คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
สภาพหนี้

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 12 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 776/2549

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาจะซื้อขายที่ดิน: สภาพหนี้, การผิดนัด, และการคืนเงินมัดจำเมื่อผู้ขายไม่สามารถโอนกรรมสิทธิ์ได้
ป.พ.พ. มาตรา 369 บัญญัติว่า ในสัญญาต่างตอบแทนนั้น คู่สัญญาฝ่ายหนึ่งจะไม่ยอมชำระหนี้จนกว่าอีกฝ่ายจะชำระหนี้หรือขอปฏิบัติการชำระหนี้ก็ได้...ฯลฯ... หมายความว่า การชำระหนี้ในสัญญาต่างตอบแทน คู่สัญญาจะต้องมีความพร้อมในการชำระหนี้ทั้งสองฝ่าย หากฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งไม่พร้อมที่จะชำระหนี้ตอบแทนอีกฝ่ายจะไม่ยอมชำระหนี้ก็ได้ ที่ดินพิพาทถูกเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาของจำเลยนำเจ้าพนักงานบังคับคดียึดเพื่อบังคับคดีชำระหนี้ ตั้งแต่วันที่ 17 มีนาคม 2541 และเจ้าพนักงานบังคับคดีมีหนังสือลงวันที่ 31 กรกฎาคม 2541 แจ้งให้โจทก์ไปรับโฉนดที่ดินพิพาทคืนเนื่องจากมีการถอนการยึด แสดงว่าในวันที่ 10 เมษายน 2541 ที่โจทก์จำเลยนัดจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์นั้น ที่ดินพิพาทยังถูกยึดโดยเจ้าพนักงานบังคับคดีมิได้อยู่ในสภาพพร้อมที่จะโอนให้โจทก์ เพราะการโอนทรัพย์ที่ถูกยึดภายหลังที่ได้ทำการยึดไว้แล้วไม่อาจใช้ยันแก่เจ้าหนี้ตามคำพิพากษาหรือเจ้าพนักงานบังคับคดีตาม ป.วิ.พ. มาตรา 305 (1) เป็นหน้าที่ของจำเลยที่จะต้องทำให้ที่ดินพิพาทพ้นสภาพจากการถูกยึดก่อนนำมาโอนและรับชำระราคาจากโจทก์ หากที่ดินพิพาทยังไม่พ้นจากสภาพดังกล่าว จำเลยก็มิอาจเรียกร้องให้โจทก์ชำระราคาได้ เพราะจำเลยไม่อยู่ในสภาพจะชำระหนี้ตอบแทนได้ทันที จำเลยจึงไม่มีสิทธิเรียกให้โจทก์ชำระราคาที่ดินพิพาทเพื่อนำเงินที่โจทก์ชำระไปชำระหนี้ให้เจ้าหนี้ตามคำพิพากษา และถอนการยึดที่ดินพิพาทแล้วนำมาโอนให้โจทก์ได้
จำเลยไม่พร้อมที่จะโอนที่ดินพิพาทเพราะที่ดินถูกยึด โจทก์ย่อมมีสิทธิไม่ยอมชำระราคาดังกล่าว และถือว่าจำเลยเป็นฝ่ายผิดสัญญาเพราะที่ดินพิพาทถูกยึดไม่พร้อมจะโอนให้โจทก์อันเป็นเหตุที่เกิดจากฝ่ายจำเลย จำลยจึงไม่มีสิทธิริบเงินมัดจำที่โจทก์วางไว้ และเมื่อโจทก์ได้บอกเลิกสัญญาแล้วคู่สัญญาต้องกลับคืนสู่ฐานะเดิมตาม ป.พ.พ. มาตรา 391 วรรคหนึ่ง จำเลยจึงต้องคืนเงินมัดจำแก่โจทก์
โจทก์จำเลยตกลงโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทในวันที่ 10 เมษายน 2541 เมื่อจำเลยไม่โอนกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์ตามกำหนด ถือว่าจำเลยผิดนัดและต้องรับผิดชำระดอกเบี้ยผิดนัดตั้งแต่วันที่ 11 เมษายน 2541 เป็นต้นไป ที่ศาลอุทธรณ์ภาค 4 พิพากษาให้จำเลยรับผิดดอกเบี้ยนับแต่วันที่ 1 เมษายน 2541 จึงยังไม่ถูกต้อง ปัญหานี้เป็นปัญหาเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชนแม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดฎีกา ศาลฎีกาเห็นสมควรแก้ไขให้ถูกต้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1213/2545

