พบผลลัพธ์ทั้งหมด 7 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3922/2530
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การสนับสนุนการกระทำผิดฐานครอบครองไม้แปรรูปโดยไม่ได้รับอนุญาต ศาลฎีกาตัดสินจำแนกบทบาทของผู้กระทำผิด
จำเลยที่ 1 เป็นบุตรของ น. ได้ร่วมออกเงินให้ น.ไปหาซื้อไม้ที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย ทั้งจำเลยที่ 1 ได้ร่วมไปกับน. และช่วยขนไม้ของกลางบรรทุกรถ นั่งคุมไม้ของกลางมากับน.จนถูกจับกุม ถือได้ว่าจำเลยที่1ร่วมกับ น.มีไม้แปรรูปไว้ในครอบครอง ส่วนจำเลยที่ 2 ถึงที่ 5 เป็นบุตรและหลานของน. น.ให้จำเลยที่ 1 ชวนจำเลยที่ 2 ถึงที่ 5 ไปช่วยขนไม้ของกลางขึ้นรถ และจำเลยที่ 6 นั้น น.ขอร้องให้นำรถไปช่วยบรรทุกไม้ของกลางมาโดยน.ได้นั่งมาในรถด้วย จำเลยที่ 2ถึงที่ 6 ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องในการครอบครองไม้ของกลางแต่อย่างใด จึงถือไม่ได้ว่าจำเลยที่ 2 ถึงที่ 6 ร่วมกับ น.ครอบครองไม้ของกลาง การกระทำของจำเลยที่ 2 ถึงที่ 6 เป็นเพียงการให้ความช่วยเหลือหรือให้ความสะดวกแก่ น.และจำเลยที่ 1 อันเป็นความผิดฐานเป็นผู้สนับสนุนตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 86 เท่านั้น.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1640/2526
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
พยานสนับสนุนการกระทำผิด: การรับฟังพยานหลักฐานและข้อสังเกตการปฏิบัติหน้าที่
ผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องสนับสนุนให้เกิดการกระทำผิด แต่โจทก์มิได้ฟ้องเป็นจำเลย กฎหมายมิได้ห้ามโจทก์อ้างผู้นั้นเป็นพยาน เมื่อเป็นผู้ได้เห็นหรือทราบเรื่องการกระทำผิด คำเบิกความก็ไม่ต้องห้ามมิให้รับฟัง แต่ต้องพิเคราะห์ด้วยความระมัดระวังว่าพยานจะเบิกความเพียงเพื่อซัดทอดจำเลยเพื่อให้ตนรอดพ้นจากการถูกฟ้องร้องลงโทษหรือไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1803/2518 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความผิดพนักงานยักยอกเงินและสนับสนุนการกระทำผิด กรณีเบิกจ่ายเงินเท็จจาก ร.ส.พ.
ร.ส.พ.สาขาจังหวัดขอนแก่นดำเนินงานอยู่ภายใต้บังคับบัญชาของผู้จัดการ ร.ส.พ. สาขาจังหวัดอุดรธานี จำเลยที่ 1 เป็นพนักงานของ ร.ส.พ.ประจำอยู่ที่สาขาจังหวัดขอนแก่น จำเลยที่ 2 เป็นเจ้าของรถร่วมที่นำรถยนต์เข้าร่วมกิจการขนส่งสินค้ากับ ร.ส.พ. จำเลยที่ 1 มีหน้าที่รักษาเงินของ ร.ส.พ.สาขาขอนแก่น ได้เบียดบังเอาเงินของ ร.ส.พ.