พบผลลัพธ์ทั้งหมด 10 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4877/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การจัดประเภทอัตราอากรสินค้ากากกุ้ง: พิจารณาจากสภาพสินค้า (ป่น/ทำเป็นเพลเลต) เพื่อวินิจฉัยตามพิกัดอัตราศุลกากร
ประเภทพิกัด 0508.00 ระบุว่า "หินปะการังและสิ่งที่คล้ายกัน ที่ยังไม่ได้จัดทำหรือจัดทำอย่างง่าย ๆ... เปลือกของสัตว์น้ำจำพวกโมลลุสก์ ครัสตาเซีย หรือเอคไคโนเดิร์ม และลิ้นทะเล ที่ยังไม่ได้จัดทำหรือจัดทำอย่างง่าย ๆ แต่ไม่ได้ตัดเป็นรูปทรง รวมทั้งผงและเศษของสิ่งดังกล่าว" และประเภทพิกัด 2301.20 ระบุว่า "ปลาหรือสัตว์น้ำจำพวกครัสตาเซีย โมลลุสก์ สัตว์น้ำที่ไม่มีกระดูกสันหลังอื่น ๆ ที่ป่น ที่ทำเป็นเพลเลต" ดังนั้น เปลือกของสัตว์น้ำจำพวกครัสตาเซียที่จัดอยู่ในประเภทพิกัด 0508.00 อัตราอากรร้อยละ 35 ควรจะต้องเป็นเปลือกของสัตว์น้ำที่ยังคงรูปร่างสมบูรณ์ของสภาพเดิมของสัตว์น้ำนั้น ๆ จึงได้ระบุไว้ว่าที่ยังไม่ได้จัดทำหรือจัดทำอย่างง่าย ๆ แต่ไม่ได้ตัดเป็นรูปทรง ส่วนประเภทพิกัด 2301.20 อัตราอากรร้อยละ 10 นั้น ต้องอยู่ในสภาพป่นและที่ทำเป็นเพลเลต คดีนี้จำนวนทุนทรัพย์ที่พิพาทไม่เกินห้าหมื่นบาท ต้องห้ามมิให้คู่ความอุทธรณ์ในข้อเท็จจริงตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลภาษีอากรฯ พ.ศ. 2528 มาตรา 25 ในการวินิจฉัยปัญหาข้อกฎหมาย ศาลฎีกาแผนกคดีภาษีอากรต้องถือตามข้อเท็จจริงที่ศาลภาษีอากรกลางรับฟังมาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 238 ประกอบ พ.ร.บ.จัดตั้งศาลภาษีอากรฯ พ.ศ. 2528 มาตรา 29 ซึ่งศาลภาษีอากรกลางฟังข้อเท็จจริงว่า สินค้าที่จำเลยนำเข้าเป็นกากกุ้งที่ได้จากการทำกุ้งแห้ง ประกอบด้วยหัว หาง เปลือก และมีเศษเนื้อติดมาบ้างเล็กน้อย นำเข้ามาเป็นอาหารสัตว์ แม้ไม่ปรากฏคำว่า "ป่น" หรือ "ทำเป็นเพลเลต" หรือไม่ แต่สภาพของกากกุ้งที่ได้จากการทำกุ้งแห้ง ย่อมไม่เหลือเค้าโครงเดิมของสภาพเปลือกกุ้งที่สมบูรณ์ โดยสภาพต้องอยู่ในสภาพป่น ๆ เพราะถูกคัดเอาเนื้อกุ้งส่วนดีออกไปแล้ว จึงต้องจัดอยู่ในประเภทพิกัด 2301.20 เสียอากรอัตราร้อยละ 10
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6940/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรับขนของทางทะเล: การพิสูจน์หักล้างข้อสันนิษฐานสภาพสินค้าเสียหาย และความรับผิดของผู้ขนส่ง