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เจตนาออกเช็ค - การถูกบีบบังคับ - ความผิด พ.ร.บ. เช็ค - สภาพหนี้ - พยานหลักฐาน
จำเลยกู้ยืมเงินโจทก์ร่วมมานานหลายปี แต่ไม่สามารถชำระเงินคืนให้โจทก์ร่วมได้ต้องออกเช็คใหม่มอบให้โจทก์ร่วมโดยบวกดอกเบี้ยเพิ่มและรับเช็คเดิมคืนมาหลายครั้งครั้งหลังสุดธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงิน โจทก์ร่วมและจำเลยจึงทำบันทึกข้อตกลงประนีประนอมหนี้กันที่สถานีตำรวจ และจำเลยสั่งจ่ายเช็คพิพาทให้โจทก์ร่วมเพื่อชำระหนี้ตามบันทึกข้อตกลงดังกล่าว อันเป็นการบ่งชัดว่าจำเลยอยู่ในภาวะที่ถูกโจทก์ร่วมบีบบังคับให้ต้องออกเช็คพิพาท ซึ่งโจทก์ร่วมย่อมทราบดีว่าขณะออกเช็คจำเลยไม่มีทางที่จะชำระเงินตามเช็คดังกล่าวได้ การกระทำของจำเลยจึงไม่เป็นความผิดตามพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็คฯ มาตรา 4

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3757/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การผิดสัญญาซื้อขายและสภาพหนี้ ผู้รับสภาพหนี้มีหน้าที่ชำระหนี้ตามสัญญา ไม่ถือเป็นการละเมิด
จำเลยเป็นทายาทและผู้จัดการมรดกของเจ้ามรดก ต่อมาจำเลยได้ทำหนังสือรับสภาพหนี้เงินกู้ของเจ้ามรดกที่ได้กู้เงินไปจากโจทก์ โดยจำเลยตกลงว่าหากจำเลยได้รับมรดกมาเป็นจำนวนเท่าใดจำเลยจะชำระหนี้ดังกล่าวทั้งต้นเงินและดอกเบี้ยแก่โจทก์จนครบ ถ้าทรัพย์มรดกที่จำเลยได้รับมาไม่พอแก่การชำระหนี้จำเลยจะยกทรัพย์มรดกที่รับมาทั้งหมดให้โจทก์ ดังนั้น การที่จำเลยไม่ปฏิบัติการชำระหนี้ก็ดีหรือจำเลยไม่โอนทรัพย์มรดกให้แก่โจทก์ ล้วนแต่เป็นการผิดนัดไม่ชำระหนี้ตามสัญญารับสภาพหนี้ที่จำเลยทำไว้ต่อโจทก์เท่านั้น โจทก์ชอบที่จะฟ้องบังคับจำเลยให้ชำระหนี้หรือเรียกเอาค่าเสียหายหรือค่าสินไหมทดแทนอันเกิดแต่การไม่ชำระหนี้นั้นได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 213 , 215 , 222 หรือมาตรา 224 แล้วแต่กรณี