ซึ่งอยู่ในหน้าที่รักษาของจำเลยที่ 1 เอง ด้วยวิธีทำหลักฐานเท็จเบิกจ่ายเงินไป โดยให้จำเลยที่ 2 ทำหลักฐานเท็จยื่นต่อจำเลยที่ 1 ขอเบิกเงินค่าขนส่งสินค้า อันเป็นการสนับสนุนการกระทำความผิดของจำเลยที่ 1 ดังนี้ จำเลยที่ 1 มีความผิดตามพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดของพนักงานฯ มาตรา 4 ส่วนจำเลยที่ 2 มีความผิดตามบทมาตราดังกล่าวประกอบด้วยประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 86 และจำเลยที่ 1 เป็นพนักงานยังได้ปฏิบัติหน้าที่โดยสุจริตในการขอเบิกจ่ายเงินประเภทที่จะต้องขอเบิกจ่ายต่อ ร.ส.พ.สาขาอุดรธานี ด้วยการทำหลักฐานเท็จเสนอขออนุมัติจ่าย จนผู้จัดการ ร.ส.พ.สาขาอุดรธานีหลงเชื่ออนุมัติให้จ่ายเงินแก่จำเลยที่ 2 ที่สถานี ร.ส.พ.สาขาอุดรธานี การกระทำของจำเลยที่ 1 ในส่วนนี้เป็นความผิดตามมาตรา 11 แห่งพระราชบัญญัติดังกล่าว และจำเลยที่ 2 เป็นผู้สนับสนุนการกระทำความผิดส่วนนี้ การกระทำผิดของจำเลยหาต้องด้วยมาตรา 8 ด้วยไม่ และเมื่อเป็นความผิดตามบทมาตราดังกล่าวแล้ว ก็ไม่ต้องปรับบทด้วยประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 352 อีก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 433/2491 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การกระทำความผิดฐานสมรู้ร่วมคิด แม้ไม่ได้ลงมือเอง แต่สนับสนุนการกระทำความผิดของผู้อื่น
ฟ้องหาว่าจำเลยสมคบกันเป็นตัวการลงมือฆ่าเขาตาย แต่ทางพิจรณาได้ความว่าจำเลยได้คบคิดกันแล้วมอบปืนให้อีกคนหนึ่งไปยิงเขา โดยตนเองไม่ได้ไปด้วย ดังนี้ จะลงโทษจำเลยฐานเป็นผู้ใช้ไม่ได้ เพราะข้อเท็จจริงในข้อที่ว่าได้ลงมือทำเองหรือเป็นแต่ผู้ใช้นั้นเป็นข้อสำคัญที่ต่างกันมาก โดยวันเวลาและสถานที่ล้านต่างกันทั้งนั้น
แต่การที่มอบปืนให้คนอื่นไปยิงเขาตายนั้น เป็นการอุปการะแก่การกระทำผิด ถือว่าสมรู้ตามมาตรา 65 และศาลลงโทษฐานสมรู้ได้
แต่การที่มอบปืนให้คนอื่นไปยิงเขาตายนั้น เป็นการอุปการะแก่การกระทำผิด ถือว่าสมรู้ตามมาตรา 65 และศาลลงโทษฐานสมรู้ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6416/2556
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเปลี่ยนแปลงกฎหมายบัตรประชาชนกระทบต่อองค์ประกอบความผิดฐานสนับสนุนการกระทำผิด และการปรับบทลงโทษตามกฎหมายที่แก้ไขใหม่
