คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
สภาวะตลาด

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 3 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7487/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เบี้ยปรับดอกเบี้ยผิดนัดสูงเกินควร ศาลมีอำนาจลดอัตราดอกเบี้ยให้เหมาะสมตามสภาวะตลาด
จำเลยทำสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีและสัญญากู้เงินจากโจทก์โดยมีข้อตกลงว่า จำเลยยอมเสียดอกเบี้ยในอัตราสูงสุดสำหรับลูกค้าทั่วไป ที่โจทก์ประกาศภายใต้ประกาศของธนาคารแห่งประเทศไทย เรื่องการกำหนดให้ธนาคารพาณิชย์ปฏิบัติในเรื่องดอกเบี้ยและส่วนลด เว้นแต่เมื่อจำเลยปฏิบัติผิดเงื่อนไขจำเลยยอมเสียดอกเบี้ยในอัตราสูงสุดสำหรับลูกค้าที่ปฏิบัติผิดเงื่อนไขที่โจทก์ประกาศกำหนด ภายใต้ประกาศของธนาคารแห่งประเทศไทยดังกล่าว แทนอัตราสูงสุดสำหรับลูกค้าทั่วไป ซึ่งขณะทำสัญญาอัตราสูงสุดเท่ากับร้อยละ 15.25, 16.25 ต่อปี และอัตราสูงสุดสำหรับลูกค้าที่ปฏิบัติผิดเงื่อนไขอัตราร้อยละ 18.5 ต่อปี ข้อตกลงดังกล่าวเป็นการกำหนดดอกเบี้ยไว้ล่วงหน้าสำหรับลูกค้าที่ปฏิบัติผิดเงื่อนไขในอัตราที่สูงกว่าดอกเบี้ยสำหรับลูกค้าทั่วไป เสมือนหนึ่งเป็นค่าเสียหายในกรณีที่ลูกหนี้ไม่ชำระถูกต้องสมควร โจทก์จะเรียกในรูปของดอกเบี้ย ค่าปรับ หรืออย่างอื่นก็ได้ เมื่อมีลักษณะดังกล่าวย่อมถือว่าเป็นเบี้ยปรับตาม ป.พ.พ.มาตรา 379 หากสูงเกินส่วนศาลมีอำนาจลดลงเป็นจำนวนพอสมควรได้ ตาม ป.พ.พ.มาตรา 383 วรรคหนึ่ง
เมื่อศาลอุทธรณ์เห็นว่า การกำหนดอัตราดอกเบี้ยไว้ล่วงหน้าสำหรับลูกค้าที่ปฏิบัติผิดเงื่อนไขเป็นเบี้ยปรับนั้นสูงเกินส่วน ศาลอุทธรณ์ย่อมวินิจฉัยให้จำเลยชำระดอกเบี้ยในอัตราที่ศาลอุทธรณ์เห็นสมควรกำหนดย้อนหลังไปจนถึงวันผิดนัดชำระหนี้ เพื่อให้โจทก์ได้รับดอกเบี้ยน้อยลงโดยไม่มีฝ่ายใดอุทธรณ์ก็ได้ เพราะเป็นการที่ศาลอุทธรณ์ใช้ดุลพินิจตามที่กฎหมายให้อำนาจไว้
การพิจารณาว่าเบี้ยปรับตามสัญญามีอยู่จำนวนเท่าใด จะต้องนำอัตราดอกเบี้ยที่จำเลยต้องรับผิดในขณะผิดนัด หักออกด้วยอัตราดอกเบี้ยในขณะที่ไม่ผิดนัด แล้วศาลจึงพิจารณาลดอัตราดอกเบี้ยจากส่วนต่างดังกล่าวข้างต้น
ในการกู้ยืมหรือกู้เบิกเงินเกินบัญชี จำเลยต้องรับผิดชำระดอกเบี้ยในอัตราสูงสุดสำหรับลูกค้าทั่วไป ซึ่งโจทก์ประกาศคิดก่อนปรับเป็นดอกเบี้ยในอัตราผิดนัดในอัตราร้อยละ 15.5 และ 15.75 ต่อปี และต้องรับผิดชำระดอกเบี้ยผิดนัดในอัตราร้อยละ 18.5 ต่อปี การที่ศาลล่างทั้งสองใช้ดุลพินิจลดเบี้ยปรับ โดยพิพากษาให้จำเลยคงรับผิดชำระดอกเบี้ยในระหว่างผิดนัดอัตราร้อยละ 15 ต่อปี ซึ่งต่ำกว่าอัตราดอกเบี้ยที่จำเลยต้องรับผิดตามสัญญาขณะที่ไม่ผิดนัด ย่อมไม่ชอบด้วยกฎหมาย ศาลฎีกาเห็นสมควรแก้ไขให้ถูกต้องไปเสียทีเดียว เมื่อพิจารณาสภาวะอัตราดอกเบี้ยในตลาดการเงินของประเทศ ประกอบกับทางได้เสียของโจทก์ทุกอย่างอันชอบด้วยกฎหมายแล้ว ศาลฎีกาสมควรลดอัตราดอกเบี้ยผิดนัด คงเหลือร้อยละ 16 ต่อปี
โจทก์ฟ้องขอบังคับจำนองที่ดิน น.ส.3 ก.เลขที่ 461 และเลขที่ 2378 พร้อมสิ่งปลูกสร้าง ศาลชั้นต้นพิพากษาให้โจทก์มีสิทธิบังคับจำนองได้ตามขอ แต่ในคำพิพากษาได้ระบุหมายเลข น.ส.3 ก.จากเลขที่ 461 เป็นเลขที่462 ซึ่งเกิดจากการพิมพ์ผิดพลาด ศาลฎีกาเห็นสมควรแก้ไขให้ถูกต้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3971/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การงดขายทอดตลาดและการประเมินราคาทรัพย์สินใหม่: ศาลไม่เห็นด้วยหากราคาเปลี่ยนแปลงตามสภาวะตลาดทั่วไป
ตาม คำร้อง ของ จำเลย ที่ 1 ที่ ขอให้ งด การ ขายทอดตลาด ไว้ จนกว่า จะ มี การ ประเมิน ราคา ทรัพย์สิน ใหม่ จำเลย อ้าง เหตุ แต่เพียง ว่า เวลา ผ่าน ไป 1 ปี ทำให้ ทรัพย์สิน ที่ ถูก ยึด ราคา สูง ขึ้น มิได้ อ้าง เหตุ ว่า เจ้าพนักงาน บังคับคดี ประเมิน ราคา ทรัพย์สิน ไว้ ไม่ชอบ อย่างไร ที่ จำเลย อ้างว่า เวลา ผ่าน ไป ทำให้ ทรัพย์สิน ที่ ถูก ยึด มี ราคา สูง ขึ้น ชอบ ที่ เจ้าพนักงาน บังคับคดี จะ ต้อง ตีราคา ทรัพย์สิน ใหม่ นั้น ราคา ทรัพย์สิน ที่ ถูก ยึด อาจ มี การ ขึ้น ลง ได้ ตาม สภา ว การณ์ ทาง เศรษฐกิจ และ ราคา ที่ ขึ้น ลง นี้ เจ้าพนักงาน บังคับคดี หรือ ศาล จะ นำ มา ประกอบการ พิจารณา ใน ตอน ที่ จะ ใช้ ดุลพินิจ ให้ ขาย หรือไม่ ให้ ขาย ทรัพย์สิน ที่ ถูก ยึด ไว้ เจ้าพนักงาน บังคับคดี หรือ ศาล มิได้ ถูก จำกัด ว่า จะ ต้อง ขาย ทรัพย์สิน ที่ ถูก ยึด ใน ราคา ที่ เจ้าพนักงาน บังคับคดี ได้ ตีราคา ไว้ ใน ขณะที่ มี การ ยึดทรัพย์ ดังกล่าว จึง ยัง ไม่มี เหตุ ที่ ต้อง งด การ ขายทอดตลาด แล้ว ประเมิน ราคา ทรัพย์สิน ให้ ใหม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3337/2530

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ราคาสินค้านำเข้า: การประเมินราคาตามบัญชีราคาเดิมที่ไม่สอดคล้องกับสภาวะตลาดและปัจจัยที่เปลี่ยนแปลง
โจทก์นำกระจกเข้ามาในราชอาณาจักรและสำแดงราคาเพื่อเสียภาษีอากรตามที่ซื้อมา แต่เป็นราคาต่ำกว่าที่ระบุไว้ในบัญชีกำหนดราคาสินค้าซึ่ง จำเลยได้ใช้เป็นเกณฑ์ในการประเมินราคาสินค้ากระจกที่โจทก์นำเข้าในครั้งก่อน ๆ เมื่อปรากฏว่าในระหว่างเวลานำเข้านั้นราคากระจกลดลงเพราะราคาน้ำมันดิบลดลงค่าขนส่งลดลง เงินฟรังก์ของฝรั่งเศสซึ่งเป็นประเทศที่โจทก์ซื้อกระจกมีค่าต่ำลง และบัญชีกำหนดราคาสินค้าดังกล่าวถูกยกเลิกโดยบริษัทผู้ผลิตและใช้บัญชีใหม่แทน จำเลยจึงไม่อาจใช้ราคาตามที่ระบุไว้ในบัญชีกำหนดราคาสินค้าดังกล่าวเป็นเกณฑ์ในการเพิ่มราคากระจกและเก็บภาษีอากรเพิ่มเติมจากโจทก์ได้ ราคากระจกที่โจทก์สำแดงไว้ดังกล่าวเป็นราคาอันแท้จริงในท้องตลาดตามความในมาตรา 2 ของ พระราชบัญญัติ ศุลกากร พุทธศักราช 2469 การเสียภาษีอากรของโจทก์ตามราคาที่โจทก์สำแดงไว้ดังกล่าวจึงชอบด้วยกฎหมาย.