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6225/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การยอมรับสภาพหนี้ของทายาท: สัญญาผูกพันเฉพาะในฐานะทายาท ไม่เกินทรัพย์มรดก
ป. เป็นลูกหนี้โจทก์อยู่ เมื่อ ป. ถึงแก่กรรมแล้วจำเลยทั้งสองทำหนังสือเพื่อชำระหนี้แทน ป. ซึ่งเป็นสามีจำเลยที่ 1 และเป็นบิดาจำเลยที่ 2 โดยจำเลยทั้งสองมิได้เป็นหนี้โจทก์ โดยระบุว่า ขณะทำสัญญาฉบับนี้ ป.ยังคงเป็นลูกหนี้โจทก์อยู่เป็นจำนวนเงิน 2,720,000 บาทจำเลยทั้งสองยินยอมชดใช้หนี้จำนวนดังกล่าวโดยจะชำระเป็นงวดเป็นกรณีที่จำเลยทั้งสองซึ่งเป็นทายาทของ ป. ทำขึ้นเพื่อยอมรับสภาพหนี้ของเจ้ามรดก มิใช่เป็นการแปลงหนี้ใหม่โดยการเปลี่ยนตัวลูกหนี้อันจะเป็นเหตุให้มูลหนี้เดิมระหว่างโจทก์กับ ป. ระงับลงเพราะ ป. ได้ถึงแก่กรรมไปก่อนที่จะมีการจัดทำหนังสือดังกล่าวแล้วและข้อความดังกล่าวแสดงให้เห็นถึงเจตนาที่ยอมตนเข้าผูกพันรับผิดต่อโจทก์ในฐานะทายาทผู้ตายมิใช่รับผิดเป็นส่วนตัวและเป็นสัญญาที่มีผลสมบูรณ์บังคับกันได้ตามกฎหมาย แต่คงรับผิดต่อโจทก์ไม่เกินกว่าทรัพย์มรดกที่จำเลยทั้งสองจะได้รับ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6996/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การรับสภาพหนี้และการพิสูจน์การชำระหนี้: จำเลยต้องพิสูจน์การชำระหนี้เมื่อรับสภาพหนี้แล้ว
ตามคำฟ้องโจทก์อ้างว่า จำเลยที่ 1 ทำสัญญาเบิกเงินเกินบัญชีจำเลยที่ 2 ทำสัญญาค้ำประกันและจำเลยทั้งสองจดจำนองที่ดินเป็นประกัน เมื่อบอกเลิกสัญญาจำเลยที่ 1 เป็นหนี้โจทก์จำนวนหนึ่งจำเลยทั้งสองให้การรับตามคำฟ้อง แต่ต่อสู้ว่าได้ชำระหนี้ไปบางส่วนยอดหนี้ที่ฟ้องไม่ถูกต้อง เป็นการรับว่าจำเลยที่ 1 กู้เงินโจทก์ไปจริงและยังคงค้างชำระหนี้อยู่ โดยได้ชำระเงินไปบางส่วนเป็นการกล่าวอ้างข้อเท็จจริงขึ้นใหม่ จึงเป็นหน้าที่ของจำเลยที่จะต้องพิสูจน์ว่าได้ชำระหนี้โจทก์ไปแล้วเท่าไร หาใช่เป็นหน้าที่ของโจทก์จะต้องนำสืบว่า จำเลยที่ 1 เป็นหนี้อยู่เท่าไรไม่ แม้โจทก์ไม่มีพยานมาสืบ แต่จำเลยนำสืบไม่ได้ว่าชำระหนี้ครบถ้วนแล้ว ก็ต้องฟังว่าเป็นหนี้โจทก์อยู่ตามฟ้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 775/2535