พระราชบัญญัติการรับขนของทางทะเล พ.ศ. 2534 มาตรา 49 วรรคหนึ่ง คงบัญญัติให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่าผู้ขนส่งได้ส่งมอบของซึ่งมีสภาพ จำนวน น้ำหนักและรายละเอียดอื่น ๆ ตรงตามที่ระบุไว้ในใบตราส่งให้แก่ผู้รับตราส่ง ซึ่งเป็นเพียงการสันนิษฐานในเบื้องต้นเท่านั้น ดังนี้แม้ผู้รับตราส่งได้รับมอบสินค้าพิพาทไปเก็บรักษาไว้ที่โกดังของตนแล้ว ต่อมาจึงได้มอบหมายให้บริษัท อ. เป็นผู้ทำการสำรวจสภาพของสินค้าที่พิพาทโดยไม่ปรากฏว่าได้มีการส่งคำบอกกล่าวเป็นหนังสือให้ผู้ขนส่งทราบถึงความเสียหายภายในเวลาหนึ่งวันทำการก็ตาม ผู้รับตราส่งก็สามารถนำพยานหลักฐานมาพิสูจน์หักล้างให้เห็นแตกต่างไปจากข้อสันนิษฐานดังกล่าวได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6940/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การขนส่งทางทะเล: สันนิษฐานการส่งมอบสินค้าสภาพดี แต่โจทก์พิสูจน์ความเสียหายได้
พระราชบัญญัติการรับขนของทางทะเล พ.ศ. 2534 มาตรา 49 วรรคหนึ่ง เป็นเพียงบทบัญญัติที่ให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่าผู้ขนส่งได้ส่งมอบของซึ่งมีสภาพ จำนวน น้ำหนัก และรายละเอียดอื่น ๆ ตรงตามที่ระบุไว้ในใบตราส่งให้แก่ผู้รับตราส่ง และเป็นการสันนิษฐานในเบื้องต้นเท่านั้น โจทก์ซึ่งเป็นผู้รับประกันภัยในสินค้าพิพาทจึงยังสามารถนำพยานหลักฐานมาพิสูจน์หักล้างให้เห็นความแตกต่าง ไปจากข้อสันนิษฐานดังกล่าวได้ เมื่อพยานหลักฐานที่โจทก์นำสืบมาแสดงให้เห็นได้ว่าผู้ขนส่งได้มอบสินค้าพิพาทซึ่งมีสภาพเสียหายจากการปนเปื้อนน้ำมะขามเปียกและมีจำนวนไม่ตรงตามที่ระบุไว้ในใบตราส่ง จำเลยจึงต้องรับผิดในความเสียหายดังกล่าวแก่โจทก์ตามจำนวนที่โจทก์ได้ใช้แก่บริษัท อ. ผู้รับตราส่งก่อนหน้านี้ไปแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3582/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ซื้อขายเสร็จเด็ดขาดตามสภาพ & อายุความการเรียกร้องค่าสินค้า
เมื่อการซื้อขายแท่นพิมพ์พิพาทเป็นการซื้อขายเสร็จเด็ดขาดตามสภาพที่เป็นอยู่ จำเลยไม่มีสิทธิบอกเลิกสัญญาโดยอ้างว่าส่งมอบแท่นพิมพ์ไม่ตรงตามคำพรรณนา สิทธิเรียกร้องของโจทก์เป็นการที่บุคคลผู้เป็นพ่อค้าเรียกเอาค่าที่ได้ส่งมอบของที่ขายและจำเลยใช้แท่นพิมพ์ที่ซื้อพิมพ์หนังออกขาย จึงเป็นการที่ได้ทำเพื่ออุตสาหกรรมของฝ่ายลูกหนี้นั้นเอง ซึ่งมีอายุความ 5 ปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 165(1) เดิม เมื่อโจทก์จำเลยทำสัญญาซื้อขายแท่นพิมพ์พิพาทวันที่ 17 พฤษภาคม 2528 และโจทก์ส่งมอบแท่นพิมพ์พิพาทวันที่ 