ในระหว่างพิจารณาของศาลฎีกา ได้มี พ.ร.บ.บัตรประจำตัวประชาชน (ฉบับที่ 3) พ.ศ.2554 มาตรา 11 ให้ยกเลิกความในมาตรา 14 แห่ง พ.ร.บ.บัตรประจำตัวประชาชน พ.ศ.2526 ซึ่งแก้ไขโดย พ.ร.บ.บัตรประจำตัวประชาชน (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2542 และให้ใช้ความใหม่แทน ตามมาตรา 14 วรรคสาม (ที่แก้ไขใหม่) ซึ่งเป็นกฎหมายที่ใช้ในภายหลังการกระทำความผิดคดีนี้ได้จำกัดองค์ประกอบความผิดจากเดิมที่กำหนดให้ผู้สนับสนุนการกระทำความผิดเป็นเจ้าพนักงานไม่ว่าจะมีอำนาจหน้าที่ตามพระราชบัญญัตินี้หรือไม่ก็ตาม เป็นว่าผู้สนับสนุนการกระทำความผิดต้องเป็นเจ้าพนักงานออกบัตร เจ้าพนักงานตรวจบัตร หรือพนักงานเจ้าหน้าที่ ซึ่งตามมาตรา 4 แห่งพระราชบัญญัติดังกล่าวหมายความว่า ผู้ซึ่งรัฐมนตรีแต่งตั้งให้ปฏิบัติการตามพระราชบัญญัตินี้เท่านั้น ดังนั้น เมื่อโจทก์ไม่ได้บรรยายฟ้องและนำสืบว่าจำเลยเป็นเจ้าพนักงานออกบัตร เจ้าพนักงานตรวจบัตร หรือพนักงานเจ้าหน้าที่ตาม พ.ร.บ.บัตรประจำตัวประชาชน กรณีไม่อาจลงโทษจำเลยตามมาตรา 14 วรรคสาม ตามกฎหมายที่แก้ไขใหม่ได้
องค์ประกอบความผิดในฐานผู้สนับสนุนตามมาตรา 14 วรรคสาม ตามกฎหมายเดิมยังบัญญัติให้การกระทำของจำเลยคงเป็นความผิดอยู่ตามมาตรา 14 (2) วรรคหนึ่ง ตามกฎหมายที่แก้ไขใหม่ ประกอบ ป.อ. มาตรา 86 และเมื่อโทษตามกฎหมายที่แก้ไขใหม่เป็นคุณมากกว่า จึงต้องใช้กฎหมายในส่วนที่เป็นคุณแก่จำเลยไม่ว่าในทางใดตาม ป.อ. มาตรา 3 ปัญหาดังกล่าวเป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นอ้างและแก้ไขโดยปรับให้ถูกต้องได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 225
องค์ประกอบความผิดในฐานผู้สนับสนุนตามมาตรา 14 วรรคสาม ตามกฎหมายเดิมยังบัญญัติให้การกระทำของจำเลยคงเป็นความผิดอยู่ตามมาตรา 14 (2) วรรคหนึ่ง ตามกฎหมายที่แก้ไขใหม่ ประกอบ ป.อ. มาตรา 86 และเมื่อโทษตามกฎหมายที่แก้ไขใหม่เป็นคุณมากกว่า จึงต้องใช้กฎหมายในส่วนที่เป็นคุณแก่จำเลยไม่ว่าในทางใดตาม ป.อ. มาตรา 3 ปัญหาดังกล่าวเป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นอ้างและแก้ไขโดยปรับให้ถูกต้องได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 225
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 12564/2555
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สนับสนุนการชิงทรัพย์: ความผิดฐานสนับสนุนแม้ไม่มีส่วนร่วมโดยตรง แต่รู้เห็นการกระทำผิด