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ บันทึกตกลงรับสภาพหนี้มีผลผูกพัน แม้ศาลจะตัดสินเฉพาะบางส่วน และการสละประเด็นในชั้นศาล
เมื่อข้อความตามบันทึกการตกลงเอกสารหมาย จ.8 ปรากฏชัดว่าจำเลยยอมรับว่าเป็นหนี้โจทก์ตามเช็คพิพาทเอกสารหมาย จ.1, จ.3 และจ.5 และยอมชำระเงินให้โจทก์ตามที่ระบุไว้ในเช็ค แม้ทางพิจารณาของศาลฎีกาข้อเท็จจริงจะยุติตามคำพิพากษาศาลล่างทั้งสองว่า จำเลยไม่ต้องชำระเงินตามเช็คพิพาทเอกสารหมาย จ.1 บันทึกการตกลงดังกล่าวก็ยังมีผลบังคับให้จำเลยต้องชำระหนี้ตามเช็คพิพาทเอกสารหมาย จ.3และ จ.5 ที่ยังเหลืออยู่ได้ จำเลยจะให้การต่อสู้ในประเด็นที่ว่า โจทก์นำคดีมาฟ้องโดยไม่สุจริตและคดีโจทก์ขาดอายุความแล้วไว้ก็ตาม แต่ในชั้นชี้สองสถานศาลชั้นต้นมิได้กำหนดประเด็นดังกล่าวไว้เป็นประเด็นพิพาทในคดี และคู่ความก็มิได้โต้แย้งคัดค้านไว้ย่อมถือได้ว่าคู่ความได้สละประเด็นดังกล่าวแล้ว.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5825/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ภาระการชำระค่าธรรมเนียมในการโอนที่ดิน ไม่ถือเป็นเหตุให้สภาพหนี้ไม่เปิดช่องให้โอนได้ จำเลยต้องชำระเพิ่ม
ศาลพิพากษาให้จำเลยโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินสองแปลงให้โจทก์และเสียค่าธรรมเนียม ค่าอากร ค่าภาษีเงินได้ตามสัญญาจะซื้อจะขาย หาก ไม่อาจโอนได้ให้จำเลยคืนเงินมัดจำ การที่เจ้าพนักงานที่ดิน ประเมินราคาที่ดินเพียงแปลงเดียว ให้จำเลยชำระค่าธรรมเนียม ค่าอากร ค่าภาษีเงินได้เป็นเงิน 3,213,280 บาท แต่ราคาที่ดินตาม สัญญาจะซื้อจะขายเป็นเงิน1,525,925 บาท เมื่อหักเงินมัดจำออกแล้ว จำเลยจะได้รับชำระเงินจากโจทก์อีกประมาณ 1,000,000 บาท ไม่พอ ชำระค่าธรรมเนียมในการโอน จำเลยต้องหาเงินมาชำระค่าธรรมเนียมอีก 2,000,000 กว่า บาทการที่จำเลยมีเงินไม่พอชำระค่าธรรมเนียม ค่าอากร ค่าภาษีเงินได้นั้นไม่ใช่เป็นกรณีสภาพแห่งหนี้ไม่เปิด ช่องให้โอนที่ดินให้โจทก์ได้ แต่เป็นกรณีที่จำเลยมีภาระเพิ่มขึ้น ในการที่ต้องปฏิบัติการชำระหนี้ให้โจทก์ จำเลยจะคืนเงินมัดจำ แทนการโอนที่ดินให้โจทก์หาได้ไม่.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 538/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การกระทำแทนผู้อื่นไม่ผูกพันจำเลยโดยตรง แม้รับเงินตามเช็ค การรับสภาพหนี้ต้องทำในนามตนเอง
เช็คมิใช่หลักฐานแห่งการกู้ยืม จำเลยเขียนหนังสือรับสภาพหนี้ลงชื่อด้วยตนเอง แต่วงเล็บท้ายลายมือชื่อว่าแทน พ.จึงเป็นการกระทำแทนพ. มิใช่กระทำในนามของจำเลยเอง ตามพฤติการณ์โจทก์ทราบดีว่าจำเลยกระทำการแทน พ.จำเลยจึงไม่ต้องรับผิดต่อโจทก์เป็นส่วนตัว.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3150/2532