27 พฤษภาคม 2528 นับถึงวันที่ 9 มกราคม 2530 อันเป็นวันฟ้องยังไม่ถึง 5 ปี คดีโจทก์ไม่ขาดอายุความ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1577/2532 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรับขนสินค้าทางทะเล: ผู้รับสินค้าต้องสำรวจสภาพสินค้าทันทีเมื่อรับมอบ หากไม่ถือว่ารับในสภาพเรียบร้อยแล้ว
การที่ห้างหุ้นส่วนจำกัด อ. ซึ่งเป็นผู้สั่งซื้อสินค้าและเป็นผู้รับตราส่งรับสินค้าไปจากการท่าเรือแห่งประเทศไทย โดยมิได้แจ้งให้การท่าเรือแห่งประเทศไทยทราบและตัวแทนของบริษัทเรือที่ขนส่งมาร่วมสำรวจความเสียหายของสินค้าดังกล่าวเสียก่อนทั้งที่ปรากฏว่าลังไม้บรรจุสินค้าดังกล่าวแตก ย่อมถือได้ว่าเป็นการรับสินค้าไปในสภาพที่เรียบร้อยแล้ว และเป็นการรับเอาสินค้าไว้โดยมิได้อิดเอื้อนจำเลยในฐานะผู้ขนส่งจึงไม่ต้องรับผิดต่อห้างหุ้นส่วนจำกัด อ. ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 623 วรรคแรกซึ่งแม้จะมิใช่กฎหมายว่าด้วยการรับขนของทางทะเลที่จะต้องใช้บังคับแก่คดีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 609 วรรคสอง แต่โดยที่ประเทศไทยยังไม่มีกฎหมายและกฎข้อบังคับว่าด้วยการรับขนของทางทะเลบัญญัติไว้โดยเฉพาะจึงต้องนำมาตรา 623 วรรคแรกดังกล่าวซึ่งเป็นกฎหมายที่ใกล้เคียงอย่างยิ่งมาใช้บังคับตามที่ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 4 ได้กำหนดไว้เมื่อจำเลยไม่ต้องรับผิดต่อห้างหุ้นส่วนจำกัด อ. จำเลยจึงไม่ต้องรับผิดต่อโจทก์ผู้รับประกันภัยซึ่งเป็นผู้รับช่วงสิทธิของห้างหุ้นส่วนอ. ด้วย.(ที่มา-ส่งเสริม)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3335/2530 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การจำแนกประเภทสินค้า (เศษพลาสติก vs. พลาสติกสำเร็จรูป) เพื่อเสียอากรขาเข้า การพิจารณาจากสภาพสินค้าจริงเป็นหลัก
เศษพลาสติกต้องเสียอากรขาเข้าในพิกัดประเภทที่ 39.02 ก.ส่วนพลาสติกสำเร็จรูปต้องเสียอากรขาเข้าในพิกัดประเภทที่ 39.02 ข.(ซึ่งเสียภาษีมากกว่า) การที่จะพิจารณาว่าสินค้าใด เป็นเศษพลาสติกหรือเป็นพลาสติกสำเร็จรูปนั้น จะต้องพิจารณาจากสภาพอันแท้จริงของสินค้านั้นเป็นหลักสำคัญ พลาสติกที่โจทก์นำเข้าเป็นพลาสติกที่เป็นแผ่นหรือแถบ ซึ่งม้วนหรือพัน อยู่รอบแกนกระดาษ เป็นพลาสติกใสทั้งสองด้าน เรียบเสมอกันไม่ยับ ยู่ยี่ ทุกม้วนกว้าง 8 นิ้ว ที่แกนกระดาษนั้นตัดเสมอเท่ากับความกว้างของแผ่นพลาสติก หนักม้วนละ16.5 ปอนด์ บางม้วนมีกระดาษปิดบอกน้ำหนักไว้ด้วย มีจำนวนทั้งสิ้น10,000 กิโลกรัม บรรจุในกล่องกระดาษมีขาไม้รองรับ หรือบางม้วนไม่ได้บรรจุในกล่องกระดาษแต่ก็ยังมีขาไม้รองรับอยู่ พลาสติกเหล่านี้มีสภาพดีใช้การได้ ถือได้ว่าเป็นพลาสติกสำเร็จรูป จึงต้องเสียอากรขาเข้าในพิกัดประเภทที่ 39.02 ข.