ขณะเกิดเหตุช่วงแรกที่จำเลยที่ 1 ขอโทรศัพท์มือถือของผู้เสียหายนั้น จำเลยที่ 2 นั่งอยู่ที่ม้าหินอ่อนหันหลังให้ผู้เสียหายและขณะที่ผู้เสียหายยื้อแย่งโทรศัพท์มือถือกับจำเลยที่ 1 และถูกจำเลยที่ 1 ผลักอก ไม่ปรากฏว่าจำเลยที่ 2 มีท่าทีลุกขึ้นมาช่วยเหลือจำเลยที่ 1 หรือไม่ อย่างไร รวมทั้งไม่ปรากฏว่าจำเลยที่ 2 พูดจาข่มขู่ผู้เสียหายให้ยอมทำตามคำขอของจำเลยที่ 1 และก่อนเกิดเหตุไม่นานขณะจำเลยที่ 1 ไปพูดขอยืมรถจักรยานยนต์จากผู้เสียหายที่ร้านเกม ก็ไม่ปรากฏว่าจำเลยที่ 2 มากับจำเลยที่ 1 ด้วย แม้จำเลยที่ 2 ช่วยถอดซิมการ์ดโทรศัพท์มือถือของผู้เสียหาย ก็เป็นเรื่องที่จำเลยที่ 1 ใช้ให้ถอด ตามพยานหลักฐานของโจทก์จึงมีความสงสัยตามสมควรว่า จำเลยที่ 2 ร่วมคบคิดกับจำเลยที่ 1 วางแผนชิงทรัพย์โทรศัพท์มือถือจากผู้เสียหายหรือไม่ แต่การที่จำเลยที่ 2 อยู่ในที่เกิดเหตุและใกล้ชิดกับเหตุการณ์ย่อมต้องได้ยินคำพูดโต้ตอบระหว่างผู้เสียหายกับจำเลยที่ 1 ว่า ผู้เสียหายไม่ยอมให้จำเลยที่ 1 ยืมโทรศัพท์มือถือและขอโทรศัพท์มือถือคืนจากจำเลยที่ 1 รวมทั้งเห็นผู้เสียหายยื้อแย่งโทรศัพท์มือถือคืนจากจำเลยที่ 1 ย่อมต้องรู้ว่าจำเลยที่ 1 เอาโทรศัพท์มือถือของผู้เสียหายไปโดยมิชอบ การที่จำเลยที่ 1 ไม่ยินยอมคืนโทรศัพท์มือถือให้ผู้เสียหาย และเมื่อถูกผู้เสียหายยื้อแย่ง จำเลยที่ 1 ส่งโทรศัพท์มือถือของผู้เสียหายให้จำเลยที่ 2 รับไว้ จากนั้นจำเลยทั้งสองวิ่งขึ้นรถจักรยานยนต์ขับหลบหนีไป ถือเป็นการให้ความช่วยเหลือจำเลยที่ 1 ขณะกระทำความผิด จำเลยที่ 2 จึงมีความผิดฐานสนับสนุนจำเลยที่ 1 ชิงทรัพย์ผู้เสียหายโดยใช้รถจักรยานยนต์เป็นยานพาหนะเพื่อพาทรัพย์นั้นไป ศาลฎีกามีอำนาจลงโทษจำเลยที่ 2 ฐานเป็นผู้สนับสนุนการกระทำผิดดังกล่าวได้เพราะโทษเบากว่าความผิดฐานเป็นตัวการ จึงมิได้เป็นการเกินคำขอหรือที่มิได้กล่าวในฟ้องตาม ป.วิ.อ. มาตรา 192 วรรคแรก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5701/2560
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดทางแพ่งของผู้สนับสนุนการกระทำผิด, การกำหนดสัดส่วนค่าเสียหาย, และการพิสูจน์หลักฐาน
เมื่อคดีอาญาที่โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยทั้งสอง ศาลอุทธรณ์ฟังข้อเท็จจริงว่า จำเลยที่ 2 กระทำความผิดตามฟ้อง คดีถึงที่สุดและมูลกรณีที่โจทก์นำมาเป็นเหตุฟ้องร้องจำเลยที่ 2 รับผิดทางแพ่งชดใช้ค่าเสียหายในคดีนี้ก็เป็นข้อเท็จจริงเดียวกันกับในคดีอาญาคดีก่อนที่จำเลยที่ 2 รับสารภาพว่าได้กระทำความผิด และศาลอุทธรณ์พิพากษาลงโทษจำเลยที่ 2 มาด้วย จึงถือว่าคดีนี้เป็นคดีแพ่งที่เกี่ยวเนื่องกับคดีอาญาตาม ป.วิ.อ. มาตรา 46 ที่บัญญัติว่า ในการพิพากษาคดีส่วนแพ่ง ศาลจำต้องถือข้อเท็จจริงตามที่ปรากฏในคำพิพากษาคดีส่วนอาญา
ตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ในคดีอาญาคดีก่อน ศาลอุทธรณ์รับฟังข้อเท็จจริงตามคำฟ้องและคำรับสารภาพของจำเลยที่ 2 ว่า จำเลยที่ 2 ได้กระทำความผิดตามที่ฟ้องจริง คงมีประเด็นตามอุทธรณ์ของจำเลยที่ 2 เพียงว่า มีเหตุลงโทษสถานเบาและรอการลงโทษให้จำเลยที่ 2 หรือไม่ แม้ศาลอุทธรณ์จะวินิจฉัยให้ทำนองว่า จำเลยที่ 2 มิได้ลงชื่อในสัญญาซื้อขายปุ๋ย ช่วงเกิดเหตุจำเลยที่ 2 มีอาการเจ็บป่วยต้องเข้ารักษาตัวที่โรงพยาบาล ต่อมาบรรษัท ง. ฟ้องเรียกเงินกู้คืนจากบริษัท ฟ. และจำเลยร่วมแต่ไม่ได้ฟ้องจำเลยที่ 2 ด้วย และจำเลยที่ 2 มีส่วนช่วยติดตามยึดทรัพย์สินของบริษัท ฟ. เพื่อเยียวยาค่าเสียหายให้แก่บรรษัท ง. และมีเหตุส่วนตัวอื่น อันเป็นสาเหตุที่ทำให้ศาลอุทธรณ์รอการลงโทษให้แก่จำเลยที่ 2 ก็ตาม แต่การที่ศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้คำพิพากษาศาลชั้นต้นให้ลงโทษปรับจำเลยที่ 2 อีกสถานหนึ่งและรอการลงโทษจำคุกให้นั้น ถือเป็นเหตุผลที่ศาลอุทธรณ์ใช้ประกอบดุลพินิจในประเด็นที่ว่าพฤติการณ์แห่งคดีมีเหตุที่จะลงโทษสถานเบาและรอการลงโทษจำคุกให้แก่จำเลยที่ 2 หรือไม่ ไม่เป็นการลบล้างความผิดตามฟ้องที่จำเลยที่ 2 ให้การรับสารภาพว่า ได้กระทำความผิดตามฟ้องโจทก์ให้หมดสิ้นไป
เมื่อจำเลยที่ 2 ให้การสารภาพยอมรับว่า จำเลยที่ 2 กับพวกเป็นผู้สนับสนุนให้ความช่วยเหลือหรือให้ความสะดวกแก่จำเลยที่ 1 กระทำความผิดในขั้นตอนก่อนหรือขณะกระทำความผิด ข้อเท็จจริงตามคำฟ้องและคำรับสารภาพของจำเลยที่ 2 จึงยุติไปตามคำพิพากษาศาลอาญาว่า จำเลยที่ 2 มีส่วนร่วมกระทำความผิดจริง และในชั้นอุทธรณ์ จำเลยที่ 2 ก็ไม่ได้อุทธรณ์โต้แย้งว่า การกระทำของจำเลยที่ 2 ไม่เป็นความผิดตามฟ้องโจทก์ แต่อุทธรณ์ยอมรับความผิดที่จำเลยที่ 2 ได้กระทำลงไป มิได้อุทธรณ์ขอให้ยกฟ้องโดยฟังว่า การกระทำของจำเลยที่ 2 ไม่เป็นความผิด แม้ศาลอุทธรณ์จะมีคำวินิจฉัยก้าวล่วงไปสู่พฤติการณ์แห่งคดีว่าจำเลยที่ 2 มิได้ร่วมรู้เห็นในการทุจริตกับจำเลยร่วม ก็ไม่มีผลเป็นการรับฟังข้อเท็จจริงหักล้างเปลี่ยนแปลงผลคำพิพากษาที่ฟังจำเลยที่ 2 ร่วมกระทำความผิดในคดีอาญาที่ยุติเด็ดขาดไปแล้วแต่อย่างใดไม่ เมื่อข้อเท็จจริงในคดีอาญารับฟังเป็นยุติว่า จำเลยที่ 2 มีส่วนร่วมในการกระทำความผิด การรับฟังพยานหลักฐานและข้อเท็จจริงในคดีส่วนแพ่งในคดีนี้จึงไม่อาจรับฟังไปคนละทางกับข้อเท็จจริงที่รับฟังยุติในคดีอาญาว่า จำเลยที่ 2 ได้ร่วมกระทำละเมิดต่อโจทก์ในคดีนี้ด้วย
เมื่อจำเลยที่ 2 เป็นกรรมการผู้มีอำนาจทำการแทนบริษัท ฟ. โดยต้องลงลายมือชื่อร่วมกับจำเลยร่วมและประทับตราสำคัญของบริษัท จำเลยที่ 2 จึงจำต้องใช้ความละเอียดรอบคอบเอื้อเฟื้อสอดส่องอย่างบุคคลค้าขายผู้ประกอบด้วยความระมัดระวังตาม ป.พ.พ. มาตรา 1168 วรรคหนึ่ง จำเลยที่ 2 ไม่อาจอ้างเหตุผลที่ศาลอุทธรณ์ให้โอกาสจำเลยที่ 2 ด้วยการรอการลงโทษจำคุกมาเป็นข้อแก้ตัวให้พ้นความรับผิดหาได้ไม่
จำเลยที่ 1 ลงชื่อในสัญญาซื้อขายปุ๋ยกับบริษัท ฟ. ทั้งสองครั้งโดยไม่ใช้แบบฟอร์มสัญญาของโจทก์ การตรวจรับสินค้าหรือปุ๋ยตามสัญญาก็กระทำเพียงลำพัง จำเลยที่ 1 ไม่เคยนำสัญญาซื้อขายปุ๋ยดังกล่าวเสนอคณะกรรมการโจทก์พิจารณาให้ความเห็นชอบ พฤติการณ์การกระทำของจำเลยที่ 1 มีลักษณะเป็นการกระทำตามลำพังเฉพาะตัว เพียงแต่อาศัยตำแหน่งที่ตนเองเป็นผู้อำนวยการของโจทก์มาทำการทุจริตเพื่อประโยชน์ของตนเองและบุคคลที่สาม โดยโจทก์ไม่มีส่วนรู้เห็นและไม่อยู่ในวิสัยหรือโอกาสที่จะตรวจสอบได้ในสารบบงานที่เกี่ยวข้อง โจทก์จึงไม่มีส่วนประมาทเลินเล่อ
แม้ข้อเท็จจริงจะฟังยุติว่า จำเลยที่ 2 มีส่วนร่วมสนับสนุนการกระทำความผิดของจำเลยที่ 1 ด้วย แต่การกำหนดค่าสินไหมทดแทนจะพึงใช้โดยสถานใด เพียงใดให้ศาลวินิจฉัยตามควรแก่พฤติการณ์และความร้ายแรงแห่งละเมิดตาม ป.พ.พ. มาตรา 438 วรรคหนึ่ง ดังนี้ เมื่อจำเลยที่ 2 ไม่ได้เป็นผู้ไปก่อหนี้ผูกพันลงชื่อในสัญญาซื้อขายปุ๋ยทั้งสองสัญญากับโจทก์ ไม่ได้ความเป็นที่ประจักษ์ว่า จำเลยที่ 2 ได้รับประโยชน์หรือส่วนแบ่งโดยตรงจากเงินที่บริษัท ฟ. ได้รับจากบรรษัท ง. และพยานหลักฐานของโจทก์รับฟังไม่ได้ว่า จำเลยที่ 2 เป็นตัวการร่วมกระทำความผิดกับจำเลยร่วมหรือบุคคลผู้เกี่ยวข้องในการสร้างหลักฐานอันเป็นเท็จ อีกทั้งไม่ปรากฏพยานหลักฐานในชั้นพิจารณาหรือคำพิพากษาของศาลว่าจำเลยที่ 2 กระทำการยักยอกเบียดบังเอาสินค้าหรือเงินของบริษัท ฟ. ไป ลำพังคำให้การซัดทอดของ ส. ที่มีส่วนร่วมในการกระทำความผิดด้วยกับจำเลยที่ 1 และจำเลยร่วมจึงไม่น่าเชื่อถือและไม่มีน้ำหนักให้รับฟังแต่อย่างใด ดังนั้น พฤติการณ์การกระทำความผิดของจำเลยที่ 2 จึงมีความร้ายแรงน้อยกว่าการกระทำของจำเลยที่ 1 และจำเลยร่วม ค่าเสียหายที่จำเลยที่ 2 จะต้องชดใช้แก่โจทก์ย่อมมีสัดส่วนน้อยกว่าจำเลยที่ 1 และจำเลยร่วม โดยกำหนดค่าเสียหายให้จำเลยที่ 2 รับผิดต่อโจทก์จำนวนหนึ่งในสี่ของค่าเสียหาย ที่โจทก์มีสิทธิเรียกร้องเอาจากจำเลยที่ 1 และจำเลยที่ 2 ซึ่งเท่ากับสัดส่วนความประมาทเลินเล่อของบรรษัท ง. ที่มีส่วนต้องรับผิดชอบในความประมาทเลินเล่อหรือความผิดของฝ่ายตน
ตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ในคดีอาญาคดีก่อน ศาลอุทธรณ์รับฟังข้อเท็จจริงตามคำฟ้องและคำรับสารภาพของจำเลยที่ 2 ว่า จำเลยที่ 2 ได้กระทำความผิดตามที่ฟ้องจริง คงมีประเด็นตามอุทธรณ์ของจำเลยที่ 2 เพียงว่า มีเหตุลงโทษสถานเบาและรอการลงโทษให้จำเลยที่ 2 หรือไม่ แม้ศาลอุทธรณ์จะวินิจฉัยให้ทำนองว่า จำเลยที่ 2 มิได้ลงชื่อในสัญญาซื้อขายปุ๋ย ช่วงเกิดเหตุจำเลยที่ 2 มีอาการเจ็บป่วยต้องเข้ารักษาตัวที่โรงพยาบาล ต่อมาบรรษัท ง. ฟ้องเรียกเงินกู้คืนจากบริษัท ฟ. และจำเลยร่วมแต่ไม่ได้ฟ้องจำเลยที่ 2 ด้วย และจำเลยที่ 2 มีส่วนช่วยติดตามยึดทรัพย์สินของบริษัท ฟ. เพื่อเยียวยาค่าเสียหายให้แก่บรรษัท ง. และมีเหตุส่วนตัวอื่น อันเป็นสาเหตุที่ทำให้ศาลอุทธรณ์รอการลงโทษให้แก่จำเลยที่ 2 ก็ตาม แต่การที่ศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้คำพิพากษาศาลชั้นต้นให้ลงโทษปรับจำเลยที่ 2 อีกสถานหนึ่งและรอการลงโทษจำคุกให้นั้น ถือเป็นเหตุผลที่ศาลอุทธรณ์ใช้ประกอบดุลพินิจในประเด็นที่ว่าพฤติการณ์แห่งคดีมีเหตุที่จะลงโทษสถานเบาและรอการลงโทษจำคุกให้แก่จำเลยที่ 2 หรือไม่ ไม่เป็นการลบล้างความผิดตามฟ้องที่จำเลยที่ 2 ให้การรับสารภาพว่า ได้กระทำความผิดตามฟ้องโจทก์ให้หมดสิ้นไป
เมื่อจำเลยที่ 2 ให้การสารภาพยอมรับว่า จำเลยที่ 2 กับพวกเป็นผู้สนับสนุนให้ความช่วยเหลือหรือให้ความสะดวกแก่จำเลยที่ 1 กระทำความผิดในขั้นตอนก่อนหรือขณะกระทำความผิด ข้อเท็จจริงตามคำฟ้องและคำรับสารภาพของจำเลยที่ 2 จึงยุติไปตามคำพิพากษาศาลอาญาว่า จำเลยที่ 2 มีส่วนร่วมกระทำความผิดจริง และในชั้นอุทธรณ์ จำเลยที่ 2 ก็ไม่ได้อุทธรณ์โต้แย้งว่า การกระทำของจำเลยที่ 2 ไม่เป็นความผิดตามฟ้องโจทก์ แต่อุทธรณ์ยอมรับความผิดที่จำเลยที่ 2 ได้กระทำลงไป มิได้อุทธรณ์ขอให้ยกฟ้องโดยฟังว่า การกระทำของจำเลยที่ 2 ไม่เป็นความผิด แม้ศาลอุทธรณ์จะมีคำวินิจฉัยก้าวล่วงไปสู่พฤติการณ์แห่งคดีว่าจำเลยที่ 2 มิได้ร่วมรู้เห็นในการทุจริตกับจำเลยร่วม ก็ไม่มีผลเป็นการรับฟังข้อเท็จจริงหักล้างเปลี่ยนแปลงผลคำพิพากษาที่ฟังจำเลยที่ 2 ร่วมกระทำความผิดในคดีอาญาที่ยุติเด็ดขาดไปแล้วแต่อย่างใดไม่ เมื่อข้อเท็จจริงในคดีอาญารับฟังเป็นยุติว่า จำเลยที่ 2 มีส่วนร่วมในการกระทำความผิด การรับฟังพยานหลักฐานและข้อเท็จจริงในคดีส่วนแพ่งในคดีนี้จึงไม่อาจรับฟังไปคนละทางกับข้อเท็จจริงที่รับฟังยุติในคดีอาญาว่า จำเลยที่ 2 ได้ร่วมกระทำละเมิดต่อโจทก์ในคดีนี้ด้วย
เมื่อจำเลยที่ 2 เป็นกรรมการผู้มีอำนาจทำการแทนบริษัท ฟ. โดยต้องลงลายมือชื่อร่วมกับจำเลยร่วมและประทับตราสำคัญของบริษัท จำเลยที่ 2 จึงจำต้องใช้ความละเอียดรอบคอบเอื้อเฟื้อสอดส่องอย่างบุคคลค้าขายผู้ประกอบด้วยความระมัดระวังตาม ป.พ.พ. มาตรา 1168 วรรคหนึ่ง จำเลยที่ 2 ไม่อาจอ้างเหตุผลที่ศาลอุทธรณ์ให้โอกาสจำเลยที่ 2 ด้วยการรอการลงโทษจำคุกมาเป็นข้อแก้ตัวให้พ้นความรับผิดหาได้ไม่
จำเลยที่ 1 ลงชื่อในสัญญาซื้อขายปุ๋ยกับบริษัท ฟ. ทั้งสองครั้งโดยไม่ใช้แบบฟอร์มสัญญาของโจทก์ การตรวจรับสินค้าหรือปุ๋ยตามสัญญาก็กระทำเพียงลำพัง จำเลยที่ 1 ไม่เคยนำสัญญาซื้อขายปุ๋ยดังกล่าวเสนอคณะกรรมการโจทก์พิจารณาให้ความเห็นชอบ พฤติการณ์การกระทำของจำเลยที่ 1 มีลักษณะเป็นการกระทำตามลำพังเฉพาะตัว เพียงแต่อาศัยตำแหน่งที่ตนเองเป็นผู้อำนวยการของโจทก์มาทำการทุจริตเพื่อประโยชน์ของตนเองและบุคคลที่สาม โดยโจทก์ไม่มีส่วนรู้เห็นและไม่อยู่ในวิสัยหรือโอกาสที่จะตรวจสอบได้ในสารบบงานที่เกี่ยวข้อง โจทก์จึงไม่มีส่วนประมาทเลินเล่อ
แม้ข้อเท็จจริงจะฟังยุติว่า จำเลยที่ 2 มีส่วนร่วมสนับสนุนการกระทำความผิดของจำเลยที่ 1 ด้วย แต่การกำหนดค่าสินไหมทดแทนจะพึงใช้โดยสถานใด เพียงใดให้ศาลวินิจฉัยตามควรแก่พฤติการณ์และความร้ายแรงแห่งละเมิดตาม ป.พ.พ. มาตรา 438 วรรคหนึ่ง ดังนี้ เมื่อจำเลยที่ 2 ไม่ได้เป็นผู้ไปก่อหนี้ผูกพันลงชื่อในสัญญาซื้อขายปุ๋ยทั้งสองสัญญากับโจทก์ ไม่ได้ความเป็นที่ประจักษ์ว่า จำเลยที่ 2 ได้รับประโยชน์หรือส่วนแบ่งโดยตรงจากเงินที่บริษัท ฟ. ได้รับจากบรรษัท ง. และพยานหลักฐานของโจทก์รับฟังไม่ได้ว่า จำเลยที่ 2 เป็นตัวการร่วมกระทำความผิดกับจำเลยร่วมหรือบุคคลผู้เกี่ยวข้องในการสร้างหลักฐานอันเป็นเท็จ อีกทั้งไม่ปรากฏพยานหลักฐานในชั้นพิจารณาหรือคำพิพากษาของศาลว่าจำเลยที่ 2 กระทำการยักยอกเบียดบังเอาสินค้าหรือเงินของบริษัท ฟ. ไป ลำพังคำให้การซัดทอดของ ส. ที่มีส่วนร่วมในการกระทำความผิดด้วยกับจำเลยที่ 1 และจำเลยร่วมจึงไม่น่าเชื่อถือและไม่มีน้ำหนักให้รับฟังแต่อย่างใด ดังนั้น พฤติการณ์การกระทำความผิดของจำเลยที่ 2 จึงมีความร้ายแรงน้อยกว่าการกระทำของจำเลยที่ 1 และจำเลยร่วม ค่าเสียหายที่จำเลยที่ 2 จะต้องชดใช้แก่โจทก์ย่อมมีสัดส่วนน้อยกว่าจำเลยที่ 1 และจำเลยร่วม โดยกำหนดค่าเสียหายให้จำเลยที่ 2 รับผิดต่อโจทก์จำนวนหนึ่งในสี่ของค่าเสียหาย ที่โจทก์มีสิทธิเรียกร้องเอาจากจำเลยที่ 1 และจำเลยที่ 2 ซึ่งเท่ากับสัดส่วนความประมาทเลินเล่อของบรรษัท ง. ที่มีส่วนต้องรับผิดชอบในความประมาทเลินเล่อหรือความผิดของฝ่ายตน