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความหนี้, สภาพหนี้, การค้ำประกัน, และข้อยกเว้นอากรแสตมป์ในหนี้เพื่อการเกษตร
โจทก์เป็นกรมในรัฐบาล มิได้ทำการขายปุ๋ยแก่บุคคลทั่วไปแต่รัฐบาลได้จัดทำโครงการช่วยเหลือเกษตรกรโดยให้โจทก์จัดหาปุ๋ยมาขายแก่เกษตรกรในราคาถูก การขายสินค้าของโจทก์มิใช่เป็นการหากำไร โจทก์จึงมิใช่พ่อค้าตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 165 (1)ทั้งมิใช่เป็นบุคคลผู้ประกอบกสิกรรมตามมาตรา 165 (2) ไม่อยู่ในบังคับของอายุความตามมาตราดังกล่าว และเป็นกรณีไม่มีกฎหมายบัญญัติเรื่องอายุความไว้โดยเฉพาะ จึงต้องถืออายุความ 10 ปี ตามมาตรา 164 ก. ทำหนังสือรับสภาพหนี้ต่อโจทก์ไว้ภายในอายุความ จึงทำให้อายุความสะดุดหยุดลง ต้องเริ่มนับอายุความใหม่ตั้งแต่เวลาเมื่อเหตุที่ทำให้อายุความสะดุดหยุดลงสิ้นสุดไป คือวันสิ้นกำหนดเวลาที่ ก. สัญญาว่าจะนำเงินมาชำระหนี้ จำเลยที่ 6 ถึงที่ 10 ทำหนังสือค้ำประกันต่อโจทก์ ในหนี้ที่ ก. กู้ยืมเงินจากโจทก์ หนี้ดังกล่าวโจทก์ให้กู้ยืมเพื่อเป็นทุนหมุนเวียนช่วยเหลือชาวนา ถือได้ว่าเป็นการที่รัฐบาลให้ราษฎรกู้ยืมเพื่อการเกษตรกรรม การค้ำประกันหนี้ของจำเลยที่ 6 ถึงที่ 10 เนื่องจากการดังกล่าว จึงได้รับยกเว้นไม่ต้องเสียอากรตามบัญชีอากรแสตมป์ข้อ 17 ข้อยกเว้น (ก) แห่งประมวลรัษฎากร

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1485/2512

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คดีล้มละลาย: การพิสูจน์ภาวะหนี้สินล้นพ้นตัวเป็นสำคัญ แม้ศาลวินิจฉัยเรื่องหนี้สิน แต่ไม่กระทบผลคำพิพากษา
ประเด็นสำคัญในคดีล้มละลายมีอยู่ว่า จำเลยซึ่งถูกฟ้องขอให้ล้มละลายเป็นผู้มีหนี้สินล้นพ้นตัวซึ่งมีกำหนดจำนวนหนี้สินแน่นอนเกินกว่าพันบาทหรือไม่ (หลังจากใช้พระราชบัญญัติล้มละลาย (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2511 แล้ว จำนวนหนี้สินต้องไม่น้อยกว่าสามหมื่นบาท). เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่าจำเลยยังไม่มีหนี้สินล้นพ้นตัว. การที่จำเลยจะเป็นหนี้โจทก์จริงหรือไม่. จึงไม่ใช่ประเด็นที่จะต้องชี้ขาดในชั้นนี้ เพราะไม่ทำให้ผลแห่งคำพิพากษาที่ยกฟ้องเปลี่ยนแปลงไป.
คำพิพากษาศาลอุทธรณ์ในคดีล้มละลายวินิจฉัยว่า ตามเอกสารที่โจทก์อ้างฟ้อง จำเลยได้ยืมเงินไปจากโจทก์. แต่การยืมตามเอกสารบางฉบับ เป็นเวลากว่า 10 ปีแล้ว. จำเลยไม่ได้รับสภาพหนี้.จึงขาดอายุความ. ส่วนหนี้ที่ยังไม่ขาดอายุความนั้นไม่จำเป็นต้องชี้ขาดว่าจำเลยเป็นหนี้โจทก์อยู่เท่าใดแน่นอน. เพราะจำเลยนำสืบได้ว่าจำเลยมีทรัพย์สินอาจชำระหนี้โจทก์ได้ทั้งหมด. ไม่มีเหตุอันควรให้จำเลยล้มละลาย. แม้ศาลอุทธรณ์จะพิพากษายกฟ้องโจทก์ แต่คำวินิจฉัยที่ว่า จำเลยยืมเงินไปจากโจทก์และหนี้ตามเอกสารบางฉบับยังไม่ขาดอายุความ. อาจมีผลผูกพันจำเลยให้ต้องรับผิดในทางแพ่ง จำเลยจึงมีสิทธิฎีกาคัดค้านได้. (ข้อกฎหมายวรรคท้ายนี้ สรุปจากผลที่ศาลฎีการับวินิจฉัยฎีกาของจำเลย).
of 2