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1076/2524
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ซื้อขายตามสภาพ การตรวจรับสินค้าถือเป็นการยอมรับสภาพ หากมีชำรุดภายหลังผู้ซื้อต้องรับผิดชอบ
การตกลงซื้อขายระหว่างโจทก์กับจำเลย เป็นการซื้อขายธรรมดามิใช่กรณีซื้อขายตามตัวอย่าง เมื่อจำเลยผู้ซื้อได้ตรวจดูสินค้าที่ตกลงซื้อขายแล้วพอใจรับไว้ ก็ถือได้ว่าเป็นการซื้อขายบริบูรณ์แล้ว จำเลยก่อความชำรุดบกพร่องขึ้นภายหลัง จำเลยต้องชำระค่าสินค้า
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1295/2512
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ลดอัตราภาษีเครื่องจักรทางการเกษตรและส่วนประกอบ: ปัญหาการตีความสภาพสินค้าและวัตถุประสงค์การใช้งาน
รถแทรกเตอร์และสินค้าเครื่องอะไหล่ที่โจทก์สั่งจากต่างประเทศเข้ามาจำหน่ายในประเทศไทย จะเป็นเครื่องจักร. ส่วนประกอบและอุปกรณ์เครื่องจักรใช้ในการเกษตรและการอุตสาหกรรมหรือไม่.เป็นปัญหาข้อเท็จจริงซึ่งจะต้องพิจารณาจากสภาพของวัตถุสินค้านั้นๆ ตลอดจนข้อเท็จจริงที่ว่า.โจทก์สั่งรถแทรกเตอร์และสินค้านั้นมาจำหน่ายให้แก่ผู้ใด และผู้ซื้อซื้อไปใช้ในกิจการอย่างใด.
รถแทรกเตอร์ขนาดเล็กเหมาะสมแก่งานไร่นาขนาดย่อม ผลิตขึ้นสำหรับใช้ในการทำไร่ไถนา มีที่นั่งเดียวสำหรับผู้ขับ.ไม่มีสภาพเป็นยานพาหนะ. โจทก์สั่งมาจำหน่ายแก่ชาวไร่ และเคยขายให้แก่ทางราชการนำไปใช้ในการทำไร่. แสดงว่าเป็นเครื่องจักรที่ผลิตขึ้นสำหรับใช้ในการเกษตรโดยแท้ แต่เพื่อใช้ประโยชน์ได้หลายอย่าง. จึงอาจเปลี่ยนอุปกรณ์ที่ใช้ได้ตามความต้องการเช่นจานไถ เครื่องคราดนาหากจะมีผู้นำรถแทรกเตอร์นี้ไปดัดแปลงใช้ในกิจการอื่นบ้าง. ก็หาทำให้เปลี่ยนสภาพจากเครื่องจักรที่ใช้ในการเกษตรเป็นอื่นไปไม่. จึงได้รับการลดอัตรารัษฎากร โดยเสียภาษีการค้าในอัตราเพียงร้อยละ 3 ของรายรับ.
ส่วนประกอบและอุปกรณ์ของเครื่องจักรใช้ในการเกษตรและการอุตสาหกรรม.ที่โจทก์สั่งเข้ามาสำรองไว้เพื่อจำหน่ายแก่ผู้ซื้อเครื่องจักรของโจทก์ไปใช้ในกรณีที่ส่วนประกอบและอุปกรณ์. ซึ่งใช้อยู่เดิมสึกหรอหรือชำรุดเสียหาย อยู่ในข่ายที่จะได้ลดอัตรารัษฎากรเช่นเดียวกับตัวเครื่องจักร.
