและต้องมีการสนองรับคำเสนอจากผู้รับประกันชีวิตโดยตรงสัญญาประกันชีวิตจึงเกิดขึ้น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1254/2531

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาประกันชีวิตยังไม่เกิดผล หากผู้รับประกันยังไม่ได้สนองรับคำเสนอและออกกรมธรรม์
ในกรณีที่ผู้เอาประกันชีวิตได้ยื่นใบสมัครหรือทำคำเสนอเพื่อทำประกันชีวิตกับตัวแทนของผู้รับประกันชีวิตนั้น จะต้องนำเอาบทบัญญัติพระราชบัญญัติประกันชีวิตมาประกอบการวินิจฉัยคดีด้วย ซึ่งหากไม่ปรากฏข้อเท็จจริงว่าผู้รับประกันชีวิตมอบอำนาจ เป็นหนังสือให้ตัวแทนของผู้รับประกันชีวิตทำสัญญาประกันชีวิตได้ในนามของผู้รับประกันชีวิตดังที่พระราชบัญญัติประกันชีวิต พ.ศ. 2510มาตรา 61 บัญญัติไว้ถือได้ว่าตัวแทนของผู้รับประกันชีวิตมีอำนาจเพียงรับแบบฟอร์มใบสมัครขอประกันชีวิตและรับเบี้ยประกันล่วงหน้าส่งไปให้ผู้รับประกันชีวิตพิจารณาก่อนเท่านั้น และต้องมีการสนองรับคำเสนอจากผู้รับประกันชีวิตโดยตรง สัญญาประกันชีวิตจึงเกิดขึ้น.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 316/2530 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาเช่าต่ออายุ: การสนองรับคำเสนอของผู้ให้เช่าทำให้เกิดสัญญาเช่าใหม่ได้ แม้ไม่มีสัญญาฉบับใหม่
สัญญาเช่าตึกแถวพิพาทข้อ 10 กำหนดว่า 'เมื่อครบกำหนดอายุสัญญา และผู้เช่าประสงค์จะเช่าต่อไป ผู้เช่าจะได้เสนอขอต่อสัญญาเช่าต่อผู้ให้เช่าภายในกำหนด 60 วัน หากมิได้ขอต่อสัญญาภายในกำหนดนี้ให้ถือว่าผู้เช่าสละสิทธิการเช่า ........' และมีหมายเหตุต่อท้ายสัญญาดังกล่าวว่า 'สัญญานี้มีอายุ 15 ปี ต่ออายุสัญญา 3 ปี ต่อ 1 ครั้ง ทุกครั้งที่ต่ออายุสัญญาผู้เช่าต้องนำเงินมาบำรุงวัดเป็นจำนวน 6,000 บาท 'ดังนี้ เมื่อสัญญาเช่าครบกำหนดจำเลยผู้เช่าได้มีหนังสือแสดงความจำนงขอเช่าต่อโจทก์ที่ 1 ผู้ให้เช่าภายในกำหนดเวลาที่ระบุไว้ในสัญญา เท่ากับผู้เช่าสนองรับคำเสนอของผู้ให้เช่าแล้วถือได้ว่าสัญญาเช่าเกิดขึ้นใหม่ทันทีตามเงื่อนไขและวิธีการที่ระบุไว้ในสัญญาเช่าฉบับเดิมโดยไม่จำต้องทำสัญญาเช่ากันใหม่อีก จำเลยอยู่ในตึกแถวพิพาทต่อมา จึงไม่เป็นละเมิด
การที่จำเลยผู้เช่าขอให้บังคับผู้เช่าช่วงส่งมอบตึกแถวพิพาทแก่จำเลยเพื่อเข้าครอบครองใช้สิทธิตามสัญญาเช่าอันเป็นสิทธิของจำเลยที่จะกระทำได้ตามคำพิพากษาของศาลนั้น ไม่เป็นการทำละเมิดต่อโจทก์ที่ 2 ซึ่งอ้างว่าได้เช่าตึกแถวพิพาทจากโจทก์ที่ 1

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 316/2530

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาเช่าต่ออายุ: การสนองรับคำเสนอภายในกำหนดระยะเวลาทำให้สัญญาเช่าเกิดผลใหม่
สัญญาเช่าตึกแถวพิพาทข้อ 10 กำหนดว่า 'เมื่อครบกำหนดอายุสัญญา และผู้เช่าประสงค์จะเช่าต่อไป ผู้เช่าจะได้เสนอขอต่อสัญญาเช่าต่อผู้ให้เช่าภายในกำหนด 60 วัน หากมิได้ขอต่อสัญญาภายในกำหนดนี้ให้ถือว่าผู้เช่าสละสิทธิการเช่า ........' และมีหมายเหตุต่อท้ายสัญญาดังกล่าวว่า 'สัญญานี้มีอายุ 15 ปี ต่ออายุสัญญา 3 ปี ต่อ 1 ครั้ง ทุกครั้งที่ต่ออายุสัญญาผู้เช่าต้องนำเงินมาบำรุงวัดเป็นจำนวน 6,000 บาท 'ดังนี้ เมื่อสัญญาเช่าครบกำหนดจำเลยผู้เช่าได้มีหนังสือแสดงความจำนงขอเช่าต่อโจทก์ที่ 1 ผู้ให้เช่าภายในกำหนดเวลาที่ระบุไว้ในสัญญา เท่ากับผู้เช่าสนองรับคำเสนอของผู้ให้เช่าแล้วถือได้ว่าสัญญาเช่าเกิดขึ้นใหม่ทันทีตามเงื่อนไขและวิธีการที่ระบุไว้ในสัญญาเช่าฉบับเดิมโดยไม่จำต้องทำสัญญาเช่ากันใหม่อีก จำเลยอยู่ในตึกแถวพิพาทต่อมา จึงไม่เป็นละเมิด
การที่จำเลยผู้เช่าขอให้บังคับผู้เช่าช่วงส่งมอบตึกแถวพิพาทแก่จำเลยเพื่อเข้าครอบครองใช้สิทธิตามสัญญาเช่าอันเป็นสิทธิของจำเลยที่จะกระทำได้ตามคำพิพากษาของศาลนั้น ไม่เป็นการทำละเมิดต่อโจทก์ที่ 2 ซึ่งอ้างว่าได้เช่าตึกแถวพิพาทจากโจทก์ที่ 1.