รถแทรกเตอร์ขนาดเล็กเหมาะสมแก่งานไร่นาขนาดย่อม ผลิตขึ้นสำหรับใช้ในการทำไร่ไถนา มีที่นั่งเดียวสำหรับผู้ขับ.ไม่มีสภาพเป็นยานพาหนะ. โจทก์สั่งมาจำหน่ายแก่ชาวไร่ และเคยขายให้แก่ทางราชการนำไปใช้ในการทำไร่. แสดงว่าเป็นเครื่องจักรที่ผลิตขึ้นสำหรับใช้ในการเกษตรโดยแท้ แต่เพื่อใช้ประโยชน์ได้หลายอย่าง. จึงอาจเปลี่ยนอุปกรณ์ที่ใช้ได้ตามความต้องการเช่นจานไถ เครื่องคราดนาหากจะมีผู้นำรถแทรกเตอร์นี้ไปดัดแปลงใช้ในกิจการอื่นบ้าง. ก็หาทำให้เปลี่ยนสภาพจากเครื่องจักรที่ใช้ในการเกษตรเป็นอื่นไปไม่. จึงได้รับการลดอัตรารัษฎากร โดยเสียภาษีการค้าในอัตราเพียงร้อยละ 3 ของรายรับ.
ส่วนประกอบและอุปกรณ์ของเครื่องจักรใช้ในการเกษตรและการอุตสาหกรรม.ที่โจทก์สั่งเข้ามาสำรองไว้เพื่อจำหน่ายแก่ผู้ซื้อเครื่องจักรของโจทก์ไปใช้ในกรณีที่ส่วนประกอบและอุปกรณ์. ซึ่งใช้อยู่เดิมสึกหรอหรือชำรุดเสียหาย อยู่ในข่ายที่จะได้ลดอัตรารัษฎากรเช่นเดียวกับตัวเครื่องจักร.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1590/2509 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การนำเข้าสินค้าแยกส่วนและการเสียภาษี ศาลฎีกาเห็นว่าการเสียภาษีตามสภาพสินค้า ณ เวลาที่นำเข้าเป็นไปตามกฎหมาย และไม่มีเจตนาหลีกเลี่ยงภาษี
จำเลยสั่งรถจี๊บ (ไม่มีตัวถัง) 34 คันและเครื่องอุปกรณ์จากญี่ปุ่น เสียภาษีศุลกากรสำหรับรถจี๊บร้อยละ 20 สำหรับเครื่องอุปกรณ์ร้อยละ 25 ของราคา แล้วนำมาประกอบกันเป็นรถนั่งสมบูรณ์จดทะเบียนจำหน่ายไป ซึ่งพระราชบัญญัติพิกัดอัตราศุลกากร พ.ศ. 2478 มาตรา 4 และบัญชีต่อท้ายระบุถึงรถไม่มีตัวถังอัตราอากรตามราคาร้อยละ 26 รถมีตัวถังหรือสมบูรณ์แล้วร้อยละ 50 ดังนี้ เมื่อจำเลยได้เสียภาษีอย่างรถไม่มีตัวถังเป็นการเสียภาษีตามพิกัดอัตราศุลกากรแล้ว พระราชบัญญัติพิกัดอัตราศุลกากร (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2479 มาตรา 5 ก็บัญญัติให้เรียกเก็บอากรแก่สิ่งที่นำเข้ามาตามสภาพแห่งของนั้น ณ เวลาที่นำเข้า แต่ที่บัญญัติต่อไปว่า "แต่สิ่งที่สมบูรณ์แล้วหากนำเข้ามาเป็นส่วน ๆ นั้น ....... จะเรียกเก็บตามอัตราที่กำหนดไว้สำหรับสิ่งนั้นเสมือนหนึ่งว่าได้นำเข้ามาโดยประกอบส่วนต่าง ๆ นั้นเข้าด้วยกันโดยสมบูรณ์แล้วก็ได้" นั้น มีความหมายว่า จะเรียกเก็บก็ได้ หรือจะไม่เรียกเก็บก็ได้ ฉะนั้น จำเลยจะต้องเสียอากรเสมือนสิ่งสมบูรณ์ก็ต่อเมื่อถูกเรียกเก็บ เมื่อยังไม่ถูกเรียกเก็บจำเลยก็ยังไม่ต้องรับผิดชอบเสียอากรเสมือนสิ่งที่สมบูรณ์ เมื่อจำเลยยังไม่ต้องรับผิดเสียอากร ก็ไม่อาจถือว่าจำเลยหลีกเลี่ยงไม่เสียภาษี
พระราชบัญญัติพิกัดอัตราศุลกากร (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2479 มาตรา 6 เป็นบทบัญญัติให้อำนาจแก่อธิบดีกรมศุลกากรอีกชั้นหนึ่ง ที่จะพิจารณาเรียกเก็บภาษี แต่มิใช่เป็นการให้อำนาจแก่อธิบดีฯ เป็นผู้พิจารณาและชี้ขาดว่าการนำสิ่งของเข้ามาเป็นการหลีกเลี่ยงภาษีเป็นความผิดพระราชบัญญัติศุลกากรหรือไม่ การพิจารณาและชี้ขาดว่าผู้ใดทำผิดและถูกลงโทษหรือไม่เป็นอำนาจของศาล
(ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 29/2509)
พระราชบัญญัติพิกัดอัตราศุลกากร (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2479 มาตรา 6 เป็นบทบัญญัติให้อำนาจแก่อธิบดีกรมศุลกากรอีกชั้นหนึ่ง ที่จะพิจารณาเรียกเก็บภาษี แต่มิใช่เป็นการให้อำนาจแก่อธิบดีฯ เป็นผู้พิจารณาและชี้ขาดว่าการนำสิ่งของเข้ามาเป็นการหลีกเลี่ยงภาษีเป็นความผิดพระราชบัญญัติศุลกากรหรือไม่ การพิจารณาและชี้ขาดว่าผู้ใดทำผิดและถูกลงโทษหรือไม่เป็นอำนาจของศาล
(ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 29/2509)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 11777/2557
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดของผู้ขนส่งสิ้นสุดลงหรือไม่เมื่อผู้รับสินค้าบันทึกสภาพสินค้าเสียหายในใบรับสินค้า
จำเลยที่ 1 และที่ 2 ผู้ขนส่งเป็นฝ่ายกล่าวอ้างข้อเท็จจริงว่าบริษัท พ. ผู้รับตราส่งได้รับสินค้าไว้แล้วโดยไม่อิดเอื้อนและได้ชำระค่าระวางไว้แล้วเพื่อให้พ้นจากความรับผิดต่อการที่สินค้าเสียหายตาม ป.พ.พ. มาตรา 623 วรรคแรก จำเลยที่ 1 และที่ 2 จึงมีภาระพิสูจน์ข้อเท็จจริงดังกล่าว
สินค้าม้วนแผ่นเหล็กพิพาทตกจากที่สูงจนบิดเบี้ยวเสียรูปทรง ดังเห็นได้จากรูปถ่ายในรายงานการสำรวจความเสียหาย แสดงว่าเมื่อตกจากที่สูงแล้วปรากฏร่องรอยให้เห็นได้ด้วยสายตาว่าเป็นรอยหรือบุบ (Dent) ดังนั้นการที่เจ้าหน้าที่ของบริษัท พ. บันทึกไว้ในใบรับสินค้าว่า "Coil เด็นมาจากท่าเรือ" จึงถือได้แล้วว่าเป็นการอิดเอื้อน ความรับผิดของจำเลยที่ 1 และที่ 2 ยังไม่สิ้นสุดลง
สินค้าม้วนแผ่นเหล็กพิพาทตกจากที่สูงจนบิดเบี้ยวเสียรูปทรง ดังเห็นได้จากรูปถ่ายในรายงานการสำรวจความเสียหาย แสดงว่าเมื่อตกจากที่สูงแล้วปรากฏร่องรอยให้เห็นได้ด้วยสายตาว่าเป็นรอยหรือบุบ (Dent) ดังนั้นการที่เจ้าหน้าที่ของบริษัท พ. บันทึกไว้ในใบรับสินค้าว่า "Coil เด็นมาจากท่าเรือ" จึงถือได้แล้วว่าเป็นการอิดเอื้อน ความรับผิดของจำเลยที่ 1 และที่ 2 ยังไม่สิ้